เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 25532 เรื่องของนายคนังมหาดเล็ก และประวัติเพิ่มเติมของเจ้าจอม ม.ร.ว.สดับ ลดาวัลย์
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 22 ต.ค. 05, 10:20

 เออเฮอแฮะ ! คุณ Nuchan ครับ คงต้องใช้ไม้บรรทัดทาบแล้วละครับ เพราะยังหาวิธีแก้ไขไม่ได้ครับ
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 25 ต.ค. 05, 22:19


วันนี้ขอส่งเฉพาะพระรูปสมเด็จเจ้าฟ้ามาลีนพดาราและสมเด็จเจ้าฟานิภานพดลก่อนนะครับ
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 14 พ.ย. 05, 20:35

 <html>
<head><title></title>
</head>
<body>
<img src="Resize of Resize of Picture.jpg>
<p align=center>คนังเป็นเด็กที่สังเกตกิริยาอาการของผู้อื่นแล้วจดจำเอามาทำท่าล้อเลียนได้เหมือนเสียจริง ๆ ทำได้เหมือนทุก ๆ คนและทุกอิริยาบทเสียด้วย บุคคลที่คนังชอบจำอิริยาบทมาทำท่าล้อเลียนก็คือพระองค์เจ้าคำรบ พระบิดาของม.ร.ว.เสนีย์และม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชนี่แหละ ทำได้เหมือนเสียจนพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงขัน และทรงรับรองว่าเหมือนจริง ๆ สมัยนั้นพระองค์เจ้าคำรบท่านเป็นผู้บัญชาการทหารอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ แต่มีราชการที่จะต้องเข้าเฝ้าฯ อยู่เนือง ๆ คนังจึงสังเกตกิริยาของท่านอย่างละเอียดลออแล้วเอามาทำท่าล้อท่าน ซ้ำยังเรียกท่านว่า "อ้ายทหารห้องหัก" สันนิษฐานว่าที่เรียกอย่างนั้นเพราะเห็นท่านทรงเครื่องแบบทหารม้าเข้าเฝ้าฯ เสมอนั่นเอง
</body>
</html>  
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 17 พ.ย. 05, 08:05

 เรียน คุณ nuchan และ อ.เทาชมพู ที่เคารพ
ผมหาวิธีแก้ไขไม่ได้จริง ๆ ครับว่า ทำอย่างไรจึงจะย่อหน้าได้ faq ก็ใช้ไม่ได้เลยไม่รู้จะทำประการใดครับ
ในความเห็นที่ 18 ฉายขณะทรงพระยศเป็นหม่อมเจ้าครับ
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
Dominio
ชมพูพาน
***
ตอบ: 128

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 10 ธ.ค. 05, 20:45


เจ้าจอม ม.ร.ว. สดับ ทรงพระสิริโฉมเป็นอันมาก
ในพระชนม์ไม่ถึง 20 พรรษา
บันทึกการเข้า
Dominio
ชมพูพาน
***
ตอบ: 128

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 10 ธ.ค. 05, 21:11


อีกภาพหนึ่ง ทรงฉายปี พ.ศ. 2450
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 10 ธ.ค. 05, 22:09

 เจ้าจอม ไม่ใช่เจ้านายค่ะ คุณ Dominio  บางท่านเป็นสามัญชน บางท่านเป็นเชื้อพระวงศ์ระดับม.ร.ว. อย่างเจ้าจอมม.ร.ว. สดับ
ไม่ต้องใช้ราชาศัพท์ค่ะ  
บันทึกการเข้า
Dominio
ชมพูพาน
***
ตอบ: 128

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 10 ธ.ค. 05, 22:13

 ขอบคุณค่ะ ถึงว่าสิค่ะ...เอ แล้วทำไมนั่งเก้าอี้กษัตริย์ได้ล่ะค่ะ
บันทึกการเข้า
Dominio
ชมพูพาน
***
ตอบ: 128

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 11 ธ.ค. 05, 09:49

 เมื่อสิ้นแผ่นดิน ร.5 การที่เจ้าจอมจะไปแต่งงานใหม่กับชายอื่น ถือว่า ok ไหมค่ะ
อ่านบทความของอาจารย์แล้ว แต่ยังฟันธงไม่ได้ค่ะ ว่า norm เรื่องนี้เป็นอย่างไร
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 11 ธ.ค. 05, 10:53

