เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 20819 อยากรู้เรื่องแม่ทับทิม สนมใน ร. 4
หญิงมิน
อสุรผัด
*
ตอบ: 15

เรียนอยู่ค่ะ


 เมื่อ 08 มิ.ย. 05, 22:43

 เคยได้ยินเรื่องนี้มาบ้าง แต่ก็นานมาแล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 10 มิ.ย. 05, 06:45

 ไปได้ยินมาจาก เดอะ คิงก์ แอนด์ ไอ  หรือ แอนนา แอนด์ เดอะ คิงก์ ออฟ ไซแอม รึเปล่าคะ
ถ้าจากเรื่องพวกนั้นละก็ เจ้าจอมทับทิมที่คบชู้แล้วถูกประหาร เป็นตัวละครสมมุติค่ะ
บันทึกการเข้า
ลำดวนเอ๋ยพี่จะด่วนไปก่อนแล้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 175

ความสุขที่แท้อยู่ที่ใจ


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 10 มิ.ย. 05, 14:54


ผมว่าเรื่อง The KinG and I ที่แหม่มแอนนาเขียน คงมีบางแง่มุมที่พอเชื่อถือได้ แต่ส่วนใหญ่ผมว่ามันเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นมากกว่า ตัวผมเองก็ยังไม่เคยอ่านต้นฉบับนะครับได้แต่ดูภาพยนต์คร่าวๆ ก็เห็นว่า เป็นเรื่องที่ดูสนุกแบบนิยาย มากกว่าเรื่องจริง อีกอย่างหนึ่งในทรรศคติผมโดยส่วนตัวแล้ว ในสมัยยุคล่าอาณานิคม หรือแนงคิดลัทธิจักรวรรดินิยมนั้น ชาติตะวันตกมักมองชาติตะวันออกอย่างเราๆว่าล้าหลังเป็นชาติที่ป่าเถื่อน ชาติที่มีอารยธรรมสูงอย่างชาติตะวันตกต้องเข้าไปดูแล(ครอบครอง) แม้แต่ในปัจจุบันความไม่สงบในแถบอ่าวเปอร์เซีย ก็มีส่วนหนึ่งไม่มากก็น้อยมาจากแนวคิดแบบนี้  ผมไม่ได้อคติกับชาติตะวันตก แต่(ยอมรับ)อคติกับลัทธิจักรวรรดินิยม และการมองชาติอื่นว่าต่ำต้อยกว่าชาติตน  ผมคิดว่ามนุษยชาติจะถึงกาลวิบัติก็เพราะเหตุของความไม่ปรองดองกันนี่แหละ การที่ทำร้ายจิตใจของเผ่าพันธุ์ต่างๆ ศาสนาความเชื่อต่างๆ ย่อมนำไปสู่การแตกแยก ผมไม่อยากพูดถึงเรื่อง ที่เกิดขึ้นที่กับมหานาลันทาในอินเดีย และเหตุการณ์อันเกี่ยวเนื่องกับพระเขี้ยวเกี้ยวที่ศรีลังกาในขณะที่อยู่ใต้การปกครองของชาติตะวันตกนะครับ พูดไปก็รังแต่แต่ช้ำใจหาประโยชน์อันใดมิได้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ทุกอย่างเป็นไตรลักษณ์ อนิจจัง(ไม่เที่ยงแท้แน่นอน) ทุกขัง(ทนอยู่ได้ยาก) และอนัตตา(ความไม่ใช่ตัวตน) มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ต้องดับไป  
บันทึกการเข้า
ลำดวนเอ๋ยพี่จะด่วนไปก่อนแล้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 175

