Nuchana
|
ความคิดเห็นที่ 60 เมื่อ 23 ก.ย. 05, 18:58
|
|
 พระพุทธเจ้าหลวง ขณะพระชนมายุ 28 พรรษา ปี พ.ศ. 2424 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Nuchana
|
ความคิดเห็นที่ 61 เมื่อ 23 ก.ย. 05, 19:01
|
|
 . |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Nuchana
|
ความคิดเห็นที่ 62 เมื่อ 23 ก.ย. 05, 19:17
|
|
 ตลาดสำเพ็ง ปี พ.ศ. 2449 ถิ่นชุมนุมของชาวจีนที่มากับเรือสำเภา แหล่งมาเฟียของกรุงเทพฯสมัยนั้น เป็นที่รวมของ ยาเสพติด ฝิ่น การพนันทุกรูปแบบ และซ่องโสเภณี ที่มีโคมเขียวแขวนหน้าบ้านเป็นสํญญลักษณ์ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Nuchana
|
ความคิดเห็นที่ 63 เมื่อ 23 ก.ย. 05, 19:20
|
|
 ภาพสเก็ตซ์ โรงแรมโอเรียนเต็ล |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Nuchana
|
ความคิดเห็นที่ 64 เมื่อ 23 ก.ย. 05, 20:45
|
|
แนวกำแพงเมืองวัดสระเกศ ภาพที่ 63 และ 64 มาจาก Bangkok in 1892 หรือปี พ.ศ. 2435ซึ่งนายฟูร์เนอโร (Fournereau) ช่างเขียนชาวฝรั่งเศส ที่พำนักในอินโดจีน เดินทางมาประเทศไทย และได้สเก็ตซ์ภาพสถานที่สำคัญของกรุงเทพหลายแห่ง
กรุงเทพฯในสายตาของชาวฝรั่งเศสผู้นี้ไม่น่าประทับใจเลย เขาบรรยายว่าเมื่อมาถึงกำแพงเมืองชั้นนอก เห็นคูคลองน้ำดำคลั่ก หน้าแล้งมีกระทั่งศพลอยน้ำมา บริเวณลานวัดสระเกศ เห็นนกแร้งและสุนัขรุมทึ้งศพที่เรียงรายรอเผา เตาเผาก็โชยกลิ่นควันปนกลิ่นศพ น่าวิงเวียนมาก สำหรับเขาแล้ว เมืองไซ่ง่อน สวรรค์กว่ากรุงเทพฯเป็นไหนๆ
หากกลับไปมองภาพถ่ายที่ 57 น้ำคลองสมัยนั้น ก็ไม่ได้เลวร้ายนัก หรือมีศพลอยแบบแม่น้ำคงคาตามที่นายมองสิเออร์พยายามจะบอก จึงไม่ทราบว่าช่างภาพรายนี้เปรียบเทียบแบบเกินจริง (hyperbole) หรืออคติ หรือว่าเราชาวสยามคุ้นกับสภาพเสื่อมโทรมจนไม่รู้สึกแปลก ในปี พ. ศ. 2434 นายฟูร์เนอโร ได้นำสำเนาจารึก 16 หลักไปพิมพ์ในหนังสือ Le Siam ancient ตีพิมพ์ปี 2438 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Nuchana
|
ความคิดเห็นที่ 65 เมื่อ 23 ก.ย. 05, 21:11
|
|
ช่างวาดชาวฝรั่งเศสคนเดิมบรรยายรถลากเทียมม้าคู่ไว้อย่างน่าอึดอัด ตัวรถเป็นตู้กรุด้วยไม้สัก ผู้โดยสารอัดแน่นเหมือนปลาซาร์ดีนกระป๋อง เวลาโดยสารหอบสัมภาระและตระกล้าพะรุงพะรังมาด้วย แถมตัวรถไม่มีหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ศรีปิงเวียง
|
ความคิดเห็นที่ 66 เมื่อ 25 ก.ย. 05, 11:01
|
|
คุณ Nuchan ครับ ขอเพิ่มเติมความเห็นที่ 58 นะครับ 1. ประทับเก้าอี้ คือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 2. ด้านซ้ายพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และประทับบนพื้น คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี 3. ทางด้านพระปฤษฎางค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ 2 จากซ้าย ตือ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนศรีธรรมราชดำรงฤทธิ์ 4. ที่ 5 จากซ้ายด้านพระปฤษฎางค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ พระบามสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 5. สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต น่าจะอยู่ทางขวาพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่เหลือไม่ทราบครับ แต่คาดว่าน่าจะมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาสครับ ผู้รูเที่เหลือวานช่วยชี้แจงด้วยครับ อนึ่ง ภาพนี่ตรงกับการเสด็จฯประพาสยุโรปครั้งที่ 1 และพระราชโอรสในภาพน่าจะเป็นพระราชโอรสที่ศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศรุ่นที่ 2 ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ไม่เห็นใครแน่นอน
|
|
|
Nuchana
|
ความคิดเห็นที่ 67 เมื่อ 25 ก.ย. 05, 20:37
|
|
ขอบพระคุณค่ะ ถ้าอย่างนั้นเมื่อตอนที่ดิฉันเรียนมัธยม ได้เรียนเกี่ยวกับจดหมายที่สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงมหาราชทรงเขียนถึงพระราชโอรส 4 พระองค์ ที่ไปศึกษาต่างประเทศ รุ่นนั้นคงจะเป็นรุ่นแรกที่เสด็จไปยุโรปใช่ไหมค่ะ
(4 พระองค์ ถ้าดิฉันจำไม่ผิดก็มี กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาท กรมหลวงปราจิณกิตติบดี กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช เอ...แต่รุ่นนี้ก็ยังภายหลังกรมหลวงพิษณุโลกฯเสด็จไปรัสเซียใช่ไหมค่ะ)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ศรีปิงเวียง
|
ความคิดเห็นที่ 68 เมื่อ 26 ก.ย. 05, 17:13
|
|
ภาพที่คุณ Nuchan ในความเห็นที่ 58 ดูในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือน ก.พ. 2534 แล้วครับ ผมพบว่าจริง ๆ แล้ว ภาพนี้เป็นภาพที่ตัดต่อมาแล้วครับ ถ้าเป็นภาพเต็ม ๆ จะมีสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถอยู่ด้วยครับ แต่กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาสมิได้ทรงฉายในภาพดังกล่าวครับ ป.ล. ดูเหมือนว่าภาพดังกล่าจะทรงฉายที่รัสเซียครับ และขอเพิ่มเติมข้อมูลเล็กน้อยครับ คือ กรมหื่นพิชัยมหินทโรดมทรงยืนทางด้านซ้ายสุดด้านหลังครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ไม่เห็นใครแน่นอน
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|