|
|
|
รตา
แขกเรือน
อสุรผัด

ตอบ: 39
|
ความคิดเห็นที่ 33 เมื่อ 05 ส.ค. 05, 16:06
|
|
สวัสดีค่ะ ดิฉันหายหน้าหายตาไปนาน ไปได้ไปไหนไกลมาก มัวไปติดหนึบอยู่ที่เวบอื่นที่เป็นญาติกับเวบวิชาการ ยังมีโอกาสได้กลับมาอ่านกระทู้ในเรือนไทยอยู่บ้างค่ะ
กระทู้เรื่องผ้านี้โดนใจมากๆ เพราะเป็นคนชอบผ้าทอค่ะ ทั้งผ้าทอของไทยหรือผ้าทอพื้นเมืองของชาติต่างๆ ด้วยความที่สนใจเลยทำให้ดั้นด้นไปดูผ้าตามพิพิธภัณฑ์ต่างๆหรือหาหนังสืออ่านเพิ่มบ้างเหมือนกันค่ะ
ผ้าทอชิ้นแรกที่ซื้อก็เมื่อสิบปีก่อน เป็นผ้าถุงเก่าลายน้ำไหลที่น่านค่ะ ซื้อจากร้านขายของเก่าใกล้ๆโรงแรมเทวราช หลังจากนั้นก็ซื้อผ้าไหม ผ้าฝ้ายใส่มาเรื่อยๆค่ะ
และเมื่อช่วงเข้าพรรษาทีโอกาสได้ไปเที่ยวอุบลราชธานีมาค่ะ สถานที่หนึ่งที่ขาดไม่ได้คือหมู่บ้านปะอาว ที่นั่นจะมีกลุ่มแม่บ้านทอผ้า ได้ไปซื้อผ้าไหมมัดหมี่และเห็นคนที่ทอผ้าชิ้นนั้นจริงๆค่ะ ตื่นเต้นมาก ซื้อมาหลายชิ้น คือลายลูกแก้ว (เลือกซื้อสีธรรมชาติ) ลายประแจจีน และลายเชิงเทียน
ส่วนอีกสถานที่นึงที่ไปคือบ้านคำปุนค่ะ เขาจะเปิดบ้านและโรงทอผ้าให้เข้าชมปีละครั้งเท่านั้น เรียกได้ว่าโชคดีมากๆค่ะ ที่นั่นมีการสาธิตการทอผ้า ผ้าที่ขึ้นชื่อคือผ้าไหมกาบบัว ลูกชายแม่ใหญ่คำปุนจบด้านดีไซน์มาจากต่างประเทศ ก็เลยดีไซน์ลายผ้ากาบบัวให้ทันสมัยยิ่งขึ้น คือ เอาวิธีจกลายต่างๆลงบนผ้าไหมกาบบัวค่ะ ดูจากภาพนะคะ
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
รตา
แขกเรือน
อสุรผัด

ตอบ: 39
|
ความคิดเห็นที่ 34 เมื่อ 05 ส.ค. 05, 16:09
|
|
 อีกภาพจากโรงทอผ้าค่ะ เข้าใจกำลังจะมัดย้อมนะคะ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
รตา
แขกเรือน
อสุรผัด

ตอบ: 39
|
ความคิดเห็นที่ 35 เมื่อ 05 ส.ค. 05, 16:30
|
|
ลายผ้าในความคิดเห็นที่12ของคุณเทาชมพูเรียกว่า ลายลูกแก้วค่ะ ลายเหมือนที่ดิฉันซื้อมาจากอุบลเลย เป็นลายนูนๆในเนื้อผ้า ช่างทอบอกว่าลายนี้เป็นที่นิยมในหมู่คนต่างชาติมาก สีเขียวๆชมพูๆที่คุณเทาชมพูโพสท์นั่นก็กำลังเข้าสมัยเลยค่ะ
กลับจากอุบลก็แวะที่สุรินทร์ค่ะ ที่นั่นก็มีผ้าไหมสวยมากๆเลย หมู่บ้านทอผ้าที่สุรินทร์นี้เคยฝากฝีมืออวดผู้นำในระดับนานาชาติตอนงานประชุมเอเปคค่ะ คือได้ทอผ้าไหมสำหรับท่านผู้นำและผ้าคลุมไหล่สำหรับภริยา ดิฉันได้มีโอกาสคุยกับอาจารย์ผู้ดูแลการทอ เห็นว่าทอกันขะมักเขม้นเป็นปีเลย
ตอนไปหลวงพระบางเมื่อปลายปีที่แล้วก็ซื้อผ้าทอสวยๆมาหลายผืนค่ะ ไม่ใช่ผ้าไหมมัดหมี่แต่เป็นฝ้าย ชอบลวดลายของเขาที่ทอเป็นสัตว์บ้าง เจดีย์บ้าง ตอนนี้บางผืนก็นำมาปูบนที่นอนที่เป็นหมอนขวานของไทยๆ ใช้เอนๆนั่งๆนอนๆดูทีวีหรืออ่านหนังสือค่ะ แต่ผ้าลาวก็มีข้อเสียนิดนึงนะคะ คือสีตกแบบน่าเสียดายค่ะ ผ้าพาดไหล่ลายสัตว์หิมพานต์ที่ซื้อมา ขนาดซักด้วยน้ำเกลือ สีแดงตกใส่สีอื่น ทำเอาเจ้าของน้ำตาแทบไหลเลยค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
รตา
แขกเรือน
อสุรผัด

