เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 30 เมื่อ 22 ก.ค. 05, 11:24
|
|
นิยายที่อยู่ในชุดเดียวกับ"ปริศนา" เพราะมีตัวละครแตกแขนงมาจากเรื่องแรกอีกเช่นกัน คือ "เจ้าสาวของอานนท์" เรื่องนี้ อานนท์วิศวกรหนุ่มจากสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตัวละครรองในเรื่องปริศนา มารับบทพระเอก
บทบาทของอานนท์ คือชายหนุ่มผู้แสวงหาหญิงสาวที่เหมาะจะมาเป็นเจ้าสาวของเขา แต่ไม่ว่ากี่คนที่เขาพบ ก็ "ไม่ใช่" ไปเสียทั้งนั้น จนกระทั่งไปติดตั้งเครื่องจักรที่โรงงานมะพร้าว ในสวนของคุณนายตวัน เศรษฐินีลือชื่อของคลองน้ำวน เขาจึงพบครอบครัวชาวสวนที่ศิวิไลซ์อย่างไม่เคยนึกฝัน โส ลูกชายของคุณนายตวันเรียนอยู่ที่อังกฤษ ปลูกบ้านในสวนแบบล็อคเคบินในหนังสือฝรั่ง ครอบครัวนี้เลี้ยงแขกด้วยอาหารฝรั่งเศสอย่างดี รสเหมือนกินในร้านหรูๆของปารีส มีเครื่องแก้วเจียระไน และลูกไม้ถักดอยลี่ปูโต๊ะ อานนท์พบรักกับ สุ สาวน้อยน้องสาวของโส ซึ่งตอนแรกเขานึกว่าเป็นเด็กผู้ชาย สุเป็นผู้หญิงเก่ง ขับเรือ เล่นสกีน้ำ ฟังเพลงคลาสสิค พูดภาษาอังกฤษและจีนเก่ง เกิดและโตในกัวลาลัมเปอร์ พอเรียนจบมารดาก็พาไปเที่ยวรอบโลกมาหนึ่งปี เพื่อเปิดหูเปิดตา
นอกจากนี้ พระองค์เจ้าวิภาวดีฯ ยังทรงเพิ่มรสชาติปัญหาชีวิตครอบครัวที่เข้มข้นว่าสองเรื่องแรกลงในเรื่องนี้ คือชีวิตครอบครัวที่ยุ่งเหยิงแบบคลื่นใต้น้ำของพระยาสุทธาฯ ลุงของปริศนา พระยาสุทธาฯ จำต้องสละความสุขส่วนตัวของท่านและตวันภรรยาคนแรก เพื่อแต่งงานกับภรรยาคนที่สอง ชื่อคุณหญิงเจริญตามคำบังคับของมารดา แต่ชีวิตสมรสก็ล้มเหลว ภรรยาคนแรกหนีหายไปพร้อมลูกในท้อง ภรรยาคนที่สองเป็นแม่บ้านไร้คุณภาพ เจ้าคุณกับคุณหญิงแยกกันโดยพฤตินัยตั้งแต่ก่อนลูกคนที่สามเกิด แต่ก็อยู่ในบ้านเดียวกันอย่างแกนๆ ความปล่อยปละละเลยของคุณหญิงเจริญส่งผลให้สวนิตลูกสาวคนโต กลายเป็นเด็กสาวเหลวไหลใจแตก ไม่รู้จักศักดิ์ศรีของลูกผู้หญิง อยากทำอะไรก็ทำแม้แต่หนีตามผู้ชายและท้องไม่มีพ่อ ไพจิตรลูกคนที่สองก็เป็นเด็กหนุ่มที่เงอะงะขลาดอาย ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง นิศาลูกสาวคนสุดท้องเป็นเด็กใฝ่ดีเรียนเก่ง แต่กิริยามารยาทยังขาดการอบรม ผิดกับคุณนายตวันภรรยาคนแรก ที่เลี้ยงลูกฝาแฝดอย่างดี จบเติบโตเป็นหนุ่มสาวที่สวยงาม มีการศึกษาดี วางตัวดี และมีอนาคตดี
ในตอนท้ายครอบครัวที่พลัดพรากกันไปก็ได้กลับคืนมารวมกันอีกครั้ง พร้อมกับอานนท์ก็ได้แต่งงานกับหญิงสาวที่ตรงกับความใฝ่ฝันของเขา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 32 เมื่อ 22 ก.ค. 05, 16:50
|
|
พระนิพนธ์ประเภทนวนิยายอีกเรื่องหนึ่ง ที่มีผู้อ่านพูดถึงน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับเรื่องอื่นๆ ทั้งที่เป็นนวนิยายชีวิตที่มีสาระโดดเด่น แจกแจงพฤติกรรมของมนุษย์ได้อย่างน่าทึ่ง และไม่ซ้ำแบบนวนิยายอื่นๆ ไม่ว่ายุคเดียวกันหรือยุคต่อมา คือ "นี่หรือชีวิต"
