เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 24072 "หลวงยกกระบัตร" คือตำแหน่งอะไรครับ?
คนไกลบ้าน
บุคคลทั่วไป
 เมื่อ 20 ธ.ค. 00, 18:00

"หลวงยกกระบัตร" คือตำแหน่งอะไรครับ?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 01 พ.ย. 00, 10:54

ตำแหน่งข้าราชการครั้งโบราณสังกัดกระทรวงวัง  มีหน้าที่ออกไปประจำอยู่ตามหัวเมืองเพื่อสอดส่องอรรถคดี,ตำแหน่งเจ้าพนักงานเกี่ยวกับอรรถคดี  ตรงกับอัยการในบัดนี้,  ตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายธุรการของศาล ตรงกับตำแหน่งจ่าศาลในบัดนี้ ,เจ้าหน้าที่จัดการหาเครื่องใช้ของทหาร เขียนเป็น ยุกกระบัตร ก็มี
(จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตฯ พ.ศ. ๒๕๒๕ ค่ะ)
บันทึกการเข้า
คนไกลบ้าน
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 02 พ.ย. 00, 00:02

ขอบคุณมากครับคุณเทาชมพู
บันทึกการเข้า
ดบัสวนี
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 04 พ.ย. 00, 16:30

สวัสดีค่ะ
บันทึกการเข้า
เบิ้ม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 21 ธ.ค. 00, 06:49

อ่านจากนิยายขุนศึก ได้ความว่ามีหน้าที่เตรียม เสบียง ศัตราวุธ เมื่อมีสงคราม คงเท่ากับพลาธิการสมัยนี้ครับ ก็ตรงกับความคิดเห็นที่หนึ่ง หน้าที่สุดท้ายเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
Le Roi du Soleil
อสุรผัด
*
ตอบ: 18

กำลังศึกษาระดับปริญญาเอกแถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียน ประเทศฝรั่งเศส


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 08 ธ.ค. 05, 21:52

 หลวงยกกระบัตร ถ้าเทียบหน้าที่ในปัจจุบันคือ พนักงานอัยการครับ ซึ่งสำนักงานอัยการสูงสุดก็ถือเอาตำแหน่งยกกระบัตร เป็นที่มาของอัยการไทย และยกให้ล้นเกล้าฯ รัชการที่ ๑ ทรงเป็นองค์ปฐมของอัยการไทย เนื่องจากทรงเคยดำรงตำแหน่งยกกระบัตรครับ เรื่องนี้สามารถหาข้อมูงเพิ่มเติมได้ที่พิพิทธภัณฑ์อัยการ ถนนรัชดาภิเษกครับ
บันทึกการเข้า
Dominio
ชมพูพาน
***
ตอบ: 128

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 08 ธ.ค. 05, 21:54

 เล็กๆเคยเรียนเกี่ยวกับหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี ลืมสนิทว่าใครได้ตำแหน่งนี้ค่ะ
บันทึกการเข้า
Le Roi du Soleil
อสุรผัด
*
ตอบ: 18

กำลังศึกษาระดับปริญญาเอกแถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียน ประเทศฝรั่งเศส


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 08 ธ.ค. 05, 22:59

 ก็ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๑ ส่วนยกกระบัตรเมืองตาก คือ สมเด็จพระเจ้าตากสิน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 09 ธ.ค. 05, 06:14

 สมเด็จพระเจ้าตากสิน คือเจ้าเมืองตากไม่ใช่หรือคะ
ก่อนจะได้เป็นพระยากำแพงเพชร แต่ยังไม่ทันไปรับตำแหน่งก็ต้องมารักษากรุงเสียก่อน
บันทึกการเข้า
Le Roi du Soleil
อสุรผัด
*
ตอบ: 18

กำลังศึกษาระดับปริญญาเอกแถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียน ประเทศฝรั่งเศส


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 09 ธ.ค. 05, 06:19

 ก่อนจะได้เป็นเจ้าเมืองตากนั้น ท่านเคยเป็นยกกระบัตรเมืองตากก่อนนะครับ แล้วภายหลังจึงจะได้เป็นเจ้าเมืองตากครับ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 10 ธ.ค. 05, 17:31

