เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 9417 เชื้อสายเจ้าเมืองแขก
เหลนนางพญา
อสุรผัด
*
ตอบ: 39

หมื่นลี้ ย่อมมีก้าวแรก


 เมื่อ 14 เม.ย. 05, 18:47

 อยากทราบว่า เชื้อสายของเจ้าเมืองแขกเจ็ดหัวเมือง ทางภาคใต้ ในปัจจุบันนี้ ท่านเหล่านั้นได้ใช้นามสกุลอะไรกันบ้างหรือครับ และท่านเหล่านั้น ยังคงสืบสายตระกูล ได้เหมือนกับเจ้านายทางเหนือหรือเปล่าครับ ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
เหลนนางพญา
อสุรผัด
*
ตอบ: 39

หมื่นลี้ ย่อมมีก้าวแรก


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 27 เม.ย. 05, 23:40

 ไปอ่านเจอจากเวปของตระกูลคณานุรักษ์มาครับ เลยก๊อปมาแปะไว้ครับ
 http://www.kananurak.com/mcontents/marticle.php?headtitle=mcontents&id=74133
พระพิพิธภักดี (ตนกูมุกดา อับดุลบุตร) ทายาทเจ้าเมืองยะหริ่ง
พระพิพิธภักดี เดิมมีนามว่า ตนกูมุกดา อับดุลบุตร เป็นบุตรคนโตของพระยาพิพิธเสนามาตย์ (นิโซะ) มีน้อง ๕ คน คือ
๑.  ตนกูไซนับ
๒.  ตนกูบือเซาะ
๓.  ตนกูบราเฮม (นายบรรเทิง อับดุลบุตร)
๔.  ตนกูมะหะหมัด (นายพยงค์ อับดุลบุตร)
๕.  ตนกูเยาะ
เคยได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ต่อมาได้ลาออกจากตำแหน่งเพื่อลงสมัครเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี ซึ่งพระพิพิธภักดีได้รับเลือกตั้งถึง ๔ สมัยติดต่อกัน ภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา ๑ สมัยด้วย ช่วงหลังสุขภาพไม่ดีป่วยเป็นอัมพาต นายบรรเทิง อับดุลบุตร (ตนกูบราเฮม) ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน ปรากฎว่าได้รับการเลือกตั้งต่อมาอีกหลายสมัย
พระพิพิธภักดี ได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ โดยมีภรรยา ๓ คน ดังนี้
๑.  ตนกูเยาะ  มีบุตรด้วยกัน ๑ คน คือ
๑.๑  ตนกูอิสมาแอ
๒.  ตนกูซง  มีบุตร ๑ คน คือ
๒.๑  ตนกูอับดุลฮามิด (นายมานพ พิพิธภักดี)
๓.  นางสวาสดิ์  มีบุตร ๑ คน ธิดา ๓ คน ดังนี้
๓.๑  ตนกูนูรดิน (นายวัยโรจน์ พิพิธภักดี)
๓.๒  ตนกูรอซีดะห์ (นางวัลภา สมุทรโคจร)
๓.๓  ตนกูซาบีดะห์ (คุณหญิงวุจจิรา เด่นอุดม)
๓.๔  ตนกูอาซีซะห์ (นางวัฒนาวิไล อับดุลบุตร)
เชื้อสายของพระพิพิธภักดีที่สืบทอดด้านการเมือง คือเมื่อลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้วมักจะได้รับเลือกตั้งเสมอก็คือ นายบรรเทิง อับดุลบุตร  นายทวีศักดิ์ อับดุลบุตร (บุตรคนที่ ๒ ของนายบรรเทิง)  และ นายวัยโรจน์ พิพิธภักดี

นับได้ว่าตระกูลอับดุลบุตรและตระกูลพิพิธภักดี ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองยะหริ่ง ยังคงมีบทบาททางด้านการเมืองการปกครองของปัตตานีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และยังได้ส่งเสริมศิลปะการเต้นรองเง็งที่เป็นที่นิยมในภาคใต้ที่เจริญรุ่งเรืองมาจากพระราชสำนักในวังยะหริ่ง สมัยของพระยาพิพิธเสนามาตย์ผู้บิดา ให้แพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน
By: หนังสือเรื่อง บุคคลสำคัญของปัตตานี โดย รศ.มัลลิกา คณานุรักษ์ (๒๕๔๕)
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 04 มิ.ย. 05, 17:26

