เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 6578 ฝรั่งเศส-อังกฤษประเทศที่เอาเปรียบไทยสุดๆ
raerae
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


 เมื่อ 30 ก.ค. 05, 16:40

 เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมาเราได้มีโอกาสได้เรียนวิชาสังคมซึ่งเรียนเกี่ยวกับเรื่อง ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ยุดปฏิรูป(ร.4-ร.6)
ก็เรียนเกี่ยวกับการเสียดินแดนให้ อังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งสองประเทศนี้ก็มีเหตุผลที่ไม่ค่อยเข้าท่าเลยในการมายึดดินแดนต่างๆของประเทศเรา มีสาระดังต่อไปนี้
 ไทยต้องเสียดินแดนให้แก่ อังกฤษ และ ฝรั่งเศส รวมทั้งสิ้น 6ครั้ง ในรัชกาลที่4 เสียไป 1 ครั้ง  รัชกาลที่ 5 เสียไป *5 ครั้ง*
การเสียดินแดนทุกครั้งนั้นล้วนเป้นกรณีทีไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เลย เนื่องจากถ้าเราไม่ยอมให้เค้าเค้าก็จะทำสงครามกับประเทศเราเเล้วประเทศเราก้ต้องตกเป้นอาณานิคมของสองประเทศนี้ประเทศใดประเทศหนึ่ง

ครั้งที่1  เสียเขมรทั้งประเทศให้ฝรั่งเศส ในปลายรัชกาลที่4 โดยฝรั่งเศสบังคับให้สมเด็จพระนโรดมกษัตริย์เขมร ทำสัญญายกให้
*โดยอ้างว่าเขมรเคยเป้นของญวณ เมื่อญวณเป็นของฝรั่งเศส เขมรก้ต้องเป็นของฝรั่งเศสด้วย* รัชกาลที่4 ทรงทราบจากสมเด็จพระนโรดมแต่ก็ไม่สามารถจะทำอะไรได้ T-T

ครั้งที่2  เสียแคว้นสิบสองจุไทให้แก่ฝรั่งเศส(อีกแล้ว) ในรัชกาลที่5 ฝรั่งเศสของตั้งสถานกงศุลที่ หลวงพระบาง ต่อมาพวกฮ่อเข้าไปปล้นเขตแดนไทยจนถึงหลวงพระบาง ไทยขับไล่ฮ่อไป
ส่วนฝรั่งเศสก้ยกทัพไปตั้งมั่นที่หลวงพระบางอยุ่ตั้งเเต่บัดนั้นเป้นต้นไป

ครั้งที่3  เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส(อีกแล้วคับทั่น)
ในรัชกาลที่5 เหตุการณ์ครั้งนี้เรียกว่าวิกฤตการณ์ ร.ศ.112
ฝรั่งเศสอ้างว่า *ลาวเคยเป็นของญวณและเขมร ดังนั้นลาวจึงต้องเป็นของฝรั่งเศส* ฝ่ายไทยได้รับความเสียหายมากจากเหตุการณ์นี้

ครั้งที่4  เสียดินแดนฝรั่งขวาแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส(เจ้าเก่า)
ในรัชกาลที่5 ****ขณะที่เกิดกรณีพิพาท ร.ศ.112 ฝรั่งเศสได้ถือโอกาสส่งกองทัพเข้าไปยึดจันทบุรีไว้ เพื่อให้ได้จันทบุรีคืนมาเราจึงต้องเสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง แต่ด้วยเล่ห์ ทหารฝรั่งเศสได้ยกกองทัพไปยึดตราดแทน**** (สุดยอด)

ครั่งที่5  เสียมณฑลบูรพาให้แก่ฝรั่งเศส(-*-)ในรัชกาลที่5 ไทยต้องเสียดินแดนครั้งนี้ไปเพื่อแลกกับเมืองตราด