อาจจะเป็นเพราะคนอ่านพระนิพนธ์ส่วนใหญ่ ติดกับความสุขสดชื่นจากเรื่องปริศนา และเป็นรสนิยมของคนอ่านจำนวนมากที่ชอบเรื่องพระเอกนางเอก รักกัน เข้าใจผิดกันและจบกันด้วยความสุข จึงไม่ติดใจเรื่องชีวิตที่ประสบชะตากรรมกันไปคนละแบบ ของพี่น้องสามสาว ชื่อเพ็ญ ลักษณา และวิไล เป็นชีวิตในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง จนถึงราวๆกึ่งพุทธกาล พ.ศ 2500
เพ็ญเป็นพี่สาวคนโตที่สุขุม โอบอ้อมอารี มีชีวิตครอบครัวที่เป็นสุขกับคุณหลวงเมธาวที สามีที่ดีงามพอกัน ทั้งสองไม่มีลูก ชีวิตก็เลยต้องอุปการะหลานๆลูกของน้องสาวทั้งสองแทน
ลักษณาแต่งงานกับนายโอภาส ชายหนุ่มฐานะปานกลางค่อนข้างดี หน้าตาดี ด้วยความหลงรักเขาอย่างไม่ลืมหูลืมตา เมื่อแต่งไปแล้ว มีลูกด้วยกัน 3 คนเธอเพิ่งตระหนักว่าสามีเป็นโรคจิต มีอาการแบบพวกซาดิสม์ อ่อนๆ คือต้องกลั่นแกล้งทรมานลูกเมีย เหมือนเป็นศัตรู เพื่อความสนุกของตน
ลักษณาพยายามทุกทางที่จะให้สามีเลิกนิสัยนี้ แต่เธอก็หมดหวัง ชีวิตเธอและลูกตกอยู่ในความอกสั่นขวัญแขวน ขึ้นกับอารมณ์ดีหรือร้ายของสามี แต่ลักษณาก็มีทิฐิในทางผิด ไม่ยอมกลับไปหาความช่วยเหลือจากพี่น้อง เพื่อให้อนาคตของลูกดีกว่านี้ ปล่อยตัวเองไปตามบุญตามกรรม จนติดเหล้า ติดมอร์ฟีน แล้วตายไปในวัยกลางคน ลูกชายคนกลางหนีออกจากบ้านเพราะทนพ่อข่มเหงน้ำใจไม่ไหว ลูกสาวคนโตกลายเป็นคนเก็บกดมองโลกในแง่ร้าย เพราะพ่อกลั่นแกล้งไม่ให้เธอมีโอกาสมีความรักอย่างเด็กสาวอื่นๆ แต่บีบบังคับปกครองเธอไว้ในอำนาจของเขา ลูกสาวคนเล็กเท่านั้นที่รอดไปได้ แต่ก็ต้องหวุดหวิดกับภัยจากชายชั่วที่เป็นชู้ของน้าสาว จนได้พบแสงสว่างจากครอบครัวของลุงและป้า ได้พบผู้ชายดีและแต่งงานกันในที่สุด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 33 เมื่อ 22 ก.ค. 05, 17:00
|
|
วิไลน้องสาวคนเล็กในสามสาว เป็นผู้หญิงที่มีบุญเก่าติดตัวมามาก นับเป็นตัวละครที่โชคดีที่สุดในเรื่อง คือสวยมาก เกิดในครอบครัวดี ไม่เคยลำบาก แล้วยังได้สามีดี เป็นลูกชายเศรษฐีที่นิสัยดี รักและตามใจภรรยาทุกอย่าง ทำให้วิไลอยู่เหมือนนางพญา ชีวิตหรูหรา อยากได้อะไรก็ได้ทุกอย่างที่เงินเนรมิตได้ ผู้ชายทั้งหนุ่มและไม่หนุ่มพากันห้อมล้อมเอาอกเอาใจ แม้ว่าเธอมีลูกแล้วก็ตาม
วิไลดำเนินชีวิตตรงกันข้ามกับลักษณา คือเธอบั่นทอนทำลายจิตใจคนทุกคนที่รักเธอ ด้วยความหยิ่ง อวดดี หลงตัวเองและเห็นแก่ตัว ไม่มีความเป็นภรรยาและแม่ จนสามีทนไม่ไหวขอหย่า ไปแต่งงานใหม่ กรรมบันดาลให้วิไลหลงรักแมงดาปีกทอง จนลูกสาวทนไม่ได้ต้องตัดขาดจากแม่ไปอยู่กับป้า ในตอนจบของเรื่องวิไลก็สูญเสียทุกอย่างที่เคยมี ทั้งความรัก เงินทองและเกียรติ พาชีวิตไปอับปางกับผู้ชายที่ปอกลอกเธอ
