เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 9586 อยากทราบว่า ธรณีพิบัติย เป็นคำสมาส หรือ คำประสม ?
dinsor
แขกเรือน
อสุรผัด
*
ตอบ: 5



 เมื่อ 23 มี.ค. 05, 11:29


จากเหตุการณ์คลื่นยักษ์เมื่อเดือนธันวาคม มีคำใหม่เกิดขึ้นคำหนึ่ง นั่นก็คือ คำว่า ธรณีพิบัตภัย จึงอยากถามผู้รู้ว่า คำคำนี้ จัดเป็นำประสม หรือำสมาส
ส่วนัวดิฉันนั้น คิดว่า เป็นคำประสม เพราะคำว่า พิบัติ + ย เป็นคำซ้อน นำมารวมกับ ธรณี
เป็น ธรณี + พิบัติภัย = ธรณีพิบัติภัย

เรียนผู้รู้ช่วยให้คำตอบดิฉันด้วยนะคะ  ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า

เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 23 มี.ค. 05, 12:40

 เป็นคำสมาสค่ะ

พิบัติภัยไม่ใช่คำซ้อนค่ะ เป็นคำสมาส
อ่านเรื่องคำในภาษาไทยได้ที่นี่

 http://www.eduzones.com/vichakan/thai/word.php  
บันทึกการเข้า
หม่อมจุมพฏเพ็ชรกล้า
มัจฉานุ
**
ตอบ: 78


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 23 มี.ค. 05, 12:59

 ธรณีพิบัติภัย เป็นคำประสม
ธรณีพิบัติย เป็นคำสมาสหรอครับ คุณเทาชมพู
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 23 มี.ค. 05, 13:41

 คุณดินสอสะกดผิด
และคห. ๒ ก็อ่านไม่เข้าใจ ไปดูลิ้งค์ที่ให้ไว้ จะทราบความหมายของคำสมาสและคำประสม
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 23 มี.ค. 05, 15:06

 ผมว่าเขาเข้าใจตั้งคำนะครับ "ธรณีพิบัติภัย" เห็นภาพพจน์ดี
บันทึกการเข้า
dinsor
แขกเรือน
อสุรผัด
*
ตอบ: 5



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 24 มี.ค. 05, 09:20

 ขอโทษนะคะคุณเทาชมพู
ดินสอพิมพ์ตกไปน่ะค่ะที่หัวข้อ ธรณีพิบัติย >>>> ธรณีพิบัติภัย
ขอบคุณนะคะที่ออกความเห็นค่ะ
บันทึกการเข้า

หม่อมจุมพฏเพ็ชรกล้า
มัจฉานุ
**
ตอบ: 78


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 24 มี.ค. 05, 12:02

 ถ้างั้นก็ต้องเป็นแบบไม่สนธิ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 25 มี.ค. 05, 02:05

 ธรณีพิบัติภัย คำนี้แยกได้ ๓ คำครับ

ธรณี - มาจากภาษาบาลี-สันกฤตว่า "ธรณี" แปลว่า แผ่นดิน

พิบัติ - มาจากภาษาบาลี-สันสกฤตว่า "วิปตฺติ" แปลว่า ความเคลื่อนคลาด, ความผิด, โทษ - วิบัติ ก็ว่า มีความหมายให้แก่คำว่า วิปลาส ด้วย

ภัย - มาจากภาษาบาลี-สันกฤตว่า "ภย" แปลว่า อันตราย

ดังนั้น ธรณีพิบัติภัย แปลเป็นไทยได้ว่า "เหตุอันตรายอันเกิดจากความผิดปกติของแผ่นดิน" เรื่องนี้ ก็มีนัยมาจากการแยกตัวของแผ่นดินใต้มหาสมุทรนั่นเองครับ

กลับมาที่คำถามว่า คำนี้เป็นสมาส หรือ คำประสม

ผมเคยเรียนว่า "สมาส ชน - สนธิ เชื่อม"
ชน คือ อะไร เชื่อม คืออะไร

ชน ก็คือ จับคำมาชนกันเลย ไม่ต้องเปลี่ยนรูป
ธรณี + พิบัติ + ภัย
จะเห็นว่าเป็นการจับคำมา "ชน" กันเลย ก็เป็น "คำสมาส" ครับ

เชื่อม ก็คือ การจับคำมาเชื่อมเปลี่ยนรูป
ราชะ + อธิราช = ราชาธิราช ("ชะ" เจอ "อ" เชื่อมเป็น "ชา")
อย่างนี้เป็นสนธิครับ

ส่วนเป็นคำประสมนี้ไม่ใช่แน่นอนครับ

อ้าว ส่วนคำประสมก็ชนเหมือนกัน แล้วทำไม่เป็นคำสมาส?

ทั้งนี้ก็เพราะว่า คำประสม ใช้กับคำไทยแท้ครับ แต่ว่า คำสมาส จะใช้กับคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลีสันสกฤตเท่านั้นครับ

เพราะเหตุว่า หลักการสมาส - สนธิ นี้ เป็นหลักการทางไวยกรณ์ของภาษาบาลี-สันกฤตครับ

ส่วนหลักการสร้างคำจากภาษาไทยแท้ ก็มี การประสมคำ ซ้อนคำ และซ้ำคำ
บันทึกการเข้า
ดารากร
อสุรผัด
*
ตอบ: 47

นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 25 มี.ค. 05, 21:39

 ธรณีพิบัติภัย มาจากคำว่า ธรณี+พิบัติ+ภัย ซึ่งมาจากภาษาบาลีสันสกฤตค่ะ

คำที่เกิดจากการนำคำบาลีสันสกฤตตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