เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
อ่าน: 49883 เจ้าชายนักประพันธ์: หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 09 ต.ค. 05, 08:02

เรื่องแก๊ส  ดิฉันไม่มีความรู้เรื่องนี้เลยค่ะ  
ต้องขอความเห็นจากผู้รู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เข้ามาอ่านกระทู้นี้

การสิ้นชีพิตักษัยของท่านอากาศฯ   ดูเหมือนใบมรณบัตรที่ทางการฮ่องกงออกให้ ระบุว่าเป็นนิวมอเนีย
แต่ก็มีการเปิดเผยจากม.ล.อนงค์ นิลอุบล ว่าเป็นการปลงพระชนม์พระองค์เอง ตามข้างบนนี้

อัฐิของม.จ.อากาศดำเกิง  ถูกนำกลับมาประเทศไทย บรรจุในสถูปของราชสกุล รพีพัฒน์ ในบริเวณสุสานหลวงดราชบพิตร

หนังสืออ้างอิง
ภาษาและหนังสือ ปีที่ 35(2547) ฉบับ "รุ่งอรุณนวนิยายไทย"
ส่วนเรื่องการสิ้นชีพิตักษัย อยู่ในบทความของคุณอรสม สุทธิสาคร เรื่อง "ละครแห่งชีวิต(จริง) ของเจ้าชายหนุ่มนักประพันธ์" เป็นชีวประวัติสั้นๆของท่าน
บทความอีกบทหนึ่งที่ดิฉันนำมาอ้างอิงในกระทู้ คือ
"พัฒนาการนวนิยายไทย กรณีหม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์"
ของคุณพิเชฐ แสงทอง
และ พระนิพนธ์
"สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น"  ม.จ.พูนพิศมัย ดิศกุล
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 09 ต.ค. 05, 11:44

 คุณศรีปิงเวียงคะ คนเราไม่จำเป็นต้องตายด้วย คาร์บอนมอนออกไซค์ (CO) เสมอไปนะคะ ก๊าซที่มีไฮโดรคาร์บอน (C และ H) เป็นส่วนประกอบ ชนิดไหนก็ตาม สามารถทำให้เราตายได้ โดยไม่ต้องไปพูดให้เสียเวลาถึง killing gas เช่น ฟอสยีนที่ใช้ฆ่าชาวยิว  หรือ methyl isocynate ที่เมืองโบปาล อินเดีย สองอย่างหลังรู้จักกันในนามว่า  nerve gas ค่ะ

ก๊าซธรรมชาติที่มีคาร์บอน 1 อะตอม หรือ NGV ที่มีก๊าซหลักเป็น มีเทน (CH4) [ขอโทษค่ะ พิมพ์แบบ subscript ไม่เป็น] ก็ทำให้เราตายได้ ถังบรรจุจะหนาเป็นนิ้ว เพราะต้องลดอุณหภูมิหรือเพิ่มความดันไปที่ 3000 บาร์

ก๊าชตัวที่หนักขึ้นมาและมี BP พอจะอัดให้เป็น liquid ใส่ถังได้โดยไม่ต้องลดความดันมาก คือ บิวเทนและโพรเพน ซี่งมีคาร์บอน 3 และ 4 อะตอม ตามลำดับ เราเรียกว่าก๊าซหุงต้ม (ซึ่งถังบรรจุจะบาง)

ก๊าซที่ผ่านการ crack ทำให้มี double bond เช่น เอทธีลีน (Ethylene) หรือ triple bond อะเซตีลีน (acetylene) ก็ตายได้  

กลับมาถึงเครื่องทำความร้อน หรือฮีทเตอร์ มี 2 ประเภท คือแบบที่ปล่อยมาจากส่วนกลาง (central) และแบบ individual unit  แบบแรกแน่นอนว่าเราทำอะไรไม่ได้

