ขอขุดกระทู้นี้ขึ้นมาถามอีกครั้งครับ เนื่องจากจะต้องประกอบพิธีของตัวเองซึ่งอยากให้เป็นพิธีไทยแท้ๆ (เว้นแต่กรณีสวมแหวนที่คงต้องตามยุคสมัย) แต่ยังมีอีกหลายอย่างที่ยังไม่กระจ่างและต้องการแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้
๑. ในกรณีของการกั้นประตูของฝ่ายหญิง ที่ปกติมักจะเป็น ๓ ประตู คือ นาก เงิน ทอง แต่เห็นบางที่ก็กั้นกันหลายประตูเหลือเกิน ยิ่งไปกว่านั้นบางงานตอนกั้นใช้ดอกรักร้อยมากั้นแทนเข็มขัดนาก เงิน ทอง (เป็นงานของเจ้าบ่าวที่เป็นราชสกุลเสียด้วย) ในกรณีที่ถูกตามธรรมเนียมปฏิบัติเป็นอย่างไรครับ
๒. ตอนที่ต้องโรยพวกข้าวตอก ถั่ว งา ฯลฯ ลงบนสินสอดและของหมั้น ตรงนี้ผู้ใดเป็นผู้โรย และโรยในลำดับพิธีตอนไหนครับ บางครั้งก็เห็นโรยโดยผู้ใหญ่ฝั่งผู้หญิงและโรยตอนที่ตรวจนับสินสอดกันเสร็จแล้ว ขณะที่บางงานก็เห็นทั้งผู้ใหญ่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงรวมทั้งพ่อแม่ช่วยกันโรย และบางทีก็เห็นว่าโรยกันตอนที่ชายหญิงออกมานั่งคู่กันแล้วก่อนสวมแหวนหมั้น ขณะที่บางครั้งก็เห็นโรยตนที่สวมแหวนหมั้นเสร็จแล้ว
๓. อันนี้ขอแถมเพิ่มตรงตอนหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ พ่อแม่จะรดน้ำตอนไหนครับระหว่าง
- หลังจากประธานในพิธีสวมมงคลและเจิมและรดน้ำแล้ว แต่ก่อนแขกคนอื่นๆ
- รดเป็นกลุ่มสุดท้ายเลยก่อนที่จะมีการถอดมงคล
ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับทุกคำตอบครับ และขออภัยหากสะกดคำใดผิดไป
