เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 13863 วรรณคดีในสมัยรัชกาลที่ 9
นิชา
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


 เมื่อ 11 ส.ค. 05, 20:25

 อยากทราบเรื่องติโต และเรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระค่ะ
หรือเรื่องอื่นๆที่เป็นวรรณคดีในสมัยร.9 ก็ได้
ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 13 ส.ค. 05, 05:18

 ทั้งเรื่องติโต และนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ เป็นบทพระราชนิพนธ์แปล ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ครับ

คุณ ขวัญแก้ว วัชโรทัย
ได้เขียนถึงทั้ง ๒ เรื่องนี้ไว้ใน website
โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ลองไปอ่านได้ที่

 http://www.princess-it.org/kp9/hmk-IT/hmk-books.th.html

ส่วนวรรณคดีในสมัย ร.๙ นึกไม่ออกครับ เข้าใจว่า คำว่า วรรณคดี น่าจะหมายถึง "นิทานเก่าๆ" ซึ่งน่าจะมีอายุตั้งแต่รัตนโกสินทร์ตอนต้นขึ้นไปถึงอยุธยา สุโขทัย หรือเก่ากว่านั้น

วรรณคดีเรื่องสุดท้ายของไทย น่าจะเป็นเรื่อง "พระอภัยมณี" ครับ หลังจากนั้นมา ก็นึกไม่ออก อย่างสมัย ร.๖ ก็ทรงนิยม "บทละคร" ซึ่งก็ไม่ใช่วรรณคดีนะ ผมว่า

ถ้าเข้าใจผิด ผู้รู้โปรดอธิบายคำว่า วรรณคดี ด้วยนะครับ ผมคนนอกวงการวรรณคดีไทย อิอิ

ยุคปัจจุบัน ผมว่า เราเขียนวรรณคดีในรูปของ "นิยาย" ครับ พวกนิยาย ต่างๆ ที่แต่งกันในสมัยนี้แหละครับ แต่เราไม่จัดเป็นวรรณคดี เพราะคำว่า วรรณคดี สงวนไว้กับเรื่องเก่าๆ (หรือเปล่า ฮืม)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 13 ส.ค. 05, 09:08

 วรรณคดี หมายถึงหนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี มีวรรณศิลป์ขั้นสูงถึงขั้น
เรื่องเก่าๆ ถ้าแต่งไม่ดีก็ไม่ถือเป็นวรรณคดีค่ะ
การตัดสินว่าหนังสืออะไรเป็นวรรณคดี  อย่างหนึ่งคือตัดสินตามมติของวรรณคดีสโมสร ในสมัยรัชกาลที่ 6  ที่ยกย่องบทกวีนิพนธ์ตั้งแต่สมัยต้นรัตโกสินทร์เป็นต้นมา ว่ามีเรื่องไหนบ้างที่ได้รับการยกย่อง

อันที่จริง อะไรจะเป็นวรรณคดี  ใครเป็นคนพิจารณาว่า "ดี" ก็มีมาตรฐานหลายอย่าง เช่นจากผู้ทรงคุณวุฒิทางภาษาและวรรณคดี  
นอกจากนี้ยังต้องคำนึงว่าแม้เวลาผ่านไปนาน เรื่องนั้นก็ยังได้รับการยกย่องอยู่   ไม่ใช่ฮือฮาชั่ววูบ แล้วเงียบต๋อมหายไปในเวลาไม่กี่ปี แบบไฟไหม้ฟาง

ในเมื่อเอาเวลามาเป็นส่วนตัดสินด้วย  จึงยากที่จะบอกว่าหนังสือในปัจจุบัน เรื่องไหนเป็นวรรณคดี

ไหนๆพูดถึงขั้นนี้แล้วก็ขอแถมให้อีกคำค่ะ คือ วรรณกรรม
คำนี้ เมื่อบัญญัติขึ้น หมายถึง เรื่องที่แต่งขึ้น   เป็นความหมายวงกว้าง
เพราะหนังสือที่แต่งดี ถูกจัดเป็นวรรณคดีเสียแล้ว
ถ้างั้นถ้าจะเรียกหนังสือทั่วไปทั้งเก่าและใหม่ ด้วยภาษาทางการว่าอะไรดี
ก็เลยมีคำว่า "วรรณกรรม" เกิดขึ้น
ตรงกับคำว่า Literature ในความหมายกว้าง  
เพราะคำ Literature มีความหมาย 2 อย่าง คือตรงกับวรรณคดีก็ได้  และตรงกับคำว่าเรื่องที่แต่งขึ้น ทั่วๆไป ก็ได้

แต่คนรุ่นหลังเข้าใจผิด  นำคำว่า "วรรณกรรม" ไปใช้ในความหมายว่า หนังสือในยุคปัจจุบัน ที่แต่งดี   อะไรที่ดูถูกกันว่าไม่ดี ไม่เรียกว่าวรรณกรรม
ก็เลยเป็นที่เข้าใจกัน ว่าหนังสือซีไรต์เป็น"วรรณกรรม" แต่เรื่องโป๊ เรื่องแต่งของนักเขียนฝีมืออ่อนหัด  ฯลฯ ไม่ใช่"วรรณกรรม"
ทั้งที่ไม่ใช่ความหมายดั้งเดิมของการบัญญัติศัพท์คำนี้  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 13 ส.ค. 05, 09:09

 พระราชนิพนธ์ เรื่อง "มัทนะพาธา" เป็นบทละคร ถือว่าเป็นวรรณคดีค่ะ
ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรด้วย
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 13 ส.ค. 05, 10:04

 แล้วคำว่า "มหากาพย์" ล่ะครับอาจารย์เทาชมพู
ตอนผมเรียนประวัติศาสตร์ เข้าใจว่า รามายณะ มหาภารตะ อีเลียด โอเดสซี เอเนียด และกิลกาเมชต์ เป็นมหากาพย์ของโลก
แต่ทำไมเดี๋ยวนี้เห็นพูดคำว่า "มหากาพย์ภาพยนต์" อยู่เรื่อยๆ คำว่า มหากาพย์ภาพยนต์มาจากไหนเหรอครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 13 ส.ค. 05, 10:20

 มหากาพย์ ตรงกับคำว่า epic
หมายถึงเรื่องเล่าขนาดยาว(มาก) ที่แต่งเป็นบทกวี  มีตัวเอกเป็นวีรบุรุษ หรือกึ่งเทพกึ่งมนุษย์  
ลีลาการแต่งก็สง่างาม  ใช้บทร้อยกรองที่ส่งเสริมความยิ่งใหญ่ของเรื่อง
มีทั้งมหากาพย์มุขปาฐะ และลายลักษณ์อักษร
ตัวอย่างที่คุณติบอยกมา ถูกต้องแล้วค่ะ

ส่วนมหากาพย์ภาพยนต์ ไม่แน่ใจว่าคนกำหนดคำ ตั้งใจจะหมายถึงอะไร
แต่คิดว่าใช้ในความหมายดัดแปลง
คำว่ามหากาพย์ บ่งถึงความยิ่งใหญ่ เชิงตำนาน
คำว่ากาพย์ ก็สัมผัสกับ ภาพ  ถูกหูคนไทยซึ่งนิยมคำคล้องจอง
เลยกลายเป็น มหากาพย์ภาพยนต์
บันทึกการเข้า
นิชา
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 13 ส.ค. 05, 21:28

 อย่างแก้วจอมซนพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพฯ
ถือเป็นวรรณคดีได้ไหมค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 19 คำสั่ง