เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 7555 คิดอย่างไรกับการที่รัฐบาลจะขายหุ้น กฟผ. ให้กับต่างชาติ
ครูไผ่
มัจฉานุ
**
ตอบ: 55

ศึกษานิเทศก์


เว็บไซต์
 เมื่อ 12 ก.ค. 05, 09:26

 ช่วยกันแสดงความคิดเห็นหน่อยนะคะ
บันทึกการเข้า
ศานติ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 190

อดีตศัลยแพทย์ช่องอกเส้นเลือด (เกษียณ) ปัจจุบันเป็นช่างไม้


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 13 ก.ค. 05, 00:51

 ครูไผ่ครับ ช่วยบอกชื่อเต็มของ กฟผ. ให้หน่อย ผมไกลปืนเที่ยงไปมาก

ศานติ
บันทึกการเข้า
ครูไผ่
มัจฉานุ
**
ตอบ: 55

ศึกษานิเทศก์


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 13 ก.ค. 05, 02:09

 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ค่ะ
บันทึกการเข้า
สร
อสุรผัด
*
ตอบ: 20

Complexity Optimization Researcher, Co-evolution Learner and Writer. 'Sundarekas' Childers, Dreamland.


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 15 ก.ค. 05, 06:54

 1) Privatization = เปลี่ยนสมบัติของประชาชน(ชาติ) เป็น สมบัติของคนจำนวนน้อย (โดยเฉพาะ วิสาหกิจที่มีกำไร)
2) Internationalization = ย้าย การควบคุมจัดการ ให้ไปอยู่ต่างประเทศ (ขึ้นอยู่กับ นายนอกบ้าน)

3) Profitization = บริการ ในเขต ที่ได้กำไร (เลิก ลด บริการ ชนบท เขตกันดาร)
4) Povertization = enslavement of consumers!

Thailand is on a path towards a "World Empire". The end is clear: Thailand will have NO SAY in its future.
บันทึกการเข้า
ครูไผ่
มัจฉานุ
**
ตอบ: 55

ศึกษานิเทศก์


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 15 ก.ค. 05, 08:19

 NO SAY ในประโยคสุดท้ายของคุณสร หมายถึง อนาคตเราจะตกอยู่ในสภาพหมดสิทธิ์ที่จะ SAY NO ใช่ไหมคะ
บันทึกการเข้า
ศานติ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 190

อดีตศัลยแพทย์ช่องอกเส้นเลือด (เกษียณ) ปัจจุบันเป็นช่างไม้


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 15 ก.ค. 05, 21:10

 No say = no vote, unable to say yes or no.  หมดสิทธิ์ในการออกเสียงโดยสิ้นเชิง

ผมไม่กล้าลงความเห็นเพราะไม่ทราบข้อเท็จจริงหรือเบื้องหลังการคิดจะขาย ตัวย่อยังไม่รู้เลย ๕๕๕  

โดยทั่วไป privatization จะทำให้ประสิทธิภาพมากขึ้นเพราะกำไรเป็นตัวที่สำคัญที่สุด คนที่ลงทุนเขาลงทุนเพราะหวังกำไร งานด้านไหนที่ไม่มีกำไรเขาก็เลิก เรื่องอะไรเขาจะเดินสายไฟยาวๆไปชุมชนที่ผู้คนไม่หนาแน่น รายได้ไม่คุ้มรายจ่าย  แบบเคเบิ้ลทีวีที่นี่เขาไม่ยอมเดินสายเข้ามาบ้านผมเพราะอยู่ไกลถนน  อีกบริษัทไม่เดินสายตามถนนที่ผมอยู่เลยเพราะบ้านแต่ละหลังอยู่ห่างกัน  เดินเข้าที่จัดสรร (subdivision) ได้กำไรมากกว่าเพราะบ้านอยู่ติดกัน  ถ้ากฎหมายไม่บังคับว่าได้สัมปทานมาแล้วต้องเดินให้ทั่ว ชานเมืองคงไม่ค่อยมีบริการไฟฟ้า ทีวี โทรศัพท์ การประปา ฯลฯ จนผู้คนมากขึ้น  เรื่องอะไรผู้ลงทุนนอนอยู่นิวยอร์คจะมาเป็นห่วงว่านายสีนางสาจะมีไฟฟ้าใช้หรือไม่

