ศศิศ
|
ซึ่งการวางผังวัดตามคติจักรวาลวิทยา ในวัดหลวงในล้านนา อยู่ในงานวิจัย และได้พิมพ์ออกมาในหนังสือ "ล้านนา จักรวาล ตัวตน อำนาจ" ซึ่งจะขอกล่าวคร่าว ๆ ละกันครับ ว่าเป็นอย่างไร
ทางล้านนาส่วนใหญ่ จะพบว่า พระธาตุ หรือองค์เจดีย์จะอยู่หลังวิหารหลวง
อันพระธาตุ แทน เขาพระสุเมรุ วิหารหลวง แทน ชมพูทวีป และมีวิหารหลังเล้ก ๆ อีก 3 แทน อีก 3 ทวีป (อย่างเช่นที่วัดพระธาตุลำปางหลวง ก็คือ วิหารพระพุทธ วิหารน้ำแต้ม และหอพุทธบาท) บริเวณข่วงหรือลานรอบ ๆ พระธาตุและวิหาร จะเป็น "ทราย" อันแทน สีทันดรสมุทร และกำแพงที่ล้อมรอบ ก็แทนกำแพงจักรวาล
ไม่รู้ว่าคตินี้ จะมีเฉพาะทางล้านนาหรือไม่ครับ ทางภาคกลางมีการจัดวางผังวัดในคติเดียวกัน หรือว่าแตกต่างกันอย่างไรบ้างครับผม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
- ศศิศ -
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 30 พ.ค. 05, 00:03
|
|
วัดไชยวัฒนารามค่ะ ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างตามหลักจักรวาลวิทยา ที่พระเจ้าปราสาททองได้มาจากเขมร
ดูในกระทู้เก่าๆ ก็ได้นะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
จ้อ
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 30 พ.ค. 05, 07:58
|
|
 เอาภาพวัดไชยวัฒนารามมาเป็นภาพประกอบให้ครับ ผมว่าวัดนี้เป็นวัดที่สวยที่สุดวัดหนึ่งในอยุธยาเลยทีเดียวครับ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
จ้อ
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 30 พ.ค. 05, 07:59
|
|
 อีกมุมหนึ่งครับ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
จ้อ
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 30 พ.ค. 05, 08:02
|
|
 ข้างในวัดครับ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
จ้อ
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 30 พ.ค. 05, 08:04
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
จ้อ
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 30 พ.ค. 05, 08:04
|
|
 อ้าวรูปไม่ขึ้น |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
หยดน้ำ
ชมพูพาน
  
ตอบ: 146
คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 30 พ.ค. 05, 10:07
|
|
วัดสุทัศน์เทพวราราม กครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
  
ตอบ: 165
นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 30 พ.ค. 05, 13:55
|
|
เห็นด้วยกับคุณหยดน้ำครับ วัดสุทัศนเทพวรารามฯนั้นเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของแนวคิดจักรวาลวิทยาในสมัยรัตนโกสินทร์ทีเดียวครับ โดยวัดสร้างในตำแหน่งศูนย์กลางของเมือง - พระวิหารหลวงเป็นตัวแทนของเขาพระสุเมรุ - พระอุโบสถเป็นตัวแทนของชมพูทวีป ยังมีองค์ประกอบอื่นอีกมากที่แสดงถึงแนวคิดจักรวาลวิทยาในวัดสุทัศน์ ลองไปหาอ่านดูนะครับ
พระปรางค์วัดอรุณฯ เป็นอีกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดครับ - องค์ปราค์ประธานเป็นตัวแทนของเขาพระสุเมรุ - ปรางค์ทิศทั้ง 4 แสดงถึงทวีปทั้ง 4 ในรอยพระพุทธบาทซึ่งประกอบด้วยสัญลักษณ์มงคล 108 ประการ ก็มีภาพเขาพระสุเมรุ ,ทวีปทั้ง4,พระอาทิตย์ ,พระจันทร์ ฯลฯ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงลักษณะแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
  
ตอบ: 165
นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 30 พ.ค. 05, 14:06
|
|
 เอาภาพพระปรางค์วัดอรุณมาให้ดูนะครับ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
  
ตอบ: 165
นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 30 พ.ค. 05, 14:16
|
|
ความจริงแนวคิดจักรวาลวิทยา ไม่ใช่มีอยู่แต่ในวัดนะครับ ในวังก็มี ยกตัวอย่างเช่นพระที่นั่งองค์สำคัญๆ ที่ใช้ประกอบพระราชพิธีต่างๆ ก็สร้างให้สูงขึ้นลักษณะเหมือนภูเขา มีเทพนม แบก สัตว์หิมพานต์ต่างๆ อันนี้ก็เป็นแนวคิดจักรวาลวิทยาเช่นกัน โดยมีแนวคิดที่ว่า องค์พระมหากษัตริย์นั้นเป็นสมมติเทพ
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
  
ตอบ: 165
นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 31 พ.ค. 05, 00:27
|
|
ขอนอกเรื่องหน่อยนะครับ พึ่งจำได้ว่าเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ผมไปเที่ยวญี่ปุ่นมา ตอนที่ไปไหว้หลวงพ่อโตเมืองนารา ผมสังเกตว่าที่กลีบบัวซึ่งเป็นบัลลังก์ที่พระพุทธรูปประทับอยู่ ก็มีการสลักลายเกี่ยวกับไตรภูมิโลกสัณฐานไว้ โดยเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอนันตจักรวาล ซึ่งประกอบด้วยจักรวาลมากมาย แต่ละจักรวาลก็มีเขาพระสุเมรุเป็นแกนกลาง เห็นแล้วก็แปลกใจ ไม่นึกว่าที่ญี่ปุ่นจะมีแนวความคิดนี้เหมือนกัน ปล.มีแต่รูปหลวงพ่อโตนะครับ รูปที่กลีบบัวผมไม่ได้ถ่ายมาอ่ะครับ
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 03 มิ.ย. 05, 05:38
|
|
เคยมีอาจารย์ผู้ใหญ่เล่าทฤษฎีของท่านให้ผมฟังว่า ลักษณะของกรอบลายสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดแนวตะแคง ที่เรียกกันว่า "กรอบราชวัตร" ที่พบได้ในผ้าสมปักหลายชนิดทั้งสมปักลาย สมปักปูม และสมปักยก หรือ อิทธิพลของลายในการประดับตกแต่งลวดลายต่างๆที่ฝาผนังและเสา ซึ่งเกิดจากอิทธิพลของลายผ้า เป็นการเสนอระบบจักรวาล และ อนันตจักรวาลของคนไทย เช่น ในผ้าสมปักท้องนาค ลายดอกใหญ่ตรงกลางมีความหมายถึงเขาพระสุเมรุ นาคทั้ง 8 ตัวหมายถึงนทีสีทันดร และดอกเล็กที่มุมทั้งสี่แทนทวีปทั้งสี่ แต่เรื่องทฤษฎีนี้ก็มีอาจารย์ผู้ใหญ่อีกหลายท่านไม่ขอออกความเห็น และอีกหลายท่านที่ไม่สนับสนุนเลย ผมเลยไม่ขอสรุปว่าถูกรึเปล่านะครับ เพียงแต่เห็นว่าเข้ากับหัวข้อเรื่องของเจ้าของกระทู้ เลยขออนุญาตเอามาลงไว้ให้อ่านกันนะครับ
ผมพยายามหาภาพผ้าแบบที่ว่าจากในอินเตอร์เนตแต่ก็ไม่เจอนะครับ รบกวนพี่ๆท่านไหนถ้ามีขอรูปด้วยนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|