เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
อ่าน: 31456 ลายที่เปลี่ยนไปตามวันเวลาของผ้ามัดหมี่
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


 เมื่อ 24 ก.ค. 05, 00:59

 เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเข้าชมนิทรรศการของ มูลนิธิ James H W Thompson เรื่องเกี่ยวกับผ้ามัดหมี่ซึ่งจัดโดย อ. ธีรพันธุ์ จันทร์เจิรญ และได้เข้าใจในลายของผ้านุ่งมากขึ้น

แต่เดิม ผมเข้าใจเพียงแค่ว่า ลายผ้าของพระราชสำนัก มีการแบ่งประเภทของขุนนางในแต่ละระดับชั้น เช่น ในระบบของผ้าสมปัก(ผ้ามัดหมี่ผืนยาวที่ใช้นุ่งโจงกระเบนแบบต่างๆ) สมปักเชิงปูม สมปักริ้วสำหรับข้าราชการระดับล่างหน่อยและ สมปักปูมดอกเล็ก,กลาง,ใหญ่ สำหรับข้าราชการระดับสูงข้น หรือสมปักท้องนาคสำหรับข้าราชการสำคัญๆ และมีวิธีการนุ่งผ้า หรือชนิดของผ้าอีกหลายชนิดสำหรับงานพระราชพิธีต่างๆ เช่น พระราชพิธีตรียัมปวาย หรือผ้านุ่งสำหรับควาญผู้ควบคุมพระคชาธารเป็นต้น

แต่ในงานนิทรรศการดังกล่าว ได้กล่าวถึงการแบ่งวัยของสตรีในกลุ่มไทยลาวอีกหลายกลุ่ม ด้วยลวดลาย และชนิดต่างๆของผ้านุ่ง เช่นผ้าซิ่นเนื้อฝ้ายขนาดสั้นของชาวภูไท ซึ่งใช้นุ่งทั่วไป หรือ ซิ่นไหมลายต่างๆที่ชาวไทยลาว และชาวไทยเขมรหลายกลุ่มใช้กัน ซึ่งแบ่งได้ตามอายุ และบทบาท-สถานะทางสังคม เช่น เด็กสาว สาวรุ่น สตรีที่แต่งงานแล้ว และหญิงสูงอายุ

แต่ปัจจุบันด้วยแรงผลักดันทางเศรษฐกิจของระบบทุนนิยม และความสวยงาม สตรีในแต่ละเพศแต่ละวัยก็ใช้ผ้าที่ไม่ได้ยึดถือกันมาตามจารีตประเพณีเดิม หรือแม้กระทั่งสีสันและลวดลายที่มีในกลุ่มชนแต่ละกลุ่ม ซึ่งเปลี่ยนแปลง และค่อยๆกลืนกันไปตามกาลเวลา ด้วยความเป็น"โลกาภิวัฒน์" ของโลกยุคปัจจุบัน

ในทางหนึ่ง การเลือนหายของวัฒนธรรมหลายอย่างเหล่านี้อาจจะหมายถึงการสูญเอกลักษณ์ถิ่น ความหายนะทางวัฒนธรรม หรือ ความหย่อนปฏิบัติของจารีตประเพณีเดิม แต่ในทางกลับกันสิ่งเดียวกันก็หมายถึงความเป็นชาติที่แน่นแฟ้นมากขึ้น ความเป็นไทของชนชาติไทยที่มากขึ้นหรือ อิสระในการกระทำที่สูงขึ้นตามไปด้วย เราเลยได้เห็นอะไรๆที่ถ้าเมื่อ 4 - 5 ชั่วคนที่แล้ว (ผมคิดซะว่าชั่วคนละ 25 ปี) มาเห็นเข้าคงคิดว่าเข้ากลียุคเข้าเต็มทีแล้วกระมัง ไม่ว่าจะเป็นหญิงอายุมากที่แต่งตัวไม่ต่างจากเด็กวัยรุ่นหรือเด็กวัยรุ่นที่ลุกขึ้นด่าผู้ใหญ่อย่างใครห้ามเตือนไม่ได้