ตอบ: 39
|
ความคิดเห็นที่ 36 เมื่อ 05 ส.ค. 05, 16:39
|
|
 อีกภาพจากโรงทอผ้าค่ะ ที่เก็บกระสวยเส้นไหมค่ะ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 37 เมื่อ 05 ส.ค. 05, 17:52
|
|
แวะมาเล่าต่อนิดหน่อยครับ
ก่อนอื่น เล่าก่อนดีกว่า ว่าภาคอิสานตอนล่าง เป็นแหล่งรวมของชาวไทยหลายเชื้อชาติ เช่น ชาวไทยเขมร ไทยกูย ไทยลาว เป็นต้นนะครับ ดังนั้น ผ้าหลายลักษณะที่พบในบริเวณนี้จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากพอสมควรเมื่อเที่ยบกับผ้าทอจากแหล่งอื่นๆ เช่น การเลือกใช้วิธีทอแบบสามตะกอ หรือ การเลือกใช้เนื้อไหมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นต้นครับ
เอาล่ะสิ คำแปลกๆโผล่มาอีกแล้วสำหรับคนที่ไม่คุ้นกับผ้าใช้มั้ยครับ อิอิ "สามตะกอ" มันเป็นยังไงดี
เริ่มเล่ากับคำนี้ก่อนนะครับ ก่อนอื่น อยากให้นึกถึงกี่ทอผ้าที่เราเห็นกันในปัจจุบัน ว่ามี 2 ประเภท (ตัดกี่แบบห้างหลัง ที่โยงไว้กับเอวซึ่งนิยมในกลุ่มชาวไทยภูเขาหลายกลุ่มออกไปก่อนนะครับ) ก็มี กี่กระตุก และ กี่มือ
กี่กระตุก(กรุณาอย่าอ่านผิดเป็นกี่กระดูกเหมือนใครซักคนที่เมืองทองเมื่อปีที่แล้วนะครับ 555+) มีการเริ่มใช้ไม่ถึง 150 ปีที่ผ่านมานี่เองครับ เมื่อมีการว่าจ้างช่างทอชาวญี่ปุ่นเข้ามาสอนการทอผ้าที่พระตำหนักสวนหงส์ในพระราชวังดุสิต ดังนั้น กี่ทอแบบดั้งเดิมก็หนีไม่พ้นกี่มือครับ
เอาล่ะ มาต่อตรงนี้ครับ ว่าตะกอคืออะไร ถ้าคุณก้มลงมองผ้าแต่ละผืนนะครับ การทอที่ง่ายที่สุดก็คือการขัดกันของด้ายจากกี่ และด้ายจากกระสวยที่ทอสอดไปมาแบบ ขึ้น-ลง-ขึ้น-ลง ไปเรื่อยๆ (จินตนาการถึงเลขฐาน 2 เข้าไว้ครับ อิอิ 1 0 1 0 1 0 1 0 1 0 ...) - ล้อเล่นครับ เดี๋ยวจะมีคนเป็นลมก่อน - คือ เมื่อเส้นด้ายจากกี่ อยู่ด้านบน เส้นด้ายจากกระสวยก็จะถูกทับไว้ด้านล่างไงครับ แต่ถ้ามีแค่เรียงแบบนี้แบบเดียว เส้นด้ายก็จะไม่ขัดตัวกันเป็นผืนให้เรามีผ้าใช้ ด้ายที่ทอเส้นถัดไปจึงต้องตรงข้ามกับด้ายเส้นแรกคือ จาก ขึ้น ลง ขึ้น ลง ขึ้น ลง... แถวที่สองก็จะกลายเป็น ลง ขึ้น ลง ขึ้น ลง ขึ้น... เพื่อขัดด้ายขึ้นเป็นผ้าครับ
เอาล่ะ พูดมาตรงนี้คิดว่าถ้าอ่านดีๆคงพอเข้าใจแล้วล่ะครับ แต่คุณอาจจะสงสัยต่อว่า แล้วช่างทอเขาต้องมานั่งล้วงด้ายจากกี่ทีละเส้นให้ขัดกับด้ายจากกระสวยเหรอครับ คำตอบก็คือไม่ครับ เขามีวิธีการใช้ "ตะกอ" เนี่ยะแหละ มาช่วย โดยการสอดตะกอในด้ายเส้นที่ต้องการยกขึ้น และ ยกตะกอขึ้นสลับกันไปมา ก่อนวิ่งเส้นด้ายเส้นถัดไป พอนึกออกนะครับ (ผมเผด็จการไปมั้ยครับ อิอิ) ผ้าพื้นธรรมดา ก็เลยเป็นผ้าที่เรียกว่าผ้า "สองตะกอ" เพราะใช้ตะกอ 2 อันในการขัดด้ายไงครับ
แล้วสามตะกอมันทำทำไม ในเมื่อผ้าก็เป็นผืนแล้วล่ะ ก็เริ่มทำความเข้าใจก่อนนะครับ ว่าผ้ามัดหมี่แบบไทยๆเกือบทุกผืน มีด้ายเพียงเส้นเดียวที่มีลายของผืนผ้า คือด้ายในกระสวยที่วิ่งไปมาเพราะเกิดจากการมัดย้อมลวดลายก่อนทอ เหมือนในความเห็นที่ 34 ของคุณ รตา ครับ ส่วนด้ายจากกี่มักจะเป็นด้ายสีพื้นทั้งเส้นซึ่งอาจมีสีกลมกลืนหรือสีแตกต่างจากสีพื้นของผ้าก็ได้ครับ ดังนั้นเมื่อทอเสร็จสมบูณณ์แล้ว ลายของผ้าจะถูกสีของด้ายจากกี่ข่มไว้ส่วนหนึ่ง
ช่างทอชาวเขมร ซึ่งเป็นต้นตำรับการทอผ้าสำหรับราชสำนักสยาม ใช้วิธีการขัดด้ายให้ด้ายจากกระสวย โผล่ขึ้นมาด้านบนผืนผ้ามากกว่าเดิมคือ ขึ้น-ขึ้น-ลง-ขึ้น-ขึ้น-ลง (แน่นอนครับ ว่าเส้นถัดไปต้องเป็น ขึ้น-ลง-ขึ้น-ขึ้น-ลง-ขึ้น และ ลง-ขึ้น-ขึ้น-ลง-ขึ้น-ขึ้น ตามลำดับ ) และวิธีการทอแบบนี้ ใช้ตะกอในการทอถึง 3 อันก็เลยเรียกว่าการทอแบบ สามตะกอไงครับ
ไปก่อนล่ะครับ เนตห้องสมุดมีเวลาให้เดี๋ยวเดียวเอง เดี๋ยวคืนนี้มาเล่าต่อครับ
ปล. ขอบพระคุณอาจารย์เทาชมพู กับ คุณรตามากครับ ที่เข้ามาแบ่งปันความรู้ด้วยกัน
ปล. (อีกรอบ) อิจฉาคนได้ไปเยือนจันทร์โสมา-ท่าสว่างจัง ผมอยากไปครับ อิอิ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 38 เมื่อ 06 ส.ค. 05, 16:40
|
|
เอาภาพกี่ทอผ้าแบบห้างหลังมาฝากครับ
ภาพจากhttp://www.thaitextilemuseum.com/
.
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 39 เมื่อ 06 ส.ค. 05, 16:41
|
|
 อีกภาพครับ ถ้าผมดูไม่ผิดเข้าใจว่าเป็นชาวกระเหรี่ยงทั้งสองภาพครับ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
|
ศสา
อสุรผัด