ความสุขที่แท้อยู่ที่ใจ


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 10 มิ.ย. 05, 15:16

 ผมขอข้ามเรื่อง เจ้าจอมทับทิมไปนะครับ เพราะในทัศนะส่วนตัว(ย้ำว่าส่วนตัว)ของผม เธอเป็นแค่ตัวละครที่แหม่มแอนนาเขียนขึ้น แต่เท่าที่ดูจากภาพยนตร์ จะเห็นได้ว่าแหม่มแอนนาในผู้นี้ บรรยายว่าตนนั้นได้รับเกียรติยศสูงยิ่งในราชสำนักไทย และได้ถวายพระอักษร พระบาทสมเด็จพระจุมจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงพระเยาว์รวมทั้งถวายแนวคิดเรื่องการเลิกทาส ฯลฯ เรื่องKing and I หรือ Anna and the King (of siam) ในทัศนะผมก็เป็นแค่บันทึกส่วนตัวของหญิงชาวตะวันตก ที่ได้มาสอนภาษาในราชสำนักไทย ในสมัยร.4 ซึ่งเป็นเรื่องที่เธอเขียนจากเรื่องจริง หรือเรื่องที่เธอเพ้อฝันโดยอาศัยเรื่องจริงมาประสมจนแยกจริงเท็จไม่ออก หรือเป็นเรื่องเท็จทั้งสิ้น ก็ไม่มีใครบอกได้ เพราะไม่มีมนุษย์ผู้ใดมีอายุยืนยาวพอที่จะมาบอกเล่าความเป็นจริงได้ ก็ต้องอาศัยหลักฐานต่างๆมาสรุปเอาแต่เพียงเบื้องต้น แต่อย่างไรเสียเรื่องKing and I หรือ Anna and the King (of siam) นั้นก็เป็นเรื่องราวที่มีผู้นิยมไปแล้วทั่วโลก ทำเป็นภาพยนต์ก็หลายครั้ง ละครเพลงก็หลายหน ดังนั้น Siam ในความคิดของคนครึ่งค่อนโลกนี้ก็คงเอนเอียงไปตามละครเสียแล้ว
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 10 มิ.ย. 05, 21:00

 ขออนุญาตตอบแยกเป็นสองส่วนนะครับ

ส่วนแรกเรื่องเจ้าจอมทับทิมแล้วกัน
ก็เท่าที่เคยค้นมาเจ้าจอมทับทิม เป็นสนมเอกในสมัยรัชการที่ 5 เป็นพระมารดาของ
1 พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช (ต้นราชสกุล "จิรประวัติ")
2 พระองค์เจ้าหญิงประเวศวรสมัย
3 พระองค์เจ้าวุฒิชัยเฉลิมลาภ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร (ต้นราชสกุล "วุฒิชัย")
และไม่เกี่ยวกับพระสนมที่ชื่อทับทิมในนวนิยายของแหม่มแอนนาแต่อย่างใด
(เท่าที่จำได้ก็แค่นี้แหละครับเพราะผมค้นต่อจากนวนิยายของแหม่มแอนนานแล้วหาได้เท่านี้นะครับ)

ส่วนเรื่อง The King And I เท่าที่เคยได้ยินผู้ใหญ่พูดกันมาเหมือนว่าในบั้นปลายชีวิตของแอนนา เธออยู่ที่แคนนาดา และมีฐานะไม่สู้จะดีนักเลยเขียนหนังสือเล่มนี้ออกขายเพื่อหาเลี้ยงชีพ และมีการแต่งเติมเนื้อหาที่ไม่เป็นความจริงเพื่อให้หนังสือดูน่าอ่านมากขึ้น
ที่พอจะทราบก็มีเท่านี้แหละครับ


ปล. เห็นด้วยกับความคิดเห็นที่ 2 ของคุณลำดวนเอ๋ยพี่จะด่วนไปก่อนแล้วนะครับเพราะเคยโดนฝรั่งถามว่า "ได้ยินว่าบ้านเธอหนะ พายเรือไปโรงเรียนใช่มั๊ย" ได้ยินแล้วก็ขำดีครับดีกว่าขี่ช้างไปเยอะล่ะ 555+
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 13 มิ.ย. 05, 07:57

