N.P.
อสุรผัด

ตอบ: 19
ทำงาน
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 19 พ.ย. 05, 10:26
|
|
ขอบคุณครับ แต่ เอ่อ...สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี ท่านก็เคยเป็นสามัญชนมาก่อน แสดงว่าคงต้องแตกต่างจากกรณีพระองค์เจ้าวรานนท์ธวัชประการใดประการหนึ่ง ซึ่งผมไม่ทราบข้อแตกต่างนั้นจริงๆ อยากให้ขยายความในกรณีนี้ด้วย ขอบคุณครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Nuchana
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 19 พ.ย. 05, 14:05
|
|
สมเด็จพระศรีนครินทรา ท่านเป็นสะใภ้หลวงค่ะ จำได้ว่าทูลกระหม่อมมหิดล (กรมหลวงสงขลาฯ) ทรงขอพระราชานุญาตเสกสมรส จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ "สุขหรือทุกข์เป็นเรื่องของหม่อมฉัน" อะไรทำนองนี้
รอมืออาชีพเข้ามาช่วยตอบก็ดีค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
หยดน้ำ
ชมพูพาน
  
ตอบ: 146
คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 20 พ.ย. 05, 13:25
|
|
ครับก็อย่างที่คุณ Nuchan บอกอ่ะครับ ฐานะของหม่อมสังวาย์ ค่อนข้างเป็นที่ยอมรับจากราชสำนัก แม้จะมีพระชาติกำเนิดเป็นสามัญชน แต่ก็ไม่ได้เป็นลูกชาวบ้านธรรมดาทั่วไป เคยได้รับการอบรมให้เป็นกุลสตรีมาอย่างดีเมื่อถวายตัวเป็นข้าหลวงในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิริธร ทั้งยังมีความสามารถทางการศึกษาจนเป็นที่ประจักษ์ ดังจะเห็นได้ว่าเมื่อตอนที่ทรงอภิเษกสมรสนั้น รัชกาลที่ 6 ก็ทรงเสด็จมาพระราชทานน้ำพระมหาสังข์ด้วยพระองค์เองที่วังสระปทุมครับ
และในกรณีท่านพระองค์วรานนท์ ก็เป็นพระราชดำริส่วนพระองค์ของรัชกาลทื่ 6 ทีทรงพระราชสิทธิ์และราชพระราชอำนาจที่จะเลือกนายพระองค์ใดก็ได้เป็นพระรัชทายาท แต่เมื่อในสมัยรัชกาลที่ 7 อาจจะทรงมองปัจจัยของผู้ที่จะเป็นพระรัชทายาทแตกต่างออกไปจากรัชกาลที่ 6 เพราะพระองค์เองก็ได้แสดงพระราชประสงค์ไว้อย่างชัดเจนว่าพระโอรสของสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสงขลาฯ ควรจะได้เป็นกษัตริย์พระองค์ต่อไปครับ
อ่อคุณ Nuchan เรื่องมรดกวังเพชรบูรณ์ผมเองก้ไม่ค่อยรู้เรื่องมาก ทราบแต่ว่าวังนี้เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนเพชรบูรณ์ฯ สิ้นพระชนม์ วังเพชรบูรณ์ก็ตกอยู่หม่อมเจ้าหญิงบุญจิราธร ชายา และทรงปกครองวังนี้ต่อมาจนสิ้นชีพิตักษัยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
N.P.