สมัยหนึ่งผมเคยเชื่อว่ากิจการใหญ่ๆโตๆคงไม่มีการโกงกัน แต่หลังจาก Enron, WorldCom แล้วไม่ค่อยจะไว้ใจใคร คนโลภมากมีแยะจัง  ไม่ว่ากิจการอะไรก็จะดูตัวเลขล่างสุด (bottom line) ของรายงานประจำปีว่าได้กำไรหรือ ขาดทุนเท่าไหร่  กิจการที่ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมจะน้อยลง
บันทึกการเข้า
ไฝ่รู้วิชาการ
อสุรผัด
*
ตอบ: 7

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 16 ก.ค. 05, 15:40

 ดิฉันว่า คนในโลกนี้เหมือนกันหมด  คือมีคนเลวและดีทุกแห่ง  เมื่อก่อนนี้ คนไทยชอบว่าคนไทย โกงกิน  แต่ดิฉันว่ามีเหมือนกันทุกประเทศ  เพียงแต่ว่าไม่เห็นโจ่งครึ่มเท่านั้นเอง  แต่คนเลวก็เหมือนกัน นั่นแหละ  เห็นหรือไม่เห็นก็เหมือนกัน  จริงมะ  ส่วนใหญ่ก็ทำเพื่อประโยชน์ตัวเองทั้งน้านนนน  อิ อิ
บันทึกการเข้า
ครูไผ่
มัจฉานุ
**
ตอบ: 55

ศึกษานิเทศก์


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 17 ก.ค. 05, 11:28

 ขอบคุณสำหรับข้อความรู้ทั่วไปของแต่ละท่านข้างบนนี้  ซึ่งได้ฉายภาพเค้าร่างในอนาคตพอสมควร  แปรผันตามระดับความสามารถในการมองเห็นของท่านผู้อ่าน

ยินดีรับข้อมูล/ความเห็นเพิ่มเติมค่ะ
บันทึกการเข้า
สร
อสุรผัด
*
ตอบ: 20

Complexity Optimization Researcher, Co-evolution Learner and Writer. 'Sundarekas' Childers, Dreamland.


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 18 ก.ค. 05, 10:42

 ขอเสนอ "ทางแยก" ออกจาก เส้นทาง ที่เป็นไปได้มากยิ่ง (#3)

เส้นทางการบริหาร บรรษัทสาธารณูปโภค เพื่อประชาชน โดยประชาชน

๑) การร่วมออกเสียง เพื่อสร้างทัศน์วิสัยของการการจัดการ
วิถีนี้ เป็นการสร้างแรงผลักดัน การดำเนินงาน ให้มีแนวโน้ม เข้าหาความต้องการของประชาชน ตามเสียงแสดงความต้องการจากประชาชน
ใช้วิธี และ กระบวนการ ผ่านสื่อ ประชาสัมพันธ์ องค์การสังเคราะห์ประชาชน สถาบันเอื่ออำนวยสังคม สถาบันการศึกษาและพัฒนาชุมชน
เป้าหมายคือ การสร้างและพัฒนา ทัศน์วิสัย ของการบริการสาธารณูปโภค เพื่อสังคม