ครั้งที่6   เสียไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู ปะลิส ให้อังกฤษ(น้องใหม่) ในรัชกาลที่5 การเสียดินแดนในครั้งนี้เพื่อแลกกับ 2 สิ่ง คือ  1.ไทยขอกู้เงินสร้างทางรถไฟสายใต้
     2. การยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของคนในบังคับอังกฤษ

  เหอๆๆๆๆ ลองคิดดูถ้าไม่เสียดินแดนจ่างๆๆให้อังกฤษและฝรั่งเศสจะใหญ่ขนาดไหน แต่คิดอีกที ยอมเสียดินแดนที่ไม่ใช่ของเรา ดี กว่าเสียดินแดนที่บรรพบุรุษเราสร้างมาให้ประเทศอื่น
บันทึกการเข้า
raerae
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 30 ก.ค. 05, 16:45

 **แก้คำผิด จ้า**
-บรรทัดรองสุดท้าย
จ่างๆๆๆๆ>>>ต่างๆๆๆๆ
ต่อจากคำว่าฝรั่งเศส>>>ตกคำว่าประเทศไทย
บันทึกการเข้า
เนยสด
ชมพูพาน
***
ตอบ: 153



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 30 ก.ค. 05, 20:46

 ความจริงเรื่องก็นานมาแล้วนะครับ
สมัยนั้น (และทุกสมัย) ชาติที่เข้มแข็งก็ย่อมนิยมในการล่าอาณานิคมทั้งนั้น

ส่วนที่ว่าประเทศไหนเอาเปรียบไทยมากกว่า
ผมว่าฝรั่งเศษเอาไปแต่แผ่นดินไทย
แต่อังกฤษผูกขาดการค้า และต่อรองกับเรามากนะครับ
อย่าลืมเรื่องนี้ด้วย
บันทึกการเข้า

raerae
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 31 ก.ค. 05, 15:29

 มันแล้วแต่ ทัศนะคติ ของแต่ละคน ว่าจามองกันด้านไหน ^.^
บันทึกการเข้า
Lepus
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 31 ก.ค. 05, 20:12

 ผมก็ไม่ชอบวิธีการของพวกนักเลงโตนี่เหมือนกันครับ แต่ขอให้มองดูอย่างเป็นธรรมนะครับว่าดินแดนที่ว่ามา เอาเข้าจริงๆ ก็ไม่ใช่ของเราตั้งแต่ต้น

เรามักจะถูกสอนกันมาจากในโรงเรียนว่า ประเทศตะวันตก มาบีบบังคับเอาดินแดนของเราไป แต่ถ้าดูกันจริงๆ ดินแดนที่ถูกเอาไปเหล่านี้ เป็น "หัวเมืองประเทศราช" ของนครรัฐสยามต่างหาก

ต้องเข้าใจว่าในภูมิภาคนี้ แต่เดิมเรายึดถือประชากรมากกว่าเขตแดนนะครับ ไม่เคยมี "ประเทศไทย" ที่มีขอบเขตทางภูมิศาสตร์ชัดเจนตามความหมายปัจจุบัน (เอาเข้าจริง ในปัจจุบันบางจุดมันก็ยังไม่ชัดเจนอยู่ดี) จนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อประเทศตะวันตกเริ่มเข้ามาล่าอาณานิคมนั่นแหละ เราถึงเริ่มว่าจ้างฝรั่งให้มาสำรวจและปักปันเขตแดน เป็น "ประเทศ" ขึ้นมา

พื้นที่ที่เราสามารถพูดได้เต็มปากจริงๆ ว่าเป็นของเรา ก็คือบริเวณของนครรัฐสยามครับ ส่วนประเทศราช (เช่น เขมร ลาว ไทรบุรี เชียงใหม่ ฯลฯ) นั้นจริงๆ ก็คือ "อาณานิคม" ของเรา ซึ่งมีประชากรที่ไม่ใช่คนไทย มีกษัตริย์ของตนเองปกครอง เพียงแต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาให้ตามกำหนด เป็นสัญลักษณ์ว่ายังยอมสวามิภักดิ์อยู่ก็เท่านั้น การเลือกกษัตริย์ต้องได้รับความเห็นชอบจากไทย แต่กษัตริย์จะบริหารประเทศอย่างไร รัฐบาลไทยโดยปกติจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว

เรื่องมันซับซ้อนขึ้นตรงที่ว่า ในสมัยนั้นเจ้าเขมรส่งเครื่องราชบรรณาการให้ทั้งไทย และญวณ และหลายๆ ครั้งก็ขอความช่วยเหลือจากญวณแทนที่จะมาขอจากไทย โดยสถานะแล้วจึงอ้างได้ว่าเขมรเป็นเมืองขึ้นของทั้งไทยและญวณ เมื่อฝรั่งเศสยึดญวณได้จึงยกตรงนี้มาอ้าง (บวกกำลังทหารหนุนหลังนิดหน่อย) เพื่ออ้างสิทธิครอบครอง เขมร และลาว ต่อในที่สุด

สมบัติผลัดกันชมครับ เราไปยึดบ้านเมืองเขามา ต่อมาโดนนักเลงโตกว่ายึดดินแดนที่เราไปยึดเขามาไปก็เป็นธรรมดาโลก คนที่น่าสงสารที่สุดคือคนเขมรและลาวมากกว่า

ใครมีกำลังมากกว่าก็มักจะทำอย่างนี้ ถึงเดี๋ยวนี้ก็ตาม คบกับพวกผมทองพวกนี้ก็คอยระวังตัวให้ดี นิสัยบรรพบุรุษยังไม่เปลี่ยนหรอกครับ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 04 ส.ค. 05, 23:26

 เป็นธรรมดาของโลกครับ ใครมีอำนาจก็รุกรานคนอ่อนแอ การศึกษาประวัติศาสตร์ ต้องดูถึงแนวโน้มโลกในสมัยนั้นด้วย นั่นคือในช่วงนั้น "แฟชั่น" คือการล่าอาณานิคม มันก็ต้องเป็นไปตามนั้นครับ

ที่สำคัญคือ ต้องไม่เอาอดีตมาเป็นอคติกับปัจจุบัน ไม่งั้นก็จะทะเลาะกันไม่จบครับ (เวรระงับด้วยการไม่จองเวร) อย่าง จีน เกาหลี ก็จะตั้งแง่กับญี่ปุ่น แต่เรื่องสงครามโลกครั้งที่ ๒ หรือ ญี่ปุ่นเองก็มีทิฐิ ไม่ยอมรับผิด

จีนก็ตู่เอาไต้หวันเป็นจังหวัดของตัวเองอยู่ได้ ตามที่เชื่อกันมาแต่อดีต โดยไม่ยอมรับความจริงที่ว่า ไต้หวัน มีทุกอย่างแยกออกจากจีนหมดแล้ว ปัจจุบันไม่ได้มีอะไรที่ขึ้นกับการปกครองของจีนเลย ก็เลยทะเลาะกันอยู่อย่างไม่จบสิ้น

หรือ ใกล้ๆ ตัวเราก็เรื่องภาคใต้ครับ ปัจจุบัน ดินแดนที่เคยเป็นแคว้นปัตตานี ก็เป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทยแล้ว ซึ่งก็มีศักดิ์และสิทธิเทียบเท่ากับจังหวัดอื่นๆ

แต่พวกผู้ก่อการร้าย ก็จะอ้างแต่เรื่องอดีต คนพวกนี้หมกมุ่นอยู่แต่กับอดีต ไม่มองถึงอนาคต

มาดูข้อความที่ post ดีกว่าครับ ...