อสุรผัด

ตอบ: 19
ทำงาน
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 20 พ.ย. 05, 16:04
|
|
ขอบคุณครับ ทราบถึงตอนนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของทูลกระหม่อมติ๋วต่อจัง จะคอยติดตามอ่านนะครับ ขอมีส่วนร่วมด้วยการแทรกพระฉายาลักษณ์ของพระองค์ครับ
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ศรีปิงเวียง
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 20 พ.ย. 05, 17:24
|
|
ขอบพระคุณทุกความเห็นครับ วันนี้ขอต่อจากความเห็นที่ 9 ครับ พระนามเต็มของพระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก สยามาธิปกปรมินทรจุฬาลงกรณราชวโรรส อดิศัยยศอุภัยชาติพิสุทธิ์ ไทวปายนุตมศักดิ์ อดุลยลักษณวิลาส มหามกุฎราชพงศานุพัทธ วิวัฒนผลพรพิสิษฐ มหิศรราชกุมาร เช่นเดียวกับพระเจ้าลูกเธอพระองค์อื่น พระองค์ก็ทรงมีผู้อภิบาลพระองค์เช่นเดียวกัน ได้แก่ 1. หม่อมใหญ่ (ในสมเด็จฯ กรมพระยาเทววงศ์วโรปการ) เป็นพระนมในช่วงแรก ๆ และได้รับการยกย่องจาก ร. 5 ว่าทำให้พระวรกายสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑาธุชแย็งแรงขึ้น 2. พระนมอิน ศิริสัมพันธ์ (ธิดาพระยาอาหารบริรักษ์<พิน ศิริสัมพันธ์>) 3. พระพี่เลี้ยงมรกต ชูโต 4. พระองค์เจ้าบุษบันบัวผัน ทรงรับพระราชภาระในการอภิบาลพระองค์ ในช่วงต้น ๆ พระองค์ทรงประทับที่พระที่นั่งเทพดนัยนันทนากร ต่อมาเจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม ทูลไปรับถวายอภิบาลโดยประทับที่วังกรมพระยาเทววงศ์ฯ (ปัจจุบันเป็นโรงเรียนราชินี) ครับ ป.ล. ถ้ามีโอกาสก็จะเล่าเรื่องภายหลังพระองค์สิ้นพระชนม์ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ไม่เห็นใครแน่นอน
|
|
|
Dominio
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 10 ธ.ค. 05, 21:15
|
|
 ตำหนักจุฑาธุช ที่เกาะสีชัง สถานที่ตากอากาศฤดูร้อน |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Dominio
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 11 ธ.ค. 05, 12:34
|
|
ขอขยายความ ค.ห. 9 เผอิญอ่านพบจาก วาทะเล่าประวัติศาสตร์ เมื่อแรกเสด็จประทับ ณ พระราชวังดุสิต (1/12/48)...
จากนั้นจึงมีพระราชดำริสร้างพระที่นั่งเป็นที่ประทับถาวร เริ่มจากพระที่นั่งองค์แรก ซึ่งโปรดให้รื้อพระที่นั่งไม้สักทองมันตธาตุรัตนโรจน์จากเกาะสีชัง ที่โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕ แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จก็พอดีเกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ขึ้นเสียก่อน ไม่สะดวกที่จะเสด็จเกาะสีชังอีก จึงโปรดให้รื้อมาสร้าง ณ สวนดุสิต พระราชทาน นามใหม่ว่าพระที่นั่งวิมานเมฆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Nuchana
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 15 ก.พ. 06, 22:53
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 21 ก.พ. 06, 10:19
|
|
ขออนุญาตแสดงความเห็นแย้งความเห็นข้างต้นครับ
เรื่องลำดับการสืบสันตติวงศ์ในสมัยรัชกาลที่ 6
สายสมเด็จพระพันปีหลวง
รัชทายาทลำดับที่ 1 สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ทิวงคต
รัชทายาทลำดับที่ 2 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลก กับหม่อมคัทริน แต่เมื่อรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกพระราชกฤษฎีกาตั้งพระรัชทายาท ได้ทรงให้สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกฯ ปฏิญาณว่าจะไม่ยกพระองค์จุลฯ เป็นรัชทายาท พระองค์จึงทรงถูกข้ามไป (หาอ่านได้จากหนังสือ)
