เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 49953 เจ้าชายนักประพันธ์: หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 08 ก.ย. 05, 19:51


พิมพ์ครั้งที่ 20 พ.ศ. 2517
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 12 ก.ย. 05, 11:49

 หน้าปกในค.ห. 14  อาจจะแก่กว่าดิฉัน
ส่วนปกในค.ห. 15  คิดว่ารุ่นราวคราวเดียวกับคุณจ้อและคุณอ๊อฟ
**************************************
เนื้อเรื่องของ"ละครแห่งชีวิต"  มีศูนย์กลางอยู่ที่ชายหนุ่มชื่อวิสูตร ศุภลักษณ์ ณ อยุธยา
เป็นบุตรของขุนนางสำคัญ  แต่ว่าอาภัพความรักจากบิดา ทำให้มีปมด้อยตั้งแต่เล็ก
ต่อมาวิสูตรได้ไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ   โดยพำนักที่บ้านสามีภรรยาชาวอังกฤษคู่หนึ่ง    
เขาได้พบนักหนังสือพิมพ์สาวชาวอังกฤษซึ่งเป็นเพื่อนกับครอบครัวนี้ ชื่อ มาเรีย เกรย์  
เธอชักนำวิสูตรเข้าสู่วงการหนังสือพิมพ์
วิสูตรจีงมีโอกาสได้ทำงานให้หนังสือพิมพ์ "ลอนดอนไทมส์" แทนที่จะศึกษากฎหมายอย่างที่ตั้งใจไว้แต่แรก
แต่วิสูตรก็ "รุ่ง" ในวงการได้ไม่นาน   เขาประสบอุบัติเหตุ ต้องรักษาอยู่นาน
พอฟื้นตัว ร่างกายก็ไม่อาจทนความตรากตรำของอาชีพนักหนังสือพิมพ์ได้อีก
วิสูตรจึงอำลาประเทศอังกฤษไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา     แต่สุขภาพก็บั่น
ทอนเขาจนศึกษาไม่จบ  
เขาจึงตัดสินใจเดินทางกลับประเทศไทย เพื่อมาเริ่มอาชีพนักประพันธ์  
ส่วนไมตรีระหว่างเขากับมาเรีย เกรย์ ก็จบลงเป็นเพียงแค่เพื่อนกันเท่านั้น  
ไม่อาจจะคืบหน้าไปมากกว่านี้ได้  เพราะอุปสรรคหลายอย่างรวมทั้งความแตกต่างกันเรื่องเชื้อชาติด้วย

ความรันทดขมขื่นของวิสูตรที่ประสบอยู่ทุกช่วงชีวิต กลายมาเป็นเสน่ห์ตรึงใจคนอ่าน ตั้งแต่บทแรกจนบทจบ  
คนอ่านสัมผัสอารมณ์เจ็บปวดของตัวละครเอก  จนพลอยรู้สึกร่วมไปด้วย
 ผู้นิพนธ์ทรงบอกเล่าความรู้สึกของวิสูตรอย่างตรงไปตรงมา    หลายตอนแสดงให้เห็นว่าทรงเรียกร้องให้สังคมปรับเข้าหาบุคคลผู้มีปัญหา  ด้วยความเมตตาเห็นอกเห็นใจ มากกว่าจะเมินเฉยหรือตำหนิติเตียน

อย่างเรื่องความสัมพันธ์ของผู้ให้กำเนิดกับบุตร    ในสมัยก่อนนั้นสังคมไทยมี"ขนบ" ปลูกฝัง "หน้าที่" ของบุตร   เช่นย้ำเรื่องความกตัญญูต่อบิดามารดา    
ม.จ.อากาศดำเกิงทรงแหวก "ขนบ" นี้ไม่มากก็น้อย
ทรงเรียกร้องให้บิดามารดาตระหนักถึง "หน้าที่"  ของตัวเองที่มีต่อบุตร   ไม่ใช่บุตรมีหน้าที่ต่อบิดามารดาฝ่ายเดียว  
ทรงเรียกร้องอย่างตรงๆ ว่า

