นกข.
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 07 พ.ย. 00, 00:01
|
|
ผมนี่ท่าจะชอบหาเรื่องร้อนๆ มาสุมกบาลตัวเอง อดไม่ได้น่ะครับ
การเมืองไทยยุคปลายกรุงธนต่อต้นกรุงเทพฯ มีความยุ่งๆ กันอยู่อย่างที่ทราบๆ นะครับ ผมขอไม่บรรยายละ เพราะรู้ไม่จริง
แต่ท่านที่ศึกษาจริงๆ เคยเล่าให้ผมคนรู้ไม่จริงฟังว่า ในรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนนั้น ทำเนียบสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกไม่มี หรือค้นไม่พบจากหลักฐานร่วมสมัย ร.1 ขณะนั้นทรงเป็นเจ้าพระยาจักรีก็ถือว่าทรงใหญ่พอแรงแล้ว ที่ว่ากันว่าทรงดำรงตำแหน่งนี้นั้น เห็นท่านผู้รู้บอกผมว่า เป็นหลักฐานชั้นหลัง คือชั้นกรุงเทพฯ ท่านผู้ศึกษาจริงๆ ท่านนั้นยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า ราชทินนามขุนนางน่ะ จะมีคำว่า มหากษัตริย์ศึก แล้วก็ นเรศราชสุริยวงศ์ อยู่ได้จริงๆ หรือ ยกเว้นเสียแต่ว่าจะเป็นราชทินนามที่ยกให้กับขุนนางคนที่เผอิญต่อไปจะได้เป็นกษัตริย์ แล้วคนร่วมสมัยจะรู้อนาคตข้างหน้าได้ไง ว่าเจ้าพระยาจักรี ต่อไปจะทรงเป็น ร. 1 เพราะฉะนั้น สรุปว่า มีคนรุ่นหลังเขียนพระราชพงศาวดารสมัยกรุงธนให้ใหม่ เฉลิมพระเกียรติ ร.1
นี่ผมก็ไม่รู้นะครับ ท่านเล่ามาผมก็จำมาเล่าต่อ ได้ยินมาอีกกระแสหนึ่งแก้ว่า (แต่สงสัยจะเป็นประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า ไม่ใช่พงศาวดาร) คนร่วมสมัย คือพระเจ้ากรุงธน ท่านรู้อนาคตจริงๆ น่ะแหละ จะเพราะโหรทำนายหรือทรงนั่งทางในเห็นก็ไม่รู้ล่ะ ว่า ร.1 จะทรงขึ้นเป็นกษัตริย์ต่อไป จึง (ตั้งพระทัย) ตั้งราชทินนามนั้นให้เจ้าพระยาจักรี แก้เคล็ด ว่าจะได้เป็นกษัตริย์ก็นี่ไง ... จะได้ไม่ต้องขึ้นเป็นกษัตริย์จริง แต่ประวัติศาสตร์มันก็เป็นไปตามที่มันเป็นอยู่ดี
ผมจำมาเล่าเฉยๆ ไม่มีความเห็นครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นกข.
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 07 พ.ย. 00, 00:03
|
|
ขอโทษครับตกไป "ทำเนียบรายชื่อราชทินนามขุนนาง ไม่มีที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก หรือค้นไม่พบจากหลักฐานร่วมสมัย"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 07 พ.ย. 00, 09:58
|
|
ถือเป็นอีกความคิดหนึ่งนะคะ ไม่ใช่คำตอบที่ยุติ เพราะเราต่างก็วิเคราะห์ไปตามหลักฐาน และความเห็นส่วนตัวกันทุกคน
เรื่องราชทินนาม "สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก" ที่ว่าไม่มีในทำเนียบขุนนางสมัยธนบุรี และอาจเป็นได้ว่าคนรุ่นหลังแต่งเติมให้นั้น เคยอ่านพบในงานของดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ แต่มีนักประวัติศาสตร์ท่านอื่นวิเคราะห์แบบนี้ด้วยหรือเปล่า ยังหาอ่านไม่พบ โดยส่วนตัว เชื่อว่าตำแหน่งนี้มี การไม่พบในทำเนียบขุนนางไม่ได้แปลว่าไม่มี อาจจะ "มี" แต่ " ไม่พบ" เพราะเป็นกรณีพิเศษจึงไม่ได้ลงไว้ในทำเนียบ เหมือนในสมัยรัตนโกสินทร์ ตำแหน่งสมเด็จเจ้าพระยาสกุลบุนนาค ทั้งองค์ใหญ่องค์น้อยก็ไม่มีในทำเนียบมาก่อน
คำว่า " มหากษัตริย์ศึก" ก็คือผู้กระทำศึกอันยิ่งใหญ่ให้แก่กษัตริย์" ไม่ใช่ "เป็นข้าศึกของกษัตริย์" เหมือนราชทินนามพระยาอภัยราชา ก็ไม่เกี่ยวกับว่าขุนนางคนนั้นเป็นพระราชาแต่อย่างใด และไม่ใช่ใครที่ยิ่งใหญ่ขนาดมาให้อภัยแก่พระราชาได้ แต่เป็น " ผู้ไม่มีภัยต่อราชา" คือขุนนางที่ภักดี นั่นเอง
