|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 48 เมื่อ 07 ส.ค. 05, 10:13
|
|
สวัสดีตอนเช้าครับ อาจารย์เทาชมพู ขอบพระคุณมากครับ เรื่องกระทู้ที่แนะนำมาครับผม
ขอบพระคุณนะครับ สำหรับผ้าสวยๆอีกตามเคย ผืนในความเห็นที่ 45 ลายสวยดีครับ น่าจะเป็นผ้ามัดหมี่ที่มีการปรับลายจากปดาร (ดูในความเห็นที่ 17นะครับ) ให้สามารถนำมานุ่งห่มได้ครับ เพราะในปดาร บ่อยครั้งที่เราอาจจะพบลายพระสงฆ์ ลายเจดีย์ หรือลายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งเคารพในพุทธศาสนา แต่ปัจจุบันการยึดถือจารีตข้อนี้ก็เสื่อมลงตามกาลเวลา เราจึงเห็นภาพสัตว์หิมพานต์ชั้นสูงอย่างหงส์เป็นลายผ้านุ่งได้บ้างครับ
ในภาพจะเห็นลายปราสาท ที่อาจารย์เทาชมพูว่าไว้ล่ะครับ แต่ผู้รู้บางท่านก็สัณณิษฐานไปถึงธรรมาสน์แบบหนึ่งในสมัยอยุธยาครับ ส่วนผมไม่รู้ไม่เห็น เอาเป็นว่าเป็นลายเพื่อความสวยงามซะจะดีกว่าครับ อิอิ
เอาปดารเก่าลายพุทธประวัติมาฝากกันอีกผืนครับ ถ้าดูจากผืนในภาพ ลายปราสาทที่เห็นจะมีกษัตริย์นั่งอยู่ด้านใน มีพรหมพักตร์อยู่ด้านบนด้วยครับ ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่าผืนนี้เล่าเรื่องพุทธประวัติตั้งแต่ประสูตร จนอภิเษกครับ ไล่จากบนลงล่าง และต่อจากผืนนี้ก็จะมีผืนอื่นที่ดำเนินเรื่องราวต่อไปครับ
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 49 เมื่อ 07 ส.ค. 05, 10:28
|
|
ผมขอเล่าเรื่องไทยเขมรซะที่นี่แล้วกันครับ
แล้วค่อยไปเปิดเรื่องของชนกลุ่มอื่นที่กระทู้ใหม่แล้วกันนะครับ
อย่างที่เล่าไว้ในความเห็นที่ 44 ครับ ซิ่นลายที่เห็นทั่วๆของชาวไทยเขมรส่วนมากมักเป็นซิ่นสำหรับนุ่งเพื่อความสวยงามทั้งสิ้น เพราะ สำหรับสตรีชาวไทยเขมรแล้ว ซิ่นในพิธีกรรม เรียกกันว่า "โฮลอัลลูน" ครับ
เอาอีกละคำแปลกๆมาอีก 1 คำ อย่าเพิ่งตกใจครับ โฮล ในภาษาเขมรหมายถึงผ้าทั่วๆไป ไม่ว่าจะเป็นผ้าที่ทอด้วยมือหรือเครื่อง สร้างลวดลายด้วยการยกดอกลาย พิมพ์ หรือมัดหมี่ก็ตาม ไม่ได้หมายถึงผ้าซิ่นไหมมัดหมี่ลายใดลายหนึ่งเหมือนอย่างที่เราเรียกกันอยู่ในปัจจุบันครับ
ส่วนคำว่า อัลลูน มีความหมายว่าริ้ว ซึ่งหมายถึงริ้วของลายผ้านะครับ
สรุปก็คือ สตรีชาวเขมรจะนุ่งซิ่นลายริ้วในพิธีกรรมต่างๆต่อด้วยหัวซิ่นและตีนซิ่นลักษณะพิเศษ และใช้ผ้าลักษณะนี้เป็นผ้าไหว้ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงในพิธีแต่งงานด้วยครับ
สำหรับผู้ชาย จะนุ่งโจงกระเบนลายโฮลในลักษณะคล้ายคลึงกับผ้าสมปักปูมของราชสำนัก มีดอกลายทอติดกันตลอดไปทั้งผืน เรียกว่า "โฮลเปราะห์" ครับ
เอาผ้าโฮลมาฝากกันอีกผืนนึงครับ ของใหม่แล้วล่ะครับผืนนี้
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
ศสา
อสุรผัด

ตอบ: 13
กำลังศึกษาอยู่ที่โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล
|
ความคิดเห็นที่ 52 เมื่อ 07 ส.ค. 05, 18:30
|
|
สวัสดีค่ะอาจารย์เทาชมพู คุณติบอ สำหรับผ้าที่คุณยายนุ่งส่วนใหญ่ได้มาจากคนเค้าให้มาหรือที่เรียกกันว่า สมมา ก็เป็นผ้าที่ชาวบ้านทอมือบ้าง ทอโรงงาน หรือศิลปาชีพ ขึ้นอยู่กับสถานภาพของคนให้ คุณยายไม่ได้ทอผ้าใช้เองค่ะเพราะท่านแก่อายุท่านก็ 80 แล้วค่ะ ลูกๆ ก็ไม่มีใครเรียนทอผ้าสืบต่อมาค่ะ น่าเสียดายนะคะ ดิฉันก็ไม่มีความรู้เรื่องผ้าหรอกค่ะ อาศัยแค่การเคยได้พบเห็นมาค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ศสา