"  ข้าพเจ้าขอวิงวอนให้ท่านมีใจยุติธรรมพอที่จะให้โอกาสเด็กที่เกิดมามีกรรมอาภัพ  ให้สมกับที่เขาควรจะได้รับในฐานะที่เป็นบุตรและธิดาของท่าน  
แม้ว่าหน้าตาเขาจะไม่สวย  กิริยาท่าทางของเขาจะขวางๆ  รีๆ  ก็ไม่ใช่สิ่งที่เขาทำมาได้เอง   อย่างน้อยเขาควรจะได้รับความสงสาร  
ท่านมีหน้าที่จะต้องช่วยเหลือเขาบ้างตามสมควร
ข้าพเจ้าไม่ต้องการให้ท่านรักคนโน้นเกลียดคนนี้   เพราะความรู้สึกเช่นนี้ของท่านจะปั้นชีวิตของเด็กต่อไปภายหน้า"
บันทึกการเข้า
อ๊อฟ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 167

SIIT, TU


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 13 ก.ย. 05, 09:30

 ยังแอบอ่านอยู่ครับ    
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 14 ก.ย. 05, 13:13

 ยกโซฟามาให้นั่งแถวหน้าเลยค่ะ คุณอ๊อฟ เขยิบที่ให้แฟนด้วยนะ  
**********************************
ความคิดของวิสูตร ถ้าหากว่าเป็นสมัยนี้ก็ไม่แปลกอะไรนัก  เพราะเราคงได้ยินจิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ ครู ฯลฯ เรียกร้องให้พ่อแม่เข้าใจลูกกันบ่อยๆ
แต่เมื่อ เจ็ดสิบกว่าปีก่อน ในยุคก่อนประชาธิปไตย   ข้อคิดแบบนี้เป็นความแหลมคมเสียดแทงใจคนอ่านจำนวนมาก  
เพราะคนที่รู้สึกคล้ายคลึงกัน  หรือเห็นอกเห็นใจลูกอย่างวิสูตร  ก็มีไม่น้อย แต่ไม่มีใครกล้าพูดกันเปิดเผย  
ในยุคที่ถือความเคารพและความกตัญญูเป็นใหญ่  มันเหมือนกับการ ตำหนิติเตียนบุพการี  แฝงอยู่ในการเรียกร้องความเห็นอกเห็นใจ

เสน่ห์อีกประการหนึ่งใน "ละครแห่งชีวิต" ก็คือการใช้ชีวิตในต่างประเทศ ของตัวละครไทย   เป็นมุมใหม่ของนิยายไทยที่ไม่มีมาก่อน    
ก่อนหน้านี้ คนอ่านไทยมักมองเห็นบ้านเมืองและชีวิตความเป็นอยู่ในต่างแดนจากเรื่องแปลเสียมากกว่า  
ซึ่งก็แน่นอนว่าตัวละครต่างชาติเหล่านั้น ไม่เคยรู้เห็นอะไรเกี่ยวกับสยาม ความรู้สึกนึกคิดและประสบการณ์ของพวกเขา ก็เป็นแบบคนที่อยู่คนละซีกโลกกับคนไทย
ผิดกับวิสูตรซึ่งถ่ายทอดประสบการณ์ด้วยสายตาคนไทย  สำนวนไทย  ความคิดอ่านแบบไทย   ทำให้คนอ่านติดตามเรื่องราวด้วยความรู้สึกจับอกจับใจ เหมือนคำบอกเล่าของคนใกล้ตัว      
นอกจากนี้ คนอ่านตื่นเต้นกับความแปลกใหม่ของฉาก เหตุการณ์ ตัวละครฝรั่ง ที่พระเอกเข้าไปคลุกคลีใกล้ชิด อย่างที่คนอ่านทั่วไปไม่มีโอกาสสัมผัส
อีกอย่างก็คือ แม้มีกลิ่นอายของตะวันตกอยู่ในฉากและตัวละคร   แต่รสชาติ
ของนิยายก็ยังเข้มข้นแบบไทยๆ  
ความอาภัพของลูกชัง   ความรักที่มีกำแพงขวางกั้น ไม่อาจฝ่าฟันไปได้    ความรันทดของชายหนุ่มที่ถูกโชคชะตากำหนดให้เคราะห์ร้ายซ้ำแล้วซ้ำเล่า  เป็นแนวคุ้นเคยที่คนไทยเสพได้ไม่รู้สึกแปลกแยก

