เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
อ่าน: 19707 ก.ศ.ร กุหลาบ คือใครครับ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 16 พ.ย. 05, 12:09

 ครั้งสุดท้ายนายกุหลาบถูกไต่สวนใน พ.ศ. 2443  เนื่องจากแต่งประวัติสมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทวสา)ขึ้นทูลเกล้าฯถวายเพื่อแจกในงานพระเมรุของสมเด็จ
ในหนังสือเล่มนี้ นายกุหลาบอ้างอิงที่มาไว้หลายแห่ง  เช่น ว่าได้จากกรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงวินิจฉัยว่าผิดเพี้ยนไปจากความจริงหลายแห่ง ก็ทรงตั้งกรรมการสอบสวน
คือสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส   สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนเรศวรฤทธิ์ และพระยาศรีสุนทรโวหาร
ไต่สวนในข้อกล่าวหาว่านายกุหลาบเรียบเรียงหนังสืออันเป็นความเท็จ

คณะกรรมการวินิจฉัยว่านายกุหลาบทำผิดจริง  โทษถึงรับพระราชอาญาจำคุก
แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็มิได้ทรงลงพระราชอาญา   พอพระทัยที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นไปตามที่ทรงมีพระราชวินิจฉัยเท่านั้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 17 พ.ย. 05, 10:35

 การที่ถูกจับได้หลายครั้งว่าภูมิรู้ของนายกุหลาบ มีความผิดพลาดปะปนอยู่   หลายเรื่องก็เป็นการคิดแต่งขึ้นเอง  มีส่วนทำให้ "สยามประเภท"เสื่อมความนิยมลง   จนในที่สุดก็หมดทุนรอน
นายกุหลาบออกหนังสือใหม่ชื่อ "บำรุงปัญญาประชาชน"  " ล้มลุก" ฯลฯ  ออกมาอีกเป็นระยะ   มีลูกชายช่วยดำเนินงาน  แต่หนังสือขายไม่ดี
นายกุหลาบจึงขายบ้างแจกบ้าง ด้วยเจตนาจะเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป

นอกจากนี้นายกุหลาบยังรับตอบปัญหาทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทยโบราณอีกมาก  ผู้อ่านเขียนมาถามนายกุหลาบก็ตอบไป
มีผู้อ่านจำนวนมากอยากรู้ประวัติของต้นสกุลของตน  นายกุหลาบก็ตอบได้ว่าสืบเชื้อสายมาจากใคร   แต่ว่านายกุหลาบรู้มาจากตำราใด เอกสารใด ไม่ได้บอกไว้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 17 พ.ย. 05, 10:35

 เมื่อเลิกทำหนังสือในวัยชรา  นายกุหลาบเลิกทำหนังสือ  แต่เลี้ยงชีพด้วยการรับจ้างพิมพ์หนังสือ  สิ่งพิมพ์ต่างๆและนามบัตร
ด้วยราคาถูกกว่าที่อื่น ทำให้มีผู้มาว่าจ้างไม่ขาดระยะ  ก็พอเลี้ยงชีพได้แม้ว่ายากจนลงกว่าเมื่อวันต้นมากก็ตาม

ในบั้นปลาย นายกุหลาบเริ่มเลอะเลือน    หนังสือสยามประเภทในยุคท้ายๆจึงผิดเพี้ยนไปอย่างมาก
ทำให้หนังสือสยามประเภทถูกเก็บและทำลาย  เพื่อไม่ให้เป็นหลักฐานที่ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดอีกต่อไป
แต่ก็ยังมีจำนวนหนึ่งเหลือรอดอยู่เป็นสมบัติส่วนตัวของเอกชน   จึงมีมาให้อ่านจนทุกวันนี้

นายกุหลาบถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา เมื่อพ.ศ. 2464 ในรัชกาลที่ 6   อายุ 87 ปี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 17 พ.ย. 05, 10:46

 เรื่องราวของนายกุหลาบ ถูกหยิบยกขึ้นมาเล่าถึงอีกครั้งโดยนักวิชาการรุ่นหลัง
บางท่านก็เชิดชูว่านายกุหลาบเป็นสามัญชนที่มีคุณค่า  เป็นผู้เผยแพร่ความรู้ทางประวัติศาสตร์ที่เมื่อก่อนทางการเก็บเอาไว้ ไม่ได้เผยแพร่สู่ประชาชน
นายกุหลาบมาทำให้เป็นที่รู้จักกัน

เรื่องราวต่างๆที่นายกุหลาบเผยแพร่ก็มาจากเอกสารที่ทางการเก็บไว้นั่นเอง  และเชื่อว่ามีเอกสารอื่นๆที่นายกุหลาบได้จากบุคคลสำคัญ
เช่นสังฆราชปาเลอกัวซ์  

ส่วนเรื่องข้อดัดแปลงเรื่องราว  และข้อผิดพลาดนั้น นักวิชาการบางท่านก็ไม่ได้เห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ เท่ากับเจตนาให้ความรู้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 17 พ.ย. 05, 11:07

 มาดูตัวอย่างกันดีกว่าว่านายกุหลาบเขียนอะไรบ้าง

บุคคลหนึ่งที่นายกุหลาบอ้างว่าเป็นเจ้าของเอกสารโบราณทางประวัติศาสตร์  ที่ผลงานตกมาอยู่ในความครอบครองของนายกุหลาบ  จนสามารถนำเนื้อหามาเผยแพร่  เป็นคนที่มีชีวิตอยู่ในสมัยพระเจ้าปราสาททอง
ชื่อบาทหลวงดิป๋อง(นายกุหลาบเรียกว่า "บาหลวงดิป๋อง"
นายกุหลาบบอกว่าบาทหลวงดิป๋อง ไม่ใช่คนฝรั่งเศส เป็นคนอิตาเลียน  เกิดที่กรุงโรม
บิดาเป็นชาติคริก(กรีก) มารดาเป็นชาวกรุงโรม
ท่านมาอยู่เมืองไทยในสมัยพระเจ้าปราสาททอง อยู่ตลอดมาถึงแผ่นดินพระนารายณ์  และตายในสมัยพระเพทราชา
ศพฝังอยู่ที่ป่าช้าวัดฝรั่งชื่อ ซันตะกรอด  ในกรุงละโว้(ลพบุรี)
เดี๋ยวนี้( หมายถึงในสมัยรัชกาลที่ 5) ยังอยู่ที่ลพบุรี
ตามธรรมเนียมศพบาทหลวงฝังในโบสถ์  แต่โบสถ์นี้เล็กมาก ฝังไม่ได้
ต้องฝังหลังโบสถ์  โบสถ์กว้างขวางจึงว่า (ป่าช้า) ไม่ใช่ป่าช้าฝังศพสามัญเลย  
ศพสามัญห้ามไม่ให้ฝังในวัดนี้  วัดนี้อยู่ใกล้พระบรมมหาราชวัง

นายกุหลาบอ้างต่อไปว่า บาทหลวงดิป๋อง เขียนจดหมายเหตุ ตีพิมพ์เล่มใหญ่
อักษรละตินบ้าง อักษรฝรั่งเศสบ้าง
ชื่อว่า ละโว้ เล่มหนึ่ง  ชื่อลียองเล่มหนึ่ง ชื่อลัยออนเล่มหนึ่ง
ชื่อโนมินา เป็นภาษาละตินล้วน  มีอักษรภาษาไทยแกมบ้าง
เป็นตัวพิมพ์อักษรไม้มีข้อความตรงๆ  คล้ายๆกับคำให้การขุนหลวงหาวัดกรุงเก่า
มีผิดกันบ้างแต่น้อยคำ
แต่ผิดจากพงศาวดารไทยที่ตีพิมพ์หลายครั้งมากกว่า หมื่นคำใช้ไม่ได้
ฝรั่งเศสกับขุนหลวงหาวัดพูดจริงตลอดเรื่องดีมาก  ของผมมีพร้อมทุกอย่าง
************************
อ่านแล้วคนอ่านจะตีความว่าอะไรไม่ทราบ  แต่ดิฉันเชื่อว่าบาทหลวงดิป๋องไม่มีตัวตน
หนังสือที่นายกุหลาบอ้างจดหมายเหตุของบาทหลวงดิป๋องนั้นเป็นเรื่องที่เอาไปจากหอหลวง  แล้วดัดแปลงแต่งเติมเอง
แต่ถ้าคนไทยสมัยนั้นเชื่อ เพราะนายกุหลาบอ้างอะไรๆข้างบนนี้แบบคนมีภูมิรู้ มีภาษาฝรั่งฟังดูขลังทั้งฝรั่งเศสและละติน
เราก็จะได้อ่านพงศาวดารที่มีข้อแต่งเติมอีก 1 เรื่อง  
เรื่องที่แยกแยะได้ยากที่สุดคือเรื่องจริงที่มีเท็จปน  

ดิฉันอ่านหนังสือปฐมวงศ์ และอภินิหารบรรพบุรุษ แล้ว   รู้สึกเป็นส่วนตัวว่ามีบางฉาก บางตอน
ที่นายกุหลาบน่าจะแต่งขึ้นมา เนื้อความออกไปทางนิยาย มีฉาก ตัวละคร บทสนทนา
แต่ในเมื่อยากจะแยกความเท็จออกจากความจริงได้    การอ้างอิงเรื่องเหล่านี้ก็ยังมีให้เห็นกันได้ในหมู่ผู้ศึกษาในยุคหลัง
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 19 พ.ย. 05, 15:05

 อาจารย์คะ ตกลงว่านายกุหลาบไม่ติดคุกเหรอคะ เป็นไปได้ไหมว่ามันเป็นเรื่องของการตกกระไดพลอยโจน

คนเราบางครั้ง อาจไม่มีเจตนากระทำผิด แต่สถานการณ์บีบบังคับน่ะคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 21 พ.ย. 05, 12:50

 นายกุหลาบไม่ได้ติดคุกค่ะ แต่ถูกส่งตัวไปโรงพยาบาลบ้า 7 วัน

ไม่เข้าใจค่ะ ตกกระไดพลอยโจนยังไงคะ

เจตนาของนายกุหลาบ มองได้หลายอย่าง  บางคนมองว่าเป็นนักวิชาการสามัญชนที่กล้านำความรู้ซึ่งปกปิดกัน ออกมาเผยแพร่
บางคนก็มองว่าเป็นคนบิดเบือนประวัติศาสตร์  หลอกประชาชนด้วข้อมูลเท็จ

ความเห็นส่วนตัวของดิฉัน คือ  การเผยแพร่ข้อมูลที่กึ่งจริงกึ่งเท็จ โดยที่เจ้าตัวเองก็รู้ว่าเท็จ แต่ก็ยังทำ
ย่อมก่อผลเสียหาย มากกว่าเก็บเอาไว้ไม่เผยแพร่เลย

ทั้งนี้เอกสารเท็จ  ไม่ใช่อย่างเดียวกันกับเอกสารที่ตีความผิดพลาด  หรือเอกสารที่เขียนขึ้นจากความเข้าใจผิด  มันคนละเรื่องกัน  
ดิฉันไม่นำมาเป็นประเภทเดียวกันค่ะ
บันทึกการเข้า
ptoonp
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 15 มี.ค. 09, 11:28

อ่านพบประวัติของ ก.ศ.ร.กุหลาบ ในเวบของวารสารเมืองโบราณ ระหว่างที่ค้นหาเนื้อหาเกี่ยวกับ "มะม่วงพันธุ์พราหมณ์ขายเมีย" ในเนื้อหาของบทความชิ้นนี้ได้พูดถึงถิ่นย่านบ้านแถวบางระมาด บางเชือกหนัง บางพรม และกล่าวถึงประวัติของ ก.ศ.ร.กุหลาบ ว่า เกิดแถววัดประดู่ (ปัจจุบันเรียก วัดอินทราวาส) คลองบางพรม ดังนี้
"ก.ศ.ร. กุหลาบ (กุหลาบ ตฤษณานนท์ พ.ศ. ๒๓๗๗ – ๒๔๖๔) ปัญญาชนชาวสยามคนสำคัญในยุครัชกาลที่ ๕ เคยบันทึกประวัติตนเองไว้ว่า ตนเกิดสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นบุตรคนที่ ๑๓ ของนายเสง และนางตรุศ


“...คลอดที่โรงนาของท่านตรุศมารดา ณะที่ตำบลบ้านบางพรหม ใกล้เคียงวัดประดู่ เนื่องแนวแถวเดียวกันกับบางระมาท...เมื่อท่านตรุศมารดาคลอดนายกุหลาบที่โรงนาแล้วนั้น เปนเวลาบ่ายจวนเย็น ด้วยไปดูผู้คนบ่าวไพร่ให้ทำการนา ครั้นคลอดแล้วจึ่งพานายกุหลาบทารกนั้น ลงเรือชะล่าบันทุกทารกมา เพื่อจะได้กลับไปบ้านของตน เปนธรรมดาชาวนา ต้องใช้เรือชะล่าเพราะเปนที่น้ำตื้น เรือชะล่าท้องแบน ขณะบันทุกทารกลงกลางลำเรือ มารดาอยู่ไฟมาในเรือชะล่าตอนท้าย บ่าวไพร่พายมาข้างศีร์ษะเรือบ้าง ข้างท้ายเรือบ้างหลายคน...”

หลักฐานสำคัญของชีวิตชาวนาตลิ่งชันในอดีตอยู่ถัดจากวัดประดู่ (ปัจจุบันใช้ชื่อว่า วัดอินทราวาส) อันเป็นที่เกิดของนายกุหลาบไปไม่ไกลนัก"

จึงนำมาเล่าต่อให้ทราบโดยทั่วกัน
บันทึกการเข้า
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 03 เม.ย. 09, 20:53

 :)สวัสดีค่ะเข้ามาอ่านนะคะ อายจัง
บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 20 คำสั่ง