เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 12
  พิมพ์  
อ่าน: 61869 เพลงเก่าตรึงใจ (2)
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 23 ส.ค. 05, 08:48

 กระทู้เดิมยาวมากแล้ว โหลดยาก
จากกระทู้เก่า
 http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Pid=28792
ขอขึ้นกระทู้ใหม่ที่นี่ค่ะ
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 23 ส.ค. 05, 11:44

 ขอบคุณครับอาจารย์ แหม อาจารย์น่าจะใช้ Hispeed Internet ได้แล้วนะครับ อิอิอิ  แซว นี่แหละที่เขาว่าพบคนชอบสิ่งเดียวกันคุยกันสามวันไม่จบ

ผมว่าบางทีงานศิลป์อาจจะต้องมีการเรียนรู้และเตรียมพร้อมที่จะเข้าใจ
เพราะมันเป็นสิ่งประดิษฐ์ทางปัญญา จิตใจที่จะซาบซึ้งก็ต้องมีการเตรียมพร้อมทางปัญญาพอสมควรยกตัวอย่างเช่น พระเจ้าถังไทจงฮ่องเต้ทรงหลงใหลในลายพุ่กันของลิปิกรคนหนึ่งมากจนกระทั่งต้องใช้เล่ห์เหลี่ยมในการหลอกพระสงฆ์ที่เป็นเจ้าของ เพื่อได้ครอบครองลายพู่กันชุดนี้ ตอนที่ผมอ่านเรื่องนี้ ผมก็สงสัยว่าลายพู่กันค่าควรเมืองนี้ ถ้าผมได้เห็นคงนึกชมว่าสวย แต่อีกสักกี่ชาติผมคงไม่ซาบซึ้งเท่าพระเจ้าถังไทจงแน่ๆเพราะว่าผมไม่มีความรู้ทางตัวหนังสือจีน และภูมิหลังผมคงไม่ให้กับการเข้าใจลายพู่กันนั้น

ดนตรีคลาสสิคก็เหมือนกันผมว่าคนทั่วไปที่ไม่ได้เล่นดนตรี สิ่งที่จับได้ง่ายๆที่สุดน่าจะเป็นทำนองดังนั้นเพลงของ Mozart, Tchaikovsky, Chopin, Mendelsshon, Strauss ที่มีทำนองชัดเจนไพเราะ จึงค่อนข้างเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ฟังที่ไม่ได้ศึกษาวิชาดนตรีตะวันตกมากนักเพราะเข้าถึงได้ง่ายกว่า
แต่เพลงอย่างของ Brahms, Mahler หรือแม้กระทั่ง  Beethoven ที่เน้นตรงจินตนาการ โครงสร้าง พัฒนาการและการสร้างสรรค์ทางดนตรี จึงเข้าใจได้ยากกว่า เป็นเหมือนการโชว์ฝีมือในการเขียนเพลงมากกว่าการเขียนเพื่อถ่ายทอดอารมณ์ความรุ้สึก
แต่ไม่ใช่ว่า 3 ท่านที่ยกตัวอย่างนี้จะแห้งแล้งไร้ความรุ้สึกไปทุกเพลงนะครับ แต่คือว่าจะโอนเอนไปทางนี้
แต่สำหรับ  Beethoven นั้นพิเศษ เพราะท่านเป็นทุกอย่างให้เขียนทำนองเพราะๆ ทำนองฮึกเหิม โครงสร้างดนตรีซับซ้อน การแปรทำนองอย่างวิจิตรพิศดาร ท่านทำได้วิเศษที่สุดเป็นแนวทางที่นักแต่งเพลงทั้งหลายเดินตามในเวลาต่อมา

สำหรับผมตอนแรกฟัง Beethoven แล้วก็เปลี่ยนมาหลงใหล Mozart แต่ฟังมาพักหนึ่งก็เริ่มเบื่อเพราะฟังทีไรก็รู้ว่าเป็น Mozart แบบว่าท่านมีสไตล์ของท่านเอง เมื่อเรียนรู้ต่อมาก็หลงรักเพลงของ Tchaikovsky, Chopin อย่างหมดหัวใจ แต่เมื่อความรู้ทางดนตรีเพิ่มมากขึ้นๆ เล่นดนตรีได้มากขึ้น กลับค้นพบว่าอัจฉริยะบุรุษหนึ่งเดียว ที่เปี่ยมด้วยพลังสร้างสรรค์แห่งพระเจ้านั้นก็คือ Johann Sebastien Bach

