เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 15987 พระพิฆเณศวรทรงนกยูง
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 09 มิ.ย. 05, 00:32

 จดถูก พิมพ์ผิดครับ ไวษณวะ ครับ ไม่ใช่ไศวะ

รบกวนผู้ดูแลแก้ให้ด้วยได้มั๊ยครับ
บันทึกการเข้า
ภารตี
อสุรผัด
*
ตอบ: 26


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 22 ก.ค. 05, 00:31

 พระพิฆเนศวร ค่ะ
บันทึกการเข้า
ภารตี
อสุรผัด
*
ตอบ: 26


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 22 ก.ค. 05, 00:35

 พระพิฆเนศวร ค่ะ
บันทึกการเข้า
บูรพ์
อสุรผัด
*
ตอบ: 4

ทำงาน อุทยานการศึกษา


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 23 ส.ค. 05, 06:40

 ล้นเกล้า ร.๖ ทรงเกี่ยวข้องกับพระพิฆเณศวร์
อย่างไรบ้าง และเรื่องราวประวัติพระพิฆเณศวร์
ที่พระราชวังสนามจันทร์ด้วย ขอท่านผู้รู้ช่วย
เล่าเรื่องให้หลากหลายข้อมูลด้วยครับ.
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 27 ต.ค. 05, 21:59

 ตอบ ค.ห. ที่ 18 ค่ะ เท่าที่ทราบ พระคเณศ เป็นโอรสของ
พระศิวะและพระอุมา เป็นเทพที่สำคัญที่สามารถดลบรรดาล
ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในด้านต่างๆแทบจะทุกด้าน

ไทยบูชาพระคเณศตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในฐานะที่เป็น
เทพแห่งศิลปวิทยาการ ความรอบรู้ และปัญญายิ่งใหญ่
พระองค์มี ๒ พระกร ถือ คัมภีร์และงาหัก คัมภีร์ คือตำรา
ส่วนงาหัก คือ “ทวิลักษณะ” เพื่อแสดงให้เห็นถึงสองเหตุที่แตกต่างกัน
เช่น ความดี-ความชั่ว การเคารพ-การดูหมิ่น
ความซื่อสัตย์-ความคดโกง เป็นต้น

ล้นเกล้าฯ ร. 6 ทรงตราพระราชกฤษฎีกา จัดตั้ง “วรรณคดีสโมสร” วันที่ 23 ก.ค. 2457
และทรงกำหนดให้ใช้รูปพระคเณศเป็นตราเครื่องหมายสัญลักษณ์

เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต ในปี 2468 “วรรณคดีสโมสร” ก็ยุติบทบาทลงไป
พร้อมๆกับกิจกรรมเสือป่า และอื่นๆอีกหลายอย่าง

ต่อมาในปี พ.ศ. 2480 มีการใช้รูปของพระคเณศเป็นตราสัญลักษณ์ของกรมศิลปากร
.
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 29 ต.ค. 05, 12:45

 มาต่อถึงบทบาทของพระคเณศในสมัย ร. 6

เนื่องจาก ล้นเกล้าฯ ร. 6  ทรง ศึกษาที่ประเทศอังกฤษ พระองค์ทรงสนใจวิชาทางภารต
และทรงเชี่ยวชาญในพิธีกรรมต่าง ๆ ของฝ่ายพราหมณ์หรือฮินดูเป็นอย่างมาก
ต่อมาได้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องราวเกี่ยวกับพระคเณศไว้ในบทอาศิรวาทปวงเทพต่างๆ
เช่น ในบทละครเรื่อง สามัคคีเสวก ตอน กรีนิรมิต ทั้งยังทรงสร้างเทวาลัยประดิษฐานเทวรูปพระคเณศ
ขนาดใหญ่ขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระราชวังสนามจันทร์ จ.นครปฐม พระราชทานนามว่า เทวาลัยเคณศร์