ความสามารถในการผสมกลมกลืนชีวิตตะวันตกเข้ากับอารมณ์แบบตะวันออก  เป็นสิ่งที่ม.จ.อากาศดำเกิงทรงทำได้ดี    เป็นแรงบันดาลให้เกิดนวนิยายไทยรุ่นหลังๆอีกหลายเรื่อง ที่ใช้ตัวละครเอกคนไทยไปดำเนินชีวิตในต่างแดน เช่นกัน  
อย่างเช่น ข้างหลังภาพ ของ ศรีบูรพา   ปักกิ่ง นครแห่งความหลัง  ของ สด กูรมะโรหิต ฯลฯ  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 18 ก.ย. 05, 11:57

 ในปีต่อมา คือ พ.ศ.  2473  มีเหตุการณ์สำคัญ 2 เรื่อง เกิดขึ้นในชีวิตม.จ.อากาศดำเกิง  
เหตุการณ์แรกคือ นวนิยายเรื่องที่สอง  "ผิวเหลืองผิวขาว" ตีพิมพ์ออกมา  เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่คนอ่านพากันต้อนรับกันคับคั่ง  
เรื่องนี้ได้ชื่อว่าเป็นเรื่องสำคัญเรื่องที่สองในพระนิพนธ์ทั้งหมด รองลงมาจาก "ละครแห่งชีวิต" เนื้อหาดำเนินเรื่องต่อจากเรื่องแรก

ส่วนเหตุการณ์สำคัญอย่างที่สอง คือ "ละครแห่งชีวิต" ได้รับคำวิจารณ์จากพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์  ลงในนิตยสาร"ศรีกรุง"
ยุคนั้นการวิจารณ์เป็นของใหม่สำหรับคนไทย   เมื่อพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ทรงวิจารณ์ ก็เป็นที่ฮือฮาสำหรับคนอ่าน  

อันที่จริงพระองค์จุลฯ ท่านก็ไม่ได้ทรงเจาะจงวิจารณ์หนังสือเล่มนี้โดยเฉพาะเพียงเล่มเดียว   ท่านสนพระทัยเรื่องอักษรศาสตร์  และทรงนำการวิเคราะห์วิจารณ์แบบตะวันตกมาใช้ในการวิจารณ์หนังสือต่างๆของไทย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 18 ก.ย. 05, 11:58

 "ละครแห่งชีวิต" ได้รับทั้งคำชมเชยและคำติ
ส่วนที่พระองค์จุลฯ ทรงเห็นว่าดี  อยู่ในด้านฝีมือการประพันธ์ และกลวิธีการแต่งของผู้นิพนธ์  ซึ่งทรงเห็นว่าเป็นความคิดสร้างสรรค์ใหม่   ให้ความสะเทือนอารมณ์ได้อย่างดี

ตัวอย่างจากคำวิจารณ์
"ข้าพเจ้าชอบตอนที่บรรยายถึงสถานที่ต่างๆตลอดเล่ม   ข้าพเจ้ารู้สึกจับใจมากเมื่อได้อ่านถึงชีวิตคับแค้นแสนเศร้าโศกของตัวพระเอก ( ผู้แต่งเองใช่ไหม) เมื่อยังเยาว์อยู่...
เป็นการนิพนธ์บรรยายความรู้สึกที่จัดได้ว่าอยู่ในขั้นสูง..

