เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 36439 ภาพเมืองไทยในอดีตช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 29 ต.ค. 05, 16:25

 บางท่านอาจสงสัยว่าปฏิบัติการแปรโค้ดญี่ปุ่นเขาทำกันอย่างไร
เรื่องนี้ดิฉันเองก็สงสัยมากค่ะ เมื่อถามอาจารย์ชาวอเมริกันผู้นี้
ท่านก็สองจิตสองใจ ใจหนึ่งก็อยากเล่า เพราะเรื่องนี้เกิดขึ้นมานานโข
คงไม่ "matter" แต่อีกใจหนึ่ง ท่านก็ "under oath"
สาบานว่าจะรักษาความลับสุดชีวิต เหมือนที่มีการสาบานในศาล

... I will speak the truth, the whole truth, and anything but the truth...

เรื่องปฏิบัติการแปลโค้ดลับญี่ปุ่นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันไม่เป็นความลับอีกแล้ว
กองทัพเรือสหรัฐเป็นผู้ไขปัญหาเสียเอง

ต้นเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941 หลังจากโจมตีเพริ์ลฮาร์เบอร์ ญี่ปุ่นได้เร่งรุกแผ่อิทธิพล
ทางมหาสมุทรแปซิฟิคอย่างเต็มสูบ ส่วนหนึ่งมุ่งลงแปซิฟิคใต้ เพื่อดึงความสนใจของชาวโลก ยึดมาลายู และสิงคโปร์
(ซึ่งอยู่ภายใต้อาณัติของอังกฤษ) อินโดนีเซีย (ภายใต้ดัทช์) และฟิลิปปินส์

กำลังอีกส่วนหนึ่งของนายพลยามาโมโต ก็พยายามหาวิธีสยบเขี้ยวเล็บของสหรัฐ ซึ่งอยู่
ในมหาสมุทรแปซิฟิคตอนกลางอย่างถอนรากถอนโคน

นายพลยามาโมโตเมื่อสมัยหนุ่ม เคยมาสหรัฐและเห็นความแข็งแกร่งด้่านอุตสาหกรรม
ของสหรัฐเป็นอย่างดี มั่นใจว่าปีแรกของสงครามกับสหรัฐ ญี่ปุ่นอาจได้เปรียบ
แต่หากยืดเยื้อขึ้นปี 2 และปี 3 ท่านก็ไม่แน่ใจ

ป.ล. อุ๊บ... ด้านบนโปรดเปลี่ยน anything เป็น nothing ค่ะ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 29 ต.ค. 05, 22:23

 นายพลทหารเรือ ผู้มีชื่อเสียงและบทบาทในการรบทางมหาสมุทรแปซิฟิค มี 2 ท่าน
ท่านแรกคือ นายพล Chester Nimitz ซึ่งเป็นผู้บัญชาการกองเรือทางมหาสมุทรแปซิฟิคตอนกลาง
อีกท่านหนึ่งคือ นายพล McArther ซึ่งประธานาธิบดีรูสเวลท์แต่งตั้งให้
เป็นผู้บัญชาการกองเรือทางมหาสมุทรแปซิฟิคตะวันตกเฉียงใต้
ซึ่งกินอาณาบริเวณน่านน้ำเอเซียกลาง (จากกวม) ลงไปจรดโอเชียเนีย

เมื่อสมัยเด็กๆ ดิฉันช่วยที่บ้านหยิบอะไหล่ให้ลูกค้า ยังนึกแปลกใจว่ารถจี๊ปที่วิ่งกันในเมืองไทย
มีแต่ชื่อแปลกๆ เช่น  จี๊ปเชฟ (Chevy) จี๊ปกลาง จี๊ปหน้ากบ จี๊ปวิลลี่  จี๊ปแมคอาร์เธอร์
พึ่งจะทราบว่าชื่อสุดท้าย คือชื่อที่มาจากนายพลแมคอาร์เธอร์ นั่นเอง  ทั้งหมดคือมรดกที่กองทัพสหรัฐ
ทิ้งไว้ให้คนไทยใช้ต่อกันมาอีกหลายสิบปี

**********
นายพลนิมิตซ์ คำนวณสถานการณ์ดูแล้ว สหรัฐไม่สามารถผิดพลาดซ้ำเหมือน Pear Harbor ได้อีก
พยายามประมวลดูว่าญี่ปุ่นจะบุกที่ไหนเป็นแห่งถัดไป