คำว่า "นเรศราชสุริยวงศ์" หมายถึงว่า เป็นเชื้อสายสมเด็จพระนเรศวร ซึ่งก็เป็นที่เชื่อสืบต่อกันมาว่าในราชวงศ์จักรีด้วยกันว่า ต้นสกุลมีเชื้อสายทางสมเด็จพระนเรศวร สืบทางเจ้าแม่วัดดุสิต พระมารดาของโกษาเหล็กและโกษาปาน ท่านมีเชื้อสายสืบต่อจากราชวงศ์สุโขทัยสายสมเด็จพระนเรศวรและพระมหาธรรมราชา ส่วนจะจริงหรือไม่ มีหลักฐานอะไร คงต้องนึกถึงวัฒนธรรมของไทยก่อนที่การเรียนตามแบบแผนตะวันตกจะเข้ามาว่า เราเชื่อคำบอกเล่าสืบต่อๆกันมาเป็นหลักฐาน การจดจำที่มาของบรรพบุรุษส่วนใหญ่จะเล่าต่อกันมาจากปู่ย่าตายาย ไม่ได้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร คนแรกที่ยืนยันพระราชประวัติของราชวงศ์จักรีคือสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระราชหัตถเลขาที่มีไปถึงเซอร์จอห์น เบาริง
เล่าเกร็ดอีกนิดค่ะ การตั้งราชทินนามขุนนาง ที่ค้นพบในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นๆ จะบอกประวัติ คุณสมบัติ หน้าที่การงาน เอาไว้ด้วย เรียกได้ว่าเป็นประวัติย่อของขุนนางคนนั้นเอาไว้เลย เพราะฉะนั้นก็คิดว่าธรรมเนียมนี้สิบต่อมาจากธนบุรีและอยุธยาตอนปลาย เพราะในหลักฐานหลายๆอย่างเกี่ยวกับการปกครอง และวัฒนธรรม รัตนโกสินทร์ตอนต้นเกือบจะไม่แหวกไปจากอยุธยาตอนปลายและธนบุรีเลย เป็นการสืบเนื่องกันมาโดยตรง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นกข.
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 07 พ.ย. 00, 17:10
|
|
ผมก็ไม่ได้แปล มหากษัตริย์ศึก ว่าเป็นข้าศึกของกษัตริย์นี่ครับ ถ้าเอาง่ายๆ โดยไม่คิดมาก ว่ามีความนัยยอกย้อนอยู่ ผมก็เห็นว่า อาจแปลได้ว่าเป็นนายทหารเอกแม่ทัพใหญ่ที่รบเก่ง ขนาดเป็นราชาของสมรภูมิ เท่านั้น (เดี๋ยวนี้ทหารปัจจุบันเขาก็ยังพูดกัน เช่นว่า เหล่าปืนใหญ่เป็นราชินีของยุทธภูมิ เหล่าไหนก็ไม่รู้เป็นราชา - ทหารฝรั่งพูดนะครับ แต่ทหารไทยก็รู้เรื่อง เพราะตำราเล่มเดียวกัน) อีกอย่าง กษัตริย์ เดิมก็แปลว่า นักรบ อยู่แล้ว แต่ก็ยังรู้สึกแปลกๆ อยู่ดี มหากษัตริย์ศึก จะแปลให้ไม่มีอะไรก็แปลได้ แต่จะคิดมากก็ได้อีก ทำไมต้องมหากษัตริย์... เพราะเผอิญมีคำนี้ที่ใช้แปลว่า King อยู่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ทิด
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 07 พ.ย. 00, 18:25
|
|
แหะๆ ขออนุญาตครับคุณนิลฯ เหล่าปืนใหญ่ถือเป็นราชาแห่งสมรภูมิครับ ส่วนราชินีแห่งสมรภูมิคือเหล่าทหารราบครับ ผมจำได้แม่นทีเดียว เพราะตอนเรียนรักษาดินแดน เคยตอบผิดโดนสั่งวิดพื้นไปร่วมห้าสิบที :-(
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 07 พ.ย. 00, 19:43
|
|
ขออภัยค่ะ ไม่ได้ตั้งใจให้คุณนกข.เข้าใจผิดว่าดิฉันหมายความว่า คุณแปลว่าเป็นข้าศึกของกษัตริย์ แต่เคยได้ยินมา ก็เลยเขียนลงไป คนที่ไม่เชื่อ คงเอาคำว่า "มหากษัตริย์ "มารวมกันเข้า ว่าไม่มีธรรมเนียมจะตั้งราชทินนามขุนนางว่าเป็นมหากษัตริย์ แต่ดิฉันแยกเป็น มหา+ กษัตริย์ศึก ค่ะ เห็นคุณทิดแวะเข้ามาเลยขอถามหน่อย จำเรื่อง "สวนขวา" ในพระบรมมหาราชวังได้บ้างไหมคะ กำลังค้นเรื่องนี้อยู่ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
วราลี
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 07 พ.ย. 00, 21:40
|
|
ยังเคยเห็นเจ้าพระยาจากสกุลมาลากุลชื่อ 'เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี' เลยค่ะ
ดิฉันว่าราชทินนาม 'เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก' จึงไม่น่าเป็นเรื่องแปลกค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
วราลี
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 07 พ.ย. 00, 21:45
|
|
ถ้าดิฉันจำไม่ผิด รู้สึกว่าราชทินนามเต็มๆของสมเด็จเจ้าพระยาพระองค์ใหญ่ กับ สมเด็จเจ้าพระยาพระองค์น้อย แล้วก็สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ก็ออกจะเหมือนๆพระนามพระกษัตริย์เหมือนกันค่ะ ใครมีหนังสือสกุลบุนนาคอยู่ในมือ ลองช่วยตรวจดูหน่อยนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นกข.
