เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4]
  พิมพ์  
อ่าน: 58731 ตำแหน่งพระมเหสีเทวี ในสมัยรัตนโกสินทร์
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 31 ต.ค. 05, 18:06

 สวัสดีครับคุณหยดน้ำ หลังจากที่หายหน้าหายตามานาน
ขอเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับความเห็นที่ 44 ครับ
สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี ทรงอุ้มพระองค์เจ้าอินทุรัตนา ข้าง ๆ ทางซ้าย คือพระราชโอรสของพระองค์
ดูจากในพระรูป(เสียดายเล็กไปหน่อย)แล้ว มีแต่พระธิดาของทูลกระหม่อมบริพัตรทั้งหมดครับ และดูเหมือนจะทรงฉายที่วังบางขุนพรหม
น่าแปลกที่สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี มิได้รับหารสถาปนาให้สูงกว่านี้ ทั้ง ๆ ที่พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถทางด้านการประพันธ์ ดังในหนังสือ สุขุมาลนิพนธ์ ครับ(ไม่ทราบว่ามีการตีพิมพ์อีกหรือเปล่าครับ)
ข้อมูลที่คุณหยดน้ำมีแก่ใจที่รวบรวมนี้เป็นประโยชน์มาก ๆ ครับ น่าเสียดายที่ไม่มีรูปหม่อมสมพันธุ์ครับ
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
หยดน้ำ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 146

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 01 พ.ย. 05, 17:51


พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระวรราชเทวี


พระนางเจ้าเสาวภาฯ  จะได้เลื่อนพระอิสริยยศเป็น  "พระนางเจ้าพระวรราชเทวี"  เมื่อใดไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัด  จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในรัชกาลที่  5  ออกพระนามว่า  "พระนางเจ้าพระราชเทวี"  วัดสุดท้ายเมื่อวันที่  10  มิถุนายน  พ.ศ.  2431  และได้ออกพระนามว่า  "พระนางเจ้าพระวรราชเทวี"  ครั้งแรกเมื่อวันที่  16  สิงหาคม  พ.ศ.  2431


"...วันนี้พระนางเจ้าไม่ทรงสบาย  ไม่ได้เสด็จออกขุนนาง  พระอาการที่พระนางเจ้าพระวรราชเทวีทรงประชวรครั้งนั้น  ให้ทรงพระกระตุกไปตามพระบาทและพระกร  แลเป็นวันละหลายครั้ง..."

จากหลักฐานที่ได้นี้  พระองค์น่าจะเป็นพระนางเจ้าพระวรราชเทวี  ในช่วงวันที่  10  มิถุนายน  พ.ศ.  2431  ถึงวันที่  16  สิงหาคม  พ.ศ.  2431  (พระภรรยาเจ้า  และสมเด็จเจ้าฟ้าในรัชกาลที่  5  :  นายแพทย์จิรวัฒน์  อุตตมะกุล)


ในเดือนพฤษภาคม  ปี  พ.ศ.  2431  มีการสถาปนาพระอิสริยยศพระอัครชายาเธอ  เป็นพระองค์เจ้า   และเลื่อนพระอิสริยยศพระราชธิดาที่ประสูติจากพระอัครชายาเธอเป็น  "พระเจ้าลูกเธอ  เจ้าฟ้า"


ในเดือนกรกฎาคม  พ.ศ.  2431  สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา  พระบรมราชเทวี  มีพระประสูติกาลพระเจ้าลูกเธอ  เจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ


ดูในระยะเวลาตามที่นายแพทย์จิรวัฒน์  สันนิษฐานไว้ผมยังไม่เห็นมูลเหตุที่จะสามารถระบุได้ว่าทรงได้รับสถาปนาในเดือนใดแน่ชัด  แต่ในปี  พ.ศ.  2430  นั้นนับว่าเป็นปีวิปโยคของพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีเป็นอย่างมาก  เพราะพระราชโอรสธิดาสิ้นพระชนม์พร้อมกันถึง  3  พระองค์  และจากจดหมายเกตุพระราชกิจรายวันนั้นจะเห็นได้ว่าทรงเสียพระทัยมาก  จนถึงกับประชวร  ดังนั้นรัชกาลที่  5  จึงอาจจะทรงพระเมตตาสถาปนาพระอิสริยยศเสด็จพระนางให้สูงขึ้น  เพื่อเป็นการปลอบพระขวัญของพระมเหสีที่ทรงโปรดปรานมากพระองค์หนึ่ง
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 04 พ.ย. 05, 10:19

 ขอเรียนถามจากเรื่อง “เลาะวัง” ค่ะ   ม.ล. ศรีฟ้าเขียนถึงสมเด็จพระนางเจ้าสุขุมมาลมารศรี
...เมื่อตระกูลบุนนาคเป็นตระกูลใหญ่ มีคนในตระกูลรับราชการเป็นใหญ่เป็นโตมาก
ทั้งสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรฯ เป็นเจ้าฟ้าชั้นเอก มีพระชนนีเป็นลูกหลวง จึงเป็นที่หวาดระแวงมาก...