ตอนที่ทรงแต่งดีอีกก็คือ เมื่อได้เล่าถึงเด็กอีกคนหนึ่งได้ถูกโบย  โดยที่มิได้ทำความผิดอะไรเลย   ความจริงพระเอกนั้นเองเป็นผู้ทำผิด    
แต่กระนั้นเพื่อนของพระเอกยังได้ยอมให้ตนถูกโบย    โดยไม่เผยความจริงเลย   ทำให้พระเอกบังเกิดความรู้สึกเป็นครั้งแรกว่าในโลกนี้มีคนดี
มีใจโอบอ้อมอารีคิดถึงคนอื่นบ้าง  แทนที่จะคิดถึงแต่ตนเอง  
และทรงลงเอยโดยประโยคเดียวว่า
"ในโลกนี้มีคนอย่างประดิษฐ์" (นั่นคือนามของมิตรผู้นั้น)
ซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่าเข้าทีมาก  
และจนบัดนี้ สังเกตว่ายังมิได้มีผู้ใดใช้วิธีนี้มากนัก ในบรรดานักแต่งไทย"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 18 ก.ย. 05, 12:03

 "การที่ทรงบรรยายอย่างละเอียดและตรงกับความจริง   ถึงความสกปรกโสโครกองเมืองท่าเรือ  เช่นโกลัมโบ และปอร์ตเสด
และความชั่วช้าคดโกงของคนพื้นเมืองที่มักจะมาคอยมุง กวนคนโดยสารอยู่ตามท่าเรือ
ก็ทรงทำได้ดีตรงกับความจริง
การที่ทรงชมเชยนายร้อยเอก และนางแอนดรูส์ ผู้สำนักอยู่ ณ เมือง เบ็กสะฮิลล์ ก็ทำได้โดยใจจริงแท้ๆ
และทำให้เห็นว่า ผู้แต่งทรงรู้จักรำลึกถึงบุญคุณของคนอื่นๆ ได้ดีอย่างน่าชมยิ่ง"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 18 ก.ย. 05, 13:02

 "การที่ผู้แต่งพาผู้อ่านท่องเที่ยวไปตามเมืองหลวงต่างๆ ของทวีปยุโรป และเมืองใหญ่ๆในอเมริกา  
ย่อมจะเป็นการให้ความรู้และเพลิดเพลินแก่ผู้อ่าน   ซึ่งมิได้มีโอกาสเช่นเดียวกันที่จะได้ไปเห็นสถานที่เหล่านั้น
ย่อมเป็นการกระทำอันควรได้รับการสรรเสริญ

ข้อดีๆต่างๆเหล่านี้ เป็นที่พอใจแก่ข้าพเจ้าเป็นอันมาก     และเห็นว่าผู้แต่งควรได้รับความชมเชยอย่างเต็มที่
ท่านได้เปิดหนทางซึ่งคนอื่นๆ ควรจะเดินตาม   ต้องขอยอมรับว่าได้ทรงทำดีมาก"
แต่ข้าพเจ้าเกรงว่าการชมเชยจะต้องยุติแต่เพียงนี้

ถ้าหากว่าพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ทรงยุติคำวิจารณ์เพียงแค่นี้ เหตุการณ์ก็คงจบเพียงแค่นี้
แต่ว่าทรงเห็นว่าคำชมเชยแค่นี้ ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์    และผู้นิพนธ์ ควรจะมองเห็นทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนของ "ละครแห่งชีวิต"
คนอ่านก็ควรได้รับความคิดเห็นด้วยเหมือนกัน
จึงทรงวิจารณ์ต่อไป     ก็เลยกลายเป็นเรื่องขึ้นมา