ครับกระทู้นี้คงยาวอีกแน่ครับอาจารย์
บันทึกการเข้า
Olympus
อสุรผัด
*
ตอบ: 12


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 23 ส.ค. 05, 16:30

 ผมคิดว่าเพลงคลาสสิคค่อนข้างจะเข้าใจยาก แต่ถ้าสามารถทำความเข้าใจกับมันได้จะพบความไพเราะทีเดียวครับ ผมอยากจะลองถามความคิดเห็นของแต่ละคนว่า เครื่องดนตรีชนิดใดสามารถให้ความไพเราะมากที่สุดเมื่อเล่นเพียงเครื่องเดียวครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 23 ส.ค. 05, 17:00

 ตอบคำถามคุณ  Olympus
เปียโน ค่ะ

ตอบคุณ paganini
การเชียนเพลงให้มีโครงสร้าง พัฒนาการ สร้างสรรค์  จนแพรวพราว ทำให้ดิฉันนึกถึงการแต่งคำประพันธ์โดยใช้ฉันท์  สร้างความอลังการได้ยิ่งกว่ากลอนแปด ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน
แต่ความจับใจของฉันท์ ก็ไม่จำเป็นว่าจะเหนือกว่ากลอนแปดเสมอไป

ความสะเทือนอารมณ์ เป็นสิ่งสำคัญที่ตัดสินว่างานหนังสือเล่มไหนมีวรรณศิลป์   ไม่ใช่ลูกกเล่นของการสร้างแบบแผนการแต่ง หรือความพิสดารของเนื้อหา

การเข้าถึงวรรณคดีต้องใช้การเรียนรู้    เรามักจะเห็นว่านักวรรณคดีซาบซึ่งดื่มด่ำกับอะไรสักอย่างที่ห่างไกลจากความซาบซึ้งของชาวบ้านร้านถิ่นมากเอาการ
ส่วนดิฉันไม่ค่อยจะชอบแบบนักวรรณคดี   แต่ก็ไม่ชอบอย่างชาวบ้าน เลยหาที่ลงไม่ค่อยเจอเหมือนกัน

เอาเพลงมาคั่นโปรแกรมเพลงคลาสสิคสักเพลง
ชอบเนื้อเพลงนี้  ชอบทำนองด้วย   คนเขียนเป็นผู้ชายที่ดูจะยอมรับธรรมชาติของเพศหญิงได้มากเอาการ  
หวังว่าแกคงเจอ  She  สมใจ

She
May be the face I can’t forget
A trace of pleasure or regret
May be my treasure or the price I have to pay
She may be the song that summer sings
May be the chill that autumn brings
May be a hundred different things
Within the measure of a day.

She
May be the beauty or the beast
May be the famine or the feast
May turn each day into a heaven or a hell
She may be the mirror of my dreams
A smile reflected in a stream
She may not be what she may seem
Inside her shell

She who always seems so happy in a crowd
Whose eyes can be so private and so proud
No one’s allowed to see them when they cry
She may be the love that cannot hope to last
May come to me from shadows of the past
That I’ll remember till the day I die

She
May be the reason I survive
The why and wherefore I’m alive
The one I’ll care for through the rough and ready years
Me I’ll take her laughter and her tears
And make them all my souvenirs
For where she goes I’ve got to be
The meaning of my life is
She, she, she
บันทึกการเข้า
คำฝอย
มัจฉานุ
**
ตอบ: 64

เรียน


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 24 ส.ค. 05, 20:25

 ตอบเรื่องเครื่องดนตรีก่อน
             
ดิฉันชอบไวโอลินค่ะ เสียดแทงมากๆ สื่ออารมณ์โหยหาได้ดี ไวโอลินเพลงไทยสากลที่คุณ นพ โสถิพันธ์ เล่น ในส่วนหนึ่งของ เยื่อไม้ เพลงผลัดใบ ดิฉันก็ชอบ เช่น เพลงน้ำตาแสงใต้ ลมหวล ฟังแล้วเคลิ้ม