แต่ว่าในสมัยก่อน ค่อนข้างแน่ใจว่าฮีตเตอร์เป็นแบบยูนิตใครยูนิตมัน ใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งแก๊สจะมาตามท่อ หรือมาเป็นถัง ปัจจุบันที่อเมริกา ฮีตเตอร์ระบบ gas-fired ก็ยังเป็นที่นิยมเพราะค่าแก๊สถูกกว่าไฟฟ้าครึ่งต่อครึ่ง

สิ่งที่ต้องทำก็เพียงเปิดแก๊ส โดยไม่ต้องจุด และปิดประตูหน้าต่างให้หมด มนุษย์เราก็สามารถค่อยๆตายได้อย่างไม่ทรมาน ภาษาอังกฤษ ที่รากศัพท์มาจากกรีก เรียกการตายที่เป็นสุข แบบค่อยเป็นค่อยไปว่า eu.tha.na.sia (eu=good, thanatos= death)

ในยุคที่น้ำมันราคาลิตรละเกือบ 30 บาท เวลาดิฉันขับรถไปต่างจังหวัดเส้นทางที่ไม่มีปั๊มแก๊สก็ไม่ยาก เพียงฉวยถังแก๊สหุงต้ม 15 ก.ก. ขึ้นรถพร้อมสายต่อ ถังจริงหมดที่ไหน ก็เอาถังสำรองต่อตรง ก็สามารถมานิปูเลทระบบได้
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 09 ต.ค. 05, 11:56

 ขอแก้ที่พิมพ์ผิดค่ะ ที่ถูกคือ 200 บาร์ หรือ 3000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 09 ต.ค. 05, 13:03

 บางซอร์สที่ดิฉันเคยผ่านตา ระบุว่าท่านสิ้นเพราะโรคมาเลเรียค่ะ ตรงนี้ดิฉันไม่ค่อยให้น้ำหนักเท่าไรนัก เพราะฮ่องกงเป็นเกาะ และมีป่าไม่มาก

ps.
propane = C3
       butane   = C4
       phosgene = CO+CL2 =COCL2 เมื่อเราหายใจเข้าไป CO จะไปรวมกับน้ำในร่างกายเกิด CO2 และ HCL ซึ่งตัวหลังจะทำลายเนื้อเยื่อปอด บางคนไม่เรียกฟอสยีน หรือฟอสจีน ว่า nerve gas เพราะคำจำกัดความบางอันของ nerve gas ต้องดูดซึมทางผิวหนังเพื่อไปทำลายสมองส่วนกลางทำให้เป็นอัมพาต แต่กรณีฟอสยีนจะมีพิษทางการหายใจเท่านั้น

ที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนครั้งหนึ่งผู้คนก็แตกตื่น เพราะบริษัทที่ขอส่งเสริมฯจำต้องผลิตฟอสยีนเพื่อเป็นส่วนผสมในการทำโพลิเมอร์ ประเภทโพลียูรีเทน เคลือบเงาพื้นไม้  จริงๆแล้วหากไม่รั่ว ก็ไม่เป็นอะไรค่ะ
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 11 ต.ค. 05, 11:36

 ขอบพระคุณคุณ Nuchan เป็นอย่างสูงครับ เพราะเรื่องสารประกอบไฮโดรคาร์บอนผมยังไม่ได้เรียนเลย
ส่วนประเด็นการสิ้นชีพิตักษัยของหม่อมเจ้าอากาศดำเกิงนั้น สุดปัญญาที่จะคิดแล้วครับ ครั้งนี้ถือเป็นการโพสต์ครั้งที่ 2 ยังมิได้รายงานตัวเลยครับขออภัยด้วย
มานึกได้พอดีว่า ก่อนท่านสิ้นชีพิตักษัยนี้ ท่านประชวรมาก่อนหรือไม่ ถ้าไม่ ผมก็คงต้องเพิ่มในทำเนียบฯ (ที่มิอยากจะเพิ่มเท่าใดนัก) ครับ และทำไมทางฮ่องกงจึงบอกว่าเป็นเพราะโรคปอดบวม สมัยนั้นมีการชันสูตรพลิกศพหรือเปล่า หรือว่าสามีหม่อมหลวงอนงค์จะบอกกับปากของตำรวจที่นั่นครับ
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 11 ต.ค. 05, 12:19