"ครั้งที่1 เสียเขมรทั้งประเทศให้ฝรั่งเศส"

ตรงนี้ผมว่า ถ้าเราไม่เสียให้ฝรั่งเศส ในที่สุดเราก็ต้องให้เขมร แยกเป็นเอกราชครับ เพราะตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็นต้นมา "แฟชั่น" การเรียกร้องเอกราช มาแรงมากครับ
หรือ ถ้ายังคงเป็นส่วนหนึ่งของไทย คิดดูนะครับ ภาษาก็คนละแบบ ประชากรก็เยอะ รับรองได้ว่า ก่อการร้ายกันทุกวันแน่ๆ
ได้เป็นของฝรั่งเศสก็ดีแล้วหละครับ

ส่วนครั้งอื่นๆ ก็จะเข้าได้ดีกับคำว่า
"เสียน้อยเสียยาก  เสียมากเสียง่าย"

นั่นคือ เรายอมเสียน้อยๆ ซึ่งน้อยๆ ที่เสียไป ก็ไม่ได้กระทบกระเทือนความมั่นคงของส่วนกลาง ถ้าเราดื้อไม่ยอมเสียก็จะเป็นอย่าง พม่า ลาว มาเลเซีย กัมพูชา ได้ครับ

อันที่จริง ฝรั่งล่าอาณานิคม "เอาเปรียบทุกประเทศครับ" ถ้าจะหาคนเห็นแก่ตัวจริงๆ แล้วก็ต้องไปดูว่ายุคนั่น สมัยนั่น ประเทศเหล่านั้นมีใครเป็นผู้ปกครองครับ ใครเป็นประธานาบดี หรือ ใครเป็นนายกรัฐมนตรี อันนี้จะตรงสุด เพราะว่า ประเทศเหล่านั้นจะมีนโยบายอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับผู้นำครับ เออ เลยนึกถึงประโยคไทยๆ ที่ว่า
"เชื่อท่านผู้นำ ชาติพ้นภัย"
อิอิ พ้นภัยต่างชาติ แต่ต้องมาผจญภัยในชาติ  ยิ้ม
บันทึกการเข้า
ไฝ่รู้วิชาการ
อสุรผัด
*
ตอบ: 7

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 07 ส.ค. 05, 15:13

 ดิฉันว่าคุณ Hotacunus พูดถูกนะคะ
บันทึกการเข้า
ComradeChecov
อสุรผัด
*
ตอบ: 9


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 07 ส.ค. 05, 15:35

 เราเอาจิตสำนึกมาตัดสินประวัติศาสตร์ และตั้งแง่ว่า ใครเลวใครดี
และใครคือผู้เอาเปรียบ เพราะถ้าเกิดมีความคิดเช่นนั้น
มันก็จะเถียงกันไม่รู้จบ แสดงให้เห็นว่าภูมิปัญญาของคนในรัฐชาตินั้นไม่มี
ถ้าหากลงเถียงกันว่าใครเอาเปรียบแล้ว ก็จะมีแต่การอ้างว่าผู้นั้นผู้นี้เอาเปรียบกันเสียหมดโลก
แต่เรามองประวัติศาสตร์ในมุมมองที่ว่าการที่อังกฤษหรือฝรั่งเศสมายึดดินแดนที่ไม่ใช่ของรัฐชาติไทยไปนั้น
ได้ก่อให้เกิดความเปนปัจจุบันด้วย ลองคิดง่ายๆว่า ถ้าหากไม่มีการดำเนินการทางประวัติศาสตร์ที่ประขวบเหมาะ
ก็จะไม่สามารถเกิดความเปนปัจจุบัน ณ ขณะนี้ได้เลย ??
เราจึงเรียนประวัติศาสตร์เพื่อเข้าใจ มิใช่เพื่อด่าชาวบ้าน
นี่คือจุดมุ่งหมายแห่งการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง!
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 07 ส.ค. 05, 16:24