         เห็นอาจารย์เทาชมพูกับคุณ paganini คุยกันเรื่องเพลงคลาสิกแล้วชื่นชมจังค่ะ เมื่อวานดิฉันกลับบ้านไปหยิบ โมทสาร์ท มาฟังแล้วก็เลยดูเสียด้วยว่าที่ฟังๆ อยุ่ประจำน่ะ ชื่อว่าอะไร (พูดแล้วอายจังค่ะ ฟังอยู่ได้เป็นานนม แต่จำชื่อเพลงไม่เคยได้ ปรากฏว่าเป็น  No. 38 ค่ะ (จะจำผิดอีกหรือเปล่าไม่รู้) แต่ว่าเห็นด้วยนะคะว่า โมทสาร์ทแต่งเนี่ยจะคงความเป็นโมทสาร์ทมากๆ พอดีดิฉันซื้อ CD แบบยกแพคมา ในนั้นมี 4 แผ่น 4 นักประพันธ์ คือ Shubert, Bethoven, Mozart และ  Dvorak  เริ่มต้นด้วยความมืดบอด ใคร่ฟังแผ่นไหนก็เลือกไป ตอนแรกชอบใจเพลงของ  Dvorak มากเพราะฟังแล้วฮึกเหิมดี ทำแลปไม่ได้ผลก็ไม่ห่อเหี่ยวมาก หลังๆ มาจะฟัง Bethoven  มากกว่า ดิฉันฟังแบบไม่ได้แยกแยะขั้นดนตรีอะไร เพราะไม่มีความรู้ ก็ฟังเอาความสบายใจ ถูกหูเข้าว่า มาอ่านกระทู้นี้แล้วก็ได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีกเยอะขอบคุณมากค่ะ

ขอบคุณอาจารย์เทาชมพูสำหรับเนื้อเพลง  she ค่ะ ผู้แต่งคงจะเข้าใจธรรมชาติของผู้หญิงได้ดีจริงๆ แหละค่ะ แกถึงได้เปรียบเปรยไปเสียเยอะแยะ ว่า เธออาจจะเป็นอะไรก็ได้ ดิฉันว่า ถูกเผง เลย

ขอบคุณคุณ  paganini สำหรับเว็บลิงค์เพลงของ คุณ ดนู ฮันตระกูล ว่างๆ แล้วจะแว๊บไปฟังตัวอย่างค่ะ ทำให้ดิฉันนึกถึงเพลงโปรดอีกเพลงในชุด หรรษคดี คือเพลง "ดอกราตรี" เพราะเจ้าหนุ่มในเพลงนี้ช่างน่าเอ็นดู ไม่พูดไม่จา แต่ว่า เอาดอกราตรีมายื่นให้ แล้วจะให้ตีความว่ายังไงกันคะ

ดอกราตรี

เมื่อแรกเจอะเจอเธอดูร่าเริง
ให้ความบันเทิงช่างแหย่ช่างเย้า
สนุกสนานด้วยกันสองเรา
ไม่เคยเงียบเหงายามเราเจอกัน
เมื่อเธอเฝ้าถามว่าชอบอะไร
ชอบมวลดอกไม้หรือดวงตะวัน
ก็ตอบว่าฉันนั้นชอบดอกราตรี
แต่ต่อมาเธอดูขรึมไป
พูดด้วยทีไรใจลอยทุกที
เริ่มมีความฝันที่ในดวงตา
เริ่มมีปัญหาในดวงฤดี
อันความทะเล้นที่เล่นบ่อยๆ
กลับเป็นยิ้มน้อยที่ไม่เคยมี
ส่งดอกราตรีที่หอมฟุ้งให้ฉัน

หอมดอกราตรี  
แต่มวลดอกไม้ถึงจะหอมกว่านี้ก็ไม่สู้หอมคำ
ฟุ้งกลิ่นที่หอมเยือกเย็นฉ่ำ
แต่ใจตัวเธอเองอาจต้องช้ำ หากมัวอมพะนำอยู่ต่อไป