ระหว่างนี้หน่วย Intelligence ของสหรัฐเริ่มจับโค้ดของญี่ปุ่นได้ และคำสั่งทางวิทยุที่สหรัฐสื่อสารนั้น
ญี่ปุ่นก็จับได้เช่นกัน ปลาย พ.ค. 1942 หน่วย Intelligence สหรัฐจับโค้ด “AF” ได้
เจ้าหน้าที่ระดับสูงแปลโค้ดว่าน่าจะหมายถึงสถานที่ใดซักแห่งในฮาวาย เพราะเคยแกะโค้ด “A” ว่าหมายถึงฮาวาย

ดังนั้นจึงมีคำสั่งให้ทหารเรือบนเกาะมิดเวย์วิทยุออกไปว่า "ระบบทำน้ำจืดบนเกาะได้รับความเสียหาย
ต้องการน้ำจืดด่วน"  ฝ่ายญี่ปุ่นจับโค้ดสหรัฐได้ และรายงานไปยังเบื้องสูงว่า “AF is short of water”
ซึ่งยืนยันว่า AF หมายถึงมิดเวย์ ที่ที่ญี่ปุ่นจะบุกในวันที่ 3 มิ.ย. 1942

-ส่วนสีแดง คือส่วนที่ญี่ปุ่นยึดครองหรือเป็นฝ่ายเดียวกับญี่ปุ่น (เช่นไทย)
.
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 30 ต.ค. 05, 20:54

 สวัสดีคุณ Nuchan (สมาชิกกิติมศักดิ์) ครับ และขออภัยที่ขัดจังหวะนะครับ
อ่านเนื้อหาที่คุณ Nuchan นำมาเพิ่มนี้ทำให้ได้ความรู้หลายประการเกี่ยวกับฐานทัพอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์มาก ๆ ครับ
ป.ล. ตอนแรกผมเข้าใจว่ารถจิ๊ป (JEEP) มีเพียงยี่ห้อเดียว ไม่ได้คาดว่าจะมียี่ห้อ Chevrolet ด้วยครับ
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 31 ต.ค. 05, 07:30

 สมัยก่อนตอนยังไม่ปิดป่า จังหวัดที่ดิฉันอยู่มีการทำป่าไม้มาก รถพวกนี้ทนเหมือนแรด
ชาวบ้านที่ทำไม้ต้องหารถสองเพลา (4 wheel) มาใช้ ก็ดัดแปลงเอารถพวกนี้แหละ

รุ่นที่แพร่หลายรุ่นหนึ่งคือ Chevy 6 ล้อ แต่รถในตระกูลมะกันทั้งหมดชาวบ้านเขาจะเหมา
เรียกว่า จี๊ป เหมือนที่คุณศรีปิงเวียงซื้อผงซักฟอก "เปา" 1 กล่อง แต่ไปเรียกว่า "แฟ้บ" อย่างใดอย่างนั้นค่ะ

(คำว่า แฟ้บ ใช้วรรณยุกต์ตรีไม่ได้ คุณลองมองคำว่า "ล๊อกอินก่อนนะคะ" ของเว็บวิชาการ ก็น่าจะสะกดผิดเหมือนกัน)

รถอเมริกันพวกนี้ทนทาน แต่เหมือนที่คุณฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ เล่าไว้ว่า 40 ปีก่อน
เขาใช้รถอเมริกันคันยาวเหยียด สตาร์ทจึ่งหนึ่งกินน้ำมัน 2 ลิตร

ปัจจุบันรถพวกนี้ยังมีใช้ แต่เขาดัดแปลงวางเครื่องอีซูซุใส่กัน เพราะประหยัดน้ำมัน
และหาอะไหล่รถพวกนั้นไม่ได้ พวกซิลกันน้ำมัน (oil seals) และสกรูน้อต ของรถอเมริกันจะมาในระบบนิ้ว
ส่วนรถญี่ปุ่นและรถยุโรปทั่วไปมาในระบบมิลเมตร (ระบบเอสไอ)
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 31 ต.ค. 05, 08:22

 ป.ล.
ในอนาคต หากคุณศรีปิงเวียงมีโอกาสเรียนวิชา Linguistics จะได้ทราบวิวัฒนาการของภาษา เช่น
1. คำว่า ซีรอกซ์...กลายเป็นคำที่ใช้เรียกการถ่ายเอกสารทั่วโลก
2. ศัพท์ที่หน้าตาและการอ่านออกเสียงยังคงเป็นฝรั่งเศส แต่คำเหล่านี้ เช่น Bon voyage,
au pair, a' lar carte กลายมาเป็นคำในภาษาอังกฤษเต็มตัว
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 05 พ.ย. 05, 14:36

 วินสตัน เชอร์ชิล กล่าวไว้ว่า

"It is always wise to look ahead, but difficult to look further than you can see."