 เอ๊า ตอบซะมั่งก็แล้วกัน


สารภาพก่อนครับ ว่าผมเองเข้ามาอ่านกระทู้นี้ พร้อมกับความรู้สึกขำๆตั้งแต่เห็นชื่อกระทู้ครับ เพราะเมื่อใครซักคนที่ยังไม่เข้าใจประวัติศาสตร์ดีพอ เรียนประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่สุโขทัยลงมา จนถึงเสียดินแดนสมัยต่างๆ ความรู้สึกที่เกิดขึ้น ส่วนมากก็มักจะคิดว่า ไทยเสียเปรียบ พม่าเลว ฝรั่งชั่ว ซะบ่อย ซึ่งก็ไม่แปลกอะไร

อย่างหนึ่งเห็นด้วยกับคุณบนศีรษะว่ามาส่วนหนึ่งครับ ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องของอดีตที่ผ่านไปแล้วนะครับ ลองเทียบดูดีๆ อ่านจากหลายๆมุม ดูความเป็นกลางในแต่ละฝ่ายครับ ผมขออนุญาตยกเอากรุงศรีอยุธยาเป็นหลักนะครับ เพราะกรุงศรีเป็นแค่ "ประวัติศาสตร์"ไปแล้วคงไม่เกี่ยวกับคนยุคปัจจุบันเท่าไหร่

คนปัจจุบัน เรียนหนังสือว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ สร้างกรุงสุโขทัย แต่ก็ไม่เคยมีใครถามอาจารย์ซักที ว่า "แล้วถ้าสุโขทัยไมได้มาสร้างอยุธยา อยุธยามาจากไหน" หรือ กรณีที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชต้องไปเติบโตในหงสาวดี ก็ไม่เคยมีคนไทยถามอาจารย์อีกเช่นกัน ว่า "แล้วเจ้านายประเทศราชของอยุธยา ต้องส่งมกุฏราชกุมารมาอยู่อยุธยาหรือเปล่า" หรือแม้กระทั่ง เรื่องที่หลายคนไม่เคยสงสัยว่า "พระเจ้าเอกทัศน์ เป็นกษัตริย์ที่เลว(ขออนุญาตใช้คำนี้นะครับ) ขนาดที่เรียกกันว่า ทวิราช จริงหรือ" เอ๊า เอาอีกเรื่องละกัน เห็นเปิดกระทู้กันวันก่อน ว่าที่ว่า "สยามไม่เคยยอมรับล้านนาในฐานะญาติ แล้วพระเจ้าพรหมมหาราชมาเป็นมหาราชในตำรามหาราชไทยตอนไหน"


ประวัติศาสตร์ขึ้นกับผู้เขียนครับ วิธีเรียนประวัติศาสตร์ขึ้นกับความเข้าใจ เมื่อมีผล ต้องมีเหตุ หลายครั้ง ประวัติศาสตร์หลายเรื่องถูกแต่งเติมเพื่อจุดมุ่งหมายทางการเมืองการปกครอง เพื่อให้เกิดรัฐนิยม เกิดความปรองดองสามัคคีกันในชาติ หรืออาจจะเขียนเพื่อจุดประสงค์ในการลบล้างความผิดของผู้เขียนก็เป็นธรรมดา เช่นในกรณีแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ ซึ่งถ้าใครสนใจศึกษาคงพอจะทราบกันอยู่นะครับ

แต่ปัญหาไม่ได้จบแค่การเขียนประวัติศาสตร์ เพราะการเขียนประวัติศาสตร์ที่บิดเบือนออกไป เป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาครับ เหมือนอย่างที่หลายๆท่านคงได้ชมภาพยนต์อิงประวัติศาสตร์หลายเรื่อง ที่หยิบยกเอาข้อมูลหยิบมือหนึ่งมาเล่าเป็นฉากๆ เติมคำพูด บทบาท อารมณ์ให้ตัวละครมากมาย และแน่นอนครับ ว่าสื่อเหล่านี้จะฝังอยู่ในมโนภาพของผู้รับชมได้ง่ายกว่าข้อมูลประวัติศาสตร์ที่น้อยคนที่จะรู้ จะเข้าใจ การถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นอย่างผิดๆถูกๆ ไปจนบิดเบือนไปอย่างไม่ต้องสงสัยก็เกิดขึ้นได้อีกเช่นกันไงครับ