ทำไมต้องทพเก้อๆ เปิ่นๆ
เคอะๆ เขินๆ มองเมินเหนียมอาย
ไม่พูดไม่จาหลบตาทำไม
มีความในใจไยไม่บอกมา
ให้ดอกราตรีมาเจรจา
น่าอายจริงหนาผู้ชายอะไร
เขยิบมาซิและจงกระซิบความใน

ปล. เห็นด้วย 100% ว่าเนื้อร้อง เพลง ฉันจะฝันถึงเธอ สวยมากค่ะ เผลอไม่ได้ สมมติว่าเป็นตัวเองทุกที
บันทึกการเข้า
Olympus
อสุรผัด
*
ตอบ: 12


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 24 ส.ค. 05, 21:39

 มีใครทราบไหมครับว่าเพลง คิดถึง ที่ขึ้นต้นว่า

"จันทร์กระจ่างฟ้า นภาประดับด้วยดาว โลกสวยราว เนรมิตประมวลเมืองแมน"

เพลงนี้เป็นของใครและใครเป็นคนนำมาร้องเป็นคนแรกครับ
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 24 ส.ค. 05, 22:26

 ตามสุภาพสตรีทั้งสองผมก็ต้องตอบคุณ Olympus ก่อนว่าผมชอบเครื่องดนตรีหลายชิ้นยากที่จะเลือกลงไปได้แน่นอนทั้งนี้เพราะแต่ละชิ้นต่างมีความสามารถพิเศษของมัน
Piano เป็นเครื่องดนตรีที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดเพราะสามารถเล่นได้หลายๆเสียงพร้อมกันได้มากที่สุด เสียงประสานจึงแน่นที่สุด สามารถเล่นเดี่ยวๆโดยไม่จำเป็นต้องมีเครื่องดนตรีอื่นประกอบ
Violin และเครื่องสายในตระกูล  เล่นยากมาก แต่น้ำเสียงเข้าถึงอารมณืได้ดีที่สุด มีเทคนิกหลากหลาย เล่นพลิกแพลงได้สารพัด การที่เครื่องสายตระกูลไวโอลินไม่มีเฟร็ตเหมือนกีต้าร์ทำให้การรูดเสียง ให้เกิดสำเนียงจำลองของการร้องเพลงได้ดีมากๆ สร้างอารมณ์ได้ดียิ่ง (ถ้าคนเล่นๆเก่งๆนะ) Viola เสียงทุ้มๆชวนให้รู้สึกเศร้าสร้อยเช่นเดียวกับ Cello ที่เหมาะสำหรับการถ่ายทอดอารมณ์ที่ลึกซึ้งดื่มด่ำ
แต่การที่เป็นเครื่องสี ต้องสีทีละสายหรืออย่างมากก็ 2 สาย ทำให้ไม่ค่อยมีความสะดวกที่จะเล่นไวโอลินตัวเดียวแล้วฟังครบเครื่องแบบเปียโน คือต้องมีเครื่องดนตรีอื่นประกอบถึงจะฟังแล้วครบรสชาติ
Classical Guitar อันนี้อยู่กึ่งๆระหว่าง เครื่องสายและ Piano เสียงกีต้าร์เพราะและมีสเน่ห์มาก เล่นตัวเดียวก็ครบในเรื่องเสียงประสาน แถมการเป็นเครื่องสายทำให้ผู้เล่นสามารถบังคับให้เสียงออกมาไม่ห้วนเหมือนเปียโนแต่ยืดเสียงได้เกือบๆเท่าไวโอลิน
การขึ้นสายแบบกีต้าร์ทำให้บทเพลงสำหรับกีต้าร์มีลักษณะเฉพาะ เพราะไปอีกแบบ
เสียงร้อง Vocal นับเป็นเครื่องดนตรีที่พิเศษอีกชิ้นนึง เพราะว่าผุ้ร้องเก่งๆสามารถถ่ายทอดอารมณ์ได้ดีที่สุด  สื่อความเข้าใจง่ายที่สุด(เพราะร้องเป็นภาษา)จนถึงสามารถสร้างลูกเล่นได้หลากหลายมีอิสระที่สุด ตัวอย่างเครื่องดนตรีชิ้นนี้ ก็เช่น Ella Fitzgerald ไงครับ อิอิอิ สุดยอดแล้ว

