ยินดีต้อนรับ
ท่านผู้มาเยือน
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
หน้าแรก
ตู้หนังสือ
ค้นหา
ข่าว
: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
เรือนไทย
>
General Category
>
ประวัติศาสตร์ไทย
>
สถานที่แห่งนี้คือที่ไหนค่ะ
หน้า: [
1
]
พิมพ์
อ่าน: 6963
สถานที่แห่งนี้คือที่ไหนค่ะ
ภารตี
อสุรผัด
ตอบ: 26
เมื่อ 24 ส.ค. 05, 19:19
ดิฉันเคยผ่านตาในหนังสือเล่มหนึ่ง(จำไม่ได้แล้ว...)ว่าเป็นวังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงสร้างเพื่อพระราชทาน สมเด็จพระบรมโอรสธิราชฯ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ที่ทุ่งนาปทุมวันใช่หรือไม่ค่ะ...แล้วปัจจุบันสถานที่นี้ใช้ทำอะไรคะ
บันทึกการเข้า
หยดน้ำ
ชมพูพาน
ตอบ: 146
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ความคิดเห็นที่ 1
เมื่อ 24 ส.ค. 05, 22:03
วังนี้ชื่อว่าวังวินเซอร์ครับ ถ้าผมจำไม่ผิดน่าจะเคยใช้เป็นหอพักของนักเรียนโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ปัจจุบันน่าจะเป็นสนามศุภชลาศัยนะคับ
บันทึกการเข้า
ภารตี
อสุรผัด
ตอบ: 26
ความคิดเห็นที่ 2
เมื่อ 25 ส.ค. 05, 17:28
แล้ววังวินเซอร์นี้เป็นของเจ้านายพระองค์ใดคะคุณหยดน้ำ
บันทึกการเข้า
หยดน้ำ
ชมพูพาน
ตอบ: 146
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ความคิดเห็นที่ 3
เมื่อ 25 ส.ค. 05, 22:17
ก็เหมือนที่คุณภารตีทราบมาอ่ะคับว่าเป็นวังที่รัชกาลที่ 5 สร้างพระราชทานสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จก็เสด็จสวรรคตก็เลยไม่ได้ใช้เป็นที่ประทับน่ะครับ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
ตอบ: 1436
ความคิดเห็นที่ 4
เมื่อ 28 ส.ค. 05, 10:03
ในภาพนั้นคือพระตำหนักที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร มีรูปแบบสถาปัตยกรรมคล้ายพระราชวังวินด์เซอร์ของอังกฤษ จึงเรียกกันติกปากว่า "วินด์เซอร์คาสเซิล" บ้างก็เรียกว่า "วังใหม่" ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ ได้โปรดพระราชทานให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งต่อมาได้โปรดให้ประดิษฐานเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัฐบาลได้ขอเช่าที่ดินบริเวณนี้จากจุฬาลงกณ์มหาวิทยาลัย แล้วทุบพระตำหนักทิ้งเพื่อสร้างสนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติในปัจจุบัน
ขอย้อนไปที่ความเห็นของคุณหยดน้ำที่ว่า "...หอพักของนักเรียนโรงเรียนมหาดเล็กหลวง..." ขออนุญาตชี้แจงเพิ่มเติมครับ โรงเรียนมหาดเล็กหลวงนั้นมีที่ตั้งอยู่ที่สวนกระจัง ริมคลองเปรมประชากร ซึ่งต่อมาในรัชกาลที่ ๗ โปรดให้ยกโรงเรียนราชวิทยาลัยที่บางขวาง(ที่เคยเป็นศาลากลางจังหวัดนนทบุรี)มารวมกับโรงเรียนมหาดเล็กหลวง แล้วพระราชทานนามให้ใหม่ว่า "โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ส่วน "โรงเรียนมหาดเล็กหลวงตามความเข้าใจของคุณหยดน้ำ คือ "โรงเรียนมหาดเล็ก" ของกระทรวงมหาดไทย ไม่มีคำว่าหลวงต่อท้าย โรงเรียนนี้มุ่งเน้นผลิตนักเรียนออกรับราชการในกระทรวงมหาดไทย ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ ได้โปรดพระราชทานนามให้ใหม่ว่า โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรียกอย่างย่อว่า โรงเรียนข้าราชการพลเรือน จ.ป.ร. แล้วโปรดให้ยกโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ โรงเรียนยันตรศึกษา และโรงเรียนราชแพทยาลัยมารวมในโรงเรียนนี้ จัดหลักสูตรเป็นระดับอุดมศึกษา ก่อนที่จะโปรดสถาปนาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพ.ศ. ๒๔๕๙
บันทึกการเข้า
aha_s
อสุรผัด
ตอบ: 14
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ความคิดเห็นที่ 5
เมื่อ 21 ก.ย. 05, 00:43
ไม่น่าจะทุบทิ้งเลยนะครับ สวยงามมากๆ ถ้าไม่บอกคิดว่าเป็นวังอยู่ต่างประเทศเลย