๒) การร่วมทุนซื้อหุ้น และการร่วมลงคะแนนเลิอกตั้งกรรมการผู้บริหาร บรรษัทสาธารณุปโภค
วิถีนี้ เป็นการซื้อ สร้างความเป็นเจ้าของ และอำนาจการการจัดการ บรรษัทสาธารณูปโภค ให้กลับมา หาประชาชนทางอ้อม
ใช้วิธี และ กระบวนการ ผ่าน การจัดการทุนและงบประมาณ "ส่วนหนึ่ง" ของ มูลนิธิ ชมรม สมาคม ที่เอื้ออำนวยสังคมและพัฒนาชุมชน และทุนของประชาชนทั่วไป ให้ร่วมกัน ซิ้อหุ้น จนมีจำนวนพอ ที่จะร่วมกัน (เป็น proxy block) ออกเสียงเลือก กรรมการผู้บริหาร (ไม่ต้องเป็นกรรมการทั้งชุด แต่ต้องมีจำนวนพอที่จะ คุม ความสมดุลย์ของการบริหาร - คุม balance of power)
เป้าหมายคือ ความเป็นเจ้าของบรรษัท และการคุมอำนาจการบริหาร เพียงพอ ที่ทำให้ มี การบริการสังคมที่เหมาะสม และ สร้างภูมิ ป้องกัน แก้ไข การครอบงำ จากภายนอก
วิถีนี้ จะเป็นผลสำเร็จได้ ต่อเมื่อ มีการร่วมมือของ องค์การหลายแบบ อย่างมุ่งมั่น ยาวนาน(ไม่เปลี่ยนแปรตามก้อนเงินบริจาค อามีส หรือ อำนาจ) และ เพื่อสังคมที่แท้จริง (เวลานี้ มีการใช้ มูลนิธิ สมาคม ฯลฯ เป็นเครื่องมือ หาผลประโยชน์ส่วนตัว)

วิถีนี้ อาจจะเป็นวิถีทางที่จำเป็น และให้ผลที่ต้องการ มากกว่า และยาวนาน
(หวังว่า ผู้รู้ และผู้มีอำนาจ อาจจะช่วย ให้เราไม่ต้องใช้ วิถี เหล่านี้)
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 26 ส.ค. 05, 17:36

 -การคิดราคาเป็นแบบ cost plus ต้นทุนเท่าไรก็บวกกำไรไปอีก
-นายกไทยมีเงินสดเหลือ จึงชอบอะไรที่ monopoly or oligopoly
ถ้าคุณไม่พอใจซื้อไฟ ก็ปั่นเองที่ back yard สิ
บันทึกการเข้า
สร
อสุรผัด
*
ตอบ: 20

Complexity Optimization Researcher, Co-evolution Learner and Writer. 'Sundarekas' Childers, Dreamland.


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 27 ส.ค. 05, 10:42

 ปล้นค่าเอฟทีฉลองหุ้น กฟผ. ให้คนไทยยอมรับสภาพ
 http://www.thairath.co.th/thairath1/2548/economic/aug/27/eco1.php

ใครช่วยแก้โจทย์นี้หน่อย (โดยเฉพาะ ผู้ที่อยากขาย กฝน)

เมื่อ กฝน ได้กำไร อย่างแน่นอน ทำไม ต้องขายหุ้นให้ต่างชาติ?
ให้เงินไหลออก อย่างแน่นอน ให้เสียศักยภาพการจัดการพลังงาน อย่างแน่นอน ...

ถ้าเรามีบ้าน เราจะขายบ้าน แล้ว เช่าบ้านหลังเดิมอยู่ไหม?
แค่จำนองบ้านแก้หนี้ ก็หวาดเสียวเต็มจัด ขายไปแล้ว ซึ้อกลับ จะมีทางเป็นไปได้ไหมหนอ?

พี่น้อง เด็กไทยทั้งหลาย ช่วยกันเก็บเงิน ้ซึ้อ กฝน ให้อยู่ในมือไทย!
บันทึกการเข้า
ประชาชน
อสุรผัด
*
ตอบ: 24

Phd. Students Department of Economic University of Surrey Guildford, Surrey United Kingdom