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 08 พ.ย. 00, 00:47
|
|
เอ้า - นักศึกษาวิชาทหารนิลกังขา เตรียมยึดพื้น 100 ที ฐานตอบผิด ปฏิบัติ !
1... 2... 3... 4... ฯลฯ ครูฝึกใจร้าย... 50 ... 51 ... แฮกๆ... 75... 76 ... ตอบผิดนิดเดียวโดนตั้งร้อยที ... 82 .. 83 ... โอย จะเป็นลมแล้วครับครู ขอน้ำเย็นๆ ยิ้มหวานๆ เสียงใสๆ ชะโลมใจหน่อยครับ - ไม่เอาครูฝึกครับ ขอจากหลานๆ เอ๊ย น้องๆ วิชาการทีมนี่แหละครับ ... 98 .. 99 ... ครอก -
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลูกมณี (ยิ้มหวาน)
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 08 พ.ย. 00, 01:41
|
|
เอาน้ำเย็นมาเสริ์ฟคุณพี่นิลกังขาเจ้าค่ะ คิกคิก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
อินทาเนีย
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 08 พ.ย. 00, 09:36
|
|
เพราะเหตุใดหรือหลักฐานใดที่ทำให้นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่บางท่านคิดว่าราชทินนาม "เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก" แต่งขึ้นภายหลังครับ?
แล้วการถวายพระเกียรติย้อนหลังในขณะท่านก็ได้เป็นพระมหากษัตริย์ไปแล้ว จะทำไปเพื่อประโยชน์อันใดครับ?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นกข.
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 08 พ.ย. 00, 16:01
|
|
ถ้าจะเอาเหตุผลให้แน่ๆ ว่า ทำไมนักประวัติศาสตร์บางสำนักจึงคิดอย่างนั้น คุณต้องไปถามท่านเองครับ ผมจำมาเล่าเฉยๆ หลักฐานผมก็ไม่ทราบว่าสำนักนั้นใช้อะไร หรือมีหรือไม่ แต่ที่ผมได้ยินอ้างกัน คือหลักฐานเชิงปฏิเสธ ว่าค้นชื่อนี้ไม่พบในทำเนียบ ไม่เชิงเป็นหลักฐานเชิงยืนยัน แต่ถ้าถามผม ซึ่งไม่ใช่นักประวัติศาสตร์ แต่เรียนรัฐศาสตร์มานิดหน่อย ผมจะอธิบายว่า (แต่ไม่ได้แปลว่าผมเชื่อไปแล้วนะครับ) ถ้าจะหาทางอธิบายให้เข้ากับทางรัฐศาสตร์ก็พอจะอธิบายได้ คุณอินทาเนียอาจจะมองว่าการเขียนประวัติศาสตร์ใหม่ เพียงเพื่อเป็นการ "ยอพระเกียรติ" ผู้มีอำนาจ แล้วจะยอพระเกียรติไปทำไมในเมื่อทรงได้รับอำนาจแล้ว ผมขอตอบโดยไม่ชี้ลงไปว่าผมถูกนะครับ ว่า การยอผู้มีอำนาจโดยที่ผู้มีอำนาจนั้นยังมีอำนาจอยู่ เป็นของธรรมดาในทางการเมือง และการหยิบเรื่องเก่า ประวัติเก่าของผู้มีอำนาจนั้นขึ้นมายอ ก็เป็นเรื่องไม่แปลก ทำนองเดียวกับการทำลายศัตรูทางการเมืองโดยหยิบคุ้ยเรื่องเก่ามาว่า (จำเทือกเถาเหล่ากอคุณบรรหาร ศิลปอาชา ได้ไหมครับ) ในขณะเดียวกัน การสร้างประวัติศาสตร์ หรือไม่ต้องสร้างใหม่ก็ได้ การตีความประวัติศาสตร์ให้เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ทำกันมาหลายยุคหลายสมัย ทั่วโลกแหละ