 เจ้าจอมสดับนั่งพระเก้าอี้ได้ เป็นพระกรุณาโปรดเกล้าฯเป็นกรณีพิเศษเพื่อถ่ายภาพค่ะ

เจ้าจอมตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ สามารถกราบถวายบังคมลาจากราชการฝ่ายใน กลับไปบ้านเพื่อสมรสใหม่ได้ค่ะ  มีพรบรมราชานุญาต
เว้นแต่ว่าเป็นเจ้าจอมมารดามีพระองค์เจ้าแล้วเท่านั้น ที่ทำไม่ได้    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯไม่โปรดฯในเรื่องนี้ ด้วยว่าจะเสื่อมเสียพระเกียรติยศถึงพระเจ้าลูกยาเธอ/พระเจ้าลูกเธอ
ได้ยินมาว่าในรัชกาลที่ ๕ ก็มีเจ้าจอมบางท่านกราบถวายบังคมลากลับไปอยู่กับพ่อแม่  แต่ไม่ทราบว่าสมรสกับใครหรือเปล่า  

เมื่อสิ้นรัชกาลที่ ๕ แล้ว   ถ้าคุณจอมม.ร.ว. สดับจะแต่งงานใหม่จริงๆก็คงได้    ดิฉันนึกไม่ออกว่ามีกฎหมายหรือกฎมณเฑียรบาลห้ามไว้  
แต่แน่นอนว่าก็ต้องมีเสียงติฉินนินทา และเจ้านายผู้ใหญ่ก็คงไม่ทรงเห็นด้วย เพราะทรงได้เครื่องเพชรเป็นของพระราชทานมากมาย  เกรงว่าจะเป็นที่หมายปองของชายที่หวังเรื่องสมบัติ
บันทึกการเข้า
ลำดวนเอ๋ยพี่จะด่วนไปก่อนแล้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 175

ความสุขที่แท้อยู่ที่ใจ


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 13 ธ.ค. 05, 12:10

 จำได้ว่า เคยอ่านเจอว่า หลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต เจ้าจอมสดับก็ได้ทูลเกล้าฯถวายเครื่องเพชรเพื่อขาย เอาเงินสบทบทุนสร้างโรงพยาบาลจุฬาฯ แล้วท่านเองก็ถือบวชรักษาอุโบสถศีล อยู่ที่วัดเขาบางทราย เมืองชลฯ แต่ท่านก็ยังคงสวมกำไลทองคำพระราชทานไว้มิได้ถอด ด้วยเพราะเป็นพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ซึ่งพระราชนิพนธ์กลอนจารึกไว้บนกำไล ในคำสุดท้ายว่า "....แม้นรักร่วมสวมไว้ให้ติดกาย เมื่อใดวายสวาทวอดจึงถอดเอย" ซึ่งในงานพระราชทานเพลิงศพท่าน ก็นำกำไลพระราชทาน จากข้อมือท่าน มาวางไว้ที่หน้ารูป นับว่า เจ้าจอมสดับ เป็นผู้ที่จงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ พระเจ้าอยู่หัวมากคนหนึ่ง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 13 ธ.ค. 05, 13:25

 คุณลำดวนคงเคยอ่านพบเช่นกันว่าครั้งหนึ่งมีพระยา ป. ไปพบคุณจอมสดับด้วยกิจธุระบางอย่าง
ตอนนั้นสิ้นรัชกาลที่ ๕ แล้ว  คุณจอมท่านอยูที่วังสวนสุนันทา  พึ่งบารมีพระวิมาดาฯ
ก็มีข่าวเล่าลือเป็นการใหญ่จนถึงพระกรรณของสมเด็จพระพันปีฯ  ว่าพระยาท่านนั้นมาติดพัน
ทั้งที่คุณจอมท่านไม่ได้รู้อีโหน่อีเหน่ด้วย  
ท่านก็เลยถวายเครื่องเพชรพระราชทานทั้งหมด  สมทบทุนสร้างตึกโรงพยาบาลจุฬา  เพื่อตัดข่าวครหานินทาให้หมดไป
น่าเสียดายว่าไม่ยักมีชื่อของท่านอยู่ในรายชื่อผู้บริจาค
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 14 ธ.ค. 05, 18:14