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 29 ส.ค. 05, 07:11

 แนวความคิดเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างกิจการสาธารณูปโภคทั้งหมด เกิดขึ้นมากจากแนวคิดที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของกิจการเหล่านี้ โดยมีข้อสมมุติฐานว่า "การแข่งขัน" จะทำให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพเพิ่มสูงขึ้น (หากไม่เชื่อว่า การแข่งขันทำให้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ก็ลองให้ "ชินวัตรผูกขาดธุรกิจมือถือไปเลย") ดังนั้นจึงต้องพิจารณาว่า กิจการสาธารณูปโภคอะไรที่แข่งขึ้นได้ กิจการหมายถือ "กิจกรรม หรือ Activities" อะไรที่แข่งขันจะนำไปสู่ประสิทธิภาพ กิจกรรมอะไรที่แข่งขันแล้วจะทำให้สังคมเสียประโยชน์มีกิจการที่ Natural Monopoly เท่านั้นที่แข่งขันแล้วสังคมจะเสียประโยชน์ เพราะทำให้ต้นทุนทางสังคมสูงขึ้น ในธุรกิจไฟฟ้าก็จะมีกิจการ "สายส่ง" และ การจำหน่ายไฟฟ้าบางระดับ เพราะหากสร้างสายส่งแรงสูง 2 สายไปเมืองเดียวกัน ก็จะเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรของสังคม ใช้สายเดียวก็พอ แต่หากมีสายเดียวก็จะเป็นการผูกขาด

ดังนั้นกิจการนี้จึงต้องมีการ "กำกับดูแล" ราคา และบริการโดยรัฐ ส่วนการผลิตไฟฟ้า เป็นกิจการที่แข่งขันแล้วจะทำให้ต้นทุนต่ำลง ดังนั้น การผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. จึงให้เอกชนเข้ามาแข่งขันได้ ก็จะได้ต้นทุนต่ำลง โรงไฟฟ้าโรงไหน ต้นทุนค่าไฟฟ้าต่ำ ขายถูก ประชาชนควรจะมีสิทธิซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้านั้น หากโรงไฟฟ้าไหนต้นทุนแพง ค่าโสหุ้ยมาก คนงานมากขาดประสิทธิภาพ รัฐก็ไม่ควรอุ้มโรงไฟฟ้านั้น เพราะสังคมต้องซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้านี้แพง ทั้งๆ ที่มีโอกาสจะซื้อไฟฟ้าได้ต่ำกว่าหากผู้ผลิตรายอื่นเข้ามาเสนอราคาต่ำกว่า

ส่วนการเปลี่ยนมือความเป็นเจ้าของจากรัฐไปสู่เอกชน จะทำให้เกิดประสิทธิภาพหรือไม่ ตรงนี้ต้องยอมรับว่าเอกชน มีสัญชาติญาณของการแข่งขันและการลดต้นทุนดีกว่ากิจการของรัฐ ดังนั้นจึงมีเหตุมีผลที่ว่า หากเปลี่ยนมือไป สู่เอกชนแล้ว โรงไฟฟ้าแห่งนั้นจะมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง ซึ่งแม้แต่การเปลี่ยนมือบางส่วนก็จะทำให้ประสิทธิภาพสูงขึ้น เพราะเอกชนต้องการข้อมูลที่โปร่งใส
ส่วนคำถามที่ว่า "แปรรูปแล้วค่าไฟฟ้าจะถูกลงหรือไม่" คำตอบไม่ได้อยู่ที่การแปรรูปอย่างเดียว แต่อยู่ที่ "ระบบกำกับดูแล" ของรัฐว่าจะใช้ระบบกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพหรือไม่ ซึ่งมีให้เลือกใช้หลายระบบเช่น RPI-X, Marginal Cost Pricing ฯลฯ นอกจากนี้ "องค์กรกำกับดูแล หรือ Regulator ต้องมีอิสระและรับผิดชอบต่อผู้บริโภค หากแปรรูปแล้ว บริษัทที่เปลี่ยนมือเป็นเอกชนยังสามารถผูกขาดและครอบงำตลาดได้ ก็จะไม่ทำให้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น แต่อาจจะเลวร้ายลงยิ่งกว่าเดิม ดังนั้นทางที่ควรจะต้องทำคือ Restructuring หรือปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมไฟฟ้าก่อนแล้วจึงแปรรูปทีหลัง เพราะหากแปรรูปก่อนปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้า ก็จะล้มเหลวเพราะบริษัท กฟผ. ใหม่ยังคงผูกขาดกิจการไฟฟ้าเหมือนเดิม  