 เจ้าพระยายะหริ่งสายอับดุลบุตร เท่าที่ผมจำได้เดิมไม่ใช่อิสลาม(จะเห็นเวลาหาเสียงพูดกันบ่อยๆเรื่องนี้) และเหมือนจะเคยบวชอยู่ที่วัดพระเชตุพนฯด้วยนะครับ แต่ทางราชสำนักสยามแต่งตั้งให้เป็นพระยายะหริ่งในสมัยรัชกาลที่ 4 เพื่อคานอำนาจกับสายราชวงศ์กะลันตันซึ่งเชิญเข้ามาปกครองปัตตานีหลังจากที่เจ้าพระยาตานีก่อกบฏ
แต่ปัจจุบัน เท่าที่ทราบมาเมื่อคุณวัยโรจน์ย้ายสังกัดพรรคการเมืองจากพรรคเดิมมาเข้าพรรคใหม่ ดูเหมือนว่าความนิยมทางด้านการเมืองจะลดลงไปมากพอสมควรนะครับ ยังไงเดี๋ยวผมหาข้อมูลมาเพิ่มเติมให้อีกครับ
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 20 พ.ย. 05, 14:57

 ต้นตระกูลบุนนาคละครับ เหมือนจะเคยทราบมาว่า มาจากเชื้อสายแขกเช่นกัน แต่คงไม่ใช่จากทางใต้กระมั่ง ครับ เพราะท่านบุนนาค อยู่ร่วมยุคและเป็นพระสหายของร.1 และพระเจ้ากรุงธนฯ จริงเท็จอย่างไรครับคุณเทาชมพู?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 22 พ.ย. 05, 11:42

 เข้าไปที่
 http://www.google.co.th
search คำว่า เฉกอะหมัด
จะได้ประวัติบรรพบุรุษของต้นตระกูลบุนนาค มีอยู่หลายเว็บ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 22 พ.ย. 05, 16:44

 คุณหมูน้อยลองดูหนังสือพิมพ์ผู้จัดการฉบับวันนี้มีเนื้อหาที่น่าสนใจ

สืบสานสาย "สกุลบุนนาค" ตระกูล "ข้าแผ่นดิน"
ซึ่งสืบทอดมาจากแขกเปอร์เซีย

 http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9480000160965
อีกเว็บหนึ่ง  
 http://www.bunnag.in.th  ก็มีประวัติและรูปภาพอย่างละเอียดค่ะ
.
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 22 พ.ย. 05, 17:35

 1. ขอเรียนถามว่า บุนนาค ส่วนใหญ่ในปัจจุบันยังเป็นมุสลิมหรือเปล่าคะ
นึกได้ว่าบิดาของคุณหญิงมณี (บุนนาค) สิริวรสาร คือ พระยาราชานุประพันธ์ (เปีย บุนนาค) นับถือพุทธค่ะ
คุณหญิงเป็นหลานปู่ของเจ้าพระยามหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค)
และหลานทวดของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์  (... บุนนาค)

2. คุณหญิงมณีในวัยเด็ก พูดกับมารดา คุณหญิงดอรีส  ซึ่งเป็นสุภาพสตรีชาวอังกฤษ ภาษาอะไรค่ะ
ดิฉันอ่านไม่พบในอัตของท่าน  ซี่งเล่าการเรียนวรรณคดีอังกฤษที่ Oxford ไว้อย่างน่าสนใจ
แปลกใจว่าท่านไม่เป็น  bilingual

3. ปัจจุบันภาษาอังกฤษโบราณไม่มีใช้กันแล้ว คุณหญิงต้องเรียน (The Canterberry Tales,
Geoffrey Chaucer) ตัวดิฉันก็ถูกเรียน โดยอาจารย์คัดมาให้นักเรียนอ่านอยู่ส่วนหนึ่ง
และต้องแปลให้นักเรียนฟังทีละบรรทัด เพราะให้แปลเองก็แปลไม่ออกอยู่ดี แล้วอย่างนี้หลักสูตร
บรรจุมาให้เรียนเพื่ออะไรค่ะ  เรียนไปก็ไม่มีทางได้ใช้ แทบตาย

เหมือนกับที่เราเรียนวิชาปรัชญาเป็นวิชาบังคับ สำหรับคนไม่ชอบ ยิ่งเรียนยิ่งมืดน่ะคะ
เวลาอ่านหนังสือพวกนี้เสร็จต้องอมลูกกวาด หรือดื่มน้ำมะนาวตาม แก้พะอืดพะอม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 22 พ.ย. 05, 18:52