 ยกรบัตร หรือ ยกระบัตรนั้น  เป็นตำแหน่งสำหรับมหาดเล็กที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกไปประจำตามหัวเมือง  เพื่อไปศึกษาราชการในหัวเมืองเป็นการเรียนรู้ข้อราชการเพ่อเตรียมที่จะขึ้นเป็นเจ้าเมืองต่อไป  อีกสถานหนึ่งมีหน้าที่คอยเป็นหูเป็นตาและคอยรายงานความเป็นไปในหัวเมืองเข้าไปกราบบังคมทูลพระเจ้าอยู่หัว  ต่อมาในรัชกาลที่ ๕ เมื่อทรงตั้งโรงเรียนมหาดเล็กซึ่งต่อมาในรัชกาลที่ ๖ ยกขึ้นเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ก่อนที่จะประดิษฐานเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙  ผู้ที่จบมาจากโรงเรียนข้าราชการพลเรือนจะได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กรายงาน  ตำแหน่งนี้มีต่อเนื่องมาจนถึงปลายรัชกาลที่ ๖  
ตำแหน่งยกรบัตรในระยะหลังมีทั้ง ยกรบัตรศาล ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นอัยการศาล  ยกรบัตรเสือป่า ทำหน้าที่จัดสร้างและจำหน่ายเครื่องหมายยศเสือป่า ในฝ่ายทหารก็มีตำแหน่งยกรบัตร  ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังตงมีอยู่  แต่ไม่มราบว่าทำหน้าที่อะไร  ทราบแต่เพียงว่าอยู่ในสายพลาธิการ  คู่กับตำแหน่งเกียกกายซึ่งดูแลเองอาหารการกิน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 13 พ.ย. 18, 16:43

ยกกระบัตร ยกระบัตร ยกบัตร ยุกกระบัตร ยุกระบัตร หรือยุกรบัตร คือ ตำแหน่งข้าราชการสังกัดกระทรวงวัง มีหน้าที่ออกไปประจำอยู่ตามหัวเมืองเพื่อสอดส่องอรรถคดี  เป็นตำแหน่งราชการที่มีความสำคัญทางการปกครองมาแต่โบราณ คุณสมบัติของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งยกกระบัตรในอดีตนั้น ต้องถึงพร้อมด้วยชาติวุฒิ เป็นผู้ดีมีตระกูล และคุณวุฒิ เป็นผู้มีความรอบรู้ทั้งด้านนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ ตลอดจนขนบธรรมเนียมปฏิบัติทางราชการเป็นอย่างดี  ทั้งนี้ ตำแหน่งยกกระบัตรเทียบได้กับตำแหน่งอัยการในปัจจุบัน

การรักษาความยุติธรรมในอดีต พระมหากษัตริย์ทรงไม่อาจรับพระราชภาระชำระคดีความต่าง ๆ ได้ครอบคลุมทั่วทั้งพระราชอาณาจักรเพียงพระองค์เดียว จึงทรงแบ่งพระราชอำนาจให้ผู้อื่นช่วยในการรักษาความยุติธรรม ด้วยเหตุนี้ เสนาบดีกระทรวงวัง จึงมีหน้าที่ตั้งยกกระบัตรออกไปอยู่ตามหัวเมือง เมืองละคน สำหรับบอกรายงานการรักษาความยุติธรรมในเมืองนั้น ๆ เข้ามาถวายให้พระมหากษัตริย์ทรงทราบ

นอกจากยกกระบัตรจะทำหน้าที่ดูแลความยุติธรรมประหนึ่งเป็นหัวหน้าศาลในหัวเมืองแล้ว ยังมีหน้าที่ไม่ต่างจากรองเจ้าเมือง ด้วยเป็นผู้ที่กรมวังตั้งออกไป เคยได้ฟังได้เห็นการปฏิบัติราชการใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท ได้ฟังใบบอกพระราชดำรัสตัดสินคดีต่าง ๆ จึงเป็นผู้รู้นโยบายจากทางเมืองหลวง  เมื่อออกไปรับตำแหน่งหน้าที่ตามหัวเมือง จึงเปรียบเสมือนผู้แทนต่างพระเนตรพระกรรณ คอยสอดส่องดูแลทั้งกระบวนการยุติธรรมและความประพฤติของกรมการเมืองอีกด้วย

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตามพระอัยการครั้งแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๑๙๙๑ – ๒๐๓๑) ระบุไว้ว่า หัวเมืองเอก เมืองนครศรีธรรมราช ยกกระบัตร ศักดินา ๑,๖๐๐ ที่พระภักดีราช เมืองโท ยกกระบัตร ศักดินา ๑,๐๐๐ เมืองตรี ยกกระบัตร ศักดินา ๖๐๐ และเมืองจัตวา ยกกระบัตร ศักดินา ๕๐๐
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 13 พ.ย. 18, 16:49

