เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 9833 ใครพอทราบ คำนำหน้า "สมเด็จ" ของเขมรบ้างครับ อย่าง สมเด็จฮุนเซน
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 17 มี.ค. 06, 09:39

 "เฮ้ย ทนาย ไวไวใครอยู่นอก"
รู้สึกจะมาจากบทละครพระราชนิพนธ์เรื่อง พระร่วง ครับ

เหมือนมีคำว่า ประแดง อีกคำหนึ่งนะครับ ไม่แน่ใจว่าแปลว่าอะไร แต่ผมรู้สึกว่าคล้ายๆ จะเป็นทนายที่มีตำแหน่งสูงกว่าทนายธรรมดาหน่อย

(ในชื่อสถานที่ พระประแดง ยังมีคำนี้อยู่ แต่ทำไมเป็น "พระ" ประแดง ก็ไม่รู้เหมือนกัน)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 17 มี.ค. 06, 09:50

 พจนานุกรมของราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๕๒ ให้ความหมายของประแดง ว่า
คนเดินหมาย  คนนำข่าวสาร ผู้สื่อข่าว นักการ พนักงานตามคน  
ตำแหน่งข้าราชการในสำนักพระราชวัง  บาแดง ก็เรียก

จำได้รางๆไม่แน่ใจว่าถูกหรือเปล่าว่า ประแดง มีหน้าที่คล้ายๆเสมียน  ต้องเขียนหนังสือเป็น  แล้วนำหนังสือ(หรือสาร)ไปส่งตามคำสั่งของเจ้านาย
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 17 มี.ค. 06, 13:29

 ในหนังสือ ศัพท์สันนิษฐานและอักษรวินิจฉัย ของ จิตร ภูมิศักดิ์ มีบทความหนึ่งชื่อ แผดง-กุํมฦาแดง(มีนฤคหิตอยู่บน ก และ า หางยาว แต่พิมพ์ไม่ได้ครับ) เป็นส่วนหนึ่งโครงร่างวิทยานิพนธ์เรื่อง "คำเขมรโบราณในภาษาไทย" ของจิตร ภูมิศักดิ์ครับ บทความนี้เขียนราว ๒๔๙๖-๒๔๙๗

พอจะเก็บความงูๆปลาๆได้ดังนี้ครับ

แผดง หรือ ประแดง เป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยมีศักดินาตั้งแต่ ๒๐๐-๖๐๐ โดยมากมีหน้าที่เกี่ยวกับงานหนังสือ แต่บางครั้งก็ทำหน้าที่อื่น เช่น ประแดงทองก้อนขวา และ ประแดงเกยดาบซ้าย ทำหน้าที่ดูแลพระราชมนเทียร

นอกจากนี้เท่าที่จิตรตรวจสอบ ยังมีประแดงอีก ๔ ตำแหน่งที่ทำหน้าที่เป็นต้นบัญชีทหารหัวเมือง ชื่อตำแหน่งทั้ง ๔ นี้ไปพ้องกับชื่อตำแหน่ง กุมฦาแดง ในกรมพระสุรัสวดี(สัสดี) ซึ่งจิตรตั้งข้อสังเกตว่า ประแดง และ กุมฦาแดง อาจจะเป็นตำแหน่งเดียวกัน

สำหรับคำ แผดง นี้ จิตรเชื่อว่าน่าจะเป็นคำเขมร แต่เท่าที่จิตรอ่านจารึกเขมรมาหลายสิบหลัก(ในเวลานั้น) ไม่เคยพบคำว่าแผดงหรือคำที่ออกเสียงใกล้เคียงเลย จะมีก็แต่บันทึกของทูตจีนโจวต้ากวานเท่านั้นที่มีกล่าวถึงขุนนางพวก pa ting และ ngan ting ซึ่งจิตรสันนิษฐานว่า pa ting คือ เผดง และ ngan ting คือ กมรเตง (ตรงนี้น่าเสียดายว่าตอนที่เขียนบทความนี้ จิตรยังไม่รู้ภาษาจีน และอ้างอิงบันทึกโจวต้ากวานฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษโดย Gedney การถ่ายเสียงยังเป็นที่สงสัยอยู่ แต่ถ้าจำไม่ผิด คุ้นๆว่าฉบับแปลไทยโดย อ.เฉลิม ยงบุญเกิด จะถ่ายเสียงเป็น อัน ติง หนังสือไม่ได้อยู่ข้างตัวตอนนี้ เปิดดูเมื่อไหร่จะมารายงานครับ ถ้าคุณ Peking Man หาต้นฉบับภาษาจีนได้ก็เยี่ยมไปเลยครับ - CrazyHOrse)

โดยที่คำนำหน้าชื่อและตำแหน่งขุนนางเขมรโบราณเรียงจากสูงลงมาตามลำดับเป็นดังนี้
พระบาทกมรเตงอัญ
พระกมรเตงอัญ
พระกมรเตง
กมรเตง
อมรเตง
มรเตง
กำเสตง
เสตงอัญ
เสตง
เตงตวน
เตง

จิตรจึงสันนิษฐานว่า กุํมฦาแดง คือ กมรเตง ส่วน แผดง คือ เตง

ถ้าเก็บความผิดพลาดประการใดต้องขออภัยครับ และ ขอโฆษณาอีีกครั้งหนึ่ง นี่เป็นหนังสือที่น่าเก็บสะสมมากอีกเล่มหนึ่งนะครับ น่าจะยังพอหาได้ตามร้านหนังสือ(แต่ยากหน่อย) และเข้าใจว่าจะไม่มีในงานหนังสือ เพราะผมเคยเดินหาหลายงาน/หลายรอบแล้ว สนพ.นี้ไม่รู้อยู่ที่ไหนหนอ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.044 วินาที กับ 19 คำสั่ง