เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 10917 อยากรู้เรื่องนครที่มีก่อนสมัยสุโขทัย
หญิงมิน
อสุรผัด
*
ตอบ: 15

เรียนอยู่ค่ะ


 เมื่อ 20 มิ.ย. 05, 00:11

 ประวัติความเป็นมาของ นครต่าง ๆเช่น น่านเจ้า-หนองแส เจนละ ศรีวิชัย โครตบูรณ์ ละโว้ ทวารวดี ขอม หริภุณไชย เขลางค์นคร
ลัวะจักราชหิรัญนครเงินยางเชียงแสน ศรีวิชัย ตามพรลิงค์  นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ โยนกนครชัยบุรีศรีเชียงแสน นันทบุรีศรีนครน่าน ภูกามยาว อู่ทอง(ละโว้)  ศรีอโศก(ศรีธรรมาโศกราช) ค่ะ
บันทึกการเข้า
อ.อ้อย
อสุรผัด
*
ตอบ: 10

วิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี จ.ปทุมธานี 12000


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 20 มิ.ย. 05, 10:14

 สภาพสังคมไทยก่อนสมัยสุโขทัยและสมัยสุโขทัย เป็นสังคมแบบระบบครอบครัวและเครือญาติ ซึ่งเริ่มตั้งแต่เมื่ออพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยโดยมีลักษณะรวมกลุ่มเพื่อช่วยตัวเองในหมู่ญาติและอยู่กันเหมือนครอบครัวใหญ่   ส่วนลักษณะสังคมและการปกครองเป็นแบบพ่อบ้านกับลูกบ้านหรือพ่อขุนกับลูกขุนขนาดของชุมชนเป็นเพียงหมู่บ้านแล้วพัฒนาเป็นเมือง ขยายเป็นแคว้นในที่สุดเช่นแคว้นสุโขทัย ละโว้หริภุญชัย เชียงแสน เชียงใหม่  สถานะของคนไทยในสังคมไม่มีการแบ่งชนชั้นแต่ในปลายสมัยสุโขทัยตรงกับกษัตริย์พญาลิไท เริ่มมีการแบ่งชนชั้นและชนชั้นล่างหรือชนชั้นผู้ปกครองกับชนชั้นผู้อยู่ใต้ปกครอง ทำให้สังคมการปกครองแบบพ่อปกครองลูกเสื่อม ลงกลายเป็นระบบนายกับบ่าว และหัวหน้าสังคมในฐานะพ่อบ้านเริ่มพัฒนาไปเป็นพระมหากษัตริย

อาณาจักรทวารวดี
           มีพื้นที่เกือบทุกภาคของไทยรับอิทธิพลจากอินเดีย ลักษณะส่วนใหญ่เนื่องในศาสนาพุทธนิกายเถรวาท การแบ่งชนชั้นในสังคม   การใช้ภาษาบาลี -  สันสกฤต ศิลปกรรมจะเกี่ยวข้องกับทางด้านศาสนา ได้แก่ การสร้างพระพุทธรูปหรือสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนาเช่น เจดีย์จุลประโทน จังหวัดนครปฐม   ประติมากรรม ได้แก่ ธรรมจักรศิลาขนาดใหญ่

อาณาจักรเชียงแสน
มีศูนย์กลางอยู่ที่อำเภอเชียงแสน   จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และภาคเหนือทั่วไป ลักษณะของศิลปะเนื่องจากศาสนาพุทธเถรวาทจัดเป็นศิลปะไทยแท้
              ด้านสถาปัตยกรรมนิยมสร้างเจดีย์  ( พระธาตุ )  เป็นทรงระฆัง ด้านปะติมากรรมมีพระพุทธรูปเชียงแสนสวยงามมาก พระพักตร์อวบอิ่ม พระวรกายอ้วนล่ำสัน พระรัศมีเป็นรูปดอกบัวตูม
               ผลงานที่ปรากฏได้แก่    เจดีย์วัดป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย พระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่
อาณาจักรหริภุญชัย
     พื้นที่ภาคเหนือของไทยรับวัฒนธรรมจากอาณาจักรทวารวดีโดยสถาปัตยกรรมจะเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาและเป็นต้นแบบของสถาปัตยกรรมแบบล้านนา   เช่น  วัดจามเทวี  และวัดพระธาตุหริภุญชัย
อาณาจักรลพบุรี
ศูนย์กลางลพบุรีและนครราชสีมา บุรีรัมย์ ได้รับอิทธิพลจากเขมรสถาปัตยกรรมนิยมให้หินศิลาแลง และอิฐสร้างเป็นปราสาประติมากรรม    ใช้ศิลาและสำริด พระพักตร์พุทธรูปสี่เหลี่ยมค่อนข้างดุ ผลงานที่ปรากฏได้แก่ สถาปัตยกรรม พระปรางค์สามยอด   ลพบุรี ปราสาทหินมาย นครราชสีมา  ปราสาทเขาพนมรุ้ง  บุรีรัมย์
อาณาจักรศรีวิชัย
พื้นที่ภาคใต้ของไทย ได้แก่  อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช  รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ผลงานที่สำคัญ  คือ เทวรูปและพระพุทธรูป
         สถาปัตยกรรม คือ  พระบรมธาตุไชยา อำเภอไชยา สุราษฎร์ธานี   เทวรูปจะเป็นรูปพระวิษณุและพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 05 ก.ค. 05, 01:06