และมีคำคม  unknown อีกอันหนึ่ง
“An ounce of fortune is worth a pound of forecast.”

ทั้งสองอันสรุปเหมือนกันว่า การคาดการณ์อนาคตเป็นสิ่งที่ยาก แต่ว่าจำเป็น

โดยเฉพาะการวางแผนยุทธศาสตร์การรบ ต้องอาศัย “การทำนาย” เป็นข้อมูลประกอบ  
หน่วย Intelligence ที่ส่งสายลับแทรกซึมออกไปหาข่าว จึงนับว่าเป็นสิ่งจำเป็น
เพื่อให้ได้ข้อมูล และน่าทำให้มัน work กับภาคใต้บ้านเราบ้าง
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 05 พ.ย. 05, 15:32

 ความผิดพลาดของ Admiral Yamamoto ผู้บัญชาการรบในน่านน้ำแปซิฟิค
คือเลือกเปิดศึกหลายทางพร้อมๆกัน แทนที่จะ focus เป็นแห่งๆไป
เมื่อตอนญี่ปุ่นบุกแมนจูเรีย จะเข้าไปลึกๆใน in land ของประเทศจีนก็ไม่ได้
เพราะการส่งเสบียงบำรุงเป็นปัญหาใหญ่ และยิ่งเข้าไปในแผ่นดินลึกเข้าเท่าไร
จะเจอการรบแบบกองโจรของทหารจีน  “เอ็งถอย ข้าบุก เอ็งรุก ข้าหนี เอ็งหยุด ข้าตี…”
เหมือนที่ทหารอเมริกันเคยรบกับพวกเวียดกง แล้วเจอการรบแบบไม่เห็นตัวข้าศึก
ซึ่งตำราไม่ได้สอน ต้องพ่ายแพ้กลับไป

ญี่ปุ่นมีกองเรือรวมแล้วกว่า 200 ลำ กระจายอยู่ในแปซิฟิค
กองทัพเรือของญี่ปุ่นในน่านน้ำแปซิฟิค วางกำลังตั้งแต่ตอนใต้ของอลาสก้า
ลงไปจรดแปซิฟิคใต้ ทำให้ยากในการส่งเสบียงและยุทธภัณฑ์สนับสนุน
(ถึงตรงนี้ มีเสียงกระแนะกระแหนนักประวัติศาสตร์ว่า…ชักเหมือนนักเศรษฐศาสตร์
เข้าไปทุกที  คือชำนาญในทางอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว แต่ทำนายอนาคตไม่ได้ ..แฮ่ม)

รูปจากซ้าย MacArther, F. D. Roosvelt, Nimitz ที่ฮาวาย
.
บันทึกการเข้า
THOReN
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 16 พ.ย. 05, 01:45


สมาชิกสดสดครับ

เรียนด้วยความเคารพ
ผมคิดว่าธง Rising sun เป็นธงของกองทัพเรือญี่ปุ่น
ส่วน National Flag คงเป็นอย่างที่เราเห็นเดี๋ยวนี้
ขอทราบด้วยครับ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 16 พ.ย. 05, 08:57

 สวัสดีสมาชิกใหม่ คุณ THOReN

อืม..น่าคิดค่ะ ดิฉันชมภาพยนต์ชุดนี้ร่วม 200 รอบ ประเด็นอยู่ที่ว่าในสงคราม
เครื่องบินที่มาร่วมโจมตีขึ้นอยู่กับนาวีหรือแอร์ฟอร์ซ? เพราะรูปธงที่เห็นบนเครื่องบิน
ก็เป็นแฉกด้วยเหมือนกัน ฉากในภาพยนต์บางส่วนเป็นการถ่ายจริงโดยญี่ปุ่น อีกอย่างหนึ่งตอนท่านโตโจ
ตรวจพลสวนสนาม ธงก็เป็นแฉกสีแดงด้วย

ดิฉันมีเพื่อนสนิทคนหนึ่งเป็นชาวโอกินาวา เคยไปฮอลิเดย์บ้านเขาเป็นเดือน
หลังจากสหรัฐชนะในการปะทะที่มิดเวย์ ก็ได้บุกยึดเกาะนี้จากญี่ปุ่น พอญี่ปุ่นแพ้สงคราม
สหรัฐก็ยังคงยึดครองเกาะนี้เป็นฐานทัพเรือในแปซิฟิคอีกหลายสิบปี เพื่อนเล่าว่าตอนเล็กๆเขาใช้เงินดอลลาร์
ไม่ได้ใช้เงินเยน พลิกดูอัลบัมเก่าๆที่บ้านเขา ชาวสตรีญี่ปุ่นสมัยก่อน typically สูงไม่เกิน 145 ซม.
รูปค่ายทหารที่โอกินาวาตอนนั้นยังเป็นสตาร์สไตร์ปปักคู่กับธงแดงมีแฉก ถ้าดิฉันทราบคำตอบ
แล้วจะแจ้งให้ทราบค่ะ

