เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 19686 ก.ศ.ร กุหลาบ คือใครครับ
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 04 พ.ย. 05, 11:32

 มาแจมด้วยคนค่ะ เอ...เท่าที่ผ่านมาแกยังไม่เพี้ยนนะคะ แต่ชักเข้าใกล้ศรีธนนชัยเข้าไปทุกทีค่ะ

คนอย่างนี้น่าจะเรียกว่า resourceful เสียมากว่าคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 07 พ.ย. 05, 11:17

ถ้าคุณ Nuchan ติดตามอ่านชีวิตของนายกุหลาบต่อไป
จะได้ข้อวิเคราะห์เพิ่มอีกเยอะเชียวละค่ะ
*****************************
วิธีการคัดลอก ตามที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเล่าไว้ ก็คือ
"พอนายกุหลาบได้หนังสือจากวังกรมหลวงบดินทรฯ  ก็ลงเรือจ้างที่ท่าเตียนข้ามฟากไปยังวัดอรุณ
ตามคำพวกทหารมหาดเล็กที่จ้างมาเล่าว่า เอาเสื่อผืนยาวปูที่ในพระระเบียง   แล้วเอาสมุดคลี่วางบนเสื่อตลอดเล่ม  
ให้คนคัดแบ่งกันคัดคนละตอน    คัดหน้าต้นแล้วพลิกสมุดเอาหน้าปลายขึ้นคัด   พอเวลาบ่ายก็คัดสำเนาให้นายกุหลาบได้หมดทั้งเล่ม
.............
นายกุหลาบลักคัดหนังสือด้วยอุบายอย่างนี้มาช้านานเห็นจะกว่าปี    จึงได้สำเนาหนังสือต่างๆไปจากหอหลวงมาก  
แม้จนพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ทั้ง 4 รัชกาล นายกุหลาบก็ลักคัดสำเนาเอาไปได้"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 07 พ.ย. 05, 12:05

 ต้องใช้  what if .... กับเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง ว่า...
ถ้าหากนายกุหลาบได้สำเนาหนังสือทั้งหมดนี้ไป   แล้วไปนั่งอ่านเงียบๆอยู่ที่บ้าน  
เหมือนพวกหนอนหนังสือที่ได้หนังสือใหม่  ก็เข้าห้องปิดประตู ก้มหน้าก้มตาอ่านจนจบ  แล้วเก็บเข้าตู้ไป
เรื่องก็จะไม่มีอะไรเกิดขึ้น  
เพราะว่าเจ้านายก็ไม่ทรงทราบว่าหนังสือถูกขโมยคัดลอกไป   เสมียนหนุ่มๆเหล่านั้นก็ไม่ติดใจอยากรู้   ได้เงินค่าคัดลอกแล้วก็แล้วกัน  ไม่มีใครไปซักถามกระพือข่าว
สำเนาพงศาวดารเหล่านี้ก็คงเก็บมิดชิดอยู่ในตู้หนังสือในบ้านของนายกุหลาบ    จนเจ้าตัวล่วงลับไป ก็คงมีลูกหลานสักคนหนึ่ง(ที่พ่อปลูกฝังให้มีความรู้)เก็บรักษาไว้ หรือเอามาเผยแพร่  
เพราะกว่าจะล่วงมาถึงนายกุหลาบถึงแก่กรรม  ยุคสมัยก็ผ่านไปนาน   จนเรื่องเหล่านี้ไม่เป็นความลับอีกแล้ว
เผลอๆเจ้าหน้าที่หอสมุดในยุคต่อมาอาจจะต้องมาขอยืมสำเนาเหล่านี้ไปตรวจสอบเทียบกับเอกสารในหอหลวง  หรือใช้ทดแทนฉบับเดิมที่ชำรุดเสียหายหรือสูญหายไปก็เป็นได้
อาจจะกลายเป็นพงศาวดารฉบับนายกุหลาบ   มีชื่อติดอยู่เป็นเกียรติ  ทำนองเดียวกับพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 07 พ.ย. 05, 12:08

 แต่มันก็เป็น if ที่ไม่เป็นความจริง   เพราะนายกุหลาบไม่ได้เลือกวิธีนี้     เขาเลือกเส้นทางอีกทางหนึ่ง
นายกุหลาบไม่ได้มีความตั้งใจจะเอาพงศาวดารมาอ่านอยู่คนเดียวเงียบๆ   แต่อยากจะเผยแพร่ นำออกจำหน่าย