 ถึง อ. เทาชมพู ครับ
ผมได้ยินเรื่องราวที่ท่านถวายเครื่องเพชรแก่สมเด็จพระพันปีหลวงเพื่อลบคำครหาดังกล่าวนี้
ค้นดูแล้วพบว่า ตอนแรกเจ้าจอม ม.ร.ว. สดับทูลเกล้าฯ ถวายแก่ ร .6 แต่พระองค์ไม่ทรงรับเพราะเห็นว่า เมื่อพระราชบิดาพระราชทานให้แก่เจ้าจอม ม.ร.ว. สดับแล้ว ถือว่าเป็นสิทธิ์ขาด พระองค์รับไว้ไม่ได้ ต่อมาจึงถวายดังที่กล่าวมาครับ (แต่ที่ไม่มีชื่อท่านอาจเป็นเพราะท่านไม่คาดคิดว่าพระพันปีหลวงจะนำไปสมทบทุนสร้างโรงพยาบาล ท่านทราบแต่เพียงว่าพระพันปีหลวงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้านายพระองค์หนึ่งนำเครื่องเพชรไปขายเมืองนอก ไม่แน่ว่าพระพันปีหลวงอาจจะนำทรัพย์ที่ได้ดังกล่าวมาสมทบทุนในพระนามของพระองค์ก็เป็นได้ครับ ท่านก็เลยไม่มีชื่อในนั้น)
อ้างจากชีวประวัติเจ้าจอม ม.ร.ว. สดับ โดยกองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม
พ.ศ. 2527 (อ่านจากวารสาร)

มาถึงเรื่องของนายคนังมหาดเล็กต่อ (ต่อจากความเห็นที่ 18 )
"เด็กคนนี้มีความจำดีอย่างน่าอัศจรรย์ ไม่ใช่แต่เพียงจำท่าคนมาทำท่าล้อ ท่ารำละครไทยซึ่งค่อนข้างยากก็จำได้อย่างดี เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องเงาะป่าขึ้นแล้วทรงกำหนดให้คนังเล่นเป็นตัวของตัวเองในเรื่องนั้นจึงต้องฝึกรำ หม่อมเพื่อน บุนนาค หม่อมในสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นครูผู้สอน ทีแรกครูผู้สอนก็ออกจะวิตกว่าจะหัดยากเหมือนหัดลิงเล่นละคร แต่แล้วก็ผิดคาด ทั้ง ๆ ที่ไม่ค่อยจะได้เคี่ยวเข็ญเอาจริงเอาจังและมีเวลาฝึกน้อยแต่เมื่อเวลาออกโรงแสดงจริง ๆ นายคนังก็รำเข้าจังหวะจะโคนถูกต้องแม่นยำทุกระยะ ไม่ว่าเป็นการรำหน้าพาทย์ หรือรำใช้บท ทำเอาคนที่คุ้นเคยและเอ็นดูแกถึงกับน้ำตาไหลด้วยความสมเพชเวทนาว่า ตัวนิดเดียวซ้ำเป็นคนป่าดงยังอุตส่าห์ทำได้ดีถึงเพียงนั้น"

ป.ล. ไม่มีรูปเพราะคอมพิวเตอร์เกิดอาการผิดสำแดงครับ ไม่รู้จะเซฟไว้ที่ไหนอีกทั้งดึงออกมาไม่ได้อีกครับ
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 14 ธ.ค. 05, 18:16

 
"พวกเงาะเมื่ออยู่ป่าไม่ค่อยได้ใช้เสื้อห่อหุ้มร่างกายตอนบนไม่ว่าจะหนาวหรือร้อน นายคนังเมื่อเข้าไปอยู่ในพระราชฐานใหม่ ๆ แกก็ไม่ค่อยชอบสวมเสื้อ กลางคืนในฤดูหนาวอากาศเย็นจนใคร ๆ หนาวแต่คนังอยู่ได้โดยไม่สวมเสื้อ ต้องค่อย ๆ หัดให้สวม และในที่สุดเมื่อเคยเข้าหน่อยก็สวมได้ เมื่อสวมใส่ได้แล้วก็เลยมีเครื่องแต่งกายมากมาย ทั้งชุดลำลองสำหรับขึ้นเฝ้าฯ ในพระที่นั่งชุดปรกติสำหรับแต่งตามเสด็จเวลาเสด็จออกฝ่ายหน้า ชุดครึ่งยศเต็มยศสำหรับตามเสด็จในงานเครื่องยศเต็มยศมีทั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงพระราชดำริออกแบบพระราชทานทั้งสิ้น ขอเล่าลักษณะเครื่องแต่งตัวตามโอกาสต่าง ๆ ให้ทราบไว้โดยสังเขป ณ ที่นี้ด้วย