เมื่อไหร่รัฐบาลไทยจะมีใจเป็นกลาง สอนประวัติศาสตร์แบบให้นักเรียนนักศึกษา "เข้าใจ" ไม่ใช่ "ตามตำรา" ซะทีก็ไม่รู้ อิอิ
บันทึกการเข้า
raerae
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 09 ส.ค. 05, 13:03

 จาเข้าใจไงมันก็เรื่องของเรา เราเรียนแล้วเรารู้สึกอย่างนี้เราเขียนตามความรู้สึก แล้ว เราก็ไม่ได้ด่าใครด้วย กระทุ้นี้ไม่ได้ตั้งขึ้นมาเพื่อด่าอังกฤษหรือฝรั่งเศสแต่ตั้งขึ้นมาด้วยความรู้สึก
แล้วแต่ละคนจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจยังงัยก็แล้วแต่มุมมองของแต่ละคน
บันทึกการเข้า
raerae
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 09 ส.ค. 05, 13:08


ตอนนี้ไปอ่านหนังสือแล้วววววววววววววววววววววววววววววววววว
พรุ่งนี้สอบรัตนโกสินทร์ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
ขอบคุณสำหรับความเห็นของทุกๆๆคนนนนนนนนนนนนนนนนน
แล้วเราก็จะเข้าใจประวัติสาสตร์ทุกเรื่องๆตามความเข้าใจเรา
บันทึกการเข้า
Lepus
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 10 ส.ค. 05, 01:33

 ใจเย็นๆ ครับ น้อง raerae อย่าเพิ่งงอน

ลองอ่านคำตอบแต่ละอันดูดีๆ นะครับ เขาไม่ได้ว่าน้องครับ แต่พวกเราส่วนใหญ่กำลังวิพากษ์วิจารณ์แนวทางการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ของเรา (ซึ่งมีที่มามาจากสมัย "เชื่อผู้นำ พาชาติไทย ให้พ้นภัย" นั่นแหละ) อยู่ครับ พี่บางคนเขาอาจจะพูดจาโผงผางไปบ้าง แต่ผมไม่เชื่อว่ามีใครมีเจตนาจะตำหนิน้องครับ เพราะผมเชื่อว่านักเรียนมัธยมต้นที่เรียนประวัติศาสตร์ช่วงนี้ในโรงเรียนทุกคนก็รู้สึกแบบนี้ ตอนผมเรียนผมก็เป็น จนอายุมากขึ้น มีเวลามานั่งคิดพิจารณามากขึ้นนั่นแหละ ความรู้สึกถึงค่อยเปลี่ยนไป (แต่ถึงยังไงผมก็ยังยืนยันความเห็นผมว่าอย่าไปไว้ใจพวกผมทองมากอยู่ดีน่ะแหละ โดยเฉพาะประเทศที่ทำตัวเป็นมหาเศรษฐี พิมพ์แบงก์ใช้เอง อยากได้อะไรก็ข่มขู่ตัดสิทธิต่างๆ นานานี่แหละ ตัวดีนัก เอาระเบิดไปถล่มชาวบ้านเขาตายเป็นเบือแล้วยังมีหน้ามาฉลองว่าข้าพเจ้ารักษาสันติภาพของโลกไว้ได้อีกแล้วอีก)

เป็นเรื่องปกติอีกน่ะแหละ ที่คนที่เรียนประวัติศาสตร์แล้วจะตีความประวัติศาสตร์ตามความเข้าใจของตน แต่พยายามอย่าปิดกั้นตัวเองครับ และที่สำคัญมากกว่า "เกิดอะไรขึ้นในอดีต" (ซึ่งส่วนใหญ่เราไม่สามารถรู้ได้อย่างแน่นอนว่าจริงๆ แล้วมันเกิดอะไรขึ้น) คือ "ทำอย่างไรเราจึงจะป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นอีกได้" ครับ

