เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 62275 ภาพเมืองไทยในอดีต
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 23 ส.ค. 05, 07:38


ตรงนี้ที่ไหนคะ?
สนามกีฬาแห่งชาติหรือเปล่า?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 24 ส.ค. 05, 08:19


ภาพสมัยรัชกาลที่ ๔
ขบวนเสด็จของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เมื่อเสด็จไปทอดกฐินหลวง ณ วัดพระเชตุพน ถ่ายโดยชาวต่างประเทศ เมื่อ ค.ศ. ๑๘๖๖ (พ.ศ. ๒๔๐๙)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 26 ส.ค. 05, 20:02


เจ้านายจากยุโรปที่เสด็จมาทรงร่วมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔

แถวหลัง จากซ้ายไปขวา
เจ้าชายแอกเซลแห่งเดนมาร์ก  
เจ้าชายฟูชิมิ-โน-มิยา แห่งญี่ปุ่น  
เจ้าชาย Aage แห่งเดนมาร์ก  (ใครช่วยบอกหน่อยนะคะว่า Aage ออกเสียงว่าอะไร เอจ? อาจ?)
เจ้าชายอีริคแห่งเดนมาร์ค

แถวหน้า จากซ้ายไปขวา
เจ้าชายอเลกซานเดอร์แห่งเทค( เอิร์ลแห่งอัธโลน)จากอังกฤษ
แกรนด์ดยุคบอริส วลาดิมิโรวิช แห่งรัสเซีย
เจ้าหญิงมารีแห่งสวีเดน
เจ้าหญิงอลิศ พระชายาเจ้าชายอเลกซานเดอร์แห่งเทค(เคานเตสแห่งอัธโลน)
เจ้าชายวัลดีมาร์แห่งเดนมาร์ค
เจ้าชายวิลเฮล์มแห่งสวีเดน

www.soravij.com/ coronation6.html
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 27 ส.ค. 05, 11:37


ภาพถ่ายพระบรมรูปทรงม้า  ในสตูดิโอของจอร์จ เซาโล  ณ กรุงปารีส
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ พระราชดำเนินเยือนสตูดิโอแห่งนี้เพื่อประทับ เป็นแบบให้เซาโล
ระหว่างการเสด็จฯ ประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙

จาก  
๗๐ ปีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย    (โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๐)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 27 ส.ค. 05, 11:39


ภาพวาด
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
เยือนยุโรป
ครั้งแรก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 27 ส.ค. 05, 13:11


ภาพที่หายากภาพหนึ่ง ดิฉันเพิ่งเห็นเป็นครั้งแรก
พระบรมฉายาลักษณ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ฉายโดยช่างภาพชาวสกอต ชื่อ จอห์น ทอมสัน ซึ่งเดินทางมาสยาม เมื่อพ.ศ. 2408
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 27 ส.ค. 05, 13:14


พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงฉายพร้อมพระราชโอรส
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 29 ส.ค. 05, 11:09


พระฉายาลักษณ์ พระราชโอรสธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อีกภาพหนึ่ง
ฉายในรัชกาลที่ 4 แต่ไม่ทราบปี พ.ศ.
เป็นภาพขณะทรงพระเยาว์กันเป็นส่วนใหญ่  น่ารักมาก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 29 ส.ค. 05, 11:10


พระฉายาลักษณ์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
อีกภาพหนึ่ง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 29 ส.ค. 05, 11:19


พระบรมฉายาลักษณ์ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  เมื่อจะเสด็จโดยพระยานุมาศ
ไม่ทราบวันเดือนปี และเหตุการณ์ ค่ะ  แต่เห็นจากฉลองพระองค์ อาจจะเป็นวันบรมราชาภิเษก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 30 ส.ค. 05, 10:50

กระทู้ยาวมากแล้ว   มีภาพประกอบด้วย ทำให้โหลดยากสำหรับผู้ไม่ได้ใช้ hi-speed
ชอเชิญต่อที่กระทู้นี้ค่ะ
 http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Cid=18&Pid=36349  
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 08 ก.ย. 05, 16:39

