เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 25450 ขอประวัติของอาณาจักอิสานปุระ(อีสานปุระ)หน่อยครับ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 28 ก.ย. 05, 08:00

 ดิฉันคิดว่าสาเหตุหนึ่งที่นักเรียน(หรือแม้แต่นิสิตนักศึกษาไทย) ไม่ชอบใช้ google ค้นข้อมูล
เพราะข้อมูลที่ออกมาเป็นภาษาอังกฤษ  ซึ่งพวกเขาอ่านยาก  เว้นแต่พวกที่เรียนมาทางด้านภาษา หรือสนใจภาษาโดยตรงแล้ว   จะพบว่าภาษาอังกฤษเป็นยาหม้อใหญ่
อย่างข้อมูลข้างบนนี้  นักเรียนกี่คนที่ไม่รู้ศัพท์ประวัติศาสตร์มาก่อน จะเข้าใจได้ทันทีว่า Chenla คือ เจนละ  ไม่ใช่อะไรก็ไม่รู้  ชื่อ "เชนลา"

ที่พูดมานี่ไม่ใช่แก้ตัวให้ว่า เมื่อภาษาอังกฤษอ่านยากจะตายก็มาขอข้อมูลจากคนไทยด้วยกันให้เล่าให้ฟังหน่อย ง่ายกว่า
แต่จะบอกว่ามันเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้นักเรียนไทยไม่อยากใช้ google เท่านั้นน่ะค่ะ
วิธีแก้   ฝึกภาษาให้คล่อง  โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เพราะมันจำเป็น  ไม่ว่าเรียนสายวิทย์หรือสายอาชีพก็ตาม
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 28 ก.ย. 05, 20:06

 หลายๆคนเก่งภาษาอังกฤษมาแต่อ้อนแต่ออก บางคนไขว่คว้าเกือบตายกว่าจะได้มา ดิฉันอยู่ในประเภทหลัง จึงเห็นใจน้องคนนั้นมาก

มาตรฐานการสอนภาษาอังกฤษในบ้านเราแตกต่างกันมาก โรงเรียนมัธยมประจำตำบล สอนได้ไม่แกร่งเท่าโรงเรียนประจำจังหวัด และโรงเรียนจังหวัดก็อ่อนกว่าโรงเรียนกลางกรุงแถว ถ. อังรีดูนังต์
ถ้าเรายึดหลักแสตนดาร์ดไดเซชันของร้านอาหารฟาสต์ฟูด ที่รสชาติของแฮมเบอร์เกอร์ของร้านในซีกโลกเหนือต้องเหมือนกับร้านอื่นทั่วโลก และนำมาใช้กับการพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษบ้านเราก็จะดี  เช่น เมื่อจบหลักสูตร
ชั้น ม. 3  นักเรียนต้องรู้ศัพท์อย่างน้อย  700 คำ ต่อไปนี้ และรู้จักรูปประโยคต่อไปนี้....  
ชั้น ม. 6  นักเรียนต้องรู้ศัพท์อย่างน้อย 1,00 คำ ต่อไปนี้ และรู้จักรูปประโยคต่อไปนี้....  
น่าจะช่วยยกระดับการสอนภาษาอังกฤษ (minimum requirement) และบีบช่องว่างให้แคบลงได้ ถ้าต้องการรู้เหนือกว่านั้นก็สุดแต่จะไขว่คว้า
********
ดิฉันเคยส่งรายการคำศัพท์ที่นักเรียนมัธยมอเมริกันต้องเรียน ประมาณ 1,000 คำ ไปให้อาจารย์ที่สอนวรรณคดีช่วยลดจำนวนลงว่าศัพท์คำไหนบ้างที่ควรรู้ ท่านก็ลดจำนวนลงมาให้ และบอกว่ายังสามารถลดลงได้อีกถ้าต้องการให้ลดมากกว่านี้ ศัพท์สูงๆจะพบใน national newspapers เช่น นิวยอร์คไทมส์ วอชิงตันโพสต์ เป็นต้น ส่วนศัพท์พื้นๆลงมา ก็พบในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น

