เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 12906 ทะเบียนสมรสในเมืองไทยเริ่มใช้เมื่อไร
วันเสาร์
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


 เมื่อ 28 มิ.ย. 05, 16:53

 รบกวนถามท่านผู้รู้ว่าการจดทะเบียนสมรสเริ่มใช้ในเมืองไทยตั้งแต่เมื่อไร ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 29 มิ.ย. 05, 08:23

ปลายรัชกาลที่ 6 ค่ะ
อ่านในกระทู้ เจ้าพระยามหิธร  คห.ที่ 29

ในฐานะสมุหพระนิติศาสตร์ ท่านได้เป็นนายทะเบียนประกอบพิธีอภิเษกสมรสให้เจ้านายหลายพระองค์ รวมทั้งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ เมื่อเป็นพระเจ้าน้องยาเธอกรมขุนสุโขทัยฯ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ ด้วย

พิธีอภิเษกสมรสในรัชกาลที่ 6 ทำคล้ายพิธีฝรั่ง ไม่เหมือนการรดน้ำแต่งงานแบบไทยๆอย่างที่เราเห็นในสี่แผ่นดิน ดิฉันเห็นว่าเป็นเรื่องหายาก ไม่ค่อยมีใครรู้กัน ก็เลยขอเอามาเล่าสู่กันฟัง

ในพระราชพิธีอภิเษกสมรส พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯทรงเป็นประธาน เมื่อเสด็จออกแล้ว เสนาบดีกระทรวงวังก็กราบบังคมทูลเบิกคู่สมรสออกมาถวายคำนับ

แล้วสมุหพระนิติศาสตร์ทำหน้าที่คล้ายพระผู้ประกอบพิธีแต่งงานของฝรั่ง คือตั้งคำถาม ถามคู่สมรส
เช่น
" ฝ่าพระบาทตั้งพระหฤทัยที่จะรับหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณีเป็นชายาด้วยความเสน่หารักใคร่ และตั้งพระทัยจะทะนุถนอมให้มีความสุขสืบไป จนตลอดฉะนั้นฤา"
พระเจ้าน้องยาเธอกรมขุนสุโขทัยฯ ทรงตอบว่า "ข้าพเจ้าตั้งใจเช่นนั้น"
สมหุพระนิติศาสตร์ ทูลถามหม่อมเจ้ารำไพพรรณีว่า
"ท่านตั้งหฤทัยจะมอบองค์ของท่าน เป็นชายาในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา ด้วยความเสน่หาจงรัก สมัครจะอยู่ในโอวาทของพระสามีสืบไป จนตลอดฉนั้นฤา"
หม่อมเจ้ารำไพพรรณีทรงตอบว่า " ข้าพเจ้าตั้งใจเช่นนั้น"

ต่อจากนั้น พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานน้ำสังข์ ทรงเจิม แล้วสมุหพระนิติสาสตร์จัดให้คู่สมรสลงพระนาม พระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย มีสักขีพยานในพระราชพิธีลงพระนามและนาม
ต่อจากนั้นจึงพระราชทานเลี้ยงพระกระยาหารค่ำ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 29 มิ.ย. 05, 08:24

 ไม่ยักออกมาเป็นตัวหนา ค่ะ
ประโยคที่ว่า
แล้วสมุหพระนิติสาสตร์จัดให้คู่สมรสลงพระนาม
นั่นละค่ะคือจดทะเบียนสมรส

แต่ยังไม่ได้ใช้กันในประชาชนทั่วไป
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 29 มิ.ย. 05, 08:44

 เวลาจะลงโค้ด html ในช่องตอบกระทู้ของวิชาการ  ต้องใช้เครื่องหมาย < > แทน เครื่องหมาย [ ] ที่ล้อมคำสั่ง html น่ะค่ะ  เข้าใจว่าโค้ดจะได้ไม่ตีกันกับโค้ดของเว็บมาสเต้อร์น่ะค่ะ

คุณเทาชมพูกลับมาใหม่ๆคงร้อนนะคะ เพราะแถวฟอร์ตคอลลินส์คงอากาศเย็นสบายอยู่  ยังไงทานมะม่วงมันเผื่อด้วยนะคะ
บันทึกการเข้า
วันเสาร์
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 29 มิ.ย. 05, 10:59