 ภายในความเห็นที่ ๒๕ ดูจากหมวกที่ควาญและเท้าช้างสวม  เป็นหมวกดฮลเม็ททรงสูงแบบอังกฤษ  เริ่มนำเข่ามาใช้ในรัชกาลที่ ๕ และได้ใช้ต่อเนื่องมาจนถึงราว พ.ศ. ๒๔๕๖  และในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ปรับปรุงเครื่องแต่ตัวทหารบกและข้าราชการเหล่าอื่นๆ ได้โปรดให้เปลี่ยนมาใช้หมวกเฮลเม็ททรงเตี้ยซึ่งมีกระบังรอบหมวกที่เรียกกันว่าทรงกะโล่หรือหมวกกะโล่  เพราะเหมาะกับสภาพอากาศเมืองร้อนมีแดดมากเช่นเมืองไทบ

ภาพที่ ๓๕ เป็นภาพพระบาทสมเเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จฯ ถึงสถานีรถไฟเชียงใหม่  คราวเสด็จฯ เลียบมณฑลฝ่ายเหนือ  พ.ศ. ๒๔๖๙

ภาพที่ ๔๐  เป็นภาพน้ำท่วมใหญ่ที่ถนนราชดำเนินนอกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ ซึ่งเรียกกันว่า "น้ำท่วมปีมะเส็ง"

ภาพที่ ๔๔ เป็นภาพสุสานหลวงวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม  ถ่ายจากถนนข้างวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามซึ่งอยู่คนละฟากคลอง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 08 ก.ย. 05, 18:04

 ขอบคุณมากๆค่ะที่ช่วยอธิบายให้กระจ่าง
ถ้าดิฉันบรรยายผิดพลาดในภาพไหน หรือไม่ได้บรรยาย
กรุณาแก้ไขเพิ่มเติมให้ด้วยนะคะ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 09 ก.ย. 05, 20:49

 ภายในความเห็นที่ ๗๐  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องบรมราชภูษิตาภรณ์ ทรงพระชฎามหากฐิน  ประทับทรงฉายที่เกยหน้าวัดบวรนิเวศวิหาร  ในการเสด็จฯ เลียบพระนครทางสถลมารค  เนื่องในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช  เมื่อวันที่  ๓  ธันวาคม  ๒๔๕๔
การพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในรัชกาลที่ ๕โปรดให้จัดขึ้น ๒ ครั้งๆ แรกเมื่อทรงรับสิริราชสมบัติขณะทรงพระชนมายุ ๑๖ พรรษาใน พ.ศ. ๒๔๑๑ เพื่อให้การขึ้นครองราชย์สมบูรณ์ตามโบราณราชประเพณี แตเนื่องจากยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ภายหลังเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์) จึงได้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์  และครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๖  ภายหลังจากทรงลาผนวชแล้ว  และได้ทรงบริหารประเทศด้วยพระองค์เอง
ในรัชกาลที่ ๖ ทรงประกอบพระราชพิธีเป็น ๒ คราวเช่นเดียวกัน  คราวแรกเมื่อวันที่  ๑๑  พฤศจิกายน  ๒๔๕๓ เป็นการพิธีเพื่อทรงเป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์เรียกว่า "การพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเฉลิมพระราชมณเฑียร" แต่งดการเลียบพระนครไว้  และครั้งที่ ๒ เมื่อ ๒ ธีนวาคม  ๒๔๕๔ เรียกว่า "การพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช"  การพระราชพิธีครั้งนี้เต็มตามรูปแบบเหมือนครั้งแรก  เพียงแต่เปลี่ยนการจารึกพระสุพรรณบัฏและพระราชลัญจกรเป็นการสมโภชพระสุพรรณบัฏและพระราชลัญจกรแทน  และได้เพิ่มการเสด็จฯ เลียบพระนครทางสถลมารคและชลมารคในวันที่ ๓ - ๔ ธันวาคม  ๒๔๕๔ ตามลำดับ  และมีพิธีการต่างๆ ต่อเนื่องอีกหลายงาน  ทั้งการพระราชทานธงไชยเฉลิมพล  ทรงตรวจพลสวนสนามทหารที่ท้องสนามหลวง  นักเรียนและลูกเสือถวายชัยมงคลที่ท้องสนามหลวง สวนสนามเสือป่าที่สนามเสือป่า  นอกจากนั้นยังโปรดให้เชิญผู้แทนประมุขนานาประเทษมาร่วมในงานครั้งนี้ถึง ๑๔ ประเทศ  ซึ่งได้ส่งผลอย่างสำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพราะเจ้านายและผู้แทนประมุขที่มาร่วมงานครั้งนั้นหลายคนได้กลับไปเขียนหนังสือแนะนำการท่องเที่ยวในประเทศไทย  และยังเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ชาวต่างชาติได้ทราบว่าชาติไทยเป็นชาติที่มีอารยธรรมอันดีและเก่าแก่
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 11 ก.ย. 05, 02:25