เอาแค่นี้ก่อนละกัน

พอดีโพสต์แล้วไม่ผ่านเลยเจอกระทู้คุณ Olympus ขอตอบว่าเพลงนี้ชื่อเพลง คิดถึง แต่งเนื้อโดย เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี โดยนำมาจากทำนองตอนท่อนช้าของบทประพันธ์สำหรับเดี่ยวไวโอลินที่ชื่อว่า Zigeunerweisen แปลเป็นอังกฤษว่า Gypsy Air นั่นคือเพลงช้าๆในแบบของยิปซี แต่งโดย Pablo de Sarasate ผู้ยิ่งใหญ่ทางด้านไวโอลินในศตวรรษที่ 19

จันทร์กระจ่างฟ้า   นภาประดับด้วยดาว
โลกสวยราวเนรมิตร  ประมวลเมืองแมน
ลมโชยกลิ่นมาลา  กระจายดินแดน
เรียมนี้แสนคะนึง   ถึงน้องนวลจันทร์
งามใดหนอจะพอทัดเทียบ เปรียบน้อง
เจ้างามต้องตาพี่   ไม่มีใครเหมือน
ถ้าหากน้องอยู่ด้วย   และช่วยชมเดือน
โลกจะเหมือนเมืองแมน  แม่นแล้วนวลเอย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 25 ส.ค. 05, 08:51

 เพลงนี้นำมาเป็นเพลงสากลด้วยค่ะ ชื่อ Gypsy Moon
ขึ้นต้นว่า
Moon of love, romantic gypsy moon
น่าเสียดายว่าค้นเนื้อร้องในเว็บไม่เจอ  แปลกจริงๆว่ามีเนื้อออกสารพัดแต่หาเพลงนี้ไม่ได้

คุณคำฝอยพูดถึง Schubert  นี่ก็คนโปรดอีกคนหนึ่ง   ชอบ Serenade กับ Unfinished Symphony ของเขามาก  ถ้าใครชอบเหมือนกันช่วยแนะนำเพลงอื่นๆด้วยนะคะ
บันทึกการเข้า
ถาวภักดิ์
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 25 ส.ค. 05, 14:11

 เห็นเนื้อความในกระทู้นี้แล้ว นึกสงสัยว่าคนที่เข้ามาสนทนา อายุรวมกันจะได้สักกี่ร้อยหนอ

ถ้าชอบเพลงอย่าง She  ขอเสนอ The First ever I Saw Your Face เข้าประกวดด้วยนะครับ อ.เทาฯ

ไม่รู้เป็นไง ผมชอบเพลงแสงจันทร์คลาสสิคทั้งไทยทั้งฝรั่ง หรือจะเป็นฝรั่งผสมไทยอย่างโสมส่องแสงที่บรรเลงด้วยเปียโนผสมไวโอลิน  ต่อให้ Serenade ของ Shubert ยังต้องชิดซ้ายแล้วเลี้ยวเข้าป่าไปซ่อนด้วยความอายเลยเชียว

แต่ถ้าเป็นฝรั่งล้วนๆนี่ เลือกไม่ถูกเลยว่าจะเอา Moonlight Sonata ของ Beethoven หรือ Shubert's Serenade มากล่อมหอดี

Gypsy Moon นี่เห็นชื่อครั้งแรก ดูเหมือนในเรื่องมัสยา ของพนมเทียน เล่นเอาอยากฟังติดหมัด แต่ดูเหมือนฟังแล้วก็งั้นๆ ไม่ได้ประทับใจสักเท่าใด  จนลืมท่วงทำนอง-เนื้อร้องไปหมดแล้ว  อ.เทาฯลอง พลิกหาเนื้อร้องดูในมัสยาซิครับ น่าจะมี อย่างน้อยก็บางส่วน  ถ้าความจำของผมไม่ทรยศ

แต่ก็ไม่เพียงพระจันทร์คลาสสิคนะครับที่สิทธิไพเราะประทับใจได้  พระจันทรซื่อๆแบบชาวบ้านๆก็รัก  อย่างเพลงร้องไห้กับเดือนนี่  ถ้าเจอน้องนางบ้านนาถูกตาถูกใจ จะเล่นลูกคอให้นักร้องอาชีพได้อายเลย
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 25 ส.ค. 05, 14:19