โปรดอดใจรอเจ้าของกระทู้ พิมพ์ต่อในสัปดาห์หน้าค่ะ
บันทึกการเข้า
ดารากร
อสุรผัด
*
ตอบ: 47

นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 18 ก.ย. 05, 18:39

 จะมารออ่านนะคะ คุณเทาชมพู    
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 22 ก.ย. 05, 10:19

 มาแล้วค่ะ คุณดารากร  

ข้อเสียของหนังสือ ที่พระองค์จุลฯทรงเห็นก็คือ
"...ข้าพเจ้าออกจะสงสัยว่าท่านผู้แต่งอยากจะ "อวดฉลาด" มากเกินไปสักหน่อย...การสร้างอะไรขึ้นมา  ซึ่งจะให้เป็นของแปลกกว่าที่ใครๆเคยทำมาเสียเลยนั้น เป็นของยากนักหนา  นอกจากผู้นั้นจะเป็นปราชญ์โดยกำเนิด
แม้ข้าพเจ้าจะมีความนับถือ ม.จ.อากาศฯ เท่าใดก็ดี  ไม่สามารถจะถวายเกียรติยศว่าทรงเป็นปราชญ์โดยกำเนิดได้
ม.จ.อากาศฯทรงพยายามจะทำให้หนังสือของท่านเป็นหนังสือแปลกและอย่างใหม่  โดยที่เป็นทั้งเรื่องเริงรมย์และเรื่องจริง
ผลของการกระทำครั้งนี้ก็ลงรูปเดียวกับการพยายามที่จะทำของอันแปลกในทางศิลป โดยศิลปินผู้มีความสามารถปานกลาง
คือไม่ดีเลย  และทำความลำบากแก่ผู้วิจารณ์ด้วย
เพราะผู้วิจารณ์ไม่สามารถจะตกลงใจได้ว่า จะตัดสินหนังสือนี้ว่าเป็นเรื่องจริงหรือเรื่องสมมุติ"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 22 ก.ย. 05, 10:21

 ดิฉันขอสรุป จะได้ไม่ต้องพิมพ์ข้อความยาวเหยียดทั้งหมดว่า  สิ่งที่พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ทรงเห็นว่าเป็นข้อเสียของเรื่อง

ก็คือท่านอากาศฯทรงใช้ตัวละครสมมุติและบุคคลจริงๆปะปนกันไปหมดทั้งเรื่อง    

จนกระทั่งวิจารณ์ไม่ถูกว่าอะไรจริงอะไรสมมุติ ทำให้ตัดสินลงไปยากว่าตรงไหนเป็นจินตนาการ ตรงไหนเป็นเรื่องจริง



เช่น วิสูตร์ พระเอกของเรื่องเป็นตัวละครสมมุติ   พ่อของวิสูตร์คือพระยาศุภลักษณ์เป็นตัวละครสมมุติ  

ดังนั้นเหตุการณ์ในเรื่องระหว่างพ่อกับลูกก็ย่อมเป็นเหตุการณ์สมมุติ

จะวิจารณ์ออกความเห็นก็เป็นไปตามการวิจารณ์นิยาย



แต่ท่านอากาศฯ ไม่ได้ยึดหลักสมมุติไว้ตลอดเรื่อง   เพราะท่านให้วิสูตร์ไปเจอบุคคลจริงๆมีตัวตนอยู่ในความเป็นจริง

 เช่นวิสูตรไปญี่ปุ่น เจอพระยาจำนงค์ ฯ อัครราชทูตไทยประจำประจำประเทศญี่ปุ่น  



ในเรื่อง วิสูตร์ไม่พอใจการกระทำของพระยาจำนงฯ อย่างมาก ถึงกับบรรยายไว้ว่า

" ข้าพเจ้าเป็นคนไทย   แต่เมื่อข้าพเจ้าไปถึงประเทศญี่ปุ่น เป็นการประหลาดมากที่สถานทูตไม่ประสงค์จะรับข้าพเจ้า  หรือช่วยเหลือข้าพเจ้าเลย