๑) บุนนาค เป็นพุทธ
แต่เชื้อสายของท่านเฉกอะหมัด ที่เป็นมุสลิมก็มี  ใช้นามสกุลอื่น

เฉกอะหมัดเป็นบรรพบุรุษของหลายตระกูลในปัจจุบัน โดยส่วนหนึ่งได้เปลี่ยนไปนับถือพุทธศาสนา เช่น ตระกูลบุนนาค ปราโมช บุรานนท์ ศรีเพ็ญ จาติกรัตน์ เป็นต้น ซึ่งเชื้อสายท่านในส่วนนี้ได้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนเชื้อสายที่เป็นมุสลิม ได้แก่ ตระกูลต่างๆ เช่น อหะหมัดจุฬา อากายี จุฬารัตน์ ยวงมณี ฯลฯ ซึ่งได้สืบสายในการดำรงตำแหน่งพระยาจุฬาราชมนตรีสืบต่อกันมานับแต่อยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์        ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นจำนวนทั้งสิ้น 13 ท่าน ท่านสุดท้ายคือ พระยาจุฬาราชมนตรี (สอน อหะหมัดจุฬา)
http://66.102.7.104/search?q=cache:wUtXRHSne7cJ:www.muslimthai.com/contentFront.php%3Foption%3Dcontent%26id%3D637+%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84&hl=th
๒) เดาว่าน่าจะพูดอังกฤษ  สังเกตจากพื้นฐานทางภาษาอังกฤษของคุณหญิงมณี ดีมาก
๓)การเรียนวรรณคดีไม่ได้มีประโยชน์ทางด้านใช้สอยอย่างเรียนคำนวน   จะเอาไปประกอบอาชีพอย่างเรียนแพทย์ วิศวฯ สถาปัตย์ฯ ก็ไม่ได้
ถ้างั้นเรียนไปทำไม  คำตอบคือวรรณคดีเป็นภูมิปัญญาของมนุษย์  สร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ทางด้านจิตใจ ไม่ใช่หวังผลทางประกอบอาชีพ

ฝรั่งเรียนวรรณคดีโบราณ อย่างแรกเขาเรียนรู้ถึงวิวัฒนาการของภาษาของพวกเขา  
นอกจากนี้วรรณคดีโบราณยังมีส่วนสัมพันธ์กับศาสนา  ประวัติศาสตร์  สังคม  ค่านิยม ศรัทธาและปรัชญาที่ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรีก เรื่อยมาจนยุคกลาง
การเรียนวรรณคดีจะช่วยความเข้าใจในวัฒนธรรมของวันวาน  รู้ว่าภูมิปัญญาของมนุษย์มาจากจุดไหน พัฒนาและคลี่คลายมายังไงจนถึงปัจจุบัน

Canterberry Tales ของเจฟฟรีย์ ชอสเซอร์ ที่เป็นยาหม้อใหญ่ของคุณ Nuchan ก็เป็นวรรณคดีสำคัญเรื่องหนึ่งของยุคกลาง
คุณค่าทั้งหมดในเชิงสังคม ประวัติศาสตร์ ศาสนา ค่านิยมฯลฯ อะไรๆที่กล่าวมา  นักวรรณคดีบางสกุลก็เห็นว่าเป็นคุณค่ารอง
แต่คุณค่าของการเรียนวรรณคดีอยู่ในตัวของวรรณคดีนั้นเอง  มันเป็นศิลปะหนึ่งในห้าของวิจิตรศิลป์ (ซึ่งเราเข้าใจผิดว่า Fine Arts คือการวาดรูป)  
การเสพศิลปะ ไม่ได้เกี่ยวกับปากท้องก็จริง  แต่มันเป็นการเสพสุนทรียภาพ ซึ่งถือกันว่ามนุษย์เป็นสัตว์โลกชนิดเดียวที่มีความคิดสร้างสรรค์  และสร้างอาหารใจขึ้นมาเพิ่มคุณค่าให้ชีวิตตัวเอง

บรรยายเสียยาว  คุณ Nuchan คงหลับไปแล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 22 พ.ย. 05, 18:54

 ว่างๆจะบรรยายเรื่องปรัชญาให้ฟังค่ะ
ต้องชงกาแฟดำแก่ๆ มาส่งให่ด้วย  
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 23 พ.ย. 05, 00:12

 ไม่หลับหรอกค่ะ ขอบพระคุณสำหรับบทวิเคราะห์ของอาจารย์ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

1. อาจารย์วิเคราะห์เหมือนที่ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ฯ ได้ถ่ายทอดคุณค่าของการเรียนอักษรศาสตร์
ผ่านตัวละคร “ตาอ๊อด” ในเรื่องสี่แผ่นดินให้แม่พลอยฟัง (เผอิญดิฉันเคยอ่านนิยายประเภทนี้
อยู่เรื่องเดียว จึงยกตัวอย่าง เรื่องอื่นไม่ได้ค่ะ)

