เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
อ่าน: 36438 ภาพเมืองไทยในอดีตช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


 เมื่อ 21 ก.ย. 05, 20:39


เชลยสงครามอันประกอบด้วยชาวอเมริกัน ออสเตรเลีย ดัทช์ และอังกฤษ ที่ถูกจับทหารญี่ปุ่นจับได้ในการรบที่ชวา สิงคโปร์ และเขตน่านน้ำมหาสมุทรแปซิฟิค ถูกกวาดต้อนมายังประเทศไทย ช่วงปี 2485
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 21 ก.ย. 05, 20:47

 กองทัพญี่ปุ่นต้องการสร้างทางรถไฟจากไทยไปพม่า ระยะทาง 424 กม.  เชลยศึกและแรงงานท้องถิ่นจะอยู่   2 แคมป์ แคมป์หนึ่งที่ อ.บ้านโป่ง เพื่อสร้างทางรถไฟต่อจากสถานีหนองปลาดุก อ. บ้านโป่ง ไปยังพม่า อีกแคมป์หนึ่งอยู่ที่เมือง Thanbyuzayat ชายฝั่งทะเลอันดามัน ในพม่า จะสร้างจากพม่ามายังประเทศไทย  
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 21 ก.ย. 05, 20:52


สะพานรถไฟที่ทำด้วยไม้ ข้ามแม่นำแม่กลอง ที่ ต. ท่ามะขาม อ. เมือง จ. กาญจนบุรี เริ่มสร้างเดือนตุลาคม 2485 เสร็จเดือนกุมภาพันธ์ 2486 ข้างๆสะพานไม้ ก็เป็นสะพานเหล็กที่สร้างในระยะเวลาไล่เรี่ยกัน
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 21 ก.ย. 05, 20:57


ยามสงครามที่ขาดแคลนเครื่องนุ่งห่ม อาหาร และยารักษาโรค
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 21 ก.ย. 05, 21:03


กองทัพญี่ปุ่นกำหนดการสร้างทางรถไฟให้แล้วเสร็จในช่วงเวลา 14 เดือน ท่ามกลางความขาดแคลนอาหาร สภาพร่างกายของเชลยศึกที่แคมป์กาญจนบุรี จึงเหมือนโครงกระดูกเดินได้
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 21 ก.ย. 05, 21:11


การสร้างทางรถไฟบางช่วงค่อนข้างหฤโหด เช่นช่วงขนาบสันเขาริมแม่น้ำแควน้อย บริเวณบ้านวังโพ (ประมาณ 3-4 กม. ก่อนถึงน้ำตกเขาพัง อ. ไทรโยค) ทำให้เชลยศึกล้มตายดั่งใบไม้ร่วง
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 21 ก.ย. 05, 21:21


หรือช่องเขาขาด ที่ต้องใช้แรงงานคนล้วนๆ แซะภูเขาด้วยแชลง และจอบให้เป็นช่องพอให้รถไฟผ่านได้ ทำให้แรงงานอ่อนล้า ในการสร้างทางรถไฟสายมรณะระยะทาง 424 กม. มีผู้คนล้มตาย 13,000 คน นั่นคือ 1 ศพ ต่อ ระยะ 32.6 เมตร
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 21 ก.ย. 05, 21:26


รถดีเซลรางเพื่อขนเสบียงลำเลียงยุทธปัจจัย ช่วงบ้านวังโพ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 21 ก.ย. 05, 21:29


สภาพแคมป์พักอาศัย หลังคามุงจาก ไม่มีฝา
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 21 ก.ย. 05, 21:32


การก่อสร้างทางรถไฟ มีหลายช่วงที่ต้องสร้างข้ามแม่น้ำ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 21 ก.ย. 05, 21:41


สะพานเหล็กช่วงข้ามแม่น้ำแควใหญ่ที่ ต. ท่ามะขาม สร้างเสร็จเดือนเมษายน พ. ศ. 2486 ต่อมาเดือนธันวาคม พ.ศ. 2487 ทหารฝ่ายสัมพันธมิตร เริ่มจะตั้งหลักได้ และทิ้งระเบิดโจมตีทางรถไฟเป็นระลอกๆ ผลของแรงระเบิด ทำให้สะพานเหล็กขาด 2 ช่วง
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 21 ก.ย. 05, 21:44


ภาพถ่ายทางอากาศอีกมุมกล้องหนึ่ง ที่เห็นความเสียหายของสะพานจากระเบิดอย่างชัดเจน
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 21 ก.ย. 05, 21:57


เดือนสิงหาคม 2488 เมื่อสงครามกำลังยุติ ทุกคนต่างยินดีที่ภารกิจเสร็จสิ้น เตรียมตัวกลับบ้าน
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 21 ก.ย. 05, 22:00


บางส่วนที่โชคไม่ดี ก็หลับอย่างสงบที่สุสานบ้านช่องไก่ ต. เขาปูน อ. เมือง จ. กาญจนบุรี
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 21 ก.ย. 05, 22:04


สุสานทหารฝ่ายสัมพันธมิตร บ้านดอนรัก อ. เมือง จ. กาญจนบุรี
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.083 วินาที กับ 19 คำสั่ง