เรื่องนี้เล่าด้วยสำนวนน่าอ่าน ไม่บีบคั้นอารมณ์ผู้อ่าน แฝงความสนุกสนานตามแบบของผู้นิพนธ์ แต่อาจจะด้วยเนื้อเรื่องที่หนักหนาชวนหดหู่ แม้ในตอนจบมีความสุขหลงเหลืออยู่บ้าง ก็ไม่บรรเทาได้มากนัก เรื่องนี้จึงไม่ค่อยจะมีคนเอ่ยถึง แต่ถ้าอ่าน ก็จะพบสาระที่น่าคิดในการดำเนินชีวิตแฝงอยู่เกือบทุกหน้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 34 เมื่อ 23 ก.ค. 05, 10:37
|
|
นวนิยายขนาดสั้นอีกเรื่องหนึ่งที่คนอ่านรู้จักกันแพร่หลายรองลงมาจากปริศนา เพราะเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาของชั้นมัธยมศึกษาอยู่หลายปี คือ "นิกกับพิม"
เป็นจดหมายโต้ตอบกันระหว่างหมา 2 ตัว (คนเขียนก็คือเจ้าของ) นิก หมาบ๊อกเซอร์ ที่หมู่บ้านภูเขียว และพิม หมาพูเดิ้ล ในหมู่บ้านในสวิตเซอร์แลนด์ เล่าเรื่องของนายผ่านสายตาหมาแสนรู้ มีทัศนะแปลกๆ ที่คนรักหมาเท่านั้นจะเห็นเป็นของไม่แปลก เช่นของหอมของมนุษย์ หมารู้สึกว่าเหม็น แต่ของเหม็นของมนุษย์ กลับเป็นของหอมของหมา
เป็นเรื่องที่อ่านได้ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก สำนวนภาษาสดใส ร่าเริง ทำให้คนอ่านพลอยยิ้มไปด้วยกับความฉลาดและไร้เดียงสาของนิก กับ พิม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 35 เมื่อ 23 ก.ค. 05, 11:41
|
|
นวนิยายอีกชุดหนึ่งที่มีคุณค่ามากต่อวงวรรณกรรมไทย หาผู้ที่จะเขียนได้ยาก คือนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ยุโรป ที่พระองค์เจ้าวิภาวดีฯทรงเรียบเรียงขึ้นจากการค้นคว้าหนังสือจำนวนมาก แล้วทรงเล่าด้วยสำนวนของพระองค์เอง เป็นภาษาไทย ที่น่าอ่าน
มีเรื่องยาว 3 เรื่อง คือ พระราชินีนาถวิกตอเรีย คลั่งเพราะรัก และฤทธีราชินีสาว
เรื่องขนาดสั้นอีกเรื่องคือ อภินิหารคมดาบ
ในที่นี้ขอเล่ารายละเอียดเฉพาะเรื่องพระราชินีนาถวิกตอเรียนะคะ
เรื่องนี้แม้ว่าเป็นประวัติศาสตร์ แต่ก็เล่าให้อ่านง่ายในรูปคล้ายนิยาย มีตัวละคร ฉาก บทสนทนา จนทำให้คนอ่านติดตามเรื่องได้อย่างมีรสชาติ เริ่มต้นด้วยฉากที่พระราชินีนาถ เมื่อครั้งทรงเป็นเจ้าหญิงอเลกซานดรินาวิกตอเรีย พระชันษา 18 ปี ทรงอยู่ในพระราชวังพร้อมพระมารดา ดัชเชสออฟเคนท์ผู้เป็นม่ายพระสวามี อย่างเงียบๆ ค่อนข้างประหยัด เพราะดัชเชสไม่ได้มีรายได้อะไรมากมาย
ผู้นิพินธ์ได้เล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในชีวิตเจ้าหญิงไว้ ซึ่งตำราประวัติศาสตร์มักไม่กล่าวถึง แต่เมื่อนำลงในเรื่องนี้ก็ให้ภาพที่มีสีสันเอาการ ดัชเชสออฟเคนท์ทรงเลี้ยงดูพระธิดาอย่างเข้มงวด ถ้าเป็นสมัยนี้ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่ในสมัยครึ่งแรกของศตวรรษที่ 19 เป็นเรื่องไม่แปลกนัก ความเข้มงวดรวมถึงการที่เจ้าหญิงไม่มีวันได้อยู่ตามลำพังเป็นอันขาด แทบจะตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง เมื่อเข้าบรรทม พระมารดาก็บรรทมในห้องเดียวกัน เสด็จไปไหนมาไหนในวัง พระมารดาก็ต้องเสด็จด้วยเสมอ หรืออย่างน้อยถ้าไม่เสด็จ เจ้าหญิงอยู่ไหน ต้องมีพระพี่เลี้ยงอยู่ด้วย กล่าวกันว่าไม่เคยเสด็จลงบันไดตามลำพังโดยไม่มีใครจูงเสียด้วยซ้ำ คุมกันแจอย่างไม่น่าเชื่อ