ขอให้โชคดีกับการสอบนะครับ

ไว้อีก 2-3 เดือนปิดเทอมแล้ว ถ้าอยู่ว่างๆ แล้วยังสนใจเรื่องนี้อยู่ ผมแนะนำหนังสือให้อ่านเล่นๆ สักเล่มดีไหมครับ หนังสือชื่อ "ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19" พิมพ์โดยราชบัณฑิตยสถานเมื่อปี 2539 หนังสือเล่มนี้เขียนโดย ศ. ดร. เพ็ญศรี ดุ๊ก ซึ่งท่านเป็นราชบัณฑิตสาขาประวัติศาสตร์สากล ถ้าอยู่ในกรุงเทพฯ ผมคิดว่าที่หอสมุดแห่งชาติน่าจะมีครับ อ่านไม่ยากครับ ไม่นานก็จบ ท้ายเล่มมีโบนัส เป็นภาพถ่ายสารพัดสนธิสัญญาที่เราเซ็น ซึ่งอ่านได้จริงๆ ด้วยนะเออ สนใจป่ะ (จริงๆ แล้ว อ. เพ็ญศรี ท่านยังเขียนหนังสืออีกเล่ม (คงเป็นภาคต่อ) ชื่อ "การต่างประเทศกับเอกราชและอธิปไตยของไทย : ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ถึงสิ้นสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม" พิมพ์โดยราชบัณฑิตยสถานเจ้าเก่าครับ ถ้าชอบเล่มแรก ก็ลองอ่านเล่มนี้ดูด้วยนะครับ)
บันทึกการเข้า
raerae
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 10 ส.ค. 05, 19:23

 อารมณ์ชั่ววูบ ขอโทษ พี่ๆๆๆ ด้วยจ้าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
ก้รู้นะคะว่าพี่ๆๆแสดงความคิดเห้นกัน แต่บางคนก็เหมือนว่านู๋-*-
ก็เรียนประวัติศาสตร์ในห้องเพื่อนๆๆในห้องก้มักเป้นเหมือนนู๋
เรียนอยุธยา เกลียดพม่า เรียนรัตนโกสินทร์เลียดฝรั่งเศส+อังกฤษ ขอบคุณ พี่Lepus มากคะที่อวยพร -*- แต่ผิดไปแล้ว3ข้อ ขอบคุณอีกคะสำหรับคำชี้เเนะดีๆๆๆ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 13 ส.ค. 05, 04:55

 ดีครับน้อง raerae

ขอให้ทำข้อสอบได้คะแนนดีๆ นะครับ

การเรียนประวัติศาสตร์ บางทีเราก็มองให้กว้างกว่าที่สอนกันในห้องเรียนครับ แล้วที่สำคัญที่สุดถ้าอยากจะรู้อย่างลึกซึ้งก็ต้องทำลายอคติเกี่ยวกับชาติพันธุ์ให้ได้ แล้วน้องจะรู้สึกว่า การที่ประเทศต่างๆ ทำอย่างโน้นอย่างนี้ มันมีเงื่อนไขมากมายหลายประการ

การสอนประวัติในหลักสูตรระดับชาติ ซึ่งพี่ว่าเป็นกันทุกประเทศแหละครับ ถ้าประเทศเราชนะก็จะว่าดี ถ้าประเทศเราแพ้ ก็จะโทษฝ่ายตรงข้าม

การเรียนประวัติศาสตร์อย่างถูกต้องแบบเป็นกลางเราก็ต้องมาพิจารณา "สาเหตุ" ของทั้งฝ่ายแพ้ และ ฝ่ายชนะครับ เช่น

พม่าเผากรุงศรีอยุธยา

ก็ต้องดูว่า ทำไมพม่าจึงต้องการรุกรานไทยนัก มันต้องมีสาเหตุ ซึ่งจะบอกว่า "พม่าชอบรุกรานไทย" นั้นไม่ถูกแน่ๆ มันต้องมีสาเหตุ หรือ แรงจูงใจอย่างใดอย่างหนึ่ง