ประโยชน์ที่เห็นชัดๆจากการอ่านนิยายโบราณจบ คือ ทำให้การอ่านวรรณกรรมอย่างอื่น
ง่ายขึ้นทันตา เช่น หลายๆเรื่องของ Shakespeare’s plays แต่ว่าเจอไม้งามยามขวานบิ่น
เพราะดิฉันเอาวิชาพื้นฐานปี 2 (Canterberry Tales)  มาลงตอนปี 4 น่ะคะ...55555
จึงไม่มีความจำเป็นต้องอ่านเรื่องอื่นๆอีก เว้นแต่ลงวิชาเลือกวรรณกรรมบางอย่าง
เพื่อเอาใจ private tutor   ที่ท่านชวนให้อ่านมานาน พอเริ่มว่างใกล้จบ ดิฉันจึงลงเรียน
เพราะเกรงใจท่านและเรียนแบบรีแลกซ์ เพราะอย่างไรแล้ว ดิฉันสามารถซักถามได้ทุกซอกทุกมุมอยู่แล้ว

2. วันก่อน อาจารย์พูดถึง Existentialism วันนี้ใน นสพ. ผจก. มีคอลัมน์เกี่ยวกับ
วิเคราะห์โลกด้วยภูมิปัญญาตะวันออก ซึ่งดูเหมือนว่าจะเกี่ยวกับปรัชญาที่อาจารย์พูดไว้วันก่อนด้วย
เดี๋ยวดิฉันจะกลับไปอ่านอีกรอบค่ะ วันนี้ต้องโพสต์ฆ่าเวลาเพราะแมนยูจะเตะตี 2 นัดชี้ชะตาเสียด้วย

 http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9480000161060

จำได้ว่าวิชา Comparative Philosophy ที่ลงเรียน อาจารย์ให้นักเรียนเขียน essay
เปรียบเทียบ Nihilism กับ Greek Philosophy   ดิฉันหว่านล้อมอาจารย์ขอเปรียบเทียบกับ
Eastern Philosophy แทน อาจารย์อนุญาต ดิฉันลิงค์ไปที่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
เพราะนึกอย่างอื่นไม่ออก แต่ก็ทำให้บทความ convincing ได้

ในห้องเรียนวิชาปรัชญา หัวข้อหนึ่งของการ debate คือ นักเรียนบางคนไม่นับว่าศาสนามุสลิม
เป็นปรัชญา แต่บางคนก็ค้านโดยยกคำสอนต่างๆของท่านศาสดามาอ้าง
สำหรับศาสนาพุทธ ในประเด็นนี้ไม่ค่อยมีข้อถกเถียงกันเท่าไรค่ะ
ดิฉันจะคอยอ่าน philosophy lecture  ของอาจารย์ ไหนๆก็ดื่มกาแฟดำไปแล้ว ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 23 พ.ย. 05, 07:28

 เอาเค้กกับกาแฟมาเสิฟก่อนค่ะ
ขอเวลาหน่อย

ป.ล. กินแบบนี้ ปลอดแคลอรี่ค่ะ  
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 02 ก.ย. 06, 20:38

 คุณติบอครับ เจ้าเมืองยะหริ่งท่านหนึ่งสมัยเด็กๆถูกนำตัวไปเลี้ยงที่กรุงเทพฯมีชื่อไทยว่า แตง ได้บวชตามพุทธศาสนา แต่ต่อมาถูกส่งกลับไปเป็นเจ้าเมืองยะหริ่ง ท่านกลับไปใช้ชื่อภาษาถิ่นว่า ติมุง และกลับไปนับถือศาสนาอิสลาม ท่านเป็นบิดาของพระยาพิพิธเสนามาตย์ (นิโซะ)
คุณเหลนนางพญาครับ เนื่องจากวัฒนธรรมของชาวมุสลิมใน 3 จังหวัดภาคใต้ไม่มีนามสกุล เดิมใช้ชื่อบิดาเป็นนามสกุลของบุตร เช่นนายอิบรอฮีม บินหะยีนิมะ แสดงว่านายอิบรอฮีม เป็นบุตรของนายหะยีนิมะ ดังนั้นบรรดาทายาทของเจ้าเมืองเก่าปัตตานีจึงมีแตกไปหลายสกุล เช่นเด่นอุดม, ระเด่นอาหมัด, สุไลมาน แต่ที่มีปรากฏว่าได้รับพระราชทานนามสกุลจากรัชกาลที่ 6 คือ "สนิบุตร" ซึ่งปัจจุบันแทบจะไม่เห็นมีผู้ใช้นามสกุลนี้ครับ
ถ้าสายเมืองยะหริ่งก็มีอับดุลบุตร และพิพิธภักดี ทางเมืองสายบุรีก็ใช้สุริยะสุนทร ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 19 คำสั่ง