1. “ลูกหลวง” ดูจากคอนเท็กซ์แล้วแปลความหมายไม่ออกค่ะ
2. ดังปรากฏในลายพระหัตถ์ของสมเด็จพระนางเจ้าสุขุมมาลมารศรี ที่มีไปถึงทูลหม่อมบริพัตรฯ ว่า
ตระกูลบุนนาคสร้างวีรกรรมไว้มาก ทำให้ลูกหลานเป็นที่หวาดระแวง
ทรงหมายถึงเหตุการณ์ไหนเป็นพิเศษหรือเปล่าค่ะ
3. ทรงขอให้ทูลหม่อมบริพัตรฯทำตัวให้ทูลหม่อมโตโปรดปราน
จะได้ไว้วางพระทัย ตรงนี้มีผลต่อ ตำแหน่งทางราชกาลตลอดสมัย ร. 6 ไหมค่ะ
(คนเราบางครั้งอาจไม่ถึงกับชัง แต่ไม่สนับสนุนให้โต) และจากเรื่องวังปารุสก์
ดูพระองค์จุลฯไม่ใคร่ชอบลูกหลานสายบริพัตรเลย ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
หยดน้ำ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 146

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 04 พ.ย. 05, 12:25

 ลูกหลวง  ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ  ลูกของในหลวง  ครับ  สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลฯ  ทรงเป็นพระราชธิดาในรัชกาล  4  กับเจ้าคุณจอมมารดาสำลี  ดังนั้นจึงทรงเป็นพระภรรยาเจ้าชั้นลูกหลวง  ในรัชกาลที่  5  เพราะทรงเป็นลูก(พระราชธิดา)ของในหลวงรัชกาลที่  4  น่ะครับ


ส่วนประเด็นอื่นๆ เดี๋ยวผมจะกลับมาตอบอีกทีนะครับ
บันทึกการเข้า
หยดน้ำ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 146

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 04 พ.ย. 05, 17:45

 ถามของคุณ   Nuchan  ในข้อ  2  ผมไม่ทราบจริงๆ  ครับ  เพราะตระกูลบุนาก สร้างวีรกรรมไว้เยอะจริงๆ  แต่โดยความคิดเห็นส่วนตัวผมคิดว่า  การทึตระกูลบุนนางมีอำนาจและบทบาทสำคัญในการสนับสนุนและคัดเลือกผู้ที่จะเป็นพระเจ้าแผ่นดินมาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่  2  รัชกาลที่  3  และรัชกาลที่  4  และเมื่อต้นรัชกาลที่  5   นั้นก็เรืองอำนาสวาสนาเป็นที่สุด  สายตระกูลอื่นๆ  ก็อาจะเกิดการระแวงว่า  "สกุลบุนนาค"  อาจะสนับสนุนให้เชื้อสายของตนเป็นรัชทายาทก้ไดครับ


สำหรับความสัมพันธ์กับรัชกาลที่  6  ผมเห็นว่าในระยะต้นรัชกาลก้เป็นไปได้ด้วยดีนะครับ  ถึงกับโปรดให้ดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง  แต่ในปลายรัชกาลปรากฎว่าทรงมีความขัดแย้งกัน  ดังนั้นเมื่อปลายรัชกาลที่  6  บทบาท  อำนาจหน้าที่ของสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรฯ  จึงดูน้อยลงไปเมื่อเทียบกับต้นรัชกาล  และยังปรากฎว่าเมื่อรัชกาลที่  6  สวรรคตได้ไม่นาน  เจ้าฟ้าบริพัตรทรงเคยตรัสกับทูตกับอังกฤฤษว่า  "ต่อไปนี้ไม่มีรามาแล้ว  เบื่อเต็มที  ต่อไปจะต้องไม่เป็นอย่างนี้อีก"