บันทึกการเข้า
อ.อ้อย
อสุรผัด
ตอบ: 10
วิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี จ.ปทุมธานี 12000
ความคิดเห็นที่ 6
เมื่อ 24 ก.ย. 05, 10:29
ที่ถูกรื้อก็เพื่อสร้างกรีฑาสถานแห่งชาติ โดยสร้างเป็นสนามศุภชลาศัย เมื่อ พ.ศ. 2479
วังวินเซอร์
“วินเซอร์คาสเซิล” หรือ “วังวินเซอร์”ซึ่งขณะนั้นเป็นวังของสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมงกุฎราชกุมารในรัชกาลที่ 5 ครั้นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชพระองค์นี้เสด็จทิวงคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งขณะนั้นทรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธจึงทรงรับรัชทายาท เป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารแทน และเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้นเพื่อเป็นพระเกียรติยานุสรณ์แด่สมเด็จพระบรมชนกนาถ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน “วังวินเซอร์” ให้อยู่ในบริเวณของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ให้อยู่ประจำนั้น ให้ใช้ที่วังวินเซอร์หรือวังกลางทุ่งนี้เป็นหอพักมาตั้งแต่ยังใช้สถานที่นี้เป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเมื่อเปลี่ยนเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีขุนสมิทธิอนุสาส์น (เชี้ยง สูยวณิช) เป็นผู้ปกครองหอ ครั้งถึง พ.ศ. 2465 ตำแหน่งนี้เรียกเป็น อนุสาสก มีหลวงธราภาคพาที (อั้น ศุขะวณิช) เป็นอนุสาสก และมีตำแหน่งเป็นผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปคือ ตำแหน่งอธิการหอ ซึ่งในชั้นต้นผู้ดำรงตำแหน่งนี้คือพระยานิพัทธ์กุลพงศ์(ชิน บุนนาค) และใน พ.ศ. 2465 นั้น ผู้ดำรงตำแหน่งอธิการหอ คือ พระยาราชดรุณรักษ์ (เสริญ ปันยารชุน) ซึ่งต่อมาเปลี่ยนราชทินนามเป็นพระยาปรีชานุสาส์น
นิสิตสมัยหอวังส่วนมากเป็นนักเรียนทุนของกระทรวงที่ประสงค์จะฝึกฝนข้าราชการที่มีความรู้ถึงระดับอุดมศึกษาไว้ใช้ในราชการ มีกระทรวงมหาดไทย ซึ่งต้องการนักปกครอง (รัฐศาสตร์) กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งต้องการครูและแพทย์ (ครุศาสตร์และแพทยศาสตร์) กระทรวงเกษตราธิการ ซึ่งต้องการนักกสิกร (เกษตรศาสตร์) และกระทรวงคมนาคม ซึ่งต้องการวิศวกร (ยันตรศึกษาแล้วเปลี่ยนมาเป็นวิศวกรรมศาสตร์) เป็นต้น นิสิตที่เป็นนักเรียนทุนจึงนับว่ามีเจ้าของทำนุบำรุงให้การศึกษา นอกจากพำนักโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ แล้ว ยังได้รับเบี้ยเลี้ยงอีกเดือนละ 15 บาท ซึ่งในสมัยนั้นจะเรียกว่าเหลือเฟือก็น่าจะได้ นิสิตส่วนตัวซึ่งไม่สังกัดกระทรวงใดก็พลอยได้เบี้ยเลี้ยงดังกล่าวไปด้วย ต่อมานักเรียนทุนเพิ่มขึ้น นักเรียนส่วนตัวออกจะเป็นประโยชน์ของการศึกษาขั้นสูงมากขึ้น ทำให้”หอวัง” ซึ่งรับนิสิตได้ประมาณ 30 คน เพียงแห่งเดียวไม่เพียงพอจึงดำริจะสร้างหอพักเพิ่มเติมขึ้นอีกหอหนึ่ง ฉะนั้นเมื่อมหาวิทยาลัยได้งบประมาณสร้างตึกวิทยาศาสตร์ (ตึกแผนกชีววิทยาในปัจจุบัน) จึงดำริที่จะแบ่งบริเวณมหาวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาส่วนหนึ่ง และเป็นสถานที่อยู่ คือหอพัก กับสนามกีฬา อีกส่วนหนึ่ง โดยให้สถานศึกษาตั้งอยู่ด้วนตะวันออกของถนนพญาไททั้งหมด หอพักและสนามกีฬาอยู่ทางด้านตะวันตกของถนนพญาไท การสร้างหอพักขึ้นใหม่จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากในสมัยนั้นนิสิตมหาวิทยาลัยทุกคนต้องพำนักหอพัก