มีครั้งหนึ่งดิฉันใช้ศัพท์คำว่า  exude เพื่อจะอธิบายว่าแก๊สรั่วที่เมืองโบปาล อาจารย์ที่สอน (ก็ท่านนี้แหละที่บังคับให้นักเรียนพูดตาม 3 ครั้งว่า Plagiarism, Plagiarism, Plagiarism นักเรียนมองหน้ากันแล้วขำ) ถามแบบเอาเรื่องเอาราวว่าแปลว่าอะไร  ดิฉันตอบว่าแปลว่ารั่ว ooze อาจารย์ตอบว่า “แล้วทำไมถึงไม่ใช้ ooze ไปใช้ละตินทำไม” อ้าวดิฉันจะไปทราบได้อย่างไรว่าคำไหน big word ที่ต้องหลีกเลี่ยง เปิดพจนานุกรมไทย-อังกฤษ พบคำว่า exude ก็หยิบมาใช้เลย
   ตอนนี้ทราบแล้วค่ะ พออ่านมากขึ้น เห็นมากขึ้นก็จะทราบไปเอง อยากรู้อังกฤษต้องฝึกค่ะ
บันทึกการเข้า
ถาวภักดิ์
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 29 ก.ย. 05, 15:01

 กระทู้นี้แตกสาขาได้หลายกิ่ง

จึงขออนุญาตเลี้ยวไปหาหัวข้อโปรด  ดูจากข้อมูลที่คุณAndreas นำมาลงเป็นตัวอย่างแล้ว ก็ขัดหูขัดตากับทฤษฎีเก่าที่ได้รับอิทธิพลจากยุคเซเดส

จึงขอบอกเล่าไว้(อีกแล้ว)ว่า ทฤษฎีดังกล่าวยังมีความไม่ลงตัวอยู่มาก  เช่นการที่บอกว่าเผ่าไทค่อยๆเคลื่อนตัวลงจากเทือกเขาอัลไต มาตั้งราชอาณาจักรที่น่านเจ้า แล้วจึงเคลื่อนลงใต้ต่อลงมา เป็นทาส เป็นอาณานิคมของเขมรโบราณอยู่หลายศตวรรษ  แล้วจึงค่อยมีราชอาณาจักรอิสระในภูมิภาคเป็นครั้งแรก เพียงแค่ 700 กว่าปีนี่เอง

นักโบราณคดีทั้งจีนทั้งไทย พยายามหาหลักฐานมายืนยันเรื่อง ถิ่นกำเนิดบริเวณเทือกเขาอัลไต กับอาณาจักรน่านเจ้าเป็นของไท ยังไม่ได้

น่าสงสัยในความบริสุทธิ์ใจของเซเดส ในการสร้างทฤษฎีที่เอื้อประโยชน์ต่อฝรั่งเศสในยุคล่าอาณานิคม  เพราะเซเดสเป็นนักการเมือง  เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี

แม้แต่ศรีวิชัย ก็ยังแสดงความเป็นเซเดสจ๋า เรียกเป็นชวา ทั้งที่ปัจจุบันก็ชัดเจนขึ้นมากว่า ศูนย์กลางของศรีวิชัยควรอยู่ในเขตประเทศไทย

ขอจุดประกายให้ท่านที่สนใจใฝ่ศึกษาความเป็นมาตามความเป็นจริงของชนชาติไทไว้สั้นๆเท่านี้  หวังว่าก่อนตายจะได้เห็นหลักฐานที่แน่นหนา พร้อมการยอมรับอย่างกว้างขวางระดับโลก ในประวัติศาสตร์ของชนชาติไท-ลาว ที่สามารถลำดับย้อนหลังไปได้หลายพันปี
บันทึกการเข้า
ju
อสุรผัด
*
ตอบ: 18

ทำงานค่ะ


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 29 ก.ย. 05, 21:01

 ตกลงว่า  น้องเขาคงจะสอบไปแล้วมั้งคะ

ความจริงอิศานปุระ มีข้อมูลเซิร์ทภาษาไทยเยอะแยะมากมายใน กรูเกิล   ขอให้แตกคำพูดออกไป เช่น เจนละ  ขอมโบราณ  อาณาจักรเจนละ   ประวัติขอม  หยิบเอาคำสงสัยคำหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับอีศานปุระ  แล้วค้นหาในกรูเกิล   คิดว่าน่าจะเกินพอสำหรับการสอบในระดับของน้องเขา   ไม่ต้องถึงกับภาษาอังกฤษก็ได้  