พระยาจำนงค์ฯ ซึ่งเป็นอัครราชทูตในครั้งนั้น 'ปิดประตู' และไม่ปรารถนาให้ข้าพเจ้าเข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานทูตแต่อย่างใด

ราวกับว่าข้าพเจ้าเป็นคนถูกเนรเทศ"



พระองค์จุลฯ ทรงเห็นว่า

"นี่เป็นถ้อยคำปรักปรำอย่างรุนแรงเป็นแน่แท้   ดังนั้นถ้าวิสูตร์เป็นแต่เพียงตัวสมมุติแล้ว  ก็ออกจะเป็นการปรักปรำพระยาจำนงค์ฯอย่างแรงเกินไปละกระมัง"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 22 ก.ย. 05, 10:34

 พระองค์จุลฯทรงแสดงความไม่เห็นด้วย ต่อไปว่า

" ถ้าวิสูตร์ซึ่งพระยาจำนงค์ฯ ได้ละเลยไม่ช่วยเหลือ   คือท่านผู้แต่งเอง    ถ้าดังนั้นทำไมเราได้ยินแต่ความผิดของพระยาจำนงค์ฯ   ถึงที่เหตุการณ์บางอย่างในชีวิตของผู้แต่งเองบางเรื่อง ทำไมไม่เห็นวิสูตร์ได้กระทำสิ่งเหล่านั้นบ้างเล่า   อย่างนี้เรียกว่ายุติธรรมหรือ"

ข้อนี้   ดิฉันตีความว่า พระองค์จุลฯทรงหมายความว่า ถ้าท่านอากาศฯขัดแย้งกับพระยาจำนงค์ฯ ในชีวิตจริง  ทำไมถึงกล่าวโทษพระยาจำนงค์ฯ ฝ่ายเดียว     โดยไม่กล่าวถึงสาเหตุหรือเล่าเหตุการณ์ออกมาทั้งหมดทุกแง่ทุกมุม ให้คนอ่านเห็น 100% จะได้รู้ว่าใครถูกใครผิด    ท่านอากาศฯ ทรงปิดบังการกระทำของวิสูตร์ แต่กลับแฉเฉพาะการกระทำของพระยาจำนงค์ฯ อย่างนี้จะเรียกว่ายุติธรรมหรือ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 22 ก.ย. 05, 10:35

 " แต่ถ้าวิสูตร์ไม่มีตัวตน   อย่างนั้นการที่จะปรักปรำพระยาจำนงค์ฯว่าละเลยคนที่ไม่มีตัวจริง   ก็แปลว่าด่าพระยาจำนงค์ฯว่าไม่ได้ทำผิดอะไรเลย
ข้าพเจ้าอยากจะขอออกตัวไว้ในที่นี้ว่าไม่เคยเป็นเพื่อนกับพระยาจำนงค์ฯ    เป็นแต่เคยพบและจับมือกับท่านครั้งหนึ่งในกรุงปารีส  ก่อนถึงแก่กรรมไม่กี่วัน
การที่ข้าพเจ้าเขียนท้วงนี้   เพราะเห็นกับความยุติธรรม  ความสุภาพ และการกระทำอย่างนักกีฬา  
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  เมื่อเกี่ยวข้องกับคนที่ตายไปแล้ว"

และทรงตำหนิว่า

" การที่จะถือสิทธิ์ของผู้แต่งประวัติ    ถึงเวลาจะด่าก็ด่าไม่ว่าใคร   ด่าเสียอย่างเต็มที่ เพื่อประโยชน์ของมหาชนนั้น เป็นการกระทำที่ไม่ผิด
ถ้ามีคนกล้าทำอย่างนั้นมากๆ ก็จะยิ่งดี   แต่ตนเองอย่าแอบอยู่หลังหน้ากากของการสมมุติสิ   และอย่าเล่นกล้ากล่าวนามจริงๆ ถึงแต่บางคนที่ตนไม่ชอบและไม่กลัว"
บันทึกการเข้า
นันทิ
อสุรผัด
*
ตอบ: 10

