ประชาชน
อสุรผัด

ตอบ: 24
Phd. Students
Department of Economic
University of Surrey
Guildford,
Surrey
United Kingdom
|
ผมพยายามค้นคว้า จากอินเตอร์เน็ตแต่ไม่ได้รายละเอียดมากไปกว่า เป็น Title ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานให้แก่บุคคลทั่วไป แต่ผมอยากทราบ เกี่ยวกับรายละเอียด เกี่ยวกับระบบ "บรรดาศักดิ์" ของเขมร
ใครพอมีความรู้เรื่องนี้ ช่วยตอบหน่อยครับ พอดีผมไม่มีความรู้เกี่ยวกับภาษาเขมร เลยไม่สามารถค้นจากภาษาเขมรได้
ขอบคุณล่วงหน้าครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ประชาชน
อสุรผัด

ตอบ: 24
Phd. Students
Department of Economic
University of Surrey
Guildford,
Surrey
United Kingdom
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 09 ก.ย. 05, 02:24
|
|
ผมคิดว่า คำว่า "สมเด็จ" นี้ของไทยเราก็คงยืมมาจากภาษาเขมร และมักใช้กับ พระราชวงศ์ชั้นสูง หรือกับพระ แต่เห็นเขมรในปัจจุบันมีคำนำหน้าว่า สมเด็จหลายคน เช่น สมเด็จฮุนเซน, สมเด็จเจียซิม เป็นต้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Hotacunus
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 21 ก.ย. 05, 08:06
|
|
เข้าใจว่า "สมเด็จ" คงเป็นคำนำหน้าขุนนางที่มีตำแหน่งใหญ่โต หรือ กษัตริย์ ของเขมรโบราณมาก่อนครับ ไทยเรารับมาใช้อย่างน้อยที่สุดก็ราวตั้งแต่สมัยพญาลิไท เป็นต้นมา โดยมีปรากฏในจารึกของพระองค์ครับ ส่วนไทยสายอยุธยานั้น คงมีใช้กันมานานแล้วตั้งแต่สมัยอาณาจักรลวปุระ (ลพบุรี) ซึ่งรับเอาขนบธรรมเนียมของเขมรมาใช้ในราชสำนัก และสืบต่อมาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ผมคิดว่า "สมเด็จ" ของเขมร คงเทียบได้กับ "พญา" หรือ "พระยา" ของไทยมั้งครับ เช่น พระยาพหลพลพยุหเสนา แต่ปัจจุบันเราได้ยกเลิกการใช้คำว่าพระยา กับขุนนางที่มีตำแหน่งสูงไปแล้วครับ ถ้าพระยาพหลฯ ไปเป็นขุนนางเขมรคงเป็น สมเด็จพหลพลพยุหเสนา มั้ง อิอิ อันนี้ ไม่ทราบครับ ผู้ใดรู้ บอกด้วยเด้อ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 21 ก.ย. 05, 10:01
|
|
ดิฉันเข้าใจว่า สมเด็จ เป็นคำนำหน้าเจ้านายนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Hotacunus
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 22 ก.ย. 05, 01:16
|
|
"เจ้านาย" ในที่นี้ หมายถึง เชื้อพระวงศ์ที่เป็นขุนนาง หรือเปล่าครับ เช่น
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์
แต่ในเขมร อย่างนายฮุนเซ็น ได้รับพระราชทาน ตำแหน่ง "สมเด็จ" ผมว่าความหมายน่าจะต่างจากไทย เพราะนายฮุนเซ็น เป็นสามัญชน เพื่อนเขมรของผมบอกว่า ฮุนเซ็น ถ้าแปลเป็นชื่อไทยก็ชื่อ นายแสน แซ่ฮุน ครับ อิอิ
สงสัยว่างๆ ต้องไปถามอาจารย์สอนภาษาเขมรซะแล้วครับ (แต่ยังไม่รู้เมื่อไหร่ ถ้าได้คำตอบแล้วจะมาโพสครับ)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
หม่อมจุมพฏเพ็ชรกล้า
มัจฉานุ
 
ตอบ: 78
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 22 ก.ย. 05, 15:32
|
|
สมเด็จในภาษาไทยใช้เป็นคำนำหน้าเจ้านาย แต่สมเด็จในภาษาเขมรไม่น่าใช้สำหรับเจ้านาย ไม่งั้นคงไม่มีสมเด็จฮุนเซ็น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 22 ก.ย. 05, 18:03
|
|
สมเด็จเจ้านโรดมสีหนุ สถาปนาฮุนเซ็นขึ้นเป็นสมเด็จ คำว่าสมเด็จนำหน้าเจ้านายมีทั้งเขมรและไทย ขอให้อ่านเรื่อง "ถกเขมร" ของม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ท่านกล่าวถึงเจ้านายเขมรไว้หลายองค์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
     