 เป็นความผิดของดิฉันเองที่เล่าข้ามชอต ใบมรณบัตรระบุไม่ผิดหรอกค่ะ

โรคปอดบวม (pneumonia) คือโรคที่เนื้อเยื่อปอดพองด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น bacteria pneumonia, chemical pneumonia, fungus pneumonia etc. อันแรกจะพบบ่อยที่สุด อันที่สองคือกรณีท่านอากาศฯ อันสุดท้ายน้อย

แม้เราสูดเอาคาร์บอนมอนออกไซค์ (CO) เข้าไป   แต่คนเรา (ultimately) ตายเพราะคาร์บอนไดออกไซค์ (CO2) นะคะ   ไม่ใช่ CO

ในร่างกายเรามีน้ำ (H2O) หากเราหายใจเอาคาร์บอน (C) ไม่ว่าจากแก๊สอะไรที่มี C ก็ตาม จะเกิดคาร์บอนไดออกไซค์ที่ขังตามเนื้อเยื่อปอด ผลคือ หมดสติ และเนื้อเยื่อปอดโป่งพอง  (swollen lung tissues)  
CO+H2O    H2+CO2

ดังนั้นโรคปอดบวมอาจเป็นปัจจุบันโรคโดยไม่ต้องมีสัญญาณเตือน
*********

สำหรับ “ ไฮโดรคาร์บอน”  เราต้องระวัง  C
แต่ในฟอสยีน  (COCL2)  เราต้องระวังทั้ง 2  ส่วน คือ ส่วนหน้าที่จะกลายเป็น CO2 และส่วนหลังที่จะเป็น HCL  
ในอุตสาหกรรมเคมีและปิโตรเคมีต้องใช้คลอรีนมาก วิธีผลิตเราต้องแยกคลอรีนจากเกลือ (NaCl) แต่ต้องเป็นเกลือสินเธาว์ซึ่งมีความปนเปื้อนน้อยกว่าเกลือสมุทร ปัญหาดินเค็มจากการทำเหมืองเกลือในภาคอีสานเกิดจากเจ้าของโรงคลอรีนผู้ยิ่งใหญ่นั่นแหละ

***********
การตายที่ถือว่าเป็น euthanasia อีกอย่างหนึ่ง คือการจบชีวิตนัดโทษขั้นเด็ดขาดโดยการฉีดยา  เพื่อไม่ให้เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามที่ Amnesty International เรียกร้อง

เวลาฉีดต้องฉีด 2 เข็ม เข็มแรกเพื่อให้สลบ เข็มสองคือการปลิดวิญญาณโดยไม่ให้  choke ตัวยาโปตัสเซียมคลอไรด์ (KCL) จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหยุดเต้น
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 13 ต.ค. 05, 15:02

 ดิฉันใคร่ขอเรียนถามค่ะ จากหนังสือ "เลาะวัง" ที่พึ่งซื้อมา คุณจุลลดา ภักดีภูมินทร์ เล่าว่า
1. กรมหลวงราชบุรีฯ เสด็จกลับจากอังกฤษ ก็ทรงต้องพระทัยกับ ม.จ. ที่เป็นพระธิดา ของพระอนุชาสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงฯ ซึ่งพระองค์ท่านพอพระราชหฤทัยและทรงสู่ขอให้  แต่ภายหลังอยู่กันไม่ได้ พระองค์ทรงรับสั่งว่าเรื่องคู่ครองของใคร พระองค์ทรงไม่ประสงค์ข้องเกี่ยวอีก ถ้าเป็นเช่นนี้หม่อมแม่ของท่านอากาศฯ คือ หม่อมอ่อนหรือ ม.จ. ท่านนั้นคะ? (ดิฉันอาจสับสนเพราะเมื่อคืนครึ่งหลับครึ่งตื่น และตอนนี้ไม่มี ref ใกล้มือค่ะ)
2. คุณย่าที่เล่าเรื่องให้คุณจุลลดาฟัง คะเนอายุก็น่าจะรุ่นราวคราวเดียวกับ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ฯ อาจารย์เทาฯ พอทราบนามคุณย่าไหมค่ะ
3. ลิขสิทธิ์ ละครแห่งชีวิต ตามหนังสือที่อาจารย์อ้างอิง ได้ระบุไหมค่ะว่าตกอยู่กับท่านผู้ใด (ส้มหล่นใส่องค์ไหนน่ะค่ะ)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 14 ต.ค. 05, 08:39