การใช้กรูเกิล  บางทีง่ายแสนง่าย  แต่ก็ไม่ได้ข้อความครบถ้วน อย่างที่เราอยากจะได้   หอสมุด  น่าจะเป็นทางออกที่ดี   ในสมัยเรียนจุชอบเข้าหอสมุด  มันมีเสน่ห์ในการค้นหาความรู้  แม้ว่ามันจะไม่สะดวกสบายเหมือนใช้คอมฯ ก็ตาม

เดี๋ยวนี้  นักเรียน  นักศึกษา  ทำอะไรง่ายๆ ไปหมด  ก๊อปในเนตมาตัดต่อ เพิ่มเติม (หรือทั้งดุ้น)  เสร็จแล้วก็ส่งอาจารย์  

เชื่อแน่ว่า สมัยก่อน สมาชิกของที่นี่  คงต้องนั่งอ่าน  นั่งทำความเข้าใจก่อนจะทำรายงานเป็นแน่

บางที  ...  ไอที ก็เป็นดาบสองคม  ถ้าคนไม่รู้จักใช้  และหวังพึ่งมันอยู่ตลอดเวลา  จนไม่พัฒนาตัวเอง
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 29 ก.ย. 05, 22:00

 จริงของคุณ Ju ค่ะ สมัยนี้ นักเรียนบางทีเสริ์ชเป็นแต่ในเน็ท ถ้า periodicals บางอันที่ไม่ปรากฎบนเน็ท เขาจะใช้แมนนวลเสริ์ช  เป็นไหม?

ถ้ากลับไปยุคที่ต้องเอาแคตาลอกที่รวบรวมรายชื่ออาร์ติเกิล ที่ปรากฎใน periodicals มาไล่เรียงดู จะรู้ว่ามันสิ้นเวลาเป็นกอง แต่เป็นการฝึกทักษะการใช้ห้องสมุดที่ดีเยี่ยม

ไม่ทราบว่าสมัยนี้ มีการสอนการใช้ห้องสมุดในมหาวิทยาลัยไหมคะ
บันทึกการเข้า
Andreas
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 130


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 05 ต.ค. 05, 23:03

 To Khun Nuchan, regarding No. 16

I have read this statement “หลายๆคนเก่งภาษาอังกฤษมาแต่อ้อนแต่ออก บางคนไขว่คว้าเกือบตายกว่าจะได้มา ดิฉันอยู่ในประเภทหลัง จึงเห็นใจน้องคนนั้นมาก”…….

Actually I am also in the second group. I grew up in the Far East of Thailand and attended in provincial school. Comparing my school with school in Bangkok or Christian school, standard of teaching English is much different. However I have tried so hard to learn and use English as much as I can. Because I realized that English is important and it acts like a door opened to another world.  It doesn’t mean that I don’t care about whom cannot command English, but I think everybody can improve their language abilities if he/she has put head and soul onto.

Your idea of standardization is perfect. I totally agree with that. However, it would be time consuming. Since there are multifactor involved in the evolution and standardization,  I am sure that Ministry of Education had tried so hard to reform the English teaching standard without reaching the successful step. In rural area in Thailand, a lot of English Teachers are still having hard time teaching English for some reasons. In addition, an Old Fashion English Teaching Style is too much focused onto Grammatical Application. It brings up boring condition into classroom, also prevents the expression of speaking English among students. Modern English Teaching which focuses on natural English expression via all skills must be intensively applied throughout the country.  

I remember that when I graduated from high school, I even could not speak English or listen to native English speaker’s speaking at all. After all, I started to learn English again…..this time I pretended that I was a kid. I started from pronouncing English Alphabet, speaking simple sentences like what kids did. I stared to copy the accent of my American Teacher. Then I moved onto more difficult sentences………  meanwhile I studied grammar as well, as just to check whether my English expression is right or wrong.  I had been practicing this way until I was offered lots of job which required English abilities. Finally before I came here in States, I had worked part-time as English-Thai interpreter, anyway; while my official job was environmental scientist.