วิธีที่แนบเนียนไม่ให้เจ้านายทรงจับได้ว่าไปลอกมาจากหอหลวง ก็คือดัดแปลงข้อความในฉบับที่ตัวเองลอกมา ให้ผิดเพี้ยนไปจากของเดิม ด้วยการแต่งแทรกความใหม่ตามใจ ลงไปตรงโน้นบ้างตรงนี้บ้าง
เผื่อมีใครเอะอะขึ้นมา   จะได้แก้ตัวรอดไปได้ว่า  เขามีฉบับอีกสำนวนหนึ่งซึ่งเป็นคนละชุดกับฉบับในหอหลวง  คือจะได้มาจากไหนก็ตามแต่   เรื่องพรรค์นี้สืบกันยากอยู่แล้ว

ในพ.ศ. 2426 คือปีต่อมา  นายกุหลาบก็เอาหนังสือที่ตัวเองดัดแปลงเสร็จแล้ว เรื่องหนึ่ง  ตั้งชื่อหนังสือว่า "คำให้การของขุนหลวงหาวัด"  
เป็นเรื่องราวคำให้การของพระเจ้าอุทุมพร กับขุนนางไทยที่พม่ากวาดไปเมื่อเสียกรุง พ.ศ. 2310   แล้วไปเล่าเรื่องขนบธรรมเนียมไทยและประวัติศาสตร์ไทยให้พม่าจดลงไว้
ส่งไปให้หมอสมิท พิมพ์ออกเผยแพร่ ให้ประชาชนได้ซื้อหามาอ่านกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 07 พ.ย. 05, 12:09

 ประชาชนอ่าน  ก็พากันตื่นเต้นเพราะไม่เคยรู้เรื่องมาก่อน    ต้นฉบับเดิมในหอหลวงเก็บไว้ลี้ลับไม่เคยออกสู่สายตาใคร  แม้แต่สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ก็ยังไม่เคยพบเห็น
นายกุหลาบก็มีชื่อเสียงขึ้นมาว่าเป็นผู้รู้ประวัติศาสตร์ และมีตำรับตำราน่าทึ่งอยู่ในความครอบครอง

แต่ผู้รู้ตัวจริงซึ่งเป็นเจ้านาย ก็สังเกตว่า "คำให้การของขุนหลวงหาวัด" ไม่ใช่ของเก่าแท้   มีการแต่งแทรกใหม่เป็นตอนๆ  
เอาขนบธรรมเนียมบางอย่างในสมัยรัชกาลที่ 4 แทรกปนลงไปในเรื่องราวสมัยอยุธยา

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เองก็ทรงสังเกตว่า "คำให้การของขุนหลวงหาวัด"...มีเค้ารูปความคล้ายคลึงกับที่ได้ยินเล่ากันมาบ้าง  แต่พิสดารฟั่นเฝือเหลือเกิน"
แต่ก็ไม่มีใครเฉลียวใจสงสัยว่านายกุหลาบแอบไปคัดลอกมาจากหอหลวง จนแล้วจนรอด   เพราะไม่มีใครรู้ว่านายกุหลาบไปได้หนังสือมาจากไหน
และถ้อยคำสำนวนเดิมของหนังสือเป็นยังไง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 08 พ.ย. 05, 09:28

 มาต่อค่ะ

สิ่งเหล่านี้อำนวยผลดีหลายอย่างแก่นายกุหลาบ  อย่างแรกคือในระยะนั้นหอพระสมุดวชิรญาณเริ่มอนุญาตให้ราษฎรสามัญได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกได้  
หอสมุดแห่งนี้ พระราชโอรสและพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงรวมกันก่อตั้ง  มีการออกหนังสือ "วชิรญาณ" และ "วชิรญาณวิเศษ" อีกด้วย
เมื่อเจ้านายทรงเห็นว่านายกุหลาบเป็นปัญญาชนคนรักหนังสือ ก็รับเข้าเป็นสมาชิกหอพระสมุดฯ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2427

อย่างที่สองคือชื่อเสียงของนายกุหลาบในฐานะปัญญาชนก็เลื่องลือไป จนเจ้าพระยานรรัตนราชมานิต (โต มานิตยกุล)ผู้บัญชาการกรมโปลิศท้องน้ำ   เห็นว่าเป็นคนกว้างขวาง
จึงรับเข้าเป็น " แอดชูแตนต์" เทียบเท่าร้อยเอก
ทำหน้าที่นายเวรหรือคนสนิทของผู้บัญชาการ   ไม่ได้มีหน้าที่ตำรวจ  แต่เป็นงานธุรการหรืองานเลขาฯ เป็นส่วนใหญ่
นายกุหลาบรับราชการอยู่จนกรมโปลิศท้องน้ำถูกยุบเลิกไปในปี 2434
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 08 พ.ย. 05, 09:31