ป.ล. ที่จริงแล้วไม่ได้ต้องการเขียนเรื่องสงครามเลย เพราะว่าหาอ่านได้ทั่วไป เพียงแต่อยากเล่า
ประสบการณ์บางอย่างที่ผู้อ่านอาจไม่พบในหนังสือทั่วไปค่ะ
บันทึกการเข้า
THOReN
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 17 พ.ย. 05, 00:48


ขอบคุณครับ

พอดีมีเวลาน้อย   ( ความจริงเวลาเท่าคนอื่นครับ แต่ใช้ไม่ค่อยเป็น )

จะหาดูบ้างครับ
TORA TORA TORA ผมยังดูไม่ถ฿งยี่สิบเลย
ส่วนเรื่องที่สร้างใหม่เมื่อสี่ ห้า ปีมานี้ ไม่ชอบเลย ในฐานะที่
รู้มากเกินไป เลยดูไม่สนุก
บันทึกการเข้า
THOReN
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 17 พ.ย. 05, 01:48

 ขออภัย มือใหม่จริงครับ
โพสต์ตั้งสามหน

เรียนเพิ่มเติมเรื่องเครื่องบินในวันที่ 7 ธันวาคมนั้น
มาจากเรือบรรทุกเครื่องบินล้วนล้วน
จึงเป็นของกองทัพเรือครับ
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 17 พ.ย. 05, 14:04


คุยด้วยคนครับ … เคยอ่านประวัติศาสตร์ช่วงสงครามเล่มไหนก็ไม่ทราบเพราะว่าอ่านมานานมาแล้วครับ เขาวิเคราะห์ว่าจริงๆ ยามาโมโต ก็ไม่ได้อยากจะเปิดศึกกับสหรัฐ เพราะตัวเขารู้ดีว่าความสามารถทางอุตสาหกรรมของอเมริกามีมากกว่าญี่ปุ่นเยอะ ญี่ปุ่นน่าจะกอบโกยผลประโยชน์จากประเทศในเอเชียจะดีกว่า แต่อาจจะถูกบีบจากผู้ที่มีตำแหน่งสูงกว่าเลยต้องปฏิบัติตาม

จุดประสงค์หนึ่งของการโจมตี Pearl Harbor คือต้องการทำลายกองเรื่อบรรทุกเครื่องบินสหรัฐ แต่ผิดพลาด กองทัพเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐออกเดินทางไปก่อนหน้าวันโจมตี ผมคิดว่าถ้ากองเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐถูกทำลายที่ Pearl Harbor สงครามในแปซิฟิกอาจจะยืดเยื้อกว่านี้ก็เป็นได้ครับ

ดูเหมือนว่าตัวนายพลเรือยามาโมโตเองจะทราบดีว่าการปล่อยให้เรื่อบรรทุกเครื่องบินสหรัฐหนีไปได้เท่ากับปล่อยเสือเข้าป่า ยามาโมโต้ กล่าวหลังการโจมตี Pearl Harbor ว่า ญี่ปุ่นได้ปลุกยักษ์หลับให้ตื่นเสียแล้ว

ยามาโมโต ก็ถูกลอบสังหาร ขณะนั่งเครื่องบินไปตรวจกองกำลังทหารญี่ปุ่น อเมริกันอาศัยข้อมูลที่ได้จากการถอดรหัส ส่งเครื่องบินออกไล่ล่า แต่ความจริงยามาโมโต จะถูกสังหารหรือไม่ ผมก็คิดว่าญี่ปุ่นก็แพ้สงครามอยู่ดี เพราะพลาดพลั้งในยุทธนาวีที่เกาะมิดเวย์เสียแล้ว
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 17 พ.ย. 05, 14:11


ภาพทหารญี่ปุ่นคนหนึ่งถ่ายรูปคู่กับเด็กไทย คาดว่าในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขณะกำลังเดินทัพลงไปที่สิงค์โปร์ครับ (จำไม่ได้ว่าค้นมาจากเว็บไหน)
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 18 พ.ย. 05, 00:40