For all of my respect reader, I do not mean to show off myself or else………but I do want to share my experience to those who have been thinking that there is no way to improve their English abilities….. or those who have been giving up to learn more English.
บันทึกการเข้า
Andreas
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 130


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 05 ต.ค. 05, 23:52

 To Khun ถาวภักดิ์ , regarding No 17


Regarding the conflict of “History”……pointing out where we are from…..is still under the discussion. Personally I have been staying in touch with this topic by accident. Since one of my friend who is genetic scientist is trying so hard to answer where we are from……He is using genetic information to investigate whether the immigration southward is right or wrong.

The idea is to use genetic code called “micro satellite” in human DNA throughout the area of Northern Provinces, NANJAO Kingdom and reach to Southern China. The hypothesis has arisen as “If Thai people are originally migrated from China, we might have seen the identical micro-satellite among native people in those area motioned. Anyway, the study is still under the construction. Thus I don’t know yet what is going to be……….

At lease I would like to say that in the near future we can strongly identify our root of glory…………
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 06 ต.ค. 05, 00:07

 ตอบคุณถาวภักดีครับ

เรื่องของ ศ.ยอร์ช เซเดส์ นี้ ผมว่า "ท่านตกเป็นจำเลยสังคม" ของพวกต่อต้านฝรั่งไปแล้ว เพราะถ้าได้มีโอกาสอ่านงานของ ศ.ยอร์ช เซเดส์ อย่างจริงๆ จังๆ แล้วจะเห็นว่าท่านวิเคราะห์หลักฐานอย่างเป็นเหตุเป็นผล "ตามแต่หลักฐานที่มีในสมัยท่านจะอำนวย" ดังนั้น จะกล่าวหาว่าท่านทำไปเพราะอิทธิพลทางการเมืองก็ไม่ถูกต้องนักนะครับ

คือท่านว่าตามหลักฐาน หลักฐานที่ว่าคืออะไร ก็คือพวกสิ่งก่อสร้าง และจารึกต่างๆ ที่พบในประเทศไทยนั่นแหละครับ เพราะส่วนใหญ่แล้วจารึกที่มีอายุอยู่ในรุ่นพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔ จะเป็นจารึกภาษามอญโบราณ กับเขมรโบราณทั้งสิ้น และหลังจากพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๘ ก็ล้วนแต่เป็นจารึกเขมร ดังนั้นจารึกภาษาไทยจริงๆ แล้วก็มีมาแค่ ๗๐๐ ปีเท่านั้นนะครับ ผมเห็นว่าท่าน ศ. ยอร์ช เซเดส์ ก็สันนิษฐานตามหลักฐานที่ปรากฏ

ด้านนั้นหลักฐานมันชี้ให้เห็นว่า คนที่อยู่ที่นี่ ต้องเคยยอมรับในอำนาจเขมรมาก่อน

หลักฐานมันมีแค่นี้ แต่นักวิชาการท่านก็มีสิทธิตั้งข้อสมมุติฐาน ท่านตั้งสมมุติฐานว่า สุโขทัยแต่เดิมมา "น่าจะ" เป็นประเทศราชของเขมรมาก่อน เพราะว่า ตำนานก็มีเล่าไว้ว่าพระร่วงต้องส่งสวยน้ำ นี่คือ "ข้อสันนิษฐาน" นะครับ ไม่ใช่ข้อเท็จจริง

ที่ผิดคือ "ผู้รับข่าวสาร" คือ สักว่าแต่รับ แล้ว "เชื่อเป็นตุเป็นตะ" ไม่พิจารณา ที่ร้ายคือ "คนที่รับไปสอนเด็ก" ไม่บอกว่าเป็นเพียงแนวคิด แต่กลับยึดเป็นตำรา แตะต้องไม่ได้ ท่องจำไปซะ

