เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 4364 ถนนสามแพ่ง
คุณจันต์
อสุรผัด
*
ตอบ: 6


 เมื่อ 05 ก.ค. 05, 18:42

 เคยได้ยินว่ามีถนนสายหนึ่งในกรุงเทพชื่อว่า "ถนนสามแพ่ง"
เนื่องจากทางตรงนั้นคือทางแยกที่จะไปยังวังของเจ้านายสามพระองค์  ถ้าจำไม่ผิดก็มี
แพ่งนรา ของ กรมพระนราธิปพงษ์ประพันธ์
แพ่งสรรพศาสตร์ ของ กรมหลวงสรรพศาตร์ศุภกิจ
ส่วนอีกแพ่งจำไม่ได้ว่าชื่อแพ่งอะไร  ถ้ามีใครทราบช่วยบอกที หาคำตอบนี้มานานแล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 05 ก.ค. 05, 19:19

ชื่อที่ถูกต้องคือ แพร่ง  ไม่ใช่ แพ่ง

ไม่มีถนนสามแพ่ง   มีแต่ถนนแพร่งนรา  ถนนแพร่งสรรพศาสตร์ และถนนแพร่งภูธร
เป็นที่ตั้งของวังพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ๓ พระองค์ ล้วนเป็นพระเจ้าน้องยาเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
คือ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ (ต้นราชสกุลวรวรรณ) กรมหมื่นสรรพศาสตร์ศุภกิจ  (ต้นราชสกุลทองแถม)  และ กรมหมื่นภูธเรศธำรงค์ศักดิ์ (ต้นราชสกุล ทวีวงศ์)
บันทึกการเข้า
คุณจันต์
อสุรผัด
*
ตอบ: 6


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 07 ก.ค. 05, 09:42

 ต้องขอโทษด้วยค่ะที่เขียนผิด  มือใหม่ค่ะ
ทราบแต่เพียงว่ามีวังหนึ่งถูกไฟไหม้ซึ่งปัจจุบันยังคงเหลือเพียงแค่ซุ้มประตู  ไม่ทราบว่าใช่หรือเปล่านะ  ขอข้อมูลเพิ่มเติมด้วยนะคะว่าปัจจุบันแต่ละแห่งเป็นอย่างไรบ้าง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 07 ก.ค. 05, 10:23

เรื่องที่คุณถาม คือแพร่งสรรพศาสตร์   ตัววังถูกรื้อไปนานแล้ว
เหลือแต่ซุ้มประตูวัง  ด้านบนเป็นรูปปั้นผู้หญิงถือโคมไฟ สวยงามมาก
เมื่อพ.ศ. 2510 แถวแพร่งสรรพศาสตร์เกิดเพลิงไหม้ บ้านเรือนแถวนั้นหมดไปมาก แต่ซุ้มประตูรอดไปได้
หลังจากนั้นก็ชำรุทรุดโทรม จนเพิ่งบูรณะใหม่ไม่นานมานี้
ถ้าอยากเห็น  ไปที่ศาลเจ้าพ่อเสือ  ถนนมหรรณพ เดินไปอีกหน่อยใกล้ๆศาลจะเห็นซุ้มประตูวัง ที่ทางการอนุรักษ์ไว้

ปัจจุบันแต่ละแห่งก็เหมือนถนนสายเก่าแก่ของกรุงเทพ อีกหลายแห่ง
คือริมถนนเต็มไปด้วยตึกแถว หลายรุ่น หลายสมัย ซึ่งหาความงามไม่ได้ เพราะปลูกสร้างเชิงพาณิชย์ มากกว่าจะคำนึงถึงศิลปะ
ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ทะนุบำรุงกันนัก

ต้องเดินลึกเข้าไปหลังตึกแถวริมถนน  จึงจะเห็นตึกแถวรุ่นเก่า และอาคารที่อาศัยแบบเก่าหลงเหลืออยู่บ้างนิดหน่อย

แถวแพร่งนรา รีบไปดูเสียก่อนเขาจะรื้อของเก่า หรือปลูกสร้างอาคารใหม่ขึ้นมาแทน
เพราะยังมีตึกแถวเก่าแก่สมัยรัชกาลที่ 5 หลงเหลืออยู่เป็นแห่งสุดท้ายของเมืองหลวง
มีตัวอาคารอดีต ร.ร.ตะละภัฏ ที่ยังมีลวดลายประดับสวยงาม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 19 คำสั่ง