 หัวหินสิ้นมนต์รัก
สุเทพ วงศ์กำแหง

--------------------------------------------------------------------------------


...หัวหิน เป็นถิ่นสัญญา จากไป กลับมาผิดหวัง
ฮืม...ความหลังยังเวียนวน
คลื่นสวาทมันแรง มันแกล้งมาดล ร้อนจนใจสั่น
เคยชื่นชู้ สู่สวรรค์ รักกันมั่น ใจฉันยังปลื้ม
มันซาบมันซึม มันปลื้มไม่นาน วิมานทลาย
....คลื่นสวาทมันแรง มันแกล้งมาดล ร้อนจนใจสั่น
เคยชื่นชู้ สู่สวรรค์ รักกันมั่น ใจฉันยังปลื้ม
มันซาบมันซึม มันปลื้มไม่นาน วิมานทลาย
หัวหิน เป็นถิ่นสัญญา ขาดเธอ กลับพลันเงียบเหงา
ฮืม...มอง แสงดาวเรียงราย
คลื่น ยังคร่ำ ยังครวญ จันทร์แจ่มยังนวล เย้ายวนไม่วาย
คอยชื่นชู้ อยู่แลหาย เห็นรอยทราย ใจฉันหวิวหวั่น
เคยนั่งชมคลื่น เคยชื่นใจกัน ฉันยังไม่ลืม
********************************
(พิมพ์  font Thai ใน word ก่อน แล้วค่อย copy มา Hope it’s ok ka)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 25 ส.ค. 05, 17:55

 หายหน้าไปนาน   ขอต้อนรับคุณถาวภักด์ กลับเรือนไทยค่ะ
ขอบคุณที่ไม่ถามว่า อายุคนที่เข้ามาสนทนา รวมกันได้กี่พันปี!

ไม่มีเรื่องมัสยา  เลยไม่รู้ว่า Gypsy Moon ในนั้นเป็นยังไง
แต่มีเพลงโปรดของคุณมาลงค่ะ

The first time ever I saw your face
I thought the sun rose in your eyes
And the moon and the stars were the gifts you gave
To the night and the empty skies my love
To the night and the empty skies

The first time ever I kissed your mouth
I felt the earth turn in my hand
Like the trembling heart of a captive bird
That was there at my command my love
That was there at my command

The first time ever I lay with you
And felt your heart beat close to mine
I thought our joy would fill the earth
And would last ’till the end of time my love
And would last ’till the end of time

The first time ever I saw your face
I thought the sun rose in your eyes
And the moon and the stars were the gifts you gave
To the night and the empty skies my love
To the night and the empty skies
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 25 ส.ค. 05, 18:01



   คุณ Nuchan  ย้ายจากหัวหินมาฟังเสียงคลื่นที่ Sorrento ก็ไพเราะไม่แพ้กันนะคะ



Come back to Sorrento:



Hear the music of the waters,

bars of tender passion sighing

like thy heart to which go flying,

all my thoughts in wakeful dream.



See the lovely dewey garden,

breathing orange perfumed greetings;

Nought can set my heart a-beating,

like the frangrance of its bloom.



Now I hear that thou must leave me,

thou and I will soon be parted

Can'st though leave me broken hearted ?

Will thou never more return?



Then say not 'goodbye'

Come back again, beloved

Back to Sorrento, or I must die  
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 26 ส.ค. 05, 00:27