การพิจารณาว่าอะไรเป็นสมบัติของชาติไม่ได้อยู่ที่ว่า รัฐเป็นเจ้าของกิจการนั่นหรือไม่ หากรัฐเป็นเจ้าของ แต่ประชาชนหรือผู้บริโภคไม่ได้ประโยชน์ ต้องเสียค่าใช้บริการที่สูงกว่าความจำเป็น คุณภาพของบริการต่ำ รวมทั้งรัฐต้องเอาภาษีของประเทศชาติไปอุดหนุนในกิจการเหล่านี้สังคมก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรจากกิจการที่อ้างว่าเป็นสมบัติของชาติเหล่านี้ ดังนั้น คำว่า "ผลประโยชน์ของประเทศชาติ" จึงควรมีการนิยามที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนจับต้องได้ ไม่ใช่ยกคำพูดขึ้นมาสวยหรู ผลประโยชน์ของประเทศชาติ ในกรณีของ "กิจการสาธารณูปโภค" จึงควรจะหมายถึง กิจการเหล่านั้น ต้องสามารถ "จัดบริการให้แก่ประชาชนหรือผู้บริโภคได้อย่างทั่วถึง มีคุณภาพบริการที่ดี แหละค่าบริการต่ำที่สุด" ซึ่งค่าบริการหรือราคา จะต่ำได้ ก็ต่อเมื่อ กิจการสาธารณูปโภคแห่งนั้นต้องผลิตบริการของตนด้วย "ต้นทุนต่ำ" ซึ่ง "การผูกขาด" ไม่มีทางที่จะทำให้ผู้บริโภคได้ค่าบริการที่ต่ำได้ ยกเว้น "กิจการนั้นมีลักษณะของการผูกขาดโดยธรรมชาติ" และการแข่งขัน ก็จะนำไปสู่การบริหารจัดการที่ดี ต้นทุนต่ำลง

ในกรณีของ กฟผ. ที่อ้างว่า "เป็นสมบัติของชาติ" ประชาชนเจ้าของประเทศควรจะได้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม คือ บริการครอบคลุม ค่าไฟฟ้าถูก และต้องไม่มีไฟฟ้าดับ (ตัวชี้วัดคุณภาพบริการ) การที่รัฐหรือเอกชนจะเป็นเจ้าของหรือไม่จึงไม่มีความสำคัญแต่อย่างใด เพราะหากเอกชนเป็นเจ้าของแล้ว สามารถบริการผู้บริโภคได้อย่างทั่วถึง ราคาต่ำ ไฟฟ้าไม่ดับ ประโยชน์ต่อสังคมก็จะมีมากกว่ารัฐเป็นเจ้าของแล้วจัดบริการไม่ได้อย่างที่เอกชนทำ นอกจากนี้เอกชนเป็นเจ้าของรัฐก็ยังคงเก็บภาษีเข้ารัฐ มีรายได้จากกิจการนั้น เหมือนกับที่รัฐเป็นเจ้าของอยู่ดี ดังนั้น ใครเป็นเจ้าของจึงไม่มีความแตกต่างเกี่ยวกับรายได้เข้ารัฐ

เป้าหมายของรัฐเกี่ยวกับกิจการสาธารณูปโภค ไม่มีอะไรมาก นอกจากการจัดบริการต่างๆ ให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึงทุกคน ราคาต่ำ คุณภาพบริการที่ดี
บันทึกการเข้า
ประชาชน
อสุรผัด
*
ตอบ: 24

Phd. Students Department of Economic University of Surrey Guildford, Surrey United Kingdom


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 29 ส.ค. 05, 07:43

 อีกอย่างหนึ่ง การขายหุ้นให้ต่างชาติ  หมายถึงอะไร การขายหุ้นมีสองอย่างคือ ขายให้พันธมิตรร่วมทุน ซึ่งหมายถึงผู้ซื้อต้องเข้ามามีส่วนในการบริหารด้วย อีกอย่างหนึ่งคือ ขายแบบทั่วไปที่ ผู้ซื้อไม่ได้เข้ามามีส่วนในการบริหารด้วย

อย่างแรก ผมไม่เห็นด้วย หมายถึงการมีพันธมิตรร่วมทุน ที่จะให้ต่างชาติมีอำนาจบริหาร ซึ่งผมไม่คิดว่าจะมีรัฐบาลไหนทำ ส่วนอย่างที่สอง ไม่มีความหมายอะไร เพราะผู้ซื้อหุ้นกระจัดกระจายกันไป ไม่ได้มีอำนาจบริหาร