ผมเอง อาจจะเกิดในยุคเก่า ระบบการปกครอง(ในครอบครัว) แบบเก่า ลูกหลานจะยืนค้ำศีรษะพ่อแม่ได้ เว้นแต่ตามโอกาสที่ท่านอนุญาต(เช่น ถ่ายภาพ เป็นต้น ) บางครั้งเห็นอะไรหลายๆอย่างก็คงตกใจเป็นธรรมดา ถ้าใครรู้สึกว่าผมแก่เกินความเป็นนักศึกษาไปก็ขอโทษด้วยนะครับ อย่าถือสาก็แล้วกัน

คืนนี้ง่วงมากแล้วครับ ขออนุญาตไปนอนก่อนละกันครับ กลัวว่าถ้าอดนอนแล้วจะฟุ้งซ่านอยู่ครับ
เดี๋ยวพรุ่งนี้ผมมาเขียนต่อแล้วกันนะครับ ว่าชาวไทยแต่ละสายเขามีการแบ่งประเภทของลวดลายผ้านุ่งกันยังไง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 24 ก.ค. 05, 09:18


ขอบคุณความรู้ที่นำมาแบ่งปันกันค่ะ  ชอบเรื่องผ้ามัดหมี่มาก
ดีใจที่คุณตั้งกระทู้นี้

สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ โปรดทรงผ้ามัดหมี่มานานหลายสิบปีแล้ว
อย่างในพระบรมฉายาลักษณ์นี้ จะเห็นว่าทรงซิ่นมัดหมี่ตั้งแต่ยังทรงเป็นพระคู่หมั้น

การทะนุบำรุงบิดามารดาก็ดี การบูชาผู้ที่ควรบูชาก็ดี  พระพุทธเจ้าทรงนับเป็นมงคลสูงสุด
คุณเคารพนับถือคุณพ่อคุณแม่  สิ่งที่เป็นมงคลก็จะเกิดแก่คุณเอง ไม่วันนี้ก็วันหน้า  
อย่างน้อยที่เห็นๆก็คือความชื่นใจของคุณพ่อคุณแม่  และความรู้สึกชมเชยแก่ผู้ได้พบเห็น
การกระทำที่ดีก็จะดึงดูดสิ่งที่ดีเข้ามาหาตัวเอง
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 24 ก.ค. 05, 10:39

 ตื่นแต่เช้า จัดการมื้อเช้าเสร็จก็ขอเข้ามาเปิดกระทู้นี้ก่อนล่ะครับ

ขอบพระคุณอาจารย์เทาชมพูนะครับที่เข้ามาเจิมกระทู้ให้ผม


ก่อนจะไปไหนไกล พูดเรื่องคำว่ามัดหมี่ก่อนดีกว่า

หลายคนสับสนคำว่า "มัดหมี่" กับ "มัดย้อม" อยู่มาก เพราะการมัดหมี่เองก็ใช้กรรมวิธีในการมัดย้อม ในการย้อมสีเส้นด้ายก่อนนำไปกรอเข้ากระสวยและทอขึ้นเป็นผืนผ้า หรือสืบเข้าฟืมเป็นเส้นยืนให้เกิดลวดลายในผ้าแต่ละผืน ส่วนการมัดย้อมหมายถึงการนำผ้าที่ทอเป็นผืนมามัด (อาจมีกรรมวิธีต่างๆเพิ่มเติมได้ เช่น เย็บเนา) แล้วนำไปย้อมสีให้เกิดลวดลายนะครับ

ชาวไทยในเขตภาคกลาง เรียกผ้านุ่งผืนยาวซึ่งสร้างลวดลายด้วยกรรมวิธีดังกล่าวว่า "ปูม" แต่ถ้าเป็นผ้าที่ได้รับพระราชทานจากหลวงที่ใช้เป็นผ้ายศก็จะเรียกกันว่า "สมปักปูม" ซึ่งคำว่า "สมปัก" เองก็ใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายแล้วเป็นอย่างน้อย จากเอกสารคำให้การของขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรมที่กล่าวถึงเกวียนจากเมืองพระตะบองที่นำผ้าชนิดนี้เข้ามาขายแล้ว (อ้างอิงจาก "มัดหมี่มัดใจ สายใยวัฒนธรรม เขมร ลาว ไทย" ของมูลนิธิ เจมส์ เอช ดับเบิลยู ทอมสัน เขียนโดย อ. ธีรพันธุ์ จันทร์เจริญ นะครับ)