 กระทู้ไปเร็วมาก จนจะตอบไม่ทันเอา แต่ผมไม่ปล่อยให้ความเห็นอันทรงคุณค่าของแต่ละคนผ่านไปหรอกนะ ขอตอบย้อนหลังซักหน่อย
อาจารย์เทาฯครับในความเห็นที่ 3 อาจารย์เปรียบเปรยได้ดีจริงๆ ผมว่าตอนยังอายุน้อยๆผมมักจะมองหา อะไรที่มันเป็นที่สุด เป็นหนทางหนึ่งเดียว แต่พอแก่ๆไปประสบการณ์ชีวิตมันสอนว่ามีหลากหลายหนทางที่จะไปถึงจุดหมายเดียวกัน ความซาบซึ้งประทับใจในงานศิลป์เช่นกัน มันไม่มีกฎเกณฑ์และหนทางที่ตายตัว
แต่สิ่งที่แน่นอนคืองานศิลป์ที่ดีเยี่ยมมักจะเป็นผลผลิตทางปัญญา ให้คนอื่นหรือคนรุ่นหลังได้ซาบซึ้ง ถึงการสร้างสรรค์ของศิลปินนั้นๆ
สำหรับเพลง She ขอบอกว่าไม่จับใจผมครับ เพราะผมไม่เข้าใจในสิ่งที่เขาจะสื่อ หรืออาจจะเป็นเพราะผมไม่เข้าใจผู้หญิงก็ได้ครับ

คุณคำฝอยครับ ที่คุณบอกว่า “ดิฉันฟังแบบไม่ได้แยกแยะขั้นดนตรีอะไร เพราะไม่มีความรู้ ก็ฟังเอาความสบายใจ ถูกหูเข้าว่า”  นั่นแหละครับน่าชื่นชม ฟังด้วยหูแล้วใช้ใจตาม อย่าให้ความคิด ความรู้ที่อ่านมา คนบอกมา มาทำให้เกิดความโน้มเอียง ฟังแล้วต้องซื่อสัตย์ต่อความรู้สึกของตนเอง ไม่ชอบไม่ได้แสดงว่ารสนิยมต่ำต้อยแต่อย่างใด
เพลงดอกราตรีนี่เป็นเพลงที่ผมชอบมากเหมือนกันสนุกและน่ารักดี สังเกตสิครับเพลงจะฟังเสียงแปร่งๆ ทำนองแปร่งๆ นั่นคือ อ.ดนู ท่านใช้เทคนิคสมัยใหม่ในการแต่ง คุณสุภัทราก็ร้องได้เข้าอารมณ์ดีเหลือเกิน เสียดายจังเทปม้วนนั้นผมทำหายไปแล้ว รู้สึกที่ผมฟังจะอยู่ในชุด รังสรรค์วันสวย มีเพลงที่ อ.ดนูเอามาทำใหม่แล้ว คุณสุภัทราร้องไว้ดีๆหลายเพลง เช่น ชายน้ำ ดอกราตรี คนจะรักกัน หากรู้สักนิด เหมันต์รัญจวน(เพลงนี้ก็สุดยอดครับสำหรับการแต่ง) หนๆก็ไหนๆแล้วขอโพสต์เนื้อเพลงนี้ละกัน เพลงที่สวยงามมากๆ เต็มไปด้วยกลเม็ดเด็ดพรายทางอักษรศาสตร์ไทย แต่ที่สำคัญ การนำการเล่นภาษาการเล่นคำนั้นไม่ได้เอามาเล่นอย่างแห้งแล้งไร้ความหมาย แต่รับใช้การถ่ายทอดอารมณ์ของนักร้อง หรือผู้แต่งได้อย่างดีเยี่ยม ยิ่งไปกว่านั้นคำร้องแต่ละคำสอดคล้องรับกับทำนองอย่างกลมกลืนยิ่ง ต้องเรียกว่าเป็งานชิ้นเอกชิ้นหนึ่งของวงสุนทราภรณ์เลยครับ

เหมันต์รัญจวน  
คำร้อง ศรีสวัสดิ์ พิจิตรวรการ
ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน      
 
หวีดหวีดวอนวอนอ้อนออดโอยมา โอ้อนิจจาอ่อนอาลัย
เหมันต์ครวญคลั่งฟังคล้ายเสียงใครเสียงใครครวญใคร่
ร้องไปร่ำไปในสายลม
หลับตื่นคืนวันหวาดหวั่นรัญจวนโอ้ลมหวนอวลป่วนอารมณ์
เหมันต์กระหน่ำตำคล้ายเข็มคมสักแทงโศกซม
เจ็บเหลือจะข่มแล้วกรรมเวร
หวีดวอนคลอนทรวงล้วงหาใจคว้านไปค้นไป
คงได้แต่ไร้เหลือเดน
โอ้อสุราคว้าหัวใจฉันไปดูเล่นแล้วโยนกระเด็นลอยร้างรา
อย่ากลับมาเลยอย่ากลับมาเลยโอ้ลมหนาวเอยอย่าเลยมา
ฉันคงตายเมื่อลมเหนือพัดพาหอบอดีตมา
ปล้นขวัญฟันฆ่าไร้ปรานี
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 26 ส.ค. 05, 00:43