1) หม่อมแม่ของม.จ.อากาศดำเกิงคือหม่อมอ่อน   ส่วนเจ้านายสตรีองค์นั้นคือพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าหญิงอรพัทธ์ประไพ  พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าชายจาตุรนต์รัศมี  กรมพระจักรพรรดิพงศ์ (ต้นราชสกุล จักรพันธุ์ ฯ)
พระองค์เจ้าอรพัทธ์ประไพ เมื่อประสูติทรงดำรงพระยศเป็นหม่อมเจ้าอรพัทธ์ประไพ ค่ะ
2) คุณย่าของม.ล.ศรีฟ้า  ลดาวัลย์  ชื่อหม่อมห่วง   เป็นธิดาของพระประเสริฐวานิช (เจ้าสัวเขียว เหล่าประเสริฐ)   ท่านเคยเป็นนางข้าหลวงในตำหนักพระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาฎปิยมหาราชปดิวรัดา(พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์)  มาก่อนจะทูลลาออกจากวังกลับมาอยู่บ้านเนื่องจากมารดาถึงแก่กรรม ท่านต้องดูแลบ้านช่องให้บิดา  
เมื่ออายุ 18 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสู่ขอท่านต่อพระประเสริฐวานิช ให้หม่อมเจ้าเพิ่ม ลดาวัลย์  เชษฐาในพระวิมาดาฯ   ท่านจึงเป็น"หม่อมพระราชทาน " เป็นหม่อมเอกของหม่อมเจ้าเพิ่ม  ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ด้วย

หม่อมห่วง  ไม่ได้อายุรุ่นราวคราวเดียวกับม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ค่ะ  ท่านเกิดเมื่อพ.ศ. 2421  ส่วนม.ร.ว. คึกฤทธิ์เกิดเมื่อ พ.ศ. 2454 ห่างกัน 33 ปี ท่านมีอายุคราวป้าของม.ร.ว. คึกฤทธิ์

3) ไม่ทราบชื่อ  ทราบแต่ว่าเป็นนายแพทย์ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของม.จ.อากาศดำเกิง   ต่อมาได้ขายลิขสิทธิ์ทั้งหมดให้ส.น.พ. แพร่พิทยา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 14 ต.ค. 05, 08:49

 ถ้าคุณ Nuchan สนใจเรื่องราวในอดีตอย่างใน "เลาะวัง" ไปงานมหกรรมหนังสือ   น่าจะซื้อ "ชีวิตในวัง" เล่ม 1-2 ของม.ล.เนื่อง นิลรัตน  
ท่านเคยเป็นนางข้าหลวงของพระวิมาดาฯ ตั้งแต่รัชกาลที่ 6   ปัจจุบันอายุเก้าสิบกว่าแล้ว ยังแข็งแรงความจำดี    ท่านเล่าเรื่องในวังเอาไว้สนุกมาก
มีขายที่บูธ ส.น.พ. ศรีสาราค่ะ   ประชาสัมพันธ์ให้ฟรีๆ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 14 ต.ค. 05, 16:50

 ขอขอบพระคุณอาจารย์เทาฯ ที่กรุณาไขปัญหาข้างต้นคะ สามสี่วันนี้ดิฉันติดสัมมนา ตจว. พรุ่งนี้เขาจะพาไปชมพระตำหนักบ้านปืน ที่หัวหิน ซึ่งไม่ใช่ไฟท์บังคับ ก็อาจจะจะหนี แต่หากสวยเหมือนพระที่นั่งวิมานเมฆก็ไม่น่าโดดค่ะ