 เรียนถามผู้รู้หน่อยครับ

พอดีวันนี้ผมค้นเอกสารเก่าเล่มหนึ่ง มีเนื้อหาเกี่ยวกับอาณาจักรทวาราวดีเล็กน้อย
แล้วเจอว่า กรมพระยำดำรงฯ ทรงสันนิษฐานว่า อาณาจักรทวาราวดีเป็นอาณาจักรมอญ และล่มสลายเพราะถูกอาณาจักรพุกามรุกราน

เลยอยากได้ข้อมูลเพิมเติมครับ
เพราะพยายามหาดูแล้ว ยังไม่พบเอกสารอื่นๆครับ

ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ
บันทึกการเข้า
ดารากร
อสุรผัด
*
ตอบ: 47

นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 05 ก.ค. 05, 18:01

 ดิฉันค้นมาได้ดังนี้ค่ะ
ทวาราวดี มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 มีศูนย์กลางอยู่ที่นครปฐม จากหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบบ่งบอกว่า อาณาจักรทวาราวดีมีการติดต่อค้าขายทางทะเลอย่างกว้างขวาง เพราะทวาราวดีมีทางออกสู่ทะเลมากมาย เนื่องจากมีอาณาเขต ติดต่อกับอาณาจักรศรีวิชัยทางทิศใต้และติดต่อไปจนถึงลำพูนทางทิศเหนือ ทางทิศตะวันตกติดต่อกับทางตอนกลางของพม่า ทิศตะวันออกติดต่อกับอาณาจักรเขมรซึ่งได้เริ่มสร้างอาณาจักรขึ้นมาในเวลาไล่เลี่ยกัน แต่จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบเกี่ยวกับทวาราวดีเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน ก็ยังไม่สามารถบ่งบอกเรื่องราวของทวาราวดีได้มากนัก เพราะส่วนมากจะเป็นบันทึกที่กล่าวถึงแต่เรื่องทางศาสนา ไม่ค่อยจะได้กล่าวถึงเหตุการณ์ต่างๆมากนัก ถึงจะมีอยู่บ้างแต่ก็ น้อยเต็มทีและเป็นเรื่องที่ไม่ปะ
ติดปะต่อกัน ทำให้เรื่องราวที่เกี่ยวกับทวาราวดียังไม่มีความชัดเจนพอที่จะหาข้อสรุปได้ บอกแต่เพียงว่า อาณาจักรทวาราวดีมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ส่วนใดบ้าง ประชาชนนับถือศาสนาอะไร พูดภาษาอะไร ซึ่งสรุปได้อย่างกว้างๆเท่านั้น

บันทึกของพระถังซำจั๋งในศควรรษที่ 12 ได้กล่าวถึงอาณาจักรทวาราวดีว่าชื่อ โถโลโปลี มีความเจริญรุ่งเรืองมากทางด้าน การค้า และศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ทิศตะวันตกติดต่อกับอาณาจักรศรีเกษตร (คือพม่าปัจจุบัน) ตะวันออกติดต่อกับอาณาจักรอิสานปุระ (อาณาจักรเขมร)

เมื่อเขมรสร้างอาณาจักรจนเป็นปึกแผ่น และมีความเข้มแข็งมากขึ้นแล้ว ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ทวาราวดีเกิดความอ่อนแอ ทำให้เขมรเข้ามาครอบครองทวาราวดีในหลายยุคหลายสมัย แต่บางครั้งที่เขมรอ่อนแอ มอญก็เข้ามาครอบครองทวาราวดีแทนเช่น
ในสมัยของพระเจ้าอนุรุธ แห่งเมืองพุกาม

จากhttp://www.geocities.com/Nashville/Opry/3009/history/014.htm

พวกขอมขณะนั้นกำลังรุ่งเรืองก็ถือโอกาสตีเมืองของอาณาจักรทวารวดีทีละเมืองสองเมืองจน พ.ศ. 1500 อาณาจักรทวารวดีก็เสื่อมลงเป็นธรรมดาหลังจากที่เจริญรุ่งเรืองอย่างที่สุด และตกอยู่ในอำนาจของขอม พวกขอม คงจะกวาดต้อนผู้คนไปเป็นเชลย นำไปใช้เป็นกำลังทำงานต่าง ๆ คนไทยยังมีตามหัวเมืองโบราณในแคว้นสุวรรณภูมิหลายเมือง เช่น ลพบุรี อู่ทอง กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี แต่ยังไม่มีอำนาจในการปกครองแต่อย่างใด ครั้นเมื่อ พ.ศ. 1800 ซึ่งเป็นเวลาที่ไทยยึดอำนาจการปกครองจากขอมได้ นครปฐมกลายเป็นเมืองร้างไปเสียแล้ว จึงไม่ปรากฎในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง สาเหตุที่เป็นเมืองร้าง เนื่องจากแม่น้ำท่จีนและแม่น้ำแม่กลองซึ่งแต่เดิมเคยไหลผ่านนครปฐมเปลี่ยนทิศทางเดินใหมื่ ไหลผ่านจากตัวเมืองไปมากจนทำให้นครปฐมเป็นที่ดอนขึ้น ไม่เหมาะแก่การทำไร่ทำนา ผู้คนจึงถอยร่นไปอยู่ริมแม่น้ำด้วยเหตุนี้เมืองนครปฐมจึงเสื่อมลง

ส่วนนี้จาก http://www.nakhonpathom.go.th/data/history3.htm  ค่ะ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 05 ก.ค. 05, 22:40

 ขอบพระคุณครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 19 คำสั่ง