นอกจากเขมรซึ่งเป็นแหล่งผลิตผ้าสำหรับพระราชสำนักสยามแล้ว ชนชาติที่พูดภาษาตระกูล ไท-ลาว ในเขตประเทศไทยอีกหลายกลุ่ม และ ช่างทอชาวกลันตันที่ถูกเทครัวเข้ามายังจังหวัดปัตตานีเอง ก็สามารถทอผ้าลักษณะนี้ได้เช่นกัน แต่ในหลายพื้นที่ การทอผ้าพื้นเมืองลักษณะเดิมได้ตกหล่นสูญหายขาดผู้สืบทอดไปตามกาลเวลาแต่ละยุคสมัย และระบบศักดินาที่เสื่อมลง ของเจ้าเมืองประเทศราชต่างๆซึ่งเคยอุปถัมภ์สกุลช่างประจำเมืองในโรงทอหลวงแห่งต่างๆ

ตลอดเวลาหลายร้อยปีที่ผ่านมา ผ้ามัดหมี่เกือบทั้งหมด ได้รับเกียรติในการนุ่งห่มเพียงแค่ผ้าที่อยู่ต่ำกว่าเอวลงไป และเป็นผ้าที่ใช้ทั่วๆไปในชีวิตประจำวันมากกว่าผ้าชนิดอื่นๆ เช่น การนุ่งเข้าเฝ้าปกติที่ไม่ใช่พระราชพิธี หรือ การไปทำบุญที่วัดสำหรับชาวบ้านทั่วไปเป็นต้น

ช่างทอชาวไทยลื้อเรียกกรรมวิธีการมัดย้อมเส้นด้ายก่อนนำไปทอว่า "การมัดก่าน" หรือ "การมัดคาดถ่าน" ชาวไทยยวนในจังหวัดราชบุรีเองก็เช่นกัน ส่วนชาวไทยเขมรเรียกการมัดย้อมลักษณะเดียวกันซึ่งใช้สำหรับซิ่นที่ใช้นุ่งทั่วไปเพื่อความสวยงามว่า "จองซิ่น" ซึ่งคำว่า "จอง" แปลว่าการมัด ส่วนคำว่า "มัดหมี่" ที่ใช้ในปัจจุบันเป็นคำที่พบในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งได้รับอิทธิพลของกลุ่มชนชาวลาวอพยพหลายกลุ่ม เช่น ในภาคอิสาน และ จังหวัดลพบุรี(ลาวพวน) ซึ่งมีชื่อเสียงด้านการทอผ้ามัดหมี่มากพอสมควร


พักก่อนครับจะสอบมิดเทอมอยู่ไม่กี่วันนี้แล้วครับ ขอตัวอ่านหนังสือก่อนแล้วกันครับ
ไว้ว่างๆหรือหลังสอบผมมาเขียนต่อนะครับ



ปล. ภาพผ้ามัดหมี่ลายสัตว์หลายชนิดจากสมาคมผ้าไทยครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 27 ก.ค. 05, 22:33


เริ่มต้นที่ราชสำนักแล้วกันนะครับ

อย่างที่เล่าไว้ในความเห็นที่ 2 ด้านบนครับ การใช้ผ้าปูมไหมมัดหมี่แบบเขมร เป็นความต่อเนื่องอย่างหนึ่งของเครื่องแบบข้าราชการไทยอย่างน้อยก็ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายแล้วครับ จากคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม

ในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ผ้าสมปักที่นิยมพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์เพื่อใช้เป็นผ้านุ่งและขุนนาง มีอยู่ 3 จำพวกด้วยกันคือ สมปักลาย(เป็นลายที่เกิดจาการเขียน หรือพิมพ์) สมปักยก และสมปักปูมจากเขมร
จนในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงรัชการที่ 5 จึงมีพระบรมราชโองการโปรดฯให้เลิกนุ่งสมปักปูมเข้าเฝ้าด้วยเหตุผลหลายประการ แต่ที่น่าเชื่อได้ว่าเป็นเหตุผลหลักคือการที่เขมรเองไม่ใช่ประเทศราชของสยามอีกต่อไป การจัดซื้อผ้าเข้ามาเป็นจำนวนมากจึงอาจไม่สะดวกได้ ถ้าเกิดศึกสงครามระหว่างประเทศ