สำหรับหอพักในชั้นต้นนั้นได้รับการดัดแปลงเสริมสร้างเป็นเรือนไม้ แบ่งเป็นเรือ ก.ข.ค. และ ง. เฉพาะเรือน ข. ยกพื้นสูง ชั้นบนเป็นที่พัก ชั้นล่างเป็นที่เรียน เรือนอื่นๆ ยกพื้นสูงแค่ 1 ศอก สำหรับเรือน ง. มีห้องพัก 2 ห้อง และห้องน้ำใช้ร่วมกัน รับนักศึกษาได้ทั้งสิ้น 72 คน เนื่องจากการศึกษาในสมัยนั้นมีนักศึกษาจำนวนน้อย นักศึกษาส่วนใหญ่จึงพำนักอยู่ในหอพัก จึงเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า การศึกษาขั้นอุดมในสมัยแรกของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยนั้น เป็นแบบ Residential Collage หรืออีกนัยหนึ่ง นักศึกษานั้น ศึกษาอยู่กินในบริเวณมหาวิทยาลัย หน้าเรือนนอนของหอวังนั้น แต่ก่อนมีสนามกีฬากว้างใหญ่ ด้านหลังเป็นสระน้ำ สวนดอกมะลิและสวนผัก หอวังนี้ ในที่สุดก็ถูกรื้อถอนเพื่อสร้างกรีฑาสถานแห่งชาติ โดยสร้างเป็นสนามศุภชลาศัย เมื่อ พ.ศ. 2479
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
ตอบ: 516
ความคิดเห็นที่ 7
เมื่อ 25 ก.ย. 05, 11:31
วังแห่งนี้เป็นที่มาของชื่อ "แขวงวังใหม่" ซึ่งได้แก่ท้องที่บริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครับ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
ตอบ: 979
ความคิดเห็นที่ 8
เมื่อ 02 พ.ย. 05, 14:46
พระตำหนักหอวัง (และประวัติโรงเรียนหอวัง)
...ต่อมาได้มีการตั้งแผนกฝึกหัดครูของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้น
จึงได้มีโรงเรียนมัธยมหอวังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขึ้นเมื่อ
วันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๔๗๒ เพื่อให้บรรดานิสิตของแผนกฝึกหัดครู
หาความชำนาญในด้านการสอน และใช้ พระตำหนัก
คือ ตึกหอวัง เป็นอาคารเรียน
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘ ทางราชการต้องการให้มีสนามกีฬาแห่งชาติ
และเมื่อพิจารณาความเหมาะสมเรื่องที่ตั้งการก่อสร้างแล้วเห็นว่า บริเวณโรงเรียนมัธยมหอวังฯ
เป็นสถานที่ที่เหมาะสมที่สุดที่จะเป็นบริเวณสนามกีฬาแห่งชาติ จึงให้โรงเรียนมัธยมหอวังฯ
ย้ายไปยังอาคารเรียนที่สร้างใหม่ คือ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ถนนพญาไท
ซึ่งในปัจจุบันยังคงมีป้ายชื่อ “ โรงเรียนหอวังแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ”
อยู่บนอาคารเรียนของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา( ตึก ๑) ตามเดิม
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
ตอบ: 979
ความคิดเห็นที่ 9
เมื่อ 02 พ.ย. 05, 14:52
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๑ ทางราชการมีความจำเป็นต้องตั้ง “ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ”
เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการศึกษาของชาติในระยะนั้น ที่ว่าผู้ที่จะศึกษาในขั้นอุดมศึกษา
จะต้องผ่านในขั้นเตรียมอุดมศึกษาก่อน หลักสูตร ๒ ปี ดังนั้น ม.ล. ปิ่น มาลากุล
จึงได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดตั้ง “ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ” ขึ้น
ส่วน โรง เรียนมัธยมหอวังฯ ก็ต้องสลายไป
ซึ่งพวกเราชาวหอวังเข้าใจว่าเป็นการสลายตัวเพียงกิจกรรมเท่านั้น
ป้ายชื่อของโรงเรียนก็ยังคงอยู่ ณ ตึกโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ( ตึก ๑ )
ซึ่งการนี้เป็นความเมตตาของศาสตราจารย์ ม.ล. ปิ่น มาลากุล โดยแท้...
http://www.horwang.ac.th/03/history.html
.
บันทึกการเข้า
หน้า: [
1
]
พิมพ์
กระโดดไป:
เลือกกระทู้:
-----------------------------
General Category
-----------------------------
=> ศิลปะวัฒนธรรม
=> ภาษาวรรณคดี
=> ระเบียงกวี
=> ชั้นเรียนวรรณกรรม
=> หน้าต่างโลก
=> ประวัติศาสตร์โลก
=> ประวัติศาสตร์ไทย
=> ทันกระแส
=> วิเสทนิยม
=> ห้องหนังสือ
=> ชมรมอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมไทย
Powered by SMF 1.1.21
|
SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder
XHTML
|
CSS
|
Aero79
design by
Bloc
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.032 วินาที กับ 19 คำสั่ง
Loading...