ตรงนี้ข้อแย้งครับ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงศ์ ไม่เคยถูกกำหนดไว้ในลำดับวืบราชสันตติวงศ์เลยครับ เพราเหตุมีมารดาเป็นนางต่างด้าว ในประวัติต้นรัชกาลที่ ๖ ได้ทรงพระราชบันทึกไว้ว่า เมื่อจะทรงตั้งสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เป็นรัชทายาทเมื่อต้นรัชทายาทนั้นได้ทรงให้ทูลกระหม่อมจักรพงษ์ทรงกระทำสัตย์ปฏิญาณไว้ว่า จะมิให้พระโอรสคือ พระองค์จุลฯ ทรงรับรัชทายาทต่อไป
หลักในการสืบราชสันตติวงศ์ต่อจากรัชกาลที่ ๕ ลงมานั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชาธิบายไว้ในประวัติต้นรัชกาลที่ ๖ ว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างพระชัยนวโลหะรัชกาลที่ ๔ พระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนพินิตประชานาถ คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ได้พระราชทานพระราชกระแสว่า ให้ทรงรักษาไว้ เมื่อพระชนม์ชีพหาไม่แล้วให้ตกไปสู่พระอนุชาร่วมพระราชชนนี คือ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระจักรพรรดิพงศ์ และสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุรังษีสว่างวงศ์ ตามลำดับ และเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างพระชัยนวโลหะรัชกาลที่ ๕ ก็มีพระราชดำริที่จะพระราชทานแก่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร แต่เผอิญสมเด็จพระบรมฯ พระองค์ใหญ่สวรรคตเสียก่อนจึงมิได้โปรดพระราชทานแก่พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใด จนเมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เจเฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร คือ รัชกาลที่ ๖ เสด็จกลับจากอังกฤษ (หลังจากที่พระบรมฯ พระองค์ใหญ่สวรรคตแล้ว ๘ ปี) จึงได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระชัยนวโลหะนี้แก่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธฯ พร้อมกับมีพระราชกระแสดำรัสสั่งให้ตกทอดไปในสายของสมเด็จพระพันปีหลวงจนกว่าจะสุดแล้วจึงส่งกลับคืนสู่พระบรมมหาราชวังเช่นเดียวกับพระชัยนวโลหะรัชกาลที่ ๔ ด้วยพระราชประเพณีและพระราชกระแสดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงวางลำดับพระรัชทายาทไว้ตามเกณฑ์ของผู้ที่จะได้รักษาพระชัยนวโลหะรัชกาลที่ ๕ ตามเกณฑ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ และ ๕ ทรงกำหนดไว้ (โปรดอ่านรายละเอียดในประวัติต้นรัชกาลที่ ๖ อีกครั้งครับ)
เรื่องมรดกวังเพชรบูรณ์ผมเองก้ไม่ค่อยรู้เรื่องมาก ทราบแต่ว่าวังนี้เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนเพชรบูรณ์ฯ สิ้นพระชนม์ วังเพชรบูรณ์ก็ตกอยู่หม่อมเจ้าหญิงบุญจิราธร ชายา และทรงปกครองวังนี้ต่อมาจนสิ้นชีพิตักษัยครับ
เรื่องนี้เท่าที่ทราบมาจากท่านผู้ใหญ่ท่านว่า ที่ดินแปลงที่เป็นวังเพชรบูรณ์นี้เป็นพระราชมรดกเดิมมาแต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และตกทอดเรื่อยมาจนถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย จะออกวังนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้โปรดพระราชทานที่ดินแปลงนี้ให้เป็นที่ตั้งวังเพชรบูรณ์ ทีนี้ตอนที่พระราชทานที่ดินนั้นในพระบรมราชโองการพระราชทานที่ดินระบุว่า พระราชทานให้เป็นที่อยู่อาศัยชั่วลูกหลาน แต่มิได้ระบุว่าได้พระราชทานให้เป็นกรรมสิทธิ์ ฉะนั้นทูลกระหม่อมติ๋ว (สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนเพชรบูรณ์ฯ) จึงมิได้ทรงโอนโฉนดไปเป็นพระนาม