V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 08 ก.ย. 05, 01:20
|
|
สถานีรถไฟหลวงหัวหินในความเห็นที่ ๑๒ นั้น เดิมคือสถานีรถไฟหลวงพระราชวังสนามจันทร์ ตั้งอยู่ตรงข้ามวัดเสห่หา เป็นสถานีรถไฟหลวงที่ตรงเข้าสู่พระราชวังสนามจันทร์ ทางด้านหน้าพระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ ระหว่างทางจากสถานีรถไปถึงหมู่พระที่นั่งนั้น สองข้างทางเป็นเรือนพระมนู่ เรือนพักลูกเสือหลวง (โรงเรียนมหาดเล็กหลวง) ส่วนเรือนพักของนักเรียนทหารกระบี่หลวง (โรงเรียนพรานหลวง) จำชื่อไม่ได้ครับ ต่อมาโปรดให้ยกกองลูกเสือหลวงและกองนักเรียนทหารกระบี่เป็นนักเรียนเสือป่าหลวงบรรดานักเรียนเสือป่าหลวงจากทั้ง ๔ โรงเรียนคือ โงเรียนมหาดเล็กหลวง โรงเรียนราชวิทยาลัย โรงเรียนมหาดเล็กหลวงเชียงใหม่ และโรงเรียนพรานหลวง ต่างก็ยังคงพักกันที่เรือนนี้ในเวลาตามเสด็จฯ ไปซ้อมรบเสือป่าต่อมา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
วันเสาร์
อสุรผัด

ตอบ: 20
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 08 ก.ย. 05, 15:16
|
|
ขออนุญาตแก้คำผิดของคห.15 ต้องเป็นวัดเสน่หา ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Nuchana
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 08 ก.ย. 05, 16:55
|
|
คุณความเห็นที่ 15 ช่วยอธิบายหน่อยค่ะว่าจากนครปฐมแล้วไฉนจึงไปอยู่หัวหินล่ะค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 09 ก.ย. 05, 21:01
|
|
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตแล้ว กิจการเสือป่าก็เข้าป่า นักเรียนเก่าพรานหลวง ฉัตร สุนทรายน ได้เล่าให้ฟังว่า ท่านได้เป็นผู้เชิญธงศารทูลธวัช (ธงไชยเฉลิมพลเสือป่า) กรมเสือป่าพรานหลวงรักษาพระองค์เข้ากระบวนแห่พระบรมศพในการพระเมรุท้องสนามหลวง เมื่อเดือนมีนาคม ๒๔๖๘ เมื่อเวียนพระเมรุมาศเสร็จก็เดินธงนั้นเลี้ยวเข้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร นับแต่นั้นมาธงเสือป่าก็ถูกเก็บไว้ในพิพิธฑภัณฑ์เหมือนกิจการเสือป่าที่หายเข้าป่าไป ในส่วนพระราชวังสนามจันทร์ซึ่งทรงใช้เป็นประชุมพลซ้อมรบประจำปีนั้นได้มีพระราชพินัยกรรมให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของพระทายาท หรือให้ใช้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายร้อยทหารบก ทรงพระราชดำริว่า การที่โรงเรียนนายร้อยอยู่ในกรุงเทพฯ นั้นไม่เหมาะสมเพราะอยู่ใกล้แสงเสียงเกินไป แต่โรงเรียนนายร้อยไม่ยอมย้ายอ้างว่าอยู่ไกล ไม่สะดวกสำหรับครูผู้สอน กระทรวงมหาดไทยจึงได้ขอใช้หมู่พระที่นั่งเป็นศาลารัฐบาลมณฑลนครไชยศรี และได้คงใช้เป็นศาลากลางจังหวัดนครปฐมต่อมาจนถึงปลายปี ๒๕๔๖ จึงได้ย้ายไปอยู่ที่ใหม่ที่กลางทุ่ง และสำนักพระราชวังได้เข่สดูแลและจัดเป็นพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระราชวังสนามจันทร์มิได้ใช้เป็นพระราชวังต่อไป ในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ กรมรถไฟหลวงจึงได้รื้อสถานีหลวงพระราชวังสนามจันทร์มาเก็บรักาไว้ที่กรุงเทพฯ ถึงปี ๒๔๗๒ หรือ ๗๓ (จำไม่ได่แน่) เมื่อการก่อสร้าง วังไกลกังวล (วังนะครับ ไม่ใช่พระราชวังอย่างที่เข้าใจกัน) แล้วเสร็จกรมรถไฟหลวงจึงได้นำชิ้นส่วนนั้นไปประกอบเป็นสถานีหลวงหัวหินเพื่อใช้รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองสถานีรถไฟหลวงนี้ก็ถูกทิ้งร้างอยู่นาน ได้มาปรับปรุงเพื่อใช้รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันเมื่อเสด็จฯ ประพาสหัวหินทางรถไฟ และซ่อมครั้งสุดท้ายเมื่อไม่กี่ปีมานี้ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vun
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 21 ต.ค. 05, 00:27
|
|
เกิดขึ้นในช่วงรัชกาลที่6 ประมาณช่วงที่รัชกาลที่6 อภิเษกกับนางสาวเครือแก้ว อภัยวงศ์ หลานเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ในการสมรสครั้งนั้นพระองค์ได้มีการจดทะเบียนสมรสด้วยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
UP
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 21 ต.ค. 05, 04:35
|
|
ขอเรียนถามคุณ V_Mee ครับ
ในเรื่องพลักพลาที่สถานีรถไฟหัวหินนั้น เอกสารของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ระบุไว้ว่า
"การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงได้รื้อถอนมาเก็บไว้ เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ต่อมาในพุทธศักราช ๒๕๑๑ สมัยพันเอกแสง จุลจาริตต์ เป็นผู้ว่าการรถไฟฯ ได้พิจารณาเห็นว่าควรนำเครื่องอุปกรณ์ก่อสร้างของพลับพลาสนามจันทร์มาปลูกสร้างขึ้นใหม่ที่หัวหินเพื่อใช้รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การดำเนินการก่อสร้างนี้ใช้ช่างฝีมือคนไทยและได้มีการทำพิธีเปิดพลับพลาซึ่งได้ตั้งชื่อใหม่ว่า “พลับพลาพระมงกุฎเกล้ฯ” เมื่อวันเสาร์ที่ ๖ เมษายน ๒๕๑๗ โดย สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี"
ทำให้ผมสับสนว่า พลับพลาดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันมีชื่อว่า "พลับพลาพระมงกุฎเกล้าฯ" นั้น ถูกรื้อมาปลูกสร้างไว้ที่หัวหิน เมื่อแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือว่าในรัชกาลปัจจุบันกันแน่ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Nuchana
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 21 ต.ค. 05, 09:12
|
|
 . |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|