ทันทีที่พระเจ้าวิลเลียมที่ 4 ผู้เป็นทูลกระหม่อมลุง เสด็จสวรรคต ราชสมบัติตกอยู่กับเจ้าหญิง สิ่งแรกที่พระราชินีนาถสาวน้อยทรงทำ คือโปรดเกล้าฯให้ยกเตียงออกจากห้องบรรทมเดียวกับพระมารดา แยกบรรทมต่างหาก เสด็จไปไหนมาไหนเอง โปรดเกล้าฯให้อัครมหาเสนาบดีได้เข้าเฝ้าตามลำพัง
ทรงเขียนบันทึกประจำวันไว้อย่างละเอียด และขีดเส้นใต้คำว่า "ตามลำพัง" หรือ "คนเดียว" ไว้ ทุกคำ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
ดารากร
อสุรผัด

ตอบ: 47
นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
|
ความคิดเห็นที่ 38 เมื่อ 24 ก.ค. 05, 02:48
|
|
น่าเห็นใจพระองค์ท่านตอนยังทรงพระเยาว์นะคะ ที่เสด็จแม่คอยคุมแจเลย
หลังสอบดิฉันจะไปลองหาหนังสือแนวชีวิตของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงวิภาวดีรังสิตมาอ่านดูค่ะ แต่ก่อนเคยอ่านแค่นวนิยายชุดปริศนา แล้วก็นิกกับพิมเท่านั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 39 เมื่อ 24 ก.ค. 05, 08:46
|
|
การที่พระราชินีนาถทรงได้รับการเลี้ยงดูแบบ ไข่ในหิน ไม่ได้ทรงทำให้เป็นผู้หญิงอ่อนแอปวกเปียก ตรงกันข้าม ทรงพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นหญิงสาวที่ฉลาดเฉลียว เป็นตัวของตัวเอง และฉลาดในการตัดสินใจ ไม่นานหลังครองราชย์ก็ทรง "จัดการ" กับเสด็จแม่ได้อย่างเด็ดขาดแต่ละมุนละม่อม ดัชเชสไม่มีอำนาจบงการอยู่เบื้องหลังได้อย่างที่คนนึกว่าท่านจะมี แม้แต่พระพี่เลี้ยงเลห์เซน ที่ทำท่าว่าจะเข้ามาแทนดัชเชส ก็พ้นจากหน้าที่ไปหลังพระราชินีนาถอภิเษกสมรส บุคคลเดียวที่พระราชินีนาถทรงรักและไว้พระทัยอย่างสูงสุดคือพระสวามี เจ้าชายอัลเบิร์ต แห่งซักซ์-โคบวก-โกธา (ออกเสียงตามในเรื่อง) เจ้าชายเองก็ทรงเป็นสามีที่ดีเลิศ สมกับความรักของพระราชินีนาถ
ความรักของสองพระองค์เป็นตำนานรักของเจ้านายในยุโรปก็ว่าได้ เพราะร้อยและร้อย เจ้านายระดับครองอาณาจักร อภิเษกสมรสกันด้วยความเหมาะสมทางการเมือง ไม่ใช่สมัครใจ 99% อยู่กันไปอย่างแกนๆ ตามหน้าที่ ฝ่ายหญิงก็มักระทมขมขื่นกับความไม่ไยดีของพระสวามี แต่ว่าพระราชินีนาถ ทรงเลือกคู่อภิเษกเอง ด้วยความพอพระทัยส่วนพระองค์ คือเสนาบดีที่เกี่ยวข้อง ทำหน้าที่กลั่นกรอง เลือกรายพระนามเจ้านายหนุ่มๆที่เหมาะสมมาให้ชั้นหนึ่งก่อน แต่การตัดสินพระทัยเป็นของพระราชินีนาถเอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|