"ความคัดแย้งอย่างเห็นได้ชัดนี้อธิบายได้ด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า  แม้จะไม่เป็นที่โปรดปรานของรัชกาลที่  6  -โดยเฉพาะหลังจากสมเด็จเจ้าฟ้าฯ จักรพงษ์ภูวนารถ  และสมเด็จฯ  กรมพระยาเทววงศ์วรโปการสิ้นพระชนม์ในปี  1920  และ  1923  ตามลำดับแล้ว ..  ไม่มีพระบมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ท่านใดมีบทบาทสำคัญในคณะรัฐบาล-  สมเด็จเจ้าฟ้าฯ  กรมพระนครสวรรค์ฯ  เป็นผู้นำคนสำคัญในฝ่ายคัดค้านพระเจ้าแผ่นดินและราชสำนัก..."  (อวสานสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสยาม :  เบนจามิน  เอ  บัทสัน)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 04 พ.ย. 05, 18:02

 ขอแจมข้อ ๒ นะคะ
ดิฉันเข้าใจว่าหมายถึงบทบาทของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการค่ะ
สมัยนั้นท่านมีอำนาจมาก  เหนือกว่าพระบรมวงศานุวงศ์  มีเหตุการณ์เล็กๆน้อยๆหลายอย่างในบันทึกของหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล  แสดงให้เห็นว่าสมเด็จเจ้าพระยาฯเป็นที่ยำเกรงมากขนาดไหน
การที่ท่านเป็นผู้เลือกกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญเอง   และวังหลวงกับวังหน้าก็มีเรื่องขัดแย้งกัน จนอังกฤษเข้ามาพัวพันด้วย สยามเกือบจะได้แบ่งเป็น ๒ ประเทศไปแล้ว  ก็เป็นส่วนหนึ่งของความหวั่นเกรงที่ยืดเยื้อมานาน

เมื่อสมเด็จเจ้าพระยาฯ พ้นจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแล้ว   ท่านก็ตึงๆกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  แต่ก็ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นอย่างที่วิตกกัน  บั้นปลายท่านก็ย้ายไปอยู่ที่ราชบุรี และถึงแก่อสัญกรรมขณะเดินทางกลับมากรุงเทพ

ความรู้สึกไม่พอใจยังคงหลงเหลืออยู่   ความขัดแย้งระหว่างพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จเจ้าพระยาฯ ยังคงมีกล่าวถึงในบันทึกต้นรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  แม้สั้นๆก็สะท้อนให้เห็นได้

สมเด็จกรมพระนครสวรรค์ฯ ทรงเป็นเจ้านายที่มีอำนาจ เป็นที่เคารพนับถือของทหาร
ก็ก่อความรู้สึกระแวงอยู่ไม่มากก็น้อย ตลอดรัชกาลที่ ๖
แม้แต่เรื่องกรมหลวงชุมพรฯ ก็มีเสียงซุบซิบระแวงว่า พระองค์ท่านจะเป็นฝ่ายสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ฯ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 04 พ.ย. 05, 18:07

 ขอบคุณ คุณหยดน้ำมากค่ะ ดิฉันสนใจเรื่องของไทยมาก เป็นมือใหม่ที่พึ่งเริ่มอ่านงานในสาขานี้
อาศัยว่าอ่านหนังสือได้ค่อนข้างเร็ว ผู้อ่านเว็บนี้ก็ช่วยตอบให้ดิฉันเข้าใจได้มากขึ้นมากค่ะ

คำว่า "ลูกหลวง" มัวแต่ไปนึกถึง ระบบปกครองในสมัยก่อน ที่เมืองนั้น เมืองนี้เป็นเมืองลูกหลวง
ของอยุธยาทำนองนี้ค่ะ

เรื่องตระกูลบุนนาค ม.ล. ศรีฟ้า เขียนไว้เหมือนกับตระกูลนี้เคยก่อกบฎต่อบังลังก์อะไรสักอย่างค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 04 พ.ย. 05, 19:29

 น่าจะคล้ายกับที่อังกฤษเรียกว่า King maker มากกว่าค่ะไม่ใช่กบฎ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 05 พ.ย. 05, 11:23

 ขอบคุณอาจารย์เทาชมพู สำหรับ ค.ห. 50 และ 52 ค่ะ
เมื่อคืนดิฉันบึ่งออก ตจว. พอถึงบ้านก็รีบอ่านอัตชีวประวัติของคุณหญิงมณี
และในอารัมกถาก็ได้กล่าวถึงตระกูลบุนนาคว่ามีวงศ์วานว่านเครือเป็นใหญ่เป็นโต
นับแล้วเป็นญาติกันหมด ตำแหน่งสำคัญ พวกลูกหลานบุนนาคตีตราจองไว้เกลี้ยง

ในเมื่อ ร. 4 ทรงเป็นเขยบุนนาค ในสมัย ร.5 บุนนาคน่าจะมีกลีบกุหลาบโรยทางด้วยซ้ำ เพราะความเป็นญาติอิงแอบน่ะคะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.032 วินาที กับ 19 คำสั่ง