ทำงานพนักงานองค์การของรัฐ


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 23 ก.ย. 05, 11:54

 ขอบคุณมากค่ะ  รออ่านต่อตอนต่อไปค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 26 ก.ย. 05, 09:46

 มาเล่าต่อค่ะ
พระองค์จุล ฯ ทรงเห็นว่า
" น่าเสียดายที่ถึงเวลาจะปรักปรำบิดาหรือสหายแล้ว ม.จ. อากาศฯ ก็ใช้นามแฝงปิดบังเสียให้กลายเป็นคนสมมุติไป    แต่คนอื่นๆที่ท่านเกลียดแล้ว  ท่านปล่อยนามจริงๆออกมาให้มหาชนพลอยเกลียดไปด้วย    
ถ้ามหาชนมีสิทธิที่จะทราบว่าพระยาจำนงค์ฯ เป็นราชทูตชนิดใดแล้ว   มหาชนก็มีสิทธิที่จะทราบว่าตัวละครอื่นๆนั้นเป็นใครจริงๆด้วย
แต่บางทีผู้แต่งทำการแต่งจริงกับเล่นผสมกันเช่นนี้    เพื่อจะให้เป็นของแปลก  ข้าพเจ้าได้ท้วงแล้วว่าการทำของแปลกนั้นทั้งยากทั้งอันตราย"

และรายละเอียดอีกอย่างใน "ละครแห่งชีวิต" ที่พระองค์จุลฯทรงเห็นเป็นข้อด้อยทางด้านวรรณศิลป์  ก็คือ ท่านอากาศฯ ทรงบรรยายถึงสตรีในเรื่อง โดยใช้ราชาศัพท์บรรยายรูปร่างหน้าตา  แม้ว่าสตรีนั้นเป็นสามัญชนก็ตาม  

ดิฉันขอขยายความว่า  สมัยนั้นนักประพันธ์(รวมทั้งนักแปล) นิยมใช้ราชาศัพท์กันแบบนี้ค่ะ เช่น มารดาข้าพเจ้ามีวงพักตร์เป็นรูปไข่   คือไม่ยักเขียนว่า วงหน้า หรือดวงหน้า  อย่างสมัยนี้

พระองค์จุลฯทรงประณามวิธีการบรรยายแบบนี้ว่า "วิธีนิพนธ์อย่างนักแปลชั้นเลวที่แปลไม่สู้จะเป็น  คือพูดถึงอวัยวะของสตรีเป็นต้องใช้ราชาศัพท์"

อันที่จริงก็มีข้อตำหนิในเรื่องรายละเอียดปลีกย่อยอีก 2-3 เรื่อง แต่ประเด็นสำคัญคือพระองค์จุลฯ ทรงไม่เห็นด้วยกับวิธีการผสมเรื่องจริงกับเรื่องสมมุติ     ทรงประเมินว่า

"หนังสือนี้คล้ายๆกับยุโรปยุคกลาง   พยายามที่จะเป็นสองอย่างพร้อมๆกัน
คือ คริสตศาสนาจักรและโรมันอาณาจักร   และผลที่สุดก็เลยเป็นดังที่นักแต่งสมัยนั้นเขาเรียกว่า
สัตว์ร้ายอันมีสองศีรษะ   หายใจออกมาเป็นความยุ่งเหยิง
หนังสือจะเป็นได้แต่เรื่องจริงหรือเรื่องสมมุติ   จะเป็นทั้ง 2 อย่างพร้อมๆกันไม่ได้"
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.045 วินาที กับ 19 คำสั่ง