 ถ้าเช่นนั้นหมายความว่าใครประสงค์จะจดก็จดไป แต่ไม่มีการบังคับตามกฎหมายเพราะขณะนั้นยังใช้กฎหมายลักษณะผัวเมียอยู่ อย่างนั้นใช่มั้ยคะ  ที่ตั้งคำถามนี้ก็เพราะว่าสัปดาห์ที่แล้วมีโอกาสไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า พบว่าในส่วนข้อมูลนิทรรศการถาวรแสดงให้เห็นว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเมื่อครั้งยังเป็นกรมขุนสุโขทัยฯ ทรงจดทะเบียนสมรส เมื่อ 26 สิงหาคม 2461  เลยกลับมาคิดต่อว่าที่ทำนั้นเป็นไปตามกฎหมายใด  จากข้อมูลของอาจารย์เทาชมพูพอช่วยให้เห็นภาพในการตามข้อมูลต่อได้บ้างแล้ว ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 29 มิ.ย. 05, 11:25

 ขอบคุณค่ะคุณพวงร้อย  ไม่เคยใช้เครื่องหมายมาก่อน
ก็เลยทำผิด  เพิ่งรู้นี่แหละว่าต้องใช้<  >
ถ้างั้นเวบมาสเตอร์ลงเครื่องหมาย [ ] เอาไว้ใช้เองใช่ไหมคะ

เรื่องทะเบียนสมรส  เข้าใจว่ามาใช้กฎหมายใหม่ที่มีสามีภรรยาได้คนเดียว
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 29 มิ.ย. 05, 11:29

 กลับมายังไม่ได้กินมะม่วงมัน
แต่กินข้าวเหนียว ส้มตำ ไก่ย่าง ลาบ ตับหวาน
เพื่อนฝูงเลี้ยง สะใจไปแล้วค่ะ  
บันทึกการเข้า
หม่อมจุมพฏเพ็ชรกล้า
มัจฉานุ
**
ตอบ: 78


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 29 มิ.ย. 05, 19:34

 เคยอ่านผ่านๆมาว่า ร.๖ทรงจดทะเบียนสมรสครั้งแรกกับ พระนางเธอ ลักษมีลาวัณ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 29 มิ.ย. 05, 23:24

 การเสกสมรสระหว่างสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนศุโขทัยธรรมราชา กับ หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสวัสดิวัตวิศิษฎ์ (พระอิสริยยศในขณะนั้น) เป็นการเสกสมรสตามกฎมณเฆียรบาลว่าด้วยการเสกสมรสของพระราชวงศ์ เป็นครั้งแรก  จึงอาจกล่าวได้ว่า ทรงเป็นคู่อภิเสกสมรสที่มีการจดทะเบียนคู่แรกของประเทศสยาม  ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อภเษกสมรสกับคุณเปรื่อง  สุจริตสุดา (ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นพระสุจริตสุดา พระสนมเอก) ก็ได้ทรงจดทะเบียนสมรสเป็นครั้งแรก  
เมื่ออภิเษกสมรสกับพระนางเธอลักษมีลักษมีลาวัณ นั้นมิได้ทรงจดทะเบียนสมรสครับ  เพียงแต่ทรงรับพระนางเธอมาเป็นพระชายาเท่านั้น
การจดทะเบียนสมรสของสามัญชนนั้นมีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ5 ว่าด้วยครอบครัว เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ แล้ว
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 05 ก.ย. 05, 16:50


กรมขุนชัยนาทฯ (เสด็จลุง)  และจอมพล ป. ลงนามเป็นพะยาน เมื่อวันที่  28 เม.ย. 2493 ค่ะ
บันทึกการเข้า
วันเสาร์
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 06 ก.ย. 05, 17:51

 คห.9 อยากทราบว่านำภาพมาจากที่ใด มองไม่ค่อยเห็นรายละเอียดค่ะ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 06 ก.ย. 05, 18:53


ดิฉันเมล์ภาพใหญ่ให้คุณ คห. 10 แล้วค่ะ ต้นฉบับโต 90 MB ดิฉันยังไม่มีโปรแกรม ACDSee จึงวานให้น้องฝ่ายศิลป์ช่วยย่อ หลังเสด็จนิวัติพระนครปี 2493 ในหลวงและ ม.ร.ว. สิริกิตติ์ฯ (ขณะนั้น)  ก็ทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรส  เข้าใจว่าพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ หลังพ้นโทษจากตะรุเตา กลับมาเป็นประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทน โดยจอมพล ป. เป็นนายกฯค่ะ อีกไม่กี่วันต่อมาก็เป็นพิธีราชาภิเษก (ฉัตรมงคล) ค่ะ
ภาพนี้ขณะเสด็จไปพระราชวังไกลกังวล on a honeymoon trip ค่ะ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 06 ก.ย. 05, 19:13