นี่คือโชคร้ายของ ศ.ยอร์ช เซเดส์ ครับ ทำคุณ บูชาโทษ พวกที่หมั่นไส้นักวิชาการฝรั่ง (ซึ่งค้นคว้าเรื่องประเทศไทย มากกว่าคนไทยเอง หรือว่าใช้คำว่า "อิฉจา" ดี อิอิ) ก็ถือโอกาสโจมตี ศ.ยอร์ช เซเดส์ โดยไม่คำนึงว่า สิ่งที่ท่านคิดนั้น "เป็นแนวคิดหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้" ถ้ามีคนเก่งและกล้าที่จะเสนอ เท่าที่ผ่านมา ก็มีบ้างที่กล้าที่จะเสนอความคิดแบบใหม่ แต่ท่านเหล่านั้นก็อดไม่ได้ที่ "แขวะ" ศ.ยอร์ช เซเดส์ อยู่ร่ำไป สงสัยจังว่าทำไม ฮืม? ความอิจฉา หรือเปล่า อิอิ

ส่วนเรื่องทฤษฏีคนไทยมาจากอัลไต ไม่ใช่ของ ศ.ยอร์ช เซเดส์ นะครับ เป็นของ หมอด็อด ที่ได้เคยศึกษาตระกูลภาษาในแถบจีนตอนใต้ แล้วพบว่าคล้ายกับภาษาไทยมา เลยคิดมากไปหน่อยว่า คนกลุ่มนี้เดิมน่าจะมาจากแถบอัลไต หนีจีนมา ว่างั้น

"ก็เป็นข้อสมมุติฐาน" แต่บังเอิญพวกนักวิชาการไทยหัวใส ยุคเผด็จการคลั่งชาติ เห็นว่าทฤษฏีนี้เหมาะสมในการ "ปลุกปล้ำ" (อิอิ) ให้คนไทยเป็น "ชาตินิยม (ขี้นก)" ก็เลยนำมาขยายความกันเป็นตุเป็นตะ จนมี "นิทาน" ชื่อ "หลักไทย" ออกมาสู่สายตาประชาชน ยึดถือกันเป็นตำราหลายปี

ส่วนเรื่องอัลไต กับ น่านเจ้า ปัจจุบันถือว่า "จบ" ไปแล้วครับ เพราะว่า นักวิชาการจีนหลายท่าน ศึกษาทั้งทางภาษาและวัฒนธรรม สรุปว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับคนไตเลย เป็นคนคนละกลุ่มกัน

แล้วทำไมเรื่อง อัลไต มันฝังใจกันจัง ฮืม?
ก็เป็นเพราะว่าระบบการศึกษาไทยที่ไร้ประสิทธิภาพ คนทำเนื้อหาที่ไม่มีความเป็นนักวิชาการดี ยังคงมีการสอนทฤษฏีอัลไตกันอยู่ แต่บอกว่าเป็นทฤษฏีเก่า ก็แค่นั่น ถ้าให้ถูกคือ บอกนักเรียนไปเลยว่า ครั้งหนึ่งมีการสันนิษฐานที่ผิดไปจากความจริงว่า คนไทย มาจากอัลไต และได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเผด็จการทหาร เพื่อส่งเสริมความเป็นชาตินิยม ตามก้นฝรั่งยุโรป อย่าง ญี่ปุ่น ฮิตเลอร์ และมุโสลินี นี่แหละครับ ไม่มีสอนกัน นักเรียนไทยจึงฝังหัวกับ "อัลไต ทฤษฏีเก่า" ก็แค่นั่น อย่างนี้เรียกว่า "ไม่กล้าแตะ"

ส่วนเรื่องศรีวิชัย ขอตอบตามความเห็นนี้ครับ

--- แม้แต่ศรีวิชัย ก็ยังแสดงความเป็นเซเดสจ๋า เรียกเป็นชวา ทั้งที่ปัจจุบันก็ชัดเจนขึ้นมากว่า ศูนย์กลางของศรีวิชัยควรอยู่ในเขตประเทศไทย ---