ที่นี้ ก่อนที่ใคร หรือพนักงาน กฟผ. จะเข้ามาปลุกระดม ต้องดูข้อเท็จจริงก่อนว่า ตลาด "ภาคการผลิตไฟฟ้า" หรือ Generation นั้นเป็นอย่างไร

ภาคการผลิตไฟฟ้าของไทย ประกอบกิจการ สี่ระบบคือ ระบบการผลิต (Generation), ระบบสายส่ง (Transmision), ระบบจัดจำหน่าย (Distribution), และระบบค้าปลีก (Retail)

ระบบ Generation และ Transmision ควบคุมโดย กฟผ. ส่วนระบบ Distribution และ Retail ควบคุมโดย กฟน. และ กฟภ.

หากเราแยกจริง ๆ ระบบการผลิตไฟฟ้าของไทย ภาค Generation นั้น กฟผ. คุมการผลิตประมาณ 60% ส่วนอีก 40% เป็นโรงไฟฟ้าเอกชนคือ บริษัทไฟฟ้าราชบุรี (14%)
บริษัทผลิตไฟฟ้า EGCO (8%) ที่เหลือเป็นของ IPPs และ SPPs  เจ้าอื่นๆ

พูดตรงๆ คือ ภาคการผลิตไฟฟ้าของไทยถูก Privatisation ไปแล้ว 40% และใน 40% นี้ก็มีต่างชาติถือหุ้นอยู่จำนวนมาก

ส่วนกิจการสายส่ง นั้นเป็นกิจการที่มีลักษณะการผูกขาดโดยธรรมชาติ (Natural Monopoly) ที่คงแปรรูปเป็นเอกชนไม่ได้ เพราะรัฐจะต้องควบคุมตรงนี้ ซึ่งหากมีการแปรรูปจริงๆ ทั้งหมด รัฐก็คงต้องแยกกิจการสายส่งออกมา

ไทยแปรรูปภาค Generation ไปแล้ว 40% นี่เป็นข้อเท็จจริง และผมก็เคยไปวิเคราะห์ต้นทุนของเอกชนนี้แล้วปรากฎว่าต่ำกว่า กฟผ. โดยเฉพาะต้นทุนด้านพนักงาน บริษัท EGCO มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 1400 เม็กกะวัตต์เท่ากับ 8% ของระบบ ปรากฎว่ามีพนักงานไม่ถึง 300 คน แต่ กฟผ.มีพนักงานทั้งหมดเกือบสามหมื่นคน

ผมได้ยินข้อมูลมาว่าคนขับรถของ กฟผ. ก็มีเงินเดือนไม่ต่ำกว่า 30,000 บาท มากกว่า วิศวะกรบรรจุใหม่อีก และมากกว่าผมซึ่งจบปริญญาโทอีก และคนเหล่านี้ก็ไม่ได้ทำงานจริงๆ แต่มีการจ้างเด็กอื่นๆ ไปทำงานแทน แค่เดือนละ 7-8,000 บาท เท่านั้น แล้วคนเหล่านี้ก็นอนกินส่วนต่างที่รวมเป็นค่า Ft ของชาวบ้านด้วยนอนเฉยๆ จ้างเด็กไปทำงานแทนก็ได้เงินไม่ต่ำกว่า 20,000 บาทแล้ว

สมบัติของชาติที่มีคนจำนวนหนึ่งเป็นเสือนอนกิน เราจะโง่ให้คนเหล่านี้หลอกใช้ไปถึงไหน อีกอย่าง กรณีเขื่อนปากมูล กฟผ. ก็ทะเลาะกับชาวบ้านเขาไปทั่ว ไม่เคยเห็นใจคนจน กว่าจะจ่ายเงินชดเชยได้ ก็ให้ชาวบ้านมาเรียกร้องตั้งนาน จนรัฐบาลต้องมาแก้ปัญหา พอเขาจะมาทุบหม้อข้าว ก็มาร้องว่า "ขายสมบัติของชาติ"  ผมว่าเขาง้างปากเอาสมบัติของคนสามหมื่นคนมาให้เป็นสมบัติของคนทั้งประเทศมากกว่า