สถานีหัวหินวันนี้ฉูดฉาตา แม้จะคงรูปแบบเดิมค่ะ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 07 ก.ย. 05, 11:22


เพิ่มเติมให้ค่ะ
"กำหนดวันอภิเษกสมรสได้จัดให้มีขึ้นเมื่อวันที่   ๒๘    เมษายน   พุทธศักราช   ๒๔๙๓   ส่วนวันราชาภิเษกนั้นกำหนดให้มีขึ้นตั้งแต่วันที่      ๔  ถึงวันที่   ๘   พฤษภาคม   เฉพาะวันที่   ๕   พฤษภาคม    เป็นวันสำคัญที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกระทำพิธีราชาภิเษกขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ
   พระราชพิธีอภิเษกสมรสนี้มีกำหนดพิธีอย่างพิสดารอย่างหนึ่ง   กล่าวคือ    เพื่อนเจ้าสาวต้องอุ้มไก่ขาวถือไม้เท้าผีสิงและหญิงรูปงาม    อุ้มแมวสีสวาท   และเชิญพระแสงศาสตราวุธ   บรรดาเพื่อนเจ้าสาวเหล่านี้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ    กรมขุนชัยนาทเรนทร   กับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีเป็นผู้ทรงเลือก
   สาวงามทั้งสามได้แก่   ม.จ. หญิงเฟื่องฉัตร    ฉัตรไชย    พระธิดากรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน  (เชิญไม้เท้าผีสิง)    ม.จ. หญิง   รังสีนพดล   ยุคล   พระธิดาพระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล   และ   ม.จ. หญิง   วุฒิเฉลิม    วุฒิชัย   พระธิดากรมขุนสิงหวิกรมเกรียงไกร  (ทั้งสององค์นี้เป็นผู้เชิญพระแสงศาสตราวุธ)

   เวลานั้น   ๙.๓๐  น.   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและหม่อนราชวงศ์หญิง  สิริกิติ์   กิติยากร  ได้เข้าสู่พระราชพิธีอภิเษกสมรส    ต่อพระพักตร์สมเด็จพระศรีสวรินทิรา   บรมราชเทวี   พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า  และพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสก็ได้ดำเนินไปตามกฎหมาย  คือ  ประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์บรรพ  ๕
   ต่อจากนั้น     สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในสมุดทะเบียนสมรส   และได้โปรดให้  หม่อนราชวงศ์หญิง  สิริกิติ์   กิติยากร  ลงนามในทะเบียนนั้นเป็นบุคคลที่สองและแล้วหม่อมเจ้านักขัตมงคล   กิติยากร   ทรงลงพระนามในฐานะ   พระบิดา   ให้ความยินยอมการสมรสตามกฎหมาย   เนื่องจาก   ม.ร.ว. หญิงสิริกิติ์   กิติยากร   ยังไม่บรรลุนิติภาวะแล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ   ให้ราชสักขีลงนามด้วยเป็นเสร็จพระราชพิธีนี้"
จากห้องสมุดคนเมืองบัว
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 07 ก.ย. 05, 16:02


ท่านผู้หญิงเกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เล่าว่า
"รุ่งขึ้น ทั้งสองพระองค์เสด็จฯไปหัวหินเป็นการส่วนพระองค์โดยรถไฟพระที่นั่ง เสด็จฯไปประทับฯ พระตำหนักเปี่ยมสุข พระราชวังไกลกังวล ประมาณ ๓ วัน ตามประเพณีหลังการอภิเษกสมรสและโปรดเกล้าฯให้มีผู้ตามเสด็จแต่เฉพาะที่จำเป็น
ตลอดระยะทางที่รถไฟผ่านตามสถานีต่างๆ

ตลอดทางจนถึงหัวหิน ประชาชนต่างมาคอยเฝ้าฯ อย่างแน่นขจัด ทุกดวงหน้าทีแต่ความเบิกบานแจ่มใส ทรงโบกพระหัตถ์ บางคนที่อยู่ใกล้ก็พระราชทานพระหัตถ์ เขาก็เอามาทูนหัวด้วยวามรักและบูชา และนี่ก็เป็นครั้งแรกที่ทั้งสองพระองค์ เสด็จออกให้ประชาชนต่างจังหวัดได้เข้าเฝ้าฯอย่างใกล้ชิดและเป็นสัญญาณให้เห็นถึงอนาคตที่พวกเขาจะมีโอกาสที่จะได้เข้าเฝ้าฯ และจะเสด็จฯมาทรงรับรู้ความทุกข์สุขของพวกเราเสมอไป"
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 19 คำสั่ง