อสุรผัด

ตอบ: 13
กำลังศึกษาอยู่ที่โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล
|
ความคิดเห็นที่ 53 เมื่อ 07 ส.ค. 05, 19:03
|
|
เผ่าโส้ของจังหวัดสกลนครค่ะ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 54 เมื่อ 19 ส.ค. 05, 18:27
|
|
ไม่มีเวลามาดูแลกระทู้ตัวเองเลยครับ ขอโทษด้วยครับ
ยังไงจะมาเล่าต่อไวๆนี้นะครับ
อ่อๆ ก่อนลืม อาจารย์เทาชมพูครับลายในกลุ่มลายนาค แบบนาคชูสน หรือ นาคชูฉัตร เป็นลายที่ไม่น่าจะมีที่มาจากกลุ่มชนไทยเขมรนะครับ ถึงแม้ว่าจะมีลายผ้ามัดหมี่ลายนี้ในกลุ่มไทยเขมรให้เห็นบ้าง แต่เท่าที่ผมเคยเห็นมาก็ไม่พบในผ้ายุคค่อนข้างเก่านะครับ
ส่วนปดารเป็นผ้าพิเศษของกลุ่มชาวไทยเขมรครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 57 เมื่อ 27 ส.ค. 05, 18:21
|
|
หลังจากหายหน้าหายตาไปหลายวัน วันนี้ก็ขอกลับมาเล่าต่อซักหน่อยแล้วกันครับ จะได้ปิดกระทู้ไว้ที่ผ้าของชาวไทยเขมรซะให้หมดที่กระทู้นี้
อย่างที่เล่าไว้ตั้งแต่แรกครับ ชาวไทยในสมัยเดิมให้ความสำคัญกับผ้าในชีวิตประจำวันมาก ไม่ว่าจะเป็นการนุ่งผ้าต่างชนิดในพระราชพิธีแต่ละอย่าง หรือผ้าในชีวิตประจำวันเองก็เช่นกัน
นิทรรศการเมื่อปลายปีที่ผ่านมาที่จัดที่บ้านจิม ทอมป์สัน ได้กล่าวถึงผ้ามัดหมี่ของชาวไทยเขมรไว้ว่า มีด้วยกัน 3 ชนิด คือ ผ้าโฮล ซึ่งใช้วิธีการทอแยกแต่ละกระสวยออกจากกันเป็นอิสระ ซิ่นที่ทอด้วยวิธีการ"จองซิ่น" ซึ่งใช้นุ่งเพื่อความสวยงาม และ การมัดหมี่สองทางของด้ายเส้นยืนและด้ายเส้นพุ่งเพื่อให้เกิดลวดลายที่ตัดกันเป็นกากบาท
ตรงนี้ผมขอแบ่งใหม่เป็น 2 แบบนะครับ คือ ผ้าที่ใช้ตามจารีตประเพณี ซึ่งบอกฐานะของผู้นุ่งได้จากผืนผ้า และ ผ้าที่นุ่งเพื่อความสวยงามทั่วไป
ผ้าที่นุ่งตามจารีต ประเพณี อาจารยืธีรพันธุ์ได้สรุปว่า สตรีชาวไทยเขมรจะไม่นุ่งผ้าที่มีลวดลายทอตลอดติดกันทั้งผืน แต่จะนุ่งผ้าลายริ้วตามแนวยาวขนานกับความสูงของลำตัว และต่อหัวซิ่นด้วยผ้าทอแถบไม่กว้างนัก เสริมเส้นพุ่งพิเศษ และต่อเชิงด้วยผ้ามัดหมี่แถบแคบๆอีกแถบหนึ่ง และสำหรับสตรีสูงอายุ จะนุ่งซิ่นอีกหลายลักษณะซึ่งมักเป็นซิ่นที่มีลวดลายเป็นตารางสี่เหลี่ยมขนาดไม่ใหญ่นักในลักษณะของโสร่งสำหรับสตรี หรือซิ่นลายริ้ว ซิ่นสีพื้นต่างๆ และมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละลักษณะ เช่น ระเบิก สาคูใหญ่ อัมปรม สมอ เป็นต้นครับ (ชื่อตรงนี้ผมเขียนเทียบตามเสียงอ่านนะครับ ถ้าใครจะเขียนแบบอื่นซึ่งให้เสียงใกล้เยงกันก็ได้ครับ)
ในภาพเป็นผ้าลายระเบิกใหญ่ครับ
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 58 เมื่อ 27 ส.ค. 05, 18:22
|
|
ระเบิกใหญ่อีกผืนครับ
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 59 เมื่อ 27 ส.ค. 05, 18:23
|
|
 แบบนี้คล้ายๆกัน แต่เรียกว่า ราชวัตรครับ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|