เครื่องแต่งกายลำลอง
เครื่องแต่งกายชุดนี้สำหรับนุ่งอยู่กับที่ หรือนุ่งขึ้นเฝ้าฯ ในพระที่นั่ง นุ่งกางเกงขากว้างเป็นกางเกงผ้าเกลี้ยงบ้าง ผ้าย่นบ้าง ผ้าดอกบ้าง ผ้าริ้วบ้าง แต่ทุกชนิดต้องเป็นสีแดงสด หรือแดงเข้มเสื้อใช้ผ้าสาลูขาวหรือเสื้อยืดแขนยาวแขนสั้นบ้างยาวบ้าง ใช้ผ้าคาดพุงสีเขียวบ้าง ตาสก็อตบ้าง แต่ไม่ใช้เข็มขัดเลย

เครื่องแต่งกายปกติ
เครื่องแต่งกายชุดนี้ สำหรับแต่งตามเสด็จออกข้างหน้าเป็นประจำวัน ใช้กางเกงแดงขาแคบสั้นครึ่งแข้งอย่างแต่งไทยแต่วิธีนุ่ง ๆ อย่างกางเกงจีน สวมเสื้อนอกทำนองเดียวกับเสื้อนอกทรงกระบอกแต่ไม่รัดอย่างเสื้อทรงกระบอก ตัดให้ได้ทั้งตัวและแขนหลวมหน่อย เพื่อให้สวมสบาย ใช้ผ้าสีแดงอย่างเดียวกับกางเกงดุมเสื้อ บางชุดก็ดุมทองเหลือง บางชุดก็ดุมผ้าหุ้ม บางชุดก็ดุมมุก สุดแต่คุณจอมช่วงบุตรีพระอินทรเดช (สังวาลย์) ซึ่งเป็นผู้ตัดเสื้อผ้าให้นายคนังท่านจะทำให้

เครื่องแต่งกายครึ่งยศ
เครื่องแต่งกายชุดนี้ สำหรับแต่งตามเสด็จในงานพิธีที่หมายกำหนดการกำหนดให้แต่งกายครึ่งยศ กางเกงเป็นกางเกงต่วนเกลี้ยงก็มี ต่วนดอกก็มี กำมะหยี่ก็มี แต่ไม่ว่าจะใช้ผ้าอย่างหนึ่งอย่างใดก็ใช้สีแดงทั้งนั้น เป็นกางเกงแบบขาแคบครึ่งน่องอย่างกางเกงไทย นุ่งแบบใช้ผ้าคาดเอวเหน็บชาย สวมเสื้อนอกผ้าชนิดเดียวสีเดียวกับกางเกง ดุมเสื้อใช้ดุมเงิน ถุงเท้ายาวสีขาว รองเท้าหนังสีดำ หมวกทำนองหมวกแขกแต่ทรงเตี้ยกว่า เย็บด้วยผ้าชนิดเดียวสีเดียวกับเสื้อกางเกง เวลาสวมครอบศีรษะลงได้มากกว่าหมวกแขก สวมสายห้อยล็อกเก็ตแก้วใสทรงรูปไข่ขนาดใหญ่ในเนื้อแก้วมีอักษรพระปรมาภิไธยย่อ  “จ.ป.ร.” อยู่ภายใน ข้อมืออีกข้างหนึ่งใส่สายสร้อยฝักแคทองคำเกลี้ยง อีกข้างหนึ่งใส่กำไลปลอกมีดทองคำเกลี้ยง ทั้งสายสร้อยและกำไลล้วนแต่ขนาดใหญ่กว่าที่เด็กผู้ใหญ่ชายหญิงสวมกันอยู่ในสมัยนั้น
เมื่อทรงพระราชดำริที่จะให้คนังสวมรองเท้าหนังนั้น เป็นที่วิตกกันอยู่ว่าแกจะสวมไม่ได้ อยู่ป่าอยู่เขาไม่เคยสวมรองเท้ามาเลยในชีวิต จะมาจับสวมคงได้หกล้มหกคะเมนกันบ้าง แต่แล้วก็ผิดคาด ตั้งแต่ครั้งแรกแกสวมรองเท้าแกเดินได้ฉับ ๆ อย่างองอาจ ไม่มีท่าเก้งก้างเหมือนเด็กใส่เกือกไม่เป็นเลย