นอกจากนั้น กรณีนี้ไม่เพียงแต่เป็นการเฉลิมพระเกียรติ ร.1 เฉพาะพระองค์เท่านั้น แต่มองได้ว่าเป็นการสร้างความชอบธรรมให้กับการเปลี่ยนแปลงเชิงอำนาจที่เกิดขึ้น เปลี่ยนกลุ่มจากพระเจ้ากรุงธนมาเป็นกลุ่มกรุงเทพฯ คือปฐมกษัตริย์พระราชวงศ์จักรี ถ้าหลักฐานทางประวัติศาสตร์มีอยู่ว่า ท่านทรงเป็นถึง "สมเด็จเจ้าพระยา" (ไม่ใช่แค่เจ้าพระยา - ผมเรียนมายังงั้นนะ ถ้าจริงๆ ท่านเป็นแค่เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ ก็ชักสงสัยว่าใครเขียนตำราเรียนมัธยมให้ผมหว่า ... และเขียนให้เด็กเรียนยังงั้นทำไม...) มีอำนาจสูงในแผ่นดิน ถ้าหลักฐานประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นว่าแผ่นดินกำลังจลาจล เป็นภารกิจของขุนนางผู้ใหญ่ที่สุดขณะนั้นจะจัดการบ้านเมืองให้เรียบร้อย ถ้าหลักฐานประวัติศาสตร์ชี้ว่า พระเจ้าตากสินเสียพระจริต ... เหล่านี้ รวมกัน ก็สามารถสร้างความชอบธรรม สร้างน้ำหนัก แก่การปราบดาภิเษกของท่านได้มากขึ้นครับ แต่ก็อย่างว่า ผมไม่รู้จริงครับ เชิญหาอ่านความคิดเห็นและข้อถกเถียงของนักวิชาการตัวจริงได้ตามอัธยาศัย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 09 พ.ย. 00, 10:45
|
|
ตอบความเห็นที่ ๒๒ ค่ะ สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ = สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ สมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย = สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ ราชทินนามทั้งสองท่านหมายความว่าเป็นพระญาติค่ะ ซึ่งก็เป็นความจริง เพราะถ้านับกันแล้ว สมเด็จเจ้าพระยาทั้งสองก็เป็นลูกของเจ้าคุณนวล น้าสาวแท้ๆของรัชกาลที่ ๒ ถ้าเป็นสามัญชนด้วยกันก็ต้องถือว่าเป็นลูกพี่ลูกน้อง ญาติสนิท แต่ตามธรรมเนียม สามัญชนจะไม่กล้านับญาติกับเจ้านาย คือไม่ประกาศตัวว่าเป็นญาติ ถ้าเจ้านายท่านจะนับท่านก็เป็นฝ่ายนับเอง ในกรณีนี้ ถือว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นฝ่ายนับว่าเจ้าพระยาทั้งสองเป็นพระญาติของท่าน จึงพระราชทานราชทินนามเช่นนี้ ส่วนข้อ ๒๖ ขอไปเรียบเรียงความคิดก่อนแล้วจะมาออกความเห็นค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
วราลี
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 09 พ.ย. 00, 12:39
|
|
คุณเทาชมพูขา ดิฉันหมายถึงราชทินนามเต็มๆแบบที่เป็นสร้อยคล้องจองกันยาวๆค่ะ คุณเทาชมพูลองไปตรวจสอบดูนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
วราลี
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 09 พ.ย. 00, 12:54
|
|
คุณเทาชมพูขา ราชทินนามแบบเต็มที่มีสร้อยยาวๆอย่างที่ดิฉันพูดถึง เช่นอย่างของเจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (ม.ร.ว.อรุณ ฉัตรกุล) ว่า "เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต มหิศรสวามิภักดิ์ สุรินทรศักดิประพัทธพงศ์ จตุรงคเสนาบดี ยุทธวิธีสุขุมวินิต ธรรมสุจริตศิริสวัสดิ พุทธาทิรัตนสรณธาดา อุดมอาชวาธยาศรัย อภัยพิริยปรากรมพาหุ" แบบนี้น่ะค่ะ ของสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อยกับองค์ใหญ่ที่ว่า ก็จะมีสร้อยราชทินนามมีความหมายเป็นผู้ยิ่งใหญ่ราวกับว่าเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ดิฉันจึงว่าของสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|