 เพิ่มเติมความเห็นที่ ๖๓

"...เจ้าชาย Aage แห่งเดนมาร์ก (ใครช่วยบอกหน่อยนะคะว่า Aage ออกเสียงว่าอะไร เอจ? อาจ?)..."

จดหมายเหตุการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๖ ออกพระนามว่า ปรินซ์โอเก  

ในการพระราชพิธีครั้งนี้จดหมายเหตุพระราชพิธีบรมราชาภิเษกได้บันทึกพระนามและนามผู้แทนประเทศต่างๆ ที่มาร่วมในงานนี้ ดังนี้
๑) ฮิส รอแยล ไฮเนส ปรินซ์วัลดิมา  กับโอรส ๓ พระองค์ คือ ปรินซ์โอเก  ปรินซ์อักเซล และปรินซ์เอริก จากประเทศเดนมาร์ค
๒) ฮิส อิมพิเรียล ไฮเนส ปรินซ์ฮิโรยะสุ  ฟุชิมา จากประเทศญี่ปุ่น
๓) ฮิส รอแยล ไฮเนส ดุ๊ก กับ เฮอร์ รอแยล ไฮเนส ดัชเชสสุเดอมาเนีย (หรือเจ้าชายวิลเลียม กับเจ้าหญิงมาเรีย) จากประเทศสวีเดน
๔) ฮิส รอแยล ไฮเนส ปรินซ์อาเล็กซานเดอร์ กับเฮอร์ รอแยล ไฮเนส ปรินเซสอาเล็กซานเดอร์ออฟเตก จากประเทศอังกฤษ
๕) ฮิส อิมพิเรียล ไฮเนส แกรนดุ๊กบอรีส  จากประเทศรัสเซีย
๖) ฮิส เอกซาเลนซี มองสิเออร์ พิแอร์ ยางคัง เดอมายารี ผู้แทนประธานาธิบดีฝรั่งเศส
๗) ฮิส เอกซาเลนซี มาควิส อี.ดี.เดอ ลาปนเน  เอกอรรคราชทูตพิเศษผู้แทนพระองค์พระเจ้ากรุงอิตาลี
๘) ฮิส เอกซาเลนซี แฮมิลตัน  คิง อรรคราชทูตพิเศษผู้แทนประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
๙) ฮิส เอกซาเลนซี ไฟแอร์ ฟอนแดร์ คอลท์  อรรคราชทูตพิเศษผู้แทนพระองค์สมเด็จพระบรมราชาธิราชกรุงเยอรมนี
๑๐) ฮิส เอกซาเลนซี เคาน์ ทัดเด เดอ โบเลสทาโกดซิบร้อดสกี  อรรคราชทูตพิเศษผู้แทนพระองค์สมเด็จพระบรมราชาธิราชกรุงออสเตรีย - ฮังการี
๑๑) ฮิส เอกซาเลนซี มองซิเออร์ โดเมลา  นิวเวนฮุยส์ อรรคราชทูตพิเศษผู้แทนพระองค์สมเด็จพระเจ้ากรุงฮอลันดา (เนเธอร์แลนด์)
๑๒) ฮิส เอกซาเลนซี มองซิเออร์ อาเทอร์  แฟร์ อรรคราชทูตผู้แทนพระองค์สมเด็จพระเจ้ากรุงเบลเยี่ยม
๑๓) ดอนลุวิส พาสเทอร์ อีย์ เดอ โมระ อรรคราชทูตพิเศษผู้แทนพระองค์สมเด็จพระเจ้ากรุงสเปน
๑๔) มองซิเออร์ แฮรีมันเลโอโปลด์เลยเวนสกยอลด์ อรรคราชทูตพิเศษผู้แทนพระองค์สมเด็จพระเจ้ากรุงนอรเว
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.073 วินาที กับ 19 คำสั่ง