 ก่อนอื่นขอแยกแยะออกมาก่อนค่ะ ว่าใครเขียนอะไรกันแน่

เรื่องที่แอนนา เลียวโนเวนส์ เขียน มี ๒ เรื่อง ลักษณะเป็นเรื่องขนาดสั้น  ชื่อ Romance of the Harem กับ   The English Governess in the Court of Siam

ทั้ง 2 เรื่องนี้เป็นนิยาย  ย้ำ  เป็นเรื่องสมมุติ  ที่ใช้ฉากอ้างอิงราชสำนักสยาม ตามประสบการณ์ของแอนนาซึ่งเคยทำงานอยู่ 5 ปี
ถ้าหากว่าใช้ศัพท์อังกฤษ ก็คือ based on เรื่องจริง  ไม่ใช่เรื่องสารคดีจากประสบการณ์
เหตุการณ์บางเหตุการณ์ แอนนาก็สร้างขึ้นมาเอง   ตัวละครก็ดัดแปลงไปจากคนจริงๆที่เธอรู้จัก

ต่อมา  มีมิชชันนารีหญิง ชื่อมากาเร็ต แลนดอน  ซึ่งเคยอยู่ในสยามประมาณ รัชกาลที่ 6 และ 7  
นำชีวิตของแอนนา และนิยายขนาดสั้นทั้ง 2 เรื่อง มาแต่งเป็นนิยายขนาดยาว ชื่อ Anna and the King of Siam

และต่อมา   ก็มีผู้นำไปดัดแปลงเป็นละครบรอดเวย์ชื่อ The King and I
แล้วกลายเป็นหนังฮอลลีวู้ด

ในเมื่อดัดแปลงกันหลายทอด    เราก็คงหวังไม่ได้ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องจริง
แต่ถ้าถามว่าสมมุติล้วนๆ 100 %ไหมก็ไม่ใช่

แต่ส่วนไหนเท็จ ส่วนไหนจริง  ในอดีตมีผู้แยกแยะเอาไว้แล้ว
อาจจะหาอ่านยากอยู่สักหน่อย
ถ้าหากว่าหาเจอแล้วจะมาเล่าให้ฟังค่ะ
บันทึกการเข้า
ลำดวนเอ๋ยพี่จะด่วนไปก่อนแล้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 175