ถ้าได้ศึกษางานของ ศ.ยอร์ช เซเดส์ อย่างละเอียดแล้วจะพบว่า สาเหตุที่ทำให้ท่านคิดเช่นนั้นก็เพราะว่า หลักฐานทางโบราณคดี หลายๆ ประการ เช่น โบราณวัตถุ โบราณสถาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศิลาจารึกที่พบมากมาย กับทำเลที่ตั้งที่ใกล้กับช่องแคบมะละกา ท่านจึง "ฟันธง" ว่าอยู่ที่บาเล็งบังครับ ไม่ใช่ชวา

แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่ ต้นราชวงศ์ของศรีวิชัยอาจมาจากชวา เพราะว่า มีพุทธสถานที่ใหญ่โตมาก เกินกว่าเมืองเล็กๆ จะสร้างได้ เมืองที่สร้างสิ่งก่อสร้างแบบนั้นได้ก็ต้องมีอำนาจมากในระดับภูมิภาคครับ

ส่วนในประเทศไทยนั้น มีนักวิชาการไทยหลายๆ ท่านพยายามชี้ว่าศรีวิชัย อยู่ที่ไชยา แต่หลักฐานที่นำมาสนับสนุนค่อนข้างอ่อนมากครับ ที่อ่อนคือ
๑. ศิลาจารึก ที่น่าจะเกี่ยวกับศรีวิชัย มีพบเพียงหลักเดียว แต่ในขณะที่สุมาตรา และชวา มีพบมากมาย

๒. ทำเลที่ตั้ง มาอยู่ทางอ่าวไทย ไม่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวงในการควบคุมการค้าทางทะเลตรงช่องแคบมะละกา

ถ้าเช่นนั้น ไชยา จะอยู่ในฐานะอะไร ? ผมมองว่าน่าจะเป็นประเทศราชหรือของศรีวิชัยครับ ทั้งนี้รวมไปถึงตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช) ด้วยเช่นกัน

นี่เป็นการมองโดยอิงจากหลักฐาน ไปหาผลนะครับ ไม่ใช่ ตั้งผล แล้วไปหยิบหลักฐานมาสนับสนุน

เรื่องศรีวิชัยนี้ยังเปิดกว้างครับ ถ้ามีหลักฐานใหม่ๆ ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้เสมอ

ส่วนความเห็นสุดท้ายที่ว่า
--- ขอจุดประกายให้ท่านที่สนใจใฝ่ศึกษาความเป็นมาตามความเป็นจริงของชนชาติไทไว้สั้นๆเท่านี้ หวังว่าก่อนตายจะได้เห็นหลักฐานที่แน่นหนา พร้อมการยอมรับอย่างกว้างขวางระดับโลก ในประวัติศาสตร์ของชนชาติไท-ลาว ที่สามารถลำดับย้อนหลังไปได้หลายพันปี ---

ผมก็ของหวังด้วยอีกคนครับ อิอิ ตอนนี้นักวิชาการบ้านเราก็ทำการศึกษากันเยอะพอสมควรแล้วหละครับ แต่ปัญหาคือ "ขาดการนำองค์ความรู้เหล่านั้น มารวมกัน" แล้วก็ "ขาดการนำเสนอข้อมูล ที่ง่ายต่อสาธารณะ" บ้านเราขาดอยู่ ๒ อย่างนี้แหละครับ แล้ว ผมก็คิดก็คงขาดต่อไปอีกนาน อิอิ
บันทึกการเข้า
Andreas
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 130


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 06 ต.ค. 05, 00:55

 To Khun Ju and Khun Nuchan, regarding No. 18-19

Thank you, Khun Ju for your response Also khun Nuchan.

The point that I cannot use Google search in Thai because I cannot type Thai……..kharb.
Although sometime I used my labtop to perform some search using Thai word…..There were only few of information shown up. And most of the time when I clicked that link…..it ended up at page error    

I strongly agree that library is the most useful tool to do searching…….Yet it is time consuming as well. Personally I love to use electronic resources since it is easy….(I am a bit lazy)

In my field, we basically rely on Google search at first…….then go to the real text resources….(Google search always give us the idea of where we have to go next).

Most of the time I use “journal search database” ………………. And to be honest to Khun Nuchan, I am not good at periodical search or manual search at all.