ภาพปูมเขมร(แบบเขมร) จาก Tilleke & Gibbins ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 28 ก.ค. 05, 14:38


ขออัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
ในฉลองพระองค์มัดหมี่  มาให้ชมกันค่ะ

ไม่รู้ว่าช่วงนี้คุณติบอจะมีเวลามาเล่าต่อหรือเปล่า
ไม่อยากให้กระทู้นี้เลื่อนลงไปข้างล่างเร็วนัก
เลยแวะเข้ามา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 28 ก.ค. 05, 14:39


.
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 28 ก.ค. 05, 23:41

 เมื่อกี้พิมพ์ยาวๆเนื้อหาแน่นเพียบเลยครับ พอกดส่งปั๊บ... ก็ไฟตกทันที -_-" ต้องมาเริ่มใหม่เลยครับ
สงสัยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำบอร์ดไม่อยากให้ผมเล่าเครียดๆเท่าไหร่ มาแบบสบายขึ้นหน่อยแล้วกันนะครับ



ไหนๆ ก็เริ่มมาทางเจ้านายแล้ว ผมขอพาเข้าวังกันก่อนแล้วกันครับ แต่วังก็ออกจะกว้างใหญ่ ขอเป็นพิพิธภัณฑ์พระแก้ว(ผมชอบเรียกแบบนี้ครับ อิๆ) แล้วกันนะครับ

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เก็บรักษาสมบัติต่างๆของพระบรมหาวังและสิ่งของที่ประชาชนถวายเป็นพุทธบูชาในวัดพระศรีรัตนศาสดารามมาเป็นเวลาล่วงสองศตวรรษแล้วล่ะครับ แต่สิ่งที่ผมอยากให้ดู เป็นฉากรดน้ำบานโตบานหนึ่งครับ ถ้าใครพอจะนึกออก ฉากบานนี้เก็บรักษาอยู่ที่ห้องในสุด (ฝั่งซ้ายมือข้างพระแท่นมนังคศิลาฯ ครับ)

เดิมฉากรดน้ำบานโตฉากนี้เคยตั้งอยู่ในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เพื่อกั้นฝ่ายหน้ากับฝ่ายในออกจากกันครับ ที่ภาพกลางของฉาก ซึ่งเป็นภาพจาก "พิธีอมรินทราภิเษก" (ผมค้นตำราที่บ้านแต่หาไม่พบครับ สงสัยว่าจะซุกอยู่ในลังในห้องเก็บของ ถ้าสมาชิกท่านใดมีข้อมูลก็ช่วยหน่อยนะครับอยากได้บทบรรยายการแต่งกายของเทวดาแต่ละลำดับชั้นในพิธีครับ) เท่าที่ผมอ่านมาเมื่อนมนานกาเลครับ ชื่อของพระภูษาทรงของเหล่าเทพบริวารในพิธีอมรินทราภิเษก ดูเหมือนจะสอดคล้องกับผ้านุ่งลายต่างๆของราชสำนักสยามพอสมควรล่ะครับ เพราะนอกจากศักดินาแล้ว เครื่องยศต่างๆที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่เหล่าขุนนาง ก็เป็นของอีกอย่างหนึ่งที่บ่งบอกถึงตำแหน่งและระดับความสำคัญของขุนนางไปด้วยไงครับ ผ้าสำหรับนุ่งเข้าเฝ้าฯ หรือทำราชการต่างๆของขุนนางแต่ละระดับจึงสอดคล้องกับผ้านุ่งของเหล่าเทวดาในพระราชพิธอินทราภิเษกด้วยครับ


เท่านี้ก่อนดีกว่าก่อนที่เครื่องผมอาจจะมีอันเป็นไปอีกนะครับ อิๆ


ภาพพระราชพิธีอินทราภิเษกจาก http://www.d103group.com/qncc/cultural.htm  ครับ
ภาพนี้เป็นภาพร่างของที่ประดับอยู่ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตครับผม


ปล. ขอบพระคุณอาจารย์เทาชมพูมากครับ สำหรับพระบรมฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 29 ก.ค. 05, 16:38

 พอดีอยู่ห้องสมุด ค้นข้อมูลเรื่องฉากรดน้ำบานที่ว่าได้ เลยมาลงไว้ในนี้หน่อยนะครับ

ฉากบานที่ผมพูดถึงในกระทู้ข้างบน เป็นฉากขนาดใหญ่ ยาว 8.8 เมตร สูง 2.2 เมตร ตัวฉากและประกับทำด้วยไม้จริง แบ่งออกเป็น 5 ส่วนครับ แผงฉากทั้งสองด้าน เขียนลายรดน้ำปิดทองเป็นเรื่องเดียวกัน คือเรื่องที่ผูกขึ้นจากพระราชพิธีอินทราภิเษก และเรื่องราวเกี่ยวกับสวรรค์ครับ

กรมหมื่นทิพยลาภพฤฒิยากร ทรงอธิบายเกี่ยวกับภาพฉากรดน้ำบานกลางไว้ว่า "...เห็นได้ชัดว่าผู้ออกแบบเขียนเรื่องขึ้นโดยนึกถึงการพระราชพิธีอินทราภิเษกที่เล่าไว้ในกฏมณเฑียรบาล ดังได้คัดลอกมาลงไว้ดังต่อไปนี้

'การพระราชพิธีอินทราภิเษก ตั้งพระสุเมรุสูงเส้น 5 วา ในกลางสนามนั้น พระอินทรทรงนั่งบนพระสุเมรุ อิสินธร ยุคุณธรสูงเส้นหนึ่ง กรวิกสูง 15 วา เขาไกรลาศสูง 10 วา ฉัตรทองชั้นใน ฉัตรนาคชั้นกลาง ฉัตรเงินชั้นนอก แลนอกนั้นราชวัตฉัตรเบญจรง ใต้ฉัตรรูปเทพดายืน นอกนั้นฉัตรราชวัตรั้วไก่ ฉัตรกระดาษรูปยักคนธรรภ รากษษยยืนตีนพระสุเมรุ รูปคชสีหราชสีหสิงโต กิเลนเยียงผา ช้างโค กระบือ แลเสือ หมี มีรูปเทพดานั่งทุกเขา ... รูปพระอิศวรเป็นเจ้าแลนางอุมาภควดี ยอดพระสุเมรุรูปพระอินทร รูปอสูรอยู่กลางพระสุเมรุ รูปพระนารายณ์บันทมสิน ในตีนพระสุเมรุ นาค 7 ศีรษะเกี้ยวพระสุเมรุ  นอกสนาม  อสูรยืนนอกกำแพง โรงรำระทาดอกไม้มหาดไท บำเรอห์ สนองพระโอษฐ์ ตำรวจ แลกเป็นรูปอสูร 100 มหาดเล็กเป็นเทพดา 100 เป็นพาลี สุครีพ มหาชมภู แลบริวารพานร 103 ชักนาคดึกดำบรรพ์ อสูรชักหัว เทพดาชักหางพานรอยู่ปลายหาง พระสุเมรุเหลี่ยมหนึ่งทอง เหลี่ยมหนึ่งนาค เหลี่ยมหนึ่งแก้ว เหลี่ยมหนึ่งเงิน เขายุคลธรทอง อิสินธรนาค กรวิกเงิน ไกรลาศเกงิน รอบสนามข้างนอกตั้งช้างม้า จัตรงคพลเสนา 10000 ใส่ศรีเพศห่มเสื้อนุ่งแพรเคารพ  นา 5000 ใส่หมวกทองห่มเสื้อ นุ่งแพรจำรวจ นา 3000 หมวกแพรเทศ ห่มเสื้อนุ่งแพร นา 2400 ลงมาถึงนา 1200 ถือดอกไม้เงิน ดอกไม้ทองตามตำแหน่ง เข้าตอกดอกไม้ถวายบังคม  พราหมณาจารย โยคี อาดาลตบศิว นั่งในราชวัต...' "