เครื่องแต่งกายเต็มยศ
เครื่องแต่งกายชุดนี้ สำหรับแต่งตามเสด็จในงานเต็มยศ กางเกงเป็นต่วนเกลี้ยงหรือเป็นกำมะหยี่สีแดงรัดใต้เข่า ถุงเท้ายาวสีขาว รองเท้าหนังสีดำ เสื้อนอกผ้าเหมือนกางเกงยาวถึงตะโพกเป็นเสื้อผ้าอก แต่ผ่าป้ายค่อนไปทางขวาอย่างเสื้อจีน แต่ใช้ดุมเงินอักษรพระปรมาภิไธยย่อ จ.ป.ร. ภายใต้พระจุลมงกุฎด้วยดิ้นทองคาดรัดประคดแพรขาวและแพรแดงขวั้นเกลียวและสลับสี ปล่อยสองชายของรัดประคดห้อยลงมาทางเอวด้านซ้ายยาวลงไปเกือบถึงเข่า สวมหมวกแพรแดงสลับขาว เย็บในรูปลักษณะของผ้าโพกศีรษะของแขก เครื่องประดับนอกจากล็อกเก็ตแก้วพระปรมาภิไธยย่อดัวที่สวมกับเครื่องครึ่งยศแล้ว ยังสวมสายสร้อยยาวห้อยล็อกเก็ตรูปพรรณต่าง ๆ เป็นพวงอีก ๑ สาย ดังที่ปรากฏในรูปที่ตีพิมพ์ไว้ในหนังสือนี้แล้ว
สร้อยห้อยล็อกเก็ตต่าง ๆ เป็นพวงนี้มีประวัติว่า ในสมัยนั้นข้าน้ำคนหลวงของเจ้านายที่อยู่ในราชสำนักนิยมใช้สร้อยข้อมือและสายนาฬิกาที่มีล็อกเก็ตรูปร่างลักษณะต่าง ๆ ห้อยอยู่ด้วยหลาย ๆ อัน ตัวล็อกเก็ตมีชนิดต่าง ๆ เช่นฝังเพชรฝังพลอยก็มีเป็นทองรูปพรรณต่าง ๆ ก็มี และเป็นของเก๊ก็มี รูปร่างนั้นมีสารพัดอย่าง ใครมีล็อกเก็ตห้อยมากก็ถือกันว่าเก๊ แต่ก็ไม่นิยมไปซื้อหามาใส่เองให้มาก นิยมใส่ที่เป็นของให้แลกเปลี่ยนกันมีจารึกชื่อ จารึกคำหวาน ๆ แก่กัน และเป็นที่นิยมว่าถ้าใครยิ่งห้อยมากยิ่งเก๋ เพราะเป็นการแสดงว่า คนนั้นเป็นผู้ได้รับความนิยมจากเพื่อนฝูงมากนั่นเอง พอนายคนังมาอยู่เห็นสายสร้อยผูกล็อกเก็ตอีรุงตุงนัง ก็ชอบใจ เลยขอพระราชทานบ้าง แกเรียกสร้อยอย่างที่กล่าวนี้ว่า “ลูกห้อย” ซึ่งก็ออกจะตรงความหมายดีอยู่มาก พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงพระราชทานสายสร้อยคอมีล็อกเก็ตบ้างสองสามอันเป็นการประเดิม แล้วก็ทรงสอนให้คนังเที่ยวขอใคร ๆ เขาต่อไป ทำนองเดียวกับที่ชาววังเขาใส่มาก ๆ โดยวิธีขอซึ่งกันและกัน นายคนังก็เลยเที่ยวประจบขอคนนั้นบ้างคนนี้บ้าง ไม่กี่วันก็เต็มสาย เรื่อง “ลูกห้อย”  ของนายคนังนี้ ถ้าแกไปขอใคร ๆ ไม่มีให้ หรือว่าแกไม่ขอคนไหนทั้งที่อยู่ในราชสำนักอยู่ด้วยกัน คนนั้นก็ชักจะเป็นคนแหยไปทีเดียว
คนังเป็นเงาะป่าที่มีโชคดี และมีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ไม่ใช่เล่น เพราะพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงพระเมตตามากโปรดให้เข้าเฝ้าฯ รับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคบาทเป็นประจำและโปรดให้ตามเสด็จในโอกาสเสด็จออกฝ่ายหน้าหรือเสด็จในงานต่าง ๆ เนือง ๆ ในเวลาปรกติคนังจะเฝ้าอยู่จนถึงเวลาเสวยพระกระยาหารค่ำ คือราว ๒๒.๐๐ น. จึงจะกราบถวายบังคมลาไปนอน ที่จริงก็นับว่าดึกมากสำหรับเด็กตัวเท่านั้น แต่แกก็อยู่ได้ด้วยความสมัครใจอย่างยิ่งเสียด้วย"
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 15 ธ.ค. 05, 16:34