ตอบ: 1012
ทำงานราชการ
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 07 มี.ค. 06, 18:52
|
|
กระทู้เก่า แต่ขอหยิบขึ้นมาแจมครับ คุณประชาชนไม่ทราบยังตามอ่านอยู่หรือเปล่า
คำว่าสมเด็จนั้น ภาษาไทยรับมาจากภาษาเขมรแน่ เขมรปัจจุบันเรียกว่า (เวลาเขียนเป็นตัวหนังสือฝรั่ง) Samdech ออกเสียง ซัมเด็จ
เผอิญผมเพิ่งได้ถามคนเขมรมาเมื่อไม่กี่อาทิตย์นี้เอง เขาว่า คำนี้เป็น Title ครับ มี 3 ประเภท ซึ่งที่จริงระบบก็คล้ายๆ ไทยสมัยก่อน คือประเภทแรก สมเด็จ ที่เป็นสมณศักดิ์ของพระ ซึ่งไทยเราก็มีและยังมีอยู่ สมเด็จฯ วัดโน้นวัดนี้ไงครับ ตัวอย่าง สมเด็จเทพวงศ์ ท่านเป็นสังฆราชนิกายหนึ่งของสังฆมณฑลกัมพูชา จำไม่ได้ว่ามหานิกายหรือธรรมยุติ (เขมรมี 2 นิกายเหมือนคณะสงฆ์ไทย)
ประเภทสอง สมเด็จ ที่เป็นพระราชอิสริยยศของเจ้านายในราชสกุลกัมพูชา ซึ่งไทยเราก็มีอีกเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น สมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ พระโอรสกษัตริย์สีหนุ (หรืออดีตกษัตริย์สีหนุในเวลานี้)
ประเภทสาม เป็นบรรดาศักดิ์ที่ให้กับคนที่เคยเป็นคนธรรมดา แต่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ กษัตริย์กัมพูชาพระราชทานให้ อันนี้ ในระบบของไทยเคยมีแต่เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว อย่างสมเด็จเจ้าพระยาไงครับ ก็คือบรรดาศักดิ์ขุนนาง ไม่ใช่เจ้าไม่ใช่พระ เป็นคนธรรมดาที่เป็นขุนนาง (เลยไม่ได้เป็นคนธรรมดาอีกต่อไป? แซวนิดหน่อยครับ)
ประเภทสุดท้ายนี้หลังปี 2475 ไทยเราไม่มีแล้ว เขมรเองก็เพิ่งฟื้นฟูขึ้นมามีใหม่ไม่กี่ปีมานี้ เมื่อกษัตริย์สีหนุท่านกลับมาเป็นพระเจ้าแผ่นดินใหม่ และกัมพูชากลับเป็นราชอาณาจักรใหม่ (เขมรเป็นสาธารณรัฐเขมรอยู่พักหนึ่ง และเป็นเมืองคอมมิวนิสต์อยู่อีกพักหนึ่งอย่างที่เราทราบกัน) สมเด็จที่เป็นสามัญชนนี้ เพื่อนเขมรของผมว่า ขณะนี้มี 3 ท่าน คือสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรี สมเด็จเจีย ซิม ประธานรัฐสภา และสมเด็จเฮง สัมริน ซึ่งตอนนี้เป็นอะไรอยู่ผมก็ไม่ทราบ แต่เดาว่าคงจะแก่หง่อมเต็มทีแล้ว เป็นอดีตลูกพี่ของท่านฮุนเซนครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Histor
อสุรผัด

ตอบ: 20
นักดนตรี
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 08 มี.ค. 06, 03:20
|
|
สำหรับเขมรผมว่า น่าจะเป็นตำแหน่งสูงสุดของขุนนางที่ได้รับพระราชทาน ซึ่งถือว่าเป็นลำดับขั้นที่สูง ดังเช่นขุนนางของไทยก็มี"สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงค์."ซึ่งก็ได้รับพระราชทานให้มีศักดิ์อันสูงสุดแห่งขุนนาง ผมว่าน่าจะเป็นเช่นนี้นะครับ แต่ถ้าไม่ใช่ท่านผู้รูช่วยชี้แนะด้วยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Histor
อสุรผัด

ตอบ: 20
นักดนตรี
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 08 มี.ค. 06, 03:23
|
|
คุณนิลกังขาชัดเจนดีครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
     