ความสุขที่แท้อยู่ที่ใจ


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 16 มิ.ย. 05, 10:58


คัดมาฝาก"แหม่มแอนนาแวะไปหาเจ้าจอมมารดาเที่ยง ผู้ควบคุมดูแลทับทิม กลับไปรับการฟ้องว่าทับทิมหัวดื้อ เช่น เมื่อถุงส่งขึ้นไปถวายงานพระเจ้าอยู่หัว กลับเที่ยวแอบหลบอยู่ตามห้องเพื่อน ตอนนั้นเจ้าจอมทับทิมอายุเพียง 15 (เป็นเจ้าจอม ขึ้นนถวายงานตั้งแต่อายุ15ทีเดียวเชียวหรอ ?_ลำดวนฯ) แหม่มแอนนาเล่าว่า หลังจากนั้นทับทิมก็มาเรียนหนังสือและบอกให้เขียนชื่อตัวเองเป็นภาษาอังกฤษ มาเรียนอาทิตย์ละ 1-2 ครั้ง และตั้งใจเรียนเป็นพิเศษ  แต่วันหนึ่งได้ขอให้เธอช่วยเขียนคำว่า คุณพระปลัด เป็นภาษาอังกฤษ เธอก็เขียนโดยมิได้เฉลี่ยวใจ ทับทิมรีบลองเอาไว้...ต่อมาทับทิมเกิดหายตัวไป ปรากฏว่าหนีออกจากวัง พระภิกษุสองรูปไปพบที่วัดราชประดิษฐ์ จึ่งนำข่าวเข้ามากราบบังคมทูลพรเจ้าอยู่หัว ทับทิมถูกจับขังตัวในคุกมืด...เจ้าจอมทับทิมถูกนำตัวมาไต่สวนและถูกสั่งโบย 30 ที แต่ลงมือโบยไปได้ครั้งเดียว แหม่มแอนนาก็ทัดทานไว้ ให้รอจนกว่าตนจะเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว กราบขอพระราฃทานอภัยโทษ (มีสิทธิ์มีอำนาจมากขนาดให้หยุดการลงพระราชอาญาได้เลยหรอเนี่ย ?_ลำดวนฯ) หลังจากทูลอ้อนวอนอยู่นานในที่สุด พระเจ้าอยู่หัวก็ตรัสว่าจะส่งทับทิมไปทำงานที่โรงสีข้าวตลอดชีวิต และจะทรงปล่อยพระปลัดให้เป็นอิสระ อย่างไรก็ตาม พอกลับออกมาแล้ว ผู้พิพากษาได้นำรายานการสอบสวนขึ้นทูลเกล้าฯถวาย  พระเจ้าอยู่หัวพิโรธคนทั้งสอง รวมทั้งแหม่มแอนนา รัยสั่งให้ประหารคนทั้งสองต่อหน้าฝูงชน และโปรดให้สร้างที่ประการไว้ตรงกับหน้าต่างบ้านพักของแหม่มแอนนา..." เอาไว้ว่างๆ จะลงพิมพ์ให้อีกนะคัรบผม สนใจไปหาอ่านได้ ส่วนที่ผมคัดมาให้นี้ ผมลอกมาจาก "รักในราชสำนัก" พิมาน  แจ่มจำรัส หน้า 293 เรื่อง เผาเจ้าจอมทับทิม  
บันทึกการเข้า
ลำดวนเอ๋ยพี่จะด่วนไปก่อนแล้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 175

ความสุขที่แท้อยู่ที่ใจ


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 16 มิ.ย. 05, 11:05

 และโดยส่วนตัว ผมก็ไม่ทราบว่า ประเทศไทย(สยาม) เคยมีการลงโทษด้วยเผาทั้งเป็นด้วยหรือ ใครมีความรู้ช่วยบอกผมที ผมเคยได้ยินแต่ เอาดาบตัดหัว หรือไม่ก็ ในถุงแดงแล้วทุบด้วยท่อนจันทน์ จะมีแปลกๆก็เจ้าอนุวงศ์ พระเจ้าเวียงจันทน์ที่กบฏ ต้องพระราชอาญา ประจานที่ท้องสนามหลวงจนพิราลัย
บันทึกการเข้า
ลำดวนเอ๋ยพี่จะด่วนไปก่อนแล้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 175

ความสุขที่แท้อยู่ที่ใจ


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 16 มิ.ย. 05, 11:09

 พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 ได้บันทึกถึงเหตุการณ์ในครั้งนี้ไว้ว่า