อำนาจและหน้าที่ของยกกระบัตรที่ระบุไว้ในกฎหมายตราสามดวง สามารถจัดแบ่งหมวดหมู่ได้ ดังนี้

ด้านการบริหารและการปกครอง

- คอยสอดส่องดูแลความประพฤติของเจ้าเมืองและกรมการเมือง
- จัดทำรายงานกิจการความเป็นไปในหัวเมืองนั้น ๆ ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์ อนึ่ง ยกกระบัตรจะมาเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์เมื่อใดก็ได้ เจ้าเมืองไม่มีสิทธิ์ห้าม
- ยกกระบัตรต้องรู้จำนวนไพร่พลภายในหัวเมือง เพื่อสามารถกะเกณฑ์จำนวนคนที่มีทะเบียนมาใช้ในราชการงานของหลวงได้ หากไม่รู้ถือว่ามีโทษ

ด้านการทหาร

- หน้าที่เกี่ยวกับการรณรงค์สงคราม เช่น ติดตามเจ้าเมืองไปในราชการสงคราม หรือจัดหาเครื่องใช้ของทหาร

ด้านการยุติธรรม

- คอยสอดส่องอรรถคดีความในหัวเมือง เช่น ศาลมหาดไทย เจ้าเมืองจะออกว่าความตัดสินคดีแต่เพียงผู้เดียวไม่ได้ ต้องมียกกระบัตรนั่งคู่ด้วย  

ด้านการเศรษฐกิจและพิธีการ

- หน้าที่ดูแลเกี่ยวกับทรัพยากรอันมีค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ไม้ฝาง ให้เข้าสู่ท้องพระคลังอย่างปลอดภัย หากยกกระบัตรทุจริตเสียเอง จะได้รับโทษอย่างร้ายแรงถึงประหารชีวิตและริบราชบาตร
- หน้าที่เกี่ยวกับการพระราชพิธี เช่น การจัดให้ข้าราชการและผู้เป็นยกกระบัตรเข้าถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา หรือเจ้าเมืองจะประกอบพิธีการใด ๆ ยกกระบัตรต้องรู้เห็นด้วย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 13 พ.ย. 18, 16:50

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการก่อตั้งกรมอัยการ สังกัดกระทรวงมหาดไทย ตำแหน่งยกกระบัตรยังคงมีอยู่ในทุกหัวเมืองมณฑล โดยเรียกว่า ยกกระบัตรเมือง และยกกระบัตรมณฑล ครั้นถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๙ ทรงมีพระราชดำริเห็นว่า ยกกระบัตรนั้นเป็นคำที่มีมาแต่โบราณ ความหมายและการใช้งานย่อมเปลี่ยนแปลงไปมาก ด้วยเหตุนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมพนักงานอัยการซึ่งแยกกันอยู่หลายกระทรวง เข้ามาอยู่รวมกันในกรมอัยการ สังกัดกระทรวงยุติธรรม และประกาศให้ยกเลิกตำแหน่งยกกระบัตร ให้เรียกว่าอัยการ โดยที่พนักงานอัยการมีไว้สำหรับเป็นทนายแผ่นดิน

เรียบเรียงโดย : ดร.ชาติชาย มุกสง และ นายภาณุพงศ์ สิทธิสาร

http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=ยกกระบัตร
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 14 พ.ย. 18, 12:18

คุณเพ็ญ อธิบายที่มาของคำ ยกกระบัตร ไว้ที่

 http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3629.15

โดยมีคุณหลวงเล็กตอบในกระทู้นั้นว่า  
อ้างถึง
แต่คำว่า ยกระบัตร  (หรือที่เขียนเป็นอย่างอื่น) ไม่ได้เกิดจากการประสมคำ ๒ คำ
เป็นคำคำเดียว ซึ่งจิตรเองก็ทราบ  ส่วนมาจากคำว่าอะไร เอาไว้อภิปรายกันในกระทู้หน้าดีกว่า

แต่กระทู้หน้านั้นไม่ปรากฏ, ไม่ทราบว่าคุณเพ็ญ ได้เจอ "คำคำเดียว ซึ่งจิตรเองก็ทราบ" นั้นบ้างไหม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.102 วินาที กับ 19 คำสั่ง