ต้องดูว่าทำไมอยุธยาจึงรบแพ้ เป็นเพราะอะไร ผู้นำอ่อนแอจริงหรือ หรือเป็นเพียงคำบอกเล่า หรือ มีไส้ศึก หรือเป็นเพราะ หัวเมืองอื่นๆ เอาใจออกห่าง

วิชาประวัติศาสตร์ ต้องไม่เรียนเพื่อให้เกลียดกันครับ เพราะถ้าน้องเรียนแล้วรู้สึกเกลียดขึ้นมา นั่นแสดงว่า น้องกำลังเรียนวิชา "ประวัติศาสตร์ชาตินิยม" อันนี้เป็นหน้าที่ของคุณครูนะครับที่จะต้องทำให้ "วิชาประวัติศาสตร์ชาตินิยม" เป็น "วิชาประวัติศาสตร์สมานฉันท์" (อิอิ กำลังฮิตขอยืมแล้วกัน)

เรียนมากขึ้น เข้าใจกันมากขึ้น
บันทึกการเข้า
ComradeChecov
อสุรผัด
*
ตอบ: 9


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 13 ส.ค. 05, 22:21


ประวัติศาสตร์คือปรากฏการในอดีต แต่เปนจิ๊กซอว์ของการเสริมสร้างปัจจุบัน
วิชาประวัติศาสตร์ จึงเปนวิชาที่ศึกษาลำดับขั้นการวิวัฒนาการของสังคมในอดีตที่ส่งผลถึงปัจจุบันด้วย
หากแต่ต้องยอมรับว่า มนุษย์นั้นจะหาสิ่งที่บริสุทธิ์มารับใช้ความคิดของตนอยู่เสมอ เพื่อสนองอำนาจตน ความเชื่อตน
การบันทึกหลักฐานอันเปนส่วนสำคัญของการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ก็ถูกจารึกขึ้นด้วยจิตใจของมนุษย์ที่ยังอยู่ภายใต้อำนาจ ความเชื่อ และความอยาก
หลักฐานทางประวัติศาสตร์จำนวนมากจึงถูกแปลงความหมายจากเหตุการณ์จริง ยกตัวอย่างเหตุการณ์เพิ่งเกิดเพียง 1 วัน คนก็โม้จนข้ามคุ้งข้ามบ้าน
ลงไปฟังอีกคุ้งอีกบ้านก็จะได้ข่าวใหม่ที่มีเนื้อหาใกล้เคียงแบบเดิม แต่หลักฐานทางประวัติศาสตร์ถูกตัวแปรมากมายมากระทำ ความบริสุทธิ์มันจึงหายไป
แต่ใช่ว่ามันไม่ไดี เพราะการทำเช่นนั้นในอดีตก็เปนสิ่งบริสุทธิ์อีกน่ะ เพราะถ้าเขาไม่ทำเช่นนั้น เราก็จะไม่เปนเช่นนี้(เข้าใจไหมครับ การเชื่อมโยงของเวลา ณ เวลา นั้นๆ)จึงขอแนะนำว่าตราบใดที่ยังเรียนประวัติศาสตร์โดยไม่ยกตนเองออกจากวิถีแห่งมนุษย์ธรรมดา เราก็จะไม่เข้าใจประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง รวมทั้งการไม่เข้าใจการสร้างมาตราฐานกลางของความคิดของสังคม!

วีรบุรุษ ณ แห่งนี้ คือ คนชั่วช้า ณ แห่งนั้น
แล้วระหว่างวีรบรุษในอดีตของเยอรมัน ชื่อ Hitler กับ ผู้เผด็จการโหดร้ายต่ำช้าเลวทรามเจ้าของลัทธินาซี ชื่อ Hitler
อะไรคือความถูกต้อง?
ฝากไปคิด
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.092 วินาที กับ 19 คำสั่ง