"เจ้าพระยาราชสุภาวดีจึงให้พระอนุรักษโยธา พระโยธาสงคราม หลวงเทพนรินทร์ พระนครเจ้าเมืองขอนแก่นราชวงศ์เมืองชนบท กับไพร่ 300 คน คุมตัวอนุกับครอบครัวลงมาส่งถึงเมืองสระบุรี พระยาพิไชยวารีขึ้นไปตั้งรับครอบครัวลงมาส่งเสบียงอยู่นั้น ก็ทำกรงใส่อนุ ตั้งประจานไว้กลางเรือ ให้พระอนุรักษ์โยธา พระโยธาสงครามตระเวนลงมาถึงกรุงเทพมหานคร วันเดือนยี่ ขึ้น ๑๑ ค่ำ โปรดให้จำไว้ทิมแปดตำรวจบุตรหลายชายหญิง และภรรยาน้อยก็ส่งไปเป็นชาวสะดึงทั้งสิ้น
แล้วรับสั่งให้ทำที่ประจานลงหน้าพระที่นั่งพุทธไธยสวรรย์ ทำเป็นกรงเหล็กใหญ่สำหรับใส่อนุที่รั้วตารางล้อมรอบทั้ง ๔ ด้าน มีกรงเหล็กน้อยๆ สำหรับใส่บุตรหลาน ภรรยาอนุถึง ๑๓ กรง มีเครื่องกรมกรณ์ คือ ครก สาก สำหรับโขลก มีเบ็ดสำหรับเกี่ยวแขวน มีกะทะสำหรับต้ม มีขวานผ่าอก มีเลื่อยสำหรับเลื่อยไว้ครบทุกสิ่ง แล้วตั้งขาหยั่งเสียบแป้นเวลาเชัา ๆไขอนุกับอ้ายโยปาศัก ๑ อ้ายโปสุทธิสาร ๑ อ้ายเต้ ๑ อ้ายดวงจันทร์ ๑ อ้ายสุวรรณจักร ๑ อ้ายปัน ๑ บุตรอนุ ๗ คน อีคำปล้องภรรยาอนุ ๑ อ้ายสุริยะ ๑ อ้ายง่อนคำใหญ๋ ๑ อ้ายปาน ๑ อ้ายคำบุ ๑ อ้ายดี ๑ หลานอนุห้าคนรวม ๑๔ คน ออกมาขังไว้ในกรงจำครบแล้ว ให้นางคำปล้องเป็นอัครเทพีถึงพัดกางหมากเข้าไปนั่งปรนนิบัติอยู่ในกรง ให้นางเมียน้อยสาว ๆซึ่งเจ้าพระยาสุภาวดีส่งมาอีกในครั้งหลังนั้น แต่งตัวถือกระบายใส่ข้าวปลาอาหารไปเลี้ยงกันที่ประจาน ราษฎรชายหญิงทั้งในกรุงทั้งนอกกรุงพากันมาดูแน่นอัดไปทุกเวลามิได้ขาดที่ลูกยังญาติพี่น้องต้องเกณฑ์ไปทัพตายเสียครั้งนั้น ก็มานั่งบ่นพรรณนาด่าแช่งทุกวัน
ครั้งเวลาบ่ายแดดร่มก็เอาบุตรหลานที่จับได้มาขึ้นขาหย่างเป็นแถวกันไปร้องประจานโทษต่อเวลาจวนพลบก็เอาเข้ามาจำไว้ที่ทิมดังเก่า ทำดั่งนี้อยู่ได้ประมาณ ๗ วัน ๘ วัน พออนุป่วยเป็นโรคลงโลหิตก็ตายโปรดให้เอาศพไปเสียบประจานไว้ที่สำเหร่"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 17 มิ.ย. 05, 02:56

ดิฉันนึกออกแต่ว่า สามัญชน ความผิดโทษถึงประหารคือการตัดคอ
ทั้งชายและหญิง
มีจนถึงรัชกาลที่ ๕

ส่วนเจ้านาย  โทษขั้นประหารคือใส่กระสอบ ทุบด้วยท่อนจันทน์
อีกอย่างคือถ่วงน้ำ
กรณีหลังใช้กับบุตรหลานเชื้อสายของเจ้าฟ้ากรมหลวงกษัตรานุชิต (เมื่อถูกถอดเป็นหม่อมเหม็น)
ส่วนเผาทั้งเป็น    ตามความเห็นส่วนตัวดิฉันเข้าใจว่าแหม่มแอนนาเอามาจากการประหารแม่มดในสมัยกลาง มากกว่าจะเป็นวิธีของสยาม
เพื่อสร้างสีสันให้เรื่อง