กล่าวได้ว่า พระองค์ทรงเป็นผู้นำในการนับถือพระคเณศเป็นบรมครูสูงสุดในทางวรรณกรรม
ที่ทรงตั้งขึ้น โดยดวงพระราชลัญจกรรูปกลมองค์นี้ตามตำแหน่งคือ ดวงพระราชลัญจกรรูปกลม
ลายเป็นรูปพระคเณศนั่งแท่น แวดล้อมด้วยลายกนกสวมสังวาลย์นาค  
หัตถ์ขวา เบื้องบนถือวัชระ เบื้องล่างถืองา
หัตถ์ซ้ายเบื้องบนถือบ่วงบาศ เบื้องล่างถือขันน้ำมนต์

ตรานี้ที่ได้เป็นตราของกรมศิลปากร และมหาวิทยาลัยศิลปากรนั้น ลายกลางเป็นพระคเณศรอบวงกลม
มีลวดลายเป็นดวงแก้ว 7 ดวง อันมีความหมายถึง ศิลป์วิทยาทั้ง 7 แขนงคือ ช่างปั้น, จิตรกรรม,
ดุริยางค์ศิลป์, นาฏศิลป์, วาทศิลป์, สถาปัตยกรรม, อักษรศาสตร์ ฉะนั้นจึงมีการนับถือพระคเณศ
เป็นบรมครูทางศิลปะ หรือในฐานะเทพเจ้าแห่งศิลปกรรมของชาติทุกสาขา
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 29 ต.ค. 05, 13:10

 เอารายชื่อมหาเทพที่สำคัญ มาฝากผู้สนใจค่ะ

ศาสนาพราหมณ์ นับถือว่ามีเทพเจ้าเป็นใหญ่ โดยมีเทพสูงสุด 3 องค์ คือ
พระพรหม พระวิษณุ และ พระศิวะ

ในพระคัมภีร์ปุราณะของศาสนาพราหมณ์ ได้กล่าวถึง
มหาเทพ 8 องค์ด้วยกัน คือ

1. พระพรหม

2. พระวิษณุ (พระนารายณ์)

3. พระศิวะ หรือพระอิศวร (Shiva or Ishvar)

4. พระสุรัสวดี (สรัสวดี) ชายาของพระพรหม

5. พระลักษมี (Lakshmi) ชายาของพระวิษณุ

6, พระอุมา (อุมาปาราวตี – Uma Parvati) ชายาของพระศิวะ

7. พระคเณศ (พระพิฆเณศวร์ - Ganesh) พระโอรสของพระศิวะกับพระอุมา

8. พระสกันท์ (Skanda) หรือ ขันธกุมาร (เทพแห่งการสงคราม)
พระโอรสของพระศิวะกับพระนางอุมา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 29 ต.ค. 05, 15:23


.
บันทึกการเข้า
มัทนา
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 02 พ.ย. 05, 08:04


ลักษมีเทวี  
บันทึกการเข้า
มัทนา
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 02 พ.ย. 05, 08:07


ขอแจมอีกรูปนะคะ พระแม่ทุรคาเทวีค่ะ  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 02 พ.ย. 05, 08:13

 ขอขยายความ  ภาพที่ 24 ก็คือเจ้าแม่กาลีนั่นเองค่ะ
เป็นภาคดุร้ายของพระอุมา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 02 พ.ย. 05, 08:14


นารายณ์ และพระลักษมี ทรงสุบรรณ(ครุฑ)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 02 พ.ย. 05, 08:16


พระนารายณ์ประทับบนอนันตนาคราช
กลางเกษียรสมุทร
พร้อมด้วยพระลักษมี
บันทึกการเข้า
มัทนา
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 02 พ.ย. 05, 12:18

 โดยส่วนตัวแล้วดิฉันนับถือ พระลักษมีค่ะ เพราะพระองค์เป็นเทวีแห่งโชคลาภ และความงาม น่าจะเทียบกันได้กับเทพีวีนัส กระมังคะ
บันทึกการเข้า
มัทนา
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 02 พ.ย. 05, 12:25


เทวีแห่งโชคลาภ  
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 19 คำสั่ง