ดิฉันพึ่งมีโอกาสเดินงานสัปดาห์หนังสือเพียง 2 ชม. ได้เลาะวังเกือบครบเซ็ท และนิยายจีน 2 ชุด คงฟาล์วสำหรับครั้งนี้แล้วค่ะเพราะติดงานสัมมนา แต่จะฝากคนไปซื้อ ขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 17 ต.ค. 05, 10:32

 ขอบพระคุณคุณ Nuchan มาในโอกาสนี้ครับ และขอถามในกระทู้นี้เลยนะครับว่า หม่อมเจ้าเพิ่ม บิดาของเจ้าจอม ม.ร.ว.สดับนี้ ท่านทรงเป็นพระโอรสในกรมหมื่นภูมินทรภักดี และหม่อมอะไรครับ
ผมไม่เคยอ่านหนังสือชีวิตในวังครับ แต่เคยอ่านบทความของท่าน (จำชื่อไม่ได้) ท่านเล่าได้สนุกดีครับ และผมยังแปลกใจว่า ท่านอายุมากขนาดนี้แล้วยังมีความจำดีและกระฉับกระเฉงมากครับ (ปีที่เขียน ราว ๆ 2531)
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 17 ต.ค. 05, 10:54

 ไม่ทราบชื่อหม่อมมารดาของม.จ.เพิ่ม ทราบแต่ว่าเป็นคนละท่านกับหม่อมมารดาของพระวิมาดาฯ
ม.ล.เนื่อง นิลรัตน ปัจจุบันอายุ 92 แล้ว   การเคลื่อนไหวช้าลงไปบ้างแต่ยังช่วยตัวเองได้  ความจำดีทุกอย่าง  พูดถึงชีวิตในวังเมื่อ 70-80 ปีก่อนเหมือนเพิ่งเกิดขึ้นไม่กี่ปีนี้เองค่ะ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 17 ต.ค. 05, 12:39

 หม่อมมารดาของพระวิมาดาฯ ชื่อ จีน ดังนั้นหม่อมมารดาของหม่อมเจ้าเพิ่ม ต้องเป็นท่านอื่น

เห็นหลายๆท่านพูดถึง "ชีวิตในวัง" ว่าสนุกมาก ดิฉันคงจะต้องซื้อทางเมล์เสียแล้ว เพราะรองานมหกรรมหนังสือครั้งต่อไปไม่ไหว

คุณชุลิตา อารีย์พิพัฒนกุล บรรณาธิการพลอยแกมเพชร กล่าวถึงท่านว่า เริ่มชีวิตนักเขียนเมื่ออายุ 72 ปี เขียนเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันอายุ 88 ปีแล้ว ยังเขียนต่อไปอย่างไม่มีกำหนด แม้ตอนนี้สายตาจะไม่ค่อยดีแล้วก็ตาม...

"ท่านช่างจำ ช่างเล่า มีมุขตลกขบขัน เด็กๆ สมัยใหม่คงไม่เคยได้เห็นว่าเด็กสมัยโน้นเขาซนกันอย่างไร น่าถูกตีขนาดไหน ใครที่ได้ใกล้ชิดท่าน จะบอกเสมอว่าท่านเป็นเด็กแก่น จนครั้งหนึ่งโรงละครกรุงเทพได้จัดกิจกรรม เล่าเรื่องเก่ากับสาวแก่น ขึ้น" นับผลงานของท่านทั้งเขียนบันทึกความทรงเรื่อง "ชีวิตที่อยู่ร่วมกันในวังสวนสุนันทา ตำหนักพระวิมาดา กรมพระสุทธาสินีนาฏ"

ตายแล้ว...อ่านถึงตรงนี้ ดิฉันต้องไปหาใบแป๊ะก้วยมากินเสียแล้ว เพราะหมู่นี้อัลไซเมอร์เริ่มรับประทาน
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 09 ธ.ค. 22, 11:27

อาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ เขียนถึง เหตุมรณกรรมที่ฮ่องกง ของหม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์