 รูปของคุณจ้อโบราณดีจังเลย
เวลาบริษัททัวร์จากเมืองไทยจะนำลูกทัวร์มาทัศนาจร
ก็จะติดต่อซื้อห้องพักและโปรแกรมจาก wholesale ของท้องถิ่น ซึ่งทำสัญญา
take or pay กับโรงแรมในเครือ wholesale สามารถให้ราคาได้ดีกว่าราคาที่บริษัททัวร์เมืองไทยจะหาเองได้
ดังนั้นไม่ว่าลูกทัวรืไทยจะมาจากบริษัททัวร์ไหน พอถึงฮาวายก็มักใช้บริการจากบริษัททัวร์ท้องถิ่นแห่งเดียวกัน
ในช่วงโรงเรียนไทยปิดภาคฤดูร้อน กรุปไทยจะเข้าติดๆกัน
ในฐานะ local guide เวลารับออร์เดอร์ มา ก็ต้องรับผิดชอบหาคนไปดูแลให้
****************
นายพลยามาโมโต สมัยหนุ่มๆเคยมาสหรัฐแล้ว ได้เห็นความเจริญทางด้านอุตสาหกรรมก็ประมวลถูก
ในปีแรกญี่ปุ่นอาจชนะสหรัฐได้ แต่หากการรบยืดเยื้อขึ้นปีสอง ปีสามเมื่อไร ผู้ที่สายป่านยาวกว่า
ย่อมเป็นฝ่ายชนะ สิ่งที่นายพลยามาโมโตต้องการคือโจมตีสหรัฐแบบกระทันหัน
เพื่อให้สหรัฐเสียหายมาก จนต้องขอเจรจาสงบศึก ญี่ปุ่นต้องการเพียงให้
สหรัฐหลีกทางอย่ามาขวางญี่ปุ่นเป็นพอ

วันที่ 7-8 พ.ค. 1942 หนึ่งเดือนก่อนหน้ามิดเวย์ เกิดการปะทะกันในศึกที่เรียกว่า Battle of the Coral Sea
ทางตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่เกาะโซโลมอน ซึ่งถือว่าเป็นการรบครั้งแรกในน่านน้ำแปซิฟิค
ในจำนวน 6 ครั้ง ที่เป็นการส่งเครื่องบินจากเรือบรรทุกเครื่องบินของทั้งสองฝ่ายออกไปโรมรันกลางเวหา

ญี่ปุ่นต้องการยึด Port Moresby  ทางตอนใต้ของนิวกีนี เพื่อเป็นจุดสกัดกองเรือออสเตรเลีย
ญี่ปุ่นทำได้สำเร็จและถือว่ามีชัยใน  Battle of the Coral Sea
แต่ก็ต้องนับว่าเป็นชัยชนะที่นำไปสู่การพ่ายแพ้ที่มิดเวย์ในอีกหนึ่งเดือนต่อมา
เพราะญี่ปุ่นเปิดศึกหลายด้านจนสูญเสียเรือรบโดยไม่จำเป็น
แทนที่จะผนึกกำลังไว้สู้ด้านใดด้านหนึ่งให้เกิดผล
บันทึกการเข้า
THOReN
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 21 พ.ย. 05, 12:34


นายพลอิโซโรกุ ยามาโมโต มีความเข้าใจในศักยภาพทางด้านการผลิตของอเมริกันอย่างมาก
แม้แต่ในสมัยสงครามโลกครั้งแรก เศรษฐกิจของประเทศต่างต่างเสียหายยับเยิน เพราะต้องทุ่มเททรัพยากรเข้าห้ำหั่นกัน
ผลรวมของความเสียหายทั้งโลกรวมกัน เทียบได้ประมาณยี่สิบเปอร์เซนต์ของ จีดีพี สหรัฐในขณะนั้นเท่านั้นเอง
คิดง่ายง่ายก็คือว่า คนอเมริกันยอมอดข้าวเสียหนึ่งมื้อ ในหนึ่งวัน ก็เพียงพอที่จะครองโลกได้แล้ว
สงครามครั้งถัดมา ก่อนที่จะถูกโจมตีที่อ่าวเพิร์ล
โรงกลั่นน้ำมันของเอ็กซอนที่ปานามา ก็ส่งน้ำมันอ๊อกเทน 100
ให้เครื่องเมอร์ลิน ใน  spitfire ของอังกฤษ
ทำแรงม้าเหนือ Me 109 มาเป็นปีแล้ว
ถึงแม้ว่าเรือบรรทุกเครื่องบินอเมริกันจะถูกถล่มที่อ่าวเพิร์ล
ถ้าไม่ถอดใจเสียก่อน ผมว่าผลสุดท้ายของสงครามก็คงจะเหมือนเดิม
เพียงแต่เวลาจะเปลี่ยนไปบ้างเท่านั้น
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 19 คำสั่ง