โฉนดที่ดินแปลงนี้จึงออกในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (การออกโฉนดที่ดินในประเทศไทยเริ่มมีขึ้นในตอนปลายรัชกาลที่ ๕ การออกโฉนดที่ดินในเขตกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่มาเสร็จเอาในตอนต้นรัชกาลที่ ๖) ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน ๒๔๗๕ มีการออกกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีสาระสำคัญกำหนดให้ทรัพย์สินที่เป็นของส่วนกลางสำหรับพระมหากษัตริย์ เช่นพระบรมมหาราชวังหรือเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์นั้นเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งหมายรวมถึงทรัพย์สินที่พระมหากษัตริย์ได้มาในระหว่างที่ทรงดำรงสิริราชสมบัติซึ่งมิใช่ทรัพย์ส่วนพระองค์ที่ทรงมาแต่ก่อนครองสิริราชสมบัติให้ตกเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ด้วย เมื่อโนดที่ดินวังเพชรบูรณ์ออกในพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๖ จึงต้องตกเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เช่นเดียวกับที่ดินแปลงอื่นๆ ที่เป็นพระราชมรดกมาแต่เดิมหากออกโฉนดเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วก็ถูกตีขลุมว่าเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จนหมด แต่เมื่อมีพระบรมราชโองการพระราชทานให้ทรงใช้เป็นที่อยู่ไปชั่วลูกหลานจนกว่าจะไม่มีผู้สืบสายสกุล พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช จึงได้ทรงครอบครองวังนี้เรื่อยมา จนเมื่อสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีโครงการจะพัฒนาที่ดินแปลงนี้เป็นศูนย์การค้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สำนักงานทรัพย์สินจัดเงินถวายพระทายาททั้งสองพระองค์เป็นการชดเชยจำนวนหนึ่ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 21 ก.พ. 06, 10:39
|
|
ขอต่อประเด็นเรื่อง ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจที่จะยกเลิกพระพินัยกรรมของพระบรมวงศานุวงศ์ได้ อย่างเมื่อครั้งสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้่าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถทิวงคต ทรงมีพระพินัยกรรมยกทรัพย์สมบัติให้กับหม่อมเจ้าหญิงชวลิตโอภาส และเป็นผู้ดูและพระองค์จุล แต่รัชกาลที่ 6 ก็ทรงใช้พระราชอำนาจที่ทรงสามารถกระทำได้ยกเลิกพระพินัยกรรมฉบับนั้น โปรดให้หม่อมเจ้าหญิงชวลิตโอภาสออกจากวังปารุสก์ไปประทับที่วังจักรพงษ์ที่ท่าเตียน เข้าใจว่าทรงเรียกวังปารุสก์เป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ พระองค์จุลย้ายจากพระตำหนักใหญ่ไปประทับที่ตำหนักจิตรลดาแทน และเมื่อหม่อมเจ้าหญิงชวลิตฯ ทรงเสกสมรสใหม่ รัชกาลที่ 6 จึงโปรดเกล้าฯ ให้คืนทรัพย์สมบัติทั้งหมดแก่พระองค์จุล
เรื่องที่ทูลกระหม่อมจักรพงษ์ เสกสมรสกับ ม.จ.ชวลิตโอภาส นั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศ์ในสมัยนั้นไม่ทรงเห็นชอบด้วยเลย เพราะเป็นการสมรสระหว่าง อา กับ หลาน ซึ่งถ้าอ่านจากประวัติต้นรัชกาลที่ ๖ จะเห็นว่า ไม่ทรงเห็นด้วยเลยที่พี่กับน้องจะแต่งงานกันเอง ทั้งยังจะมีผลเสียหายทางด้านพันธุกรรมด้วย และโดยที่การเสกสมรสระหว่งทูลกระหม่อมจักรพงษ์กับหม่อมเจ้าหญิงชวลิตโอภาสก็มิได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเสกสมรสตามพระราชประเพณี จึงไม่ทรงรับเป็นสะใภ้หลวง ส่วนการที่โปรดให้พระองค์จุลฯ ย้ายไปประทับที่พระตำหนักจิตรลดานั้น ขอเรียนว่า ในบริเวณวังปารุสกวันนั้นมี ๒ ตำหนัก คือ พระตำหนักจิตรลดา (องค์ที่อยู่ตรงมุมพระลานพระบรมรูปทรงม้า) ซึ่งเป็นที่ประทับเดิมในรัชกาลที่ ๖ ภายหลังทรงแลกกับที่ดินของทูลกระหม่อมจักรพงษ์ และตำหนักปารุสฯ ซึ่งเป็นที่ประทับของทูลกระหม่อมจักรพงษ์มาแต่เดิม เมื่อทูลกระหม่อมจักรพงษ์ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่นั้น ประทับที่ตำหนักปารุสฯ มาตลอด ส่วนพระจำหนักจิตรลดานั้นทรงใช้เป็นที่รับแขก การที่รัชกาลที่ ๖ โปรดให้พระองค์จุลฯ ทรงย้ายไปประทับที่พระตำหนักจิตรลดาจึงอาจจะเพื่อมิให้ทรงเศร้าพระทัยที่จะชวนให้รำลึกถึงทูลกระหม่อมและหม่อมคัทริน
ส่วนประเด็นเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินวังปราสุกวันนั้น ที่ดินผืนนี้เดิมเป็นทรัพย์สินที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงซื้อมาด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นส่วนของพระราชวังดุสิตทั้งหมด และได้ทรงแบ่งพระราชทานให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอหลายพระงค์ คือ พระตำหนักจิตรลดา - สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร วังปารุสกวัน - สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนพิษณุโลกประชานาถ วังสวนกุหลาบ - สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนนครราชสีมา และอาจจะสืบเนื่องมาจากที่ที่ดินแปลงนี้ทั้งหมดนับรวมเป็นพระราชวังดุสิต ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงเหมารวมว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาเมื่อทรงเป็นพระมหากษัตริย์แล้ว จึงต้องตกเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ทั้งหมด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ศรีปิงเวียง
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 01 พ.ค. 06, 10:47
|
|
หลังจากที่มัวไปยุ่ง และปั่นกระทู้อื่นมานานนม คราวนี้กลับมาแล้วครับ ขออภัยคุณ N.P.ครับ ที่ผมมิได้มาสานต่อ และขอขอบพระคุณทุก ๆ ความเห็นครับ ต่อจากความเห็นที่ 19 ครับ ที่ว่า ต่อมาเจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม ทูลไปรับถวายอภิบาลโดยประทับที่วังกรมพระยาเทววงศ์ฯ (ปัจจุบันเป็นโรงเรียนราชินี) ขอเพิ่มเติมว่า ต่อมาเมื่อพระชันษา 5 พรรษา เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยมทูลไปรับถวายอภิบาลโดยประทับที่วังกรมพระยาเทววงศ์ฯ (ปัจจุบันเป็นโรงเรียนราชินี) และเมื่อสมเด็จกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เสด็จประทับ ณ วังบริเวณสะพานถ่าน พระองค์ได้ตามเสด็จและทรงได้รับการศึกษาขั้นต้นที่นั่นครับ หลังจากนั้น พระองค์ทรงศึกษาต่อ ณ โรงเรียนราชกุมาร(ตั้งอยู่ริมประตูพิมานไชยศรีด้านตะวันตก ในพระบรมมหาราชวัง)เมื่อวันที่ 6 ก.พ. พ.ศ.2444 (ปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2545)ร่วมกับสมเด็จฯเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช,สมเด็จฯ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์,พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช,ม.จ.รัชฎาภิเษก โสณกุล และนายเต็ม บุนนาค(พระอดิศักดิ์อภิรัตน์) โดยมีนายบัว วิเศษกุล,หลวงเสรีวัชรินทร(อาจ)และพระราชทรัพยพิสิษฐ(องุ่น กมลยบุตร)เป็นอาจารย์สอน ทูลกระหม่อมติ๋ว ทรงสนพระทัยด้านศิลปะมาแต่ครั้งทรงพระเยาว์ ว่ากันว่าพระองค์มักจะเก็บพระองค์ทรงงานเกี่ยวกับศิลปะเป็นส่วนมากครับ ถ้ามีโอกาส จะมาสานต่อใหม่ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ไม่เห็นใครแน่นอน
|
|
|
|