Generation, T
บันทึกการเข้า
ju
อสุรผัด
*
ตอบ: 18

ทำงานค่ะ


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 30 ส.ค. 05, 11:46

 ก็ เห็นมีคนเปรยๆ ไว้ว่า  ประเทศไทยจำกัด งัยคะ

คนรวยเท่านั้นค่ะ ที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน  ไม่ใช่ประชาชนเสียแล้ว

ถ้านึกกว้างไกลไปกว่านั้น   ตอนนี้  ฝรั่งต่างชาติ ก็เข้ามาแต่งงานกับคนไทยเยอะ   ซึ่งตรงนี้น่ากลัวในอนาคต เพราะ มันก็จะเหมือนการกลืนชาติ  ฝรั่งต่างชาติ  จะสามารถเป็นเจ้าของทรัพย์สินในประเทศไทยได้โดยกฏหมาย หากแต่งงานกับหญิงไทย หรือ  ลูกครึ่ง ก็จะมีโอกาสได้ทั้ง 2 ประเทศ  คนพวกนี้น่ากลัว เพราะเขามีกำลังซื้อ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 16 พ.ย. 05, 14:51

 ค.ห. ที่ 5 ของคุณหมอ...สมัยหนึ่งผมเคยเชื่อว่ากิจการใหญ่ๆโตๆคงไม่มีการโกงกัน
แต่หลังจาก Enron, WorldCom แล้วไม่ค่อยจะไว้ใจใคร คนโลภมากมีแยะจัง …

ดิฉันเห็นด้วยกับคุณหมอเป็นอย่างยิ่ง เมื่อวานตอนศาลรัฐธรรมนูญประกาศให้ยุติ
การกระจายหุ้นชั่วคราว ดีใจมาก เพราะเป็นคนหนึ่งที่แอบส่งเสบียงไปช่วยมูลนิธิคุ้มครอง
ผู้บริโภคอยู่เนืองๆ เพื่อให้เป็นกระบอกเสียงแทนประชาชนทั่วไป ภาคประชาชนชนะยกแรกเท่านั้น
ยกที่สอง เหรียญทั้งสองหน้ามีโอกาสเท่าๆกันค่ะ ถ้าสู้กันแบบแฟร์ๆก็น่าจะสู้ได้
กลัวแต่ว่ามีคนทำกระเป๋าเจมบอนด์ตกแถวหน้าบ้านตุลาการ แต่ดิฉันเชื่อว่า
เงินคงง้างใจคนไม่ได้ทุกคนเสมอไปค่ะ

ส่วนตัวดิฉันไม่เดือดร้อนนัก เพราะค่าไฟบ้านกรุงเทพฯแค่เดือนละสองร้อยกว่าๆ เปิดแอร์ปีละ 30 วัน
ถ้าอากาศไม่ร้อนระอุทะลุกระดานพื้นไม้ขึ้นมาก็จะไม่เปิด  หากเรายึดการครองชีพตามหลักเศรษฐกิจ
แบบพอเพียงตามพระราชดำรัส ใช้เท่าที่มี เก็บออมบ้าง ที่เหลือแบ่งปันสังคม ก็น่าจะป็นสุข
เมืองไทยไม่ต้องรีบโตแบบที่ต้องทำกำไรสูงสุดในทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะลึกๆในใจ
รู้สึกเสียดายรูปแบบวิถีชีวิตของเมืองไทยแบบเดิมๆ - เป็น  nostalgia feeling มังคะ  

ก่อนหน้านี้สัก 3 เดือน ดิฉันส่งเมล์ถึงท่านผู้นำฝ่ายค้าน บอกว่าพี่มาร์คอย่าลืมนะ เกาะติดหน่อย
เพราะกระแสต้านมันเบาเหลือเกินไม่มีใครออกหน้า พี่มาร์ครับรองแข็งขัน
ดิฉันเป็นห่วงกลัวลูกหลานคนไทยจะลำบากค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 19 คำสั่ง