ตอบ: 13
กำลังศึกษาอยู่ที่โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล
|
ความคิดเห็นที่ 43 เมื่อ 06 ส.ค. 05, 21:45
|
|
ดีใจมากค่ะที่ได้เป็นกระทู้นี้ เพราะดิฉันเพิ่งเริ่มสนใจเรื่องผ้าซิ่นเมื่อไม่นานมานี้เองค่ะ เหตุผลก็เพราะว่าเห็นคุณยายนุ่งแล้วสวยดี คือมันแปลกตาเพราะคนสมัยนี้ไม่นิยมนุงกันแล้ว แต่ผ้าลายต่างๆ ก็ยังอยู่แต่นำไปดัดแปลงมากกว่า ที่เห็นนุ่งเป็นผ้าซิ่นแบบโบราณหาดูได้ยากค่ะ ขอบอกว่าดิฉันเป็นคนจังหวัดสกลนคร เผ่าภูไทค่ะ ตอนเด็กๆ (พูดเหมือนคนแก่เลยค่ะ อย่าเพิงเข้าใจผิดค่ะ ยังอายุไม่ถึง 20เลยค่ะ) เคยเห็นการทอผ้ามีหลายบ้านค่ะ ที่ทอผ้าซิ่นใช้เอง แต่เดี๋ยวนี้หายากมาแล้วค่ะ นอกจากทอเป็นอาชีพ แต่นั่นมันก็อีกเรื่องค่ะ คือ ไม่ใช่วิถีชีวิตแบบที่เป็นมาเมื่อครั้งก่อน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|