ตอนที่แอนนาไปอาศัยอยู่ในUSA และแต่งเรื่อง ๒ เรื่องนั้น  เธอไม่ได้ตั้งใจจะให้เป็นสารคดีประวัติศาสตร์
เธอแต่งเป็นนิยาย   เล่าถึงดินแดนไกลโพ้นที่คนอเมริกันไม่รู้จัก   ซึ่งย่อมเป็นสีสันที่น่าตื่นตาตื่นใจสำหรับคนอ่าน  
บรรณาธิการก็ยินดีลงพิมพ์  ทำให้แอนนาซึ่งขาดแคลนเงินทอง มีรายได้ขึ้นมาจากหนังสือ ๒ เรื่องนี้
การคมนาคมในสมัยโน้นระหว่างสหรัฐฯและสยาม ห่างไกลกันเหมือนอยู่บนดาวคนละดวง
เธอก็คงไม่คิดว่ามันจะไปก่อความกระทบกระเทือนอะไรให้ดินแดนคนละซีกโลก ซึ่งไม่มีใครในสยามได้อ่านเรื่องของเธอ  
เวลาก็ล่วงเลยมานานนับปี  ตั้งแต่เธอไปเป็นครูพี่เลี้ยงในราชสำนัก

นอกจากนี้  ประวัติของแอนนาที่เจ้าตัวให้ไว้กับคนอื่น กับที่นักประวัติศาสตร์ไปสืบเสาะมา  ก็มีหลายเรื่องที่แอนนาปิดๆบังๆ แจ้งเท็จเอาไว้หลายเรื่อง
อย่างเรื่องเชื้อสายครอบครัว ที่ว่าเป็นอังกฤษนั้น เอาเข้าจริงเธอก็เป็นลูกครึ่ง (หรือเสี้ยว) อินเดีย
สามีที่ว่าเป็นนายทหารอังกฤษ  เสียชีวิตในสงคราม   ที่จริงเป็นแค่เสมียนเล็กๆคนหนึ่ง
ในเมื่อประวัติของเธอเอง เธอยังไม่สามารถพูดจริงได้   เราก็คงไม่หวังว่านิยายที่เธอแต่งจะพิถีพิถันเรื่องข้อเท็จจริง ว่าถูกต้อง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 17 มิ.ย. 05, 04:08

 คุณลำดวน

เชิญอ่านเรื่องจริง/เท็จ เกี่ยวกับแอนนา ที่นักประวัติศาสตร์เขาค้นกันมาได้ ที่นี่ค่ะ
 http://www.thaistudents.com/kingandi/owens.html



Anna Leonowens is world famous as the governess in the Court of Siam due to the popularity of the musical The King and I. Many people believed that they were watching a true story. Not only regarding the antics of the King but also the importance of Anna in the court. The film, starring Yul Brynner, so insulted the Thai people, that it was banned from being shown in Thailand on grounds of historical and cultural distortions. Now, a remake of the movie is being filmed. Can Hollywood make amends for past misdeeds or will history repeat itself? (PICTURE: King Mongkut)



It proved easy for historians to demolish Anna as a trustworthy historian because both her books are filled with glaring errors. Even the title of the most famous is inaccurate for, as King Mongkut's correspondence makes clear, she was hired not as a governess, which implies a broad range of duties, but merely as a teacher of English. In the text she makes elementary blunders regarding Thailand's past, offers an explanation of Buddhism that is either hopelessly confused or shamelessly lifted from other writers, and identifies a picture of Prince Chulalongkorn (her most prominent student) as that being of a princess. Though she claims to have spoken fluent Thai, most of her the examples she offers are incomprehensible even with all possible allowances made for clumsy transliterations.



Her worst errors occur in The Romance of the Harem, when, one historian suggests, "her store of pertinent facts were running low." In this she claims that the King threw wives who displeased him into underground dungeons below the Grand Palace and, most horrific, that he ordered the public tourture and burning of the consort and a monk with whom she had fallen in love, a spectacle Anna claims to have witnessed with her own eyes.



But there were no underground dungeons at the Grand Palace or anywhere else in Bangkok, and there could not have been in that watery soil. Nor was there any public burning, or, if there was, it escaped the attention of every other foreign resident, many of whom also wrote accounts of the same period. Anna simply invented such tales, perhaps to add some spice to what would otherwise have been a rather tepid work, just as she also exaggerated her own influence.



New light has thrown doubt on the authenticity of not only the story but also of Anna's background.
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 20 คำสั่ง