 คุณถาวภักดิ์ครับ

คุณจะไป assume ว่าคนที่คุยเรื่องเพลงเก่าแล้วเขาจะเก่าตามเพลงนั้นก็ไม่เสมอไปหรอกครับ เพราะว่าสมัยนี้เทคโนโลยีในการบันทึกเสียงหรือทำ digital remaster มีเยอะแยะ คนรุ่นหนุ่มสาวที่ “ใส่ใจ”  ก็สามารถกลับไปซาบซึ้งกับงานดีๆในอดีตได้เช่นกันถ้างานนั้นดีจริง โดยไม่ต้องสนใจว่าใครจะหาว่าเชย งานที่ดี งานที่สร้างสรรค์ด้วยสติปัญญามันไร้กาลเวลาครับ

แซวเล่นครับอย่าซีเรียส  ไอ้ผมน่ะแก่จริงๆ แต่ขอเถียงแทนคนหนุ่มสาวคนอื่นๆครับ หึหึหึ



อาจารย์ครับ ใจตรงกันอีกแล้ว เพลง Come back to Sorrento นี่เป็นเพลงโปรดของผมเลย ฟังแล้วได้บรรยากาศแบบอิตาเลียนจริงๆ

ต้นแบบเพลงมาจากภาษาอิตาเลียนครับ ลองเข้าเวปที่ผมให้นี่นะครับมีตัวอย่างเพลงให้ฟัง 1 นาทีด้วย

ชื่อเพลง Torna A Surriento ชื่อคงแปลแบบเดียวกันนั่นแหละครับ คำแปลเนื้อเพลงจริงๆผมไม่รู้ครับ



Torna A Surriento

G & E. De Curtis



Vide ‘o mare quant’è bello!

Spira tantu sentimento,

Comme tu a chi tiene mente,

Ca, scetato ‘o faie sunnà!



Guarda, gua’ chistu ciardino:

Siente, sie’ sti sciure arance:

Nu profumo accussi fino

Dinto ‘o core se ne va…



E tu dice: "I’ parto, addio!"

T’alluntane da stu core…

Da la terra de l’ammore…

Tiene ‘o core ‘e nun turnà?



Ma nun me lassà,

Nun darme stu turmiento!

Torna a Surriento,

famme campà!



Musical interlude



Vide 'o mare de Surriento,

che tesoro tene ‘nfunno:

chi ha girato tutto 'o munno

nun ll'ha visto comm'a ccà.



Guarda attuorno sti sserene,

ca te guardano 'ncantate,

e te vònno tantu bene...

Te vulessero vasà!



E tu dice: "I' parto, addio!"

T'alluntane da stu core

Da sta terra de l'ammore

Tiene 'o core 'e nun turnà?



Ma nun me lassà,

Nun darme stu turmiento!

Torna a Surriento,

Famme campà!



Torna a Surriento,

Famme campà!




 http://www.perfect-voice.com/torna_a_sorriento.htm  
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 26 ส.ค. 05, 09:57

 เรียน อ.  เทาชมพู
เพลงเก่าตรึงใจ ถ้าเป็นอังกฤษธรรมดาก็ค่อยยังชั่ว  ถ้าเป็น English poems or Old English เหมือนอะไรตามมาหลอกหลอน จำได้ว่าอาจารย์ที่ปรึกษาขีดเส้นว่าดิฉันเป็น senior แต่ยังไม่ลงทะเบียน English literature ของ sophomore   ดังนั้นต้องลงก่อน summer ก่อนจะไปลงวิชาอื่นได้
....กว่าจะผ่าน Shakespeare’s Romeo & Juliate, Hamlet ชีวิตเกือบสิ้นค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 12
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 19 คำสั่ง