ลงมติชนรายสัปดาห์ https://www.matichonweekly.com/special-report/article_251581

        เบื้องหลังฉากชีวิตของ ม.จ.อากาศดำเกิง รพีพัฒน์ ของอรสม สุทธิสาคร กล่าวถึง การฆ่าตัวตายด้วยแก๊ส
และมี ชีวิตหนึ่งที่ได้อยู่ข้างเคียงในวาระสุดท้าย…นายผล นิลอุบล

        ผมพากเพียรตามค้นคว้าเรื่องของนายผลอยู่หลายปี แต่พอได้มาอ่านเอกสารว่าด้วยฮ่องกงในปี ค.ศ.1932 ตามคำแนะนำ
ของวัฒนา กีรติชาญเดชา (นักศึกษาปริญญาโท สาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้สนใจค้นคว้าเรื่องยาจีนแผนโบราณ
และเรื่องฮ่องกงในอดีต) น่าแปลกที่ไม่พบการเอ่ยถึงนายผลที่ฮ่องกงเลย
        ถ้าจะมีใครที่ได้คลุกคลีกับเจ้าชายนักประพันธ์ก็น่าจะเป็นครอบครัวของ Mr. Schear ซึ่งรู้จักท่านชายในนามมิสเตอร์ซี.เอส. ลี
ส่วนคนไทยที่ได้ร่วมใช้ชีวิตกันกับท่านชายห้วงยามนั้นคือนักเรียนไทยในฮ่องกงที่ชื่อ สุมานัส ศุภศิริวัฒน์ (Sumanas Supasirivat)

(tnews)


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 09 ธ.ค. 22, 11:30

            ข้อมูลในหลักฐานเอกสารที่เพิ่งค้นพบระบุว่า ตอนเช้าวันพุธที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ.1932 หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง
ได้ออกจากห้องหมายเลข 6 ตึกอาคารวิงล็อก (Winglock Building) ซึ่งเป็นที่ทรงพำนักบ่อยๆ ขณะอยู่ในฮ่องกง
โดยท่านชายเขียนโน้ตทิ้งไว้ว่าจะเดินทางไปมาเก๊า จากนั้นไปยังโฮเต็ลเซซิลล์ (Hotel Cecil) ลงชื่อผู้เข้าพักคือ ซี.เอส. ลี (C.S.Lee)
สั่งแก่รูมบอย (Room Boy) ว่าอย่าให้ใครมารบกวน
           วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ.1932 เวลาประมาณ 19.30 น. รูมบอยของโรงแรมไม่สามารถเปิดเข้าห้องพักดังกล่าวได้
จึงแจ้งผู้บริหารโรงแรมและทางโรงแรมได้แจ้งไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจ
           เมื่อตำรวจฮ่องกงนำโดยสารวัตร เอ.เจ. ดับบลิว. ดอร์ลิง (A.J.W. Dorling) มาถึงห้องพักที่โรงแรม พอพวกเขาไขเปิดประตู
ด้วยกุญแจมาสเตอร์คีย์ ก็แลเห็นร่างมิสเตอร์ ซี.เอส. ลี อยู่ในสภาพย่ำแย่ ต้องรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที

           ครั้นนายแพทย์เอช. ดี. แมทธิว (Dr.H.D. Matthews) ตรวจดูก็พบว่าร่างนั้นอุณหภูมิเท่ากับ 103 ํF จึงสันนิษฐานและรายงานว่า
เป็นอาการมาลาเรียขึ้นสมอง หรือ Cerebral malaria
           มิสเตอร์ลีสูญสิ้นลมปราณในคืนวันนั้น ณ Government Civil Hospital สืบทราบต่อมาว่าเขาคือ Prince Akas Rabi หรือ
ที่เมืองไทยคุ้นเคยกันดีในนามหม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์ สารวัตรดอร์ลิงแจ้งไปยังเจ.ที. บากรัม (J.T. Bagram) แห่งกงสุลเยเนราลสยาม
ณ เมืองฮ่องกง


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.056 วินาที กับ 19 คำสั่ง