ตอบ: 1012
ทำงานราชการ
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 08 มี.ค. 06, 11:16
|
|
ออคุณเจริญ (ขอบคุณมาก) ครับ
สำเนียงขแมร์เดี๋ยวนี้ออกเสียงเป็น -ชะเริน แล้วก็ต่อมาก็รวบเสียงเป็น -เชิน ไปแล้ว กลายเป็น ออคุณเชิน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เอ๋อคุง
อสุรผัด

ตอบ: 4
เรียน
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 16 มี.ค. 06, 00:34
|
|
คำว่า สมเด็จ ไทยรับมาจากเขมรพร้อมกับคำราชาศัพท์อื่นๆและสมมติเทพของกษัตริย์
ลำดับยศที่ใช้ พัน =>หมื่น =>จมื่น =>ขุน =>หลวง =>พระ =>พระยา =>เจ้าพระยา =>สมเด็จเจ้าพระยา
เมื่อมียศถึงสมเด็จเจ้าพระยา เป็นอิสริยยศสูงสุดถือเป็นชนชั้นเจ้านาย
**ยศชั้น เจ้าพระยาเกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ **ยศชั้น สมเด็จเจ้าพระยาเกิดขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน **พญา เป็นคำที่ใช้นำชื่อกษัตริย์ทางเหนือ **เมืองสุโขทัยใช้คำว่า พ่อขุน **สมเด็จ มีใช้เมื่อพระเจ้าอู่ทองรับอิทธิพลขอมมา แบบ สมมติเทพ หรือ สมบูรณาญาสิทธิราชย์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
B
แขกเรือน
ชมพูพาน
  
ตอบ: 148
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 16 มี.ค. 06, 04:24
|
|
อาจารย์และคุณหลวงนิลฯคะ พ่อฟัก จาก รัตนโกสินทร์ เริ่มต้นการทำงานด้วยการเป็นทนายให้คุณลุง (สมิงรัตสังราม?) ก่อนจะไต่เต้าขึ้นมาเป็นคุณพระ
ดังนั้น จากความเข้าใจและความจำของ B ยศต่ำสุดของขุนนางไทยนี่คือ ทนาย นะคะ เข้าใจถูกหรือเปล่าคะนี่? เพราะตอนนี้ชักจะไม่แน่ใจแล้วว่า "ทนาย" เป็นยศหรือตำแหน่งของขุนนางไทยกันแน่น่ะค่ะ?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 16 มี.ค. 06, 08:25
|
|
ทนาย ไม่ได้เป็นยศหรือตำแหน่งของขุนนางไทยค่ะคุณ B ทนายในสมัยอยุธยาตอนปลายและรัตนโกสินทร์ตอนต้นมาจนถึงรัชกาลที่ ๕ เป็นคนรับใช้ของขุนนาง ถ้าหากว่าเป็นผู้ที่ได้รับความไว้วางใจมาก เป็นหัวหน้าทนายอื่นๆก็เรียกว่า "ทนายหน้าหอ" พวกนี้จะคอยต้อนรับแขกที่มาหานาย หาหมากพลูบุหรี่น้ำเย็นมาให้ก่อนจะไปเรียนนายให้ทราบว่าใครมาหา
ทนายหนุ่มๆที่มารับใช้ขุนนาง เท่ากับได้เรียนงานไปในตัว เพราะสมัยก่อนขุนนางทำงานอยู่ที่บ้าน ไม่มีกระทรวงทบวงกรม ก็อาจจะได้เลื่อนขึ้นเป็นขุนนางถ้าไหวพริบสติปัญญาดี หรือถ้าไม่เอาไหนก็อาจจะดักดานเป็นทนายไปจนแก่ตาย
ในหนังสือบางเล่ม บอกว่าเจ้าพระยามหาเสนา(บุนนาค) ที่ชื่อเดิมของท่านเป็นที่มาของชื่อสกุลบุนนาค ก็เคยเป็นทนายในบ้านของเจ้าพระยาจักรีตลอดสมัยธนบุรี ไม่ได้เข้ารับราชการ เพราะมีเรื่องขัดเคืองกับสมเด็จพระเจ้าตากสินฯมาก่อน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
B
แขกเรือน
ชมพูพาน
  
ตอบ: 148
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 16 มี.ค. 06, 22:35
|
|
ขอบพระคุณค่ะ อาจารย์เทาชมพู จำได้จาก รัตนโกสินทร์ อย่างที่อาจารย์กรุณาอธิบายเหมือนกันค่ะ แต่เพิ่งทาบว่า ทนาย ไม่ใช่ยศหรือตำแหน่ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|