จากกฏมณเฑียรบาล เราจะเห็นได้ว่าผ้านุ่งของเหล่าเทวดา และขุนนางในราชสำนักเป็นเรื่องที่สอดคล้องและเกี่ยวเนื่องเป็นเรื่องเดียวกันครับ ในลายของสมปักปูมเองก็เช่นกันครับ

เริ่มจาก สมปักเชิงปูม  ซึ่งเป็นผ้าพื้นธรรมดามีกรอบลาย และกรวยเชิงเหมือนสมปักชนิดอื่นๆ สมปักริ้ว  ซึ่งทอเป็นลายริ้วปิดด้วยกรวยเชิง สำหรับข้าราชการชั้นผู้น้อย

สมปักปูมดอกเล็ก ดอกกลาง ดอกใหญ่  สำหรับขุนนางชั้นผู้ใหญ่ และ ดอกท้องนาค  สำหรับขุนนางสำคัญหรือพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 29 ก.ค. 05, 16:53


เอาภาพมาฝากครับ เล็กไปนิดนะครับ
จาก http://kanchanapisek.or.th/ครับ  เป็นภาพในสารานุกรมไทยเฉลิมพระเกียรติเล่มที่ 15 ครับ
น่าจะถ่ายจากห้องผ้าในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนครครับ


ปล. ไปดูของจริงกันมั้ยครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 29 ก.ค. 05, 17:28

 ลืมบรรยายภาพไปครับ

ผืนกลางภาพที่เห็นลายชัดที่สุด เป็นสมปักปูมดอกใหญ่ครับ
ส่วนผืนด้านล่างนี่เป็นลายประยุกต์แล้วครับ

เอาภาพผ้ามัดหมี่สวยๆมาฝากันอีกภาพครับ (เป็นโฆษณาขายสินค้า ผมขออนุญาตไม่เอาชื่อเวบมาลงนะครับ)
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 29 ก.ค. 05, 17:34

 ส่วนผืนนี้ ลายพุ่มข้าวบิณฑ์  เหมือนผืนกลางในความเห็นที่ 8 ครับ เชื่อได้ว่าเป็นลายของผ้าทอพื้นบ้านพื้นเมืองที่ได้รับอิทธิพลจากผ้าของราชสำนักสยามที่พระราชทานแก่ขุนนางเป็นผ้ายศครับ
แต่ตั้งแต่เลิกใช้ผ้าสมปักปูมไป เดี๋ยวนี้ชาวบ้านก็เรียกชื่อผ้าลายนี้ตามภาษาปากของแต่ละถิ่นไปครับ ผมเคยได้ยินมาตั้งแต่ ลายช่อเชิงเทียน ลายขันหมากเบ็ง ลายนาคล้อมเพชร ลายนกขอนาค  ฯลฯ ไปจนกระทั่งบางที่เรียกว่า "ลายงูเหลือม"  ก็มีครับ



ปล. มันดูเป็นงูเหลือมตรงไหนเหรอครับ ช่วยผมดูหน่อยเถอะ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 29 ก.ค. 05, 17:41

 ผืนล่างสุดนี้เป็นแบบที่ได้รับความนิยมในเขตภาคอิสานตอนล่างครับ แต่จะเห็นได้ว่าสีที่นิยมใช้ก็ยังไม่แตกต่างจากผ้าปูมที่ใช้กันมาเมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ในความเห็นที่ 8 เท่าไหร่ครับ

ขออนุญาตเอามาลงไว้ก่อนจะเปลี่ยนเรื่องจากในรั้วในวัง ในหน้าที่ราชการมาอิสานบ้านเฮาครับ อิอิ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 30 ก.ค. 05, 10:01

 ไปค้นผ้ามัดหมี่  ในอินเทอร์เนต บางลายมาเสริมค่ะ  
ไม่ทราบว่าลายอะไรบ้าง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 30 ก.ค. 05, 10:06

 สองลายนี้เป็นลายใหม่  ออกแบบสำหรับส่งออก http://www.dip.go.th/ProductDesign/product/ProductDetail.asp?ProductID=50&IndustryID=2&IndustryCateID=75  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 30 ก.ค. 05, 10:07

 ลายที่สอง
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.043 วินาที กับ 19 คำสั่ง