In my previous university in Thailand, there is only one library used periodical search….. Every time I went to this place I had to bring my friend to help me out………. Nowadays I always use electronic search since my work place has electronic library……my manual search skill even goes worst.  

By the way, searching for information is obviously easy comparing with re-organizing these obtained data. In order to re-organize or to re-write the report from multiple data, it definitely requires writing skill including conceptual skills. From my experience, I spent 2-3 days searching for the information needed…….but I spent 2-3 months to re-organize these information. Every time I have to do literature review in Thai, I end up thinking of my Thai language teachers in high school. I usually think that if my Thai language teachers read my review, I would be hit badly (555555555) …..Again every time I have to do literature review in English, it was even worst….. I spent more time and frequently think of my English writing teachers…….I am sure that they will hit me hard too when they read my writing…(555555555)

Finally, I usually think that If I could go back to the past….I would have learnt more and followed the recommend of my teachers regarding the writing skill.

Regards
Andreas
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 06 ต.ค. 05, 18:10

 มีคำแนะนำบางประการให้คุณ Andreas เพื่อให้การเขียน essay ไม่เป็นของยากมาก เมื่อคุณฝึกเขียนไปเรื่อยๆ อาจจะเปลี่ยนใจว่า พอได้ อาร์ติเกิลครบ ก็เท่ากับว่าเปเปอร์เสร็จไปแล้ว 80%

********
ปัญหาของนักเรียนไทย เวลาเขียนภาษาอังกฤษจะนึกถึงการเขียนภาษาไทยมาก  ซึ่งไม่เหมือนกันทีเดียว ตอนเขียน essay  เราต้องเขียน outline  เปรียบกับการสร้างบ้านที่เราตีผัง   outline เหมือนแผนที่ที่ผู้เขียนจะเดินตามไปสู่ตอนจบ  มีขั้นตอนดังนี้

1. ใน outline เราต้องจัดขบวนให้ดี ว่าไอเดียอะไรจะมาก่อน มาหลัง เรียกว่า “organizing the paper”
2. ตอนต้นเรื่องจะมี opening paragraph ที่เรียกว่าอินโทร ในอินโทร พยายามหาที่วาง thesis sentence ตอนต้นของเรื่อง
3. ต่อจากนั้นคือการลำดับเรื่องราว (เหมือนแปลนบ้านที่ต้องแบ่งเป็นห้องๆ เครื่องนอนย่อมไม่ปนกับเครื่องครัว)ดังนั้นไอเดียของแต่ละท่อนอย่าเอามาปนกัน เปเปอร์จะ messy and unorganized ทั้งนี้แต่ละท่อนจะเชื่อมด้วย transition เพื่อให้ราบรื่น)
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 06 ต.ค. 05, 18:16

 คุณ Andreas ลองอ่านอินโทรสองย่อหน้าข้างล่างนะคะ ส่วนที่ขีดเส้นใต้คือ thesis sentence. ถ้า thesis sentence สร้างได้เหมาะสม (สอดคล้องกับเรื่อง)   และวางถูกที่ ผู้อ่านอาจจะเดาได้ทันทีว่า the rest of the paper เกี่ยวกับเรื่องอะไร

เมื่ออ่านจบท่อนที่ 2  หากยังเดาท่อนที่ 3 ไม่ออก ก็เป็นไปได้ 2 อย่าง คือ thesis sentence ไม่ดี หรือคนอ่านอ่านไม่แตกค่ะ

“It was seven o’clock Sunday morning. I reached for the phone on my bed-side table, pulled it down to my lap, and dialed Jess’s number. I was not going to feel better until I had righted things between  Jess and me.

Sometimes being dropped by a close friend can be even more painful than by a lover.  While the storms, uncertainties and  instability of a romance can prepare one in some measures for their dissolutions, a broken friendship can feel like a sudden, complete rejection.”

I was dropped by a close friend in a way that shook my confidence. It happened when I was a freshman in college…..


หมายเหตุ: เส้นไม่ยอมขีด While the storms..... ประโยคนี้คือ thesis sentence
I hope it helps.
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 19 คำสั่ง