 
"     ในการที่แกมีโอกาสได้ตามเสด็จออกไปให้ข้าทูลละอองธุลีพระบาทฝ่ายหน้าเฝ้ากราบบังคมทูลข้อราชการนั้น แกได้ยินคำกราบบังคมทูลและพระราชกระแส แต่ใครอย่าไปถามแกให้ยากเลยว่ามีใครกราบบังคมทูลว่ากระไร และพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงตรัสว่าอย่างไร แกไม่ยอมบอกทั้งนั้น เว้นแต่พระวิมาดาเธอฯ ซึ่งแกเรียกว่าคุณแม่รับสั่งถามแกจึงจะบอก แล้วจะทำท่าทางของผู้เฝ้าฯ ถวายทอดพระเนตรด้วย นับได้ว่าเป็นผู้รักษามรรยาทของมหาดเล็กได้ดีอย่างเหลือเกิน

    คนังเป็นเด็กซึ่งปกครองง่าย ไม่ดื้อรั้น ไม่ขวางหูขวางตารู้จักทีขึ้นทีลง ผ่อนผันตัวเองได้ไม่ว่าเรื่องใดและในสถานที่อย่างใด ไม่กำเริบโอหังถือตัวว่าเป็นคนที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงโปรดปราน ประจบเก่งเข้าใกล้ชิดสนิทสนมได้หมดไม่ว่าใคร ๆ นับได้ว่าเป็นนักสังคมที่เก่งมาก
    เมื่อเดือนธันวาคม ร.ศ. ๑๒๔ (พ.ศ. ๒๔๔๘) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ถ่ายรูปคนังพิมพ์ขายที่ร้านถ่ายรูปหลวงในงานวัดเบญจมบพิตรราคาขายถึงแผ่นละ ๓ บาท ซึ่งนับได้ว่าเป็นราคาที่สูงมากในสมัยนั้น เพราะค่าของเงินยังไม่สูงมากไม่ต่ำเหมือนเดี๋ยวนี้ ข้าวสารถังหนึ่งราคายังไม่ถึง ๓ บาท แต่ก็ปรากฏว่าขายดีจนไม่พอขาย แต่เดิมโปรดให้พิมพ์รูปได้เพียง ๒๓๐ รูป แต่ขายดีจนไม่พอขายต้องพิมพ์เพิ่ม ได้เงินค่าขายรูปเกือบ ๑,๒๐๐ บาท ทรงแบ่งเงินเป็น ๓ ส่วน ถวายวัด ๑ ส่วน ใช้จ่ายเป็นค่ากระดาษน้ำยาที่ใช้ถ่ายรูป ๑ ส่วน พระราชทานแก่คนัง ๑ ส่วน ครั้นเมื่อคราวแสดงละครเรื่อง “เงาะป่า” เงินดูละครทั้งสิ้นก็พระราชทานแก่คนัง นับได้ว่ารวยมากทีเดียวเพราะมีแต่ได้ไม่มีเรื่องจะต้องใช้เงินเลย
    แม้ว่าการมาอยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารจะมีความผาสุกอย่างไร แต่คนังก็ยังหาได้เคยลืมพี่น้องพวกพ้องและถิ่นเดิมของเขาไม่ เขากราบบังคมทูล ขอให้เขาส่งรูปเขาไปให้พี่น้องพวกพ้องบ้าง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงก็ทรงส่งรูปนั้นไปให้เจ้าพระยายมราชพร้อมทั้งมีลายพระราชหัตถเลขากำกับไปด้วย"
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.133 วินาที กับ 19 คำสั่ง