 ย้อนมาทางด้านบทบาทสมาชิกของหอพระสมุดฯ  ก็มีเรื่องราวที่ควรบันทึกไว้  
ในระยะนั้นเป็นยุคตื่นตัวของปัญญาชนรุ่นใหม่สมัยรัชกาลที่ 5  
เจ้านายพระราชโอรสที่ทรงพระเยาว์ในรัชกาลที่ 4 บัดนี้เจริญพระชนม์ขึ้นเป็นกำลังสำคัญของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในด้านการปกครอง  และวิทยาการสาขาต่างๆ

นอกจากหอสมุดวชิรญาณ  ที่เป็นที่ชุมนุมของเจ้านายหนุ่มๆคนรุ่นใหม่  ก็ยังมีการตั้งชมรม หรือสมาคมเพื่อวิทยาการขึ้นมา
โดยเจ้านายและขุนนางอื่นๆ อย่าง "ชมรมบรรเทิงทรรศนาการ" และ "วิทยาทานสถาน" จัดมีปาฐกถาโดยผู้มีความรู้
นายกุหลาบก็ได้รับเชิญไปปาฐกถาด้วย  เป็นที่นับหน้าถือตา

และเมื่อมีงานฉลองเนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เสด็จกลับจากประพาสยุโรป เมื่อพ.ศ. 2440  
นายกุหลาบและครอบครัวก็ได้รับเชิญไปในงาน  อย่างผู้มีเกียรติคนหนึ่ง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 08 พ.ย. 05, 09:33

 ส่วนบทบาทในฐานะสมาชิกหอพระสมุด   นายกุหลาบได้ทำความดีความชอบ
คือมอบหนังสือฉบับลายมือเขียนเรื่องต่างๆเป็นของกำนัลแก่หอพระสมุด  เป็นความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ที่ไม่มีใครเคยรู้มาก่อน

แท้จริงเรื่องเหล่านี้คือเรื่องที่นายกุหลาบแอบคัดลอกไปจากหนังสือหอหลวง นั่นเอง   เป็นหนังสือที่สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ และกรมพระสมมตอมรพันธุ์เองก็ไม่รู้จัก  
และไม่ทรงทราบว่าเป็นพวกหนังสือโบราณที่เคยเก็บไว้ในหอหลวง ก่อนย้ายไปอยู่ในความดูแลของกรมหลวงบดินทรฯ

เพียงแต่ว่าทรงอ่านหนังสือที่นายกุหลาบมอบให้ แล้วทรงสะดุดพระทัยว่าเป็นหนังสือที่มีสำนวนเก่าและใหม่ปะปนกันอยู่ในทุกเล่ม  ดูประหลาดกว่าหนังสือโบราณของจริง
ก็เลยทรงสงสัยความ" แท้" ของหนังสือพวกนี้

ทรงสงสัยว่าสำนวนใหม่ที่ปะปนอยู่อาจมาจากนายกุหลาบเอง   แต่สำนวนโบราณนั้นทรงนึกยังไม่ออกว่ามาจากไหน

เมื่อทรงเรียกนายกุหลาบมาสอบถามถึงที่มาของหนังสือเหล่านี้    นายกุหลาบก็มีทางออกที่ฉลาดจับไม่ได้ไล่ไม่ทัน   คืออ้างว่าได้มาจากบุคคลสำคัญต่างๆ
เช่นกรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ ที่นายกุหลาบอ้างว่าเป็นศิษย์  และพระยาศรีสุนทรฯ(ฟัก) ซึ่งล่วงลับไปแล้ว  เป็นอันว่าสอบถามหาพยานไม่ได้
คนที่นายกุหลาบอ้างเป็นแหล่งอ้างอิงมีอีก เช่นสังฆราชปาเลอกัวซ์เป็นต้น   ก็ถึงแก่กรรมไปนานแล้วอีกเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 09 พ.ย. 05, 10:27

 นายกุหลาบเกือบจะได้เลื่อนตำแหน่งจากสมาชิกธรรมดาไปเป็นผู้ช่วยเหรัญญิก   โดยองค์ประธานหอพระสมุดวชิรญาณ  คือพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงพิชิตปรีชากร  ทรงเสนอหนังสือขอแต่งตั้งเอง

แต่นายกุหลาบก็ไม่ได้ตำแหน่งนี้  เพราะคำตอบคือ
"แต่ตำแหน่งผู้ช่วยเหรัญญิกซึ่งสภานายกเลือก   นายกุหลาบมิใช่เจ้า และมิใช่ขุนนาง และมิใช่คนที่ทรงคุ้นเคย   ทรงพระรังเกียจอยู่ เป็นอันงดเลิกตำแหน่งนี้"

ต่อมาไม่นาน นายกุหลาบก็ลาออกจากสมาชิก และออกหนังสือชื่อ "สยามประเภท" เขียนบทความต่างๆด้านประวัติศาสตร์ ตีพิมพ์จำหน่าย  ทำอนงเดียวกับหนังสือวชิรญาณของหอพระสมุด
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 09 พ.ย. 05, 10:32

 ในระยะแรก สยามประเภทได้รับความสนใจจากคนอ่านมาก  มีคนสมัครเป็นสมาชิกกันมากมาย
กระจายออกไปถึงนอกประเทศ
บางครั้งต้องพิมพ์ซ้ำหลายครั้งในฉบับเดียว เพื่อตอบสนองคนอ่านได้ทั่วถึง
ฉบับแรกๆเป็นเรื่องของความรู้ต่างๆ
ต่อมาอีก 1 ปี ก็เป็นการตอบคำถามที่ประชาชนส่งเข้าไป  

ความที่ขายดี ก็เขยิบจากรายเดือนเป็นรายปักษ์ และเป็นรายสัปดาห์ออกทุกวันพระ  
นายกุหลาบย้ายบ้านจากท่าวาสุกรี มาอยู่ที่หน้าอุโบสถวัดราชบพิธ ถนนเฟื่องนคร ตั้งโรงพิมพ์ชื่อสยามกิจพานิชเจริญ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 09 พ.ย. 05, 10:36

 สำหรับบุคคลภายนอก หรือประชาชนทั่วไป นิยมว่านายกุหลาบเป็นผู้รู้เรื่องราวประวัติศาสตร์อย่างกว้างขวาง  
แต่ปริศนาที่ค้างคาพระทัยเจ้านาย ผู้ทรงรู้เรื่องประวัติศาสตร์ไทยของจริง  ในเรื่องหนังสือโบราณแทรกสำนวนใหม่ ของนายกุหลาบ
เป็นเหตุให้กรมพระสมมตอมรพันธุ์ ทรงตัดสินพระทัยจะต้องค้นหาความจริงจากนายกุหลาบให้ได้  โดยไม่ให้รู้ตัวเสียก่อน
ก็เลยทรงทำตัวคล้ายเชอร์ล็อคโฮล์มส์ คือสืบความลับด้วยการทำไมตรีกับนายกุหลาบเหมือนไม่รู้เท่าทัน
นายกุหลาบเข้าใจว่าเจ้านายทรงนับถือตนว่าเป็นผู้มีความรู้  ก็เลยนำหนังสือฉบับที่ตนแก้ไขดัดแปลงแล้ว  ขึ้นถวาย หลายเรื่องด้วยกัน
รวมทั้งพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ตอนรัชกาลที่ 3 ซึ่งเจ้าพระยาทิพากรวงศ์เป็นผู้เรียบเรียง
นายกุหลาบไม่รู้ว่าหนังสือเป็นเรื่องราวสมัยรัชกาลที่ 3 ก็จริง  แต่เจ้าพระยาฯท่านมาทำเมื่อรัชกาลที่ 5 นี่เอง  ฉบับเดิมยังอยู่ในหอพระสมุด
เมื่อกรมพระสมมตฯ นำทั้งสองฉบับมาตรวจสอบกันดู ความก็แตกออกมา  ว่านายกุหลาบเอาหนังสือซึ่งเป็นของหลวง   มาแต่งแทรกใหม่ลงไปหลายตอน  
และสามารถแยกแยะออกมาได้ว่าตอนไหนบ้าง
กรมพระสมมตฯ จึงทรงนำเรื่องขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 15 พ.ย. 05, 09:48

 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าในตอนนี้ว่า

"สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรง" มันไส้"   ถึงเขียนลายพระกัตถเลขาลงในฉบับของนายกุหลาบ    ทรงชี้ให้เห็นตรงที่แทรกบ้าง
บางแห่งก็ทรงเขียนเป็นคำล้อเลียน หรือคำบริภาษแทรกลงบ้าง
แล้วพระราชทานคืนออกมายังกรมพระสมมติฯ  
กรมพระสมมตฯ ต้องให้อาลักษณ์เขียนตามฉบับของนายกุหลาบขึ้นใหม่ ส่งคืนไปให้เจ้าของ
เอาหนังสือของนายกุหลาบที่มีลายพระราชหัตถเลขารักษาไว้ในหอสมุดวชิรญาณจนบัดนี้"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 15 พ.ย. 05, 09:49

 แต่เจ้านายก็มิได้ทรงทำอะไรนายกุหลาบ   เมื่อนายกุหลาบออกหนังสือ "สยามประเภท" ก็ทำได้โดยสะดวก   ไม่มีใครไปขัดขวางหรือข่มเหงรังแก มิให้ทำ
แต่ว่าเป็นที่รู้กันในหมู่เจ้านายว่า นายกุหลาบมีเบื้องหลังไม่เป็นที่เชื่อถือ เพราะเหตุใด
คำว่า "กุ" ที่ย่อมาจากชื่อกุหลาบ  หมายถึงโกหกขึ้นมา  ก็มาจากพฤติกรรมนี้เอง  กรมพระสมมติฯ เรียกหนังสือของนายกุหลาบ ว่า "หนังสือกุ" เพราะจะว่าจริงแท้ก็ไม่ใช่ เท็จทั้งหมดก็ไม่ใช่

นายกุหลาบออกหนังสือ "สยามประเภท" มานาน   หลังๆเรื่องที่นำมาลง ชักร่อยหรอหมดลง
ก็แต่งเรื่องขึ้นมาใหม่ ให้คนอ่านหลงเชื่ออีกหลายเรื่อง    ประชาชนพากันเข้าใจว่าเป็นคนมีความรู้สูง ถึงกับเรียก "อาจารย์กุหลาบ" กันทั่วไป
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 15 พ.ย. 05, 09:50

 เมื่อฝรั่งเศสส่งเรือรบมาปิดปากอ่าวไทย ในร.ศ. 112   เป็นเหตุให้ไทยต้องเสียดินแดนริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง   ประชาชนจำนวนมากโกรธแค้นฝรั่งเศสที่รังแกสยาม    รวมทั้งนายกุหลาบด้วย
แต่ว่าความเคืองแค้นของนายกุหลาบไม่ได้หยุดอยู่แค่ฝรั่งเศส   แต่ลามมาถึงพระบรมราโชบายของพระเจ้าอยู่หัว  ที่จำต้องสละแขนขาเพื่อรักษาชีวิตของสยามไว้
นายกุหลาบก็แต่งเติมพงศาวดารสุโขทัย  เล่าเรื่อยมาถึงตอนจะเสียกรุงศรีอยุธยา ว่า ตอนปลายอยุธยา  พระเจ้าแผ่นดินที่ครองราชย์ทรงพระนามว่า "พระปิ่นเกษ"  มีพระราชโอรสทรงพระนามว่า "พระจุลปิ่นเกศ"
พระจุลปิ่นเกศ ไม่มีความสามารถที่จะรักษาอยุธยาไว้ได้  ถึงเสียบ้านเมือง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 15 พ.ย. 05, 09:50

 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทอดพระเนตรเห็นก็ตรัสว่า เพียงแต่นายกุหลาบเอาความเท็จแต่งลวงว่าเป็นความจริงก็ไม่ดีอยู่แล้ว

ซ้ำบังอาจเอาพระนามพระจอมเกล้ากับพระจุลจอมเกล้าไปแปลเป็นพระปิ่นเกษ และพระจุลปิ่นเกษ

เทียบเคียงใส่โทษเอาตามใจ  เกินสิทธิ์ในการแต่งหนังสือ



จึงโปรดให้เจ้าพระยาอภัยราชา (ม.ร.ว. ลภ สุทัศน์) เมื่อยังเป็นพระยาอินทราบดีสีหราชรองเมือง เรียกตัวนายกุหลาบมา

สั่งให้ส่งต้นตำราเรื่องพงศาวดารเมืองสุโขทัยที่อ้างว่ามีนั้นมาตรวจ  

นายกุหลาบจึงสารภาพว่าเป็นเรื่องที่ตนคิดขึ้นมาเอง



รัชกาลที่ 5 มิได้ทรงลงโทษรุนแรงแต่อย่างใด   เพียงแต่ทรงมีพระราชประสงค์จะดัดนิสัยให้นายกุหลาบเลิกอวดดี  

จึงโปรดเกล้าฯ ' ให้ส่งตัวนายกุหลาบไปอยู่กับผู้จัดการในโรงรักษาคนบ้า 7 วัน แล้วปล่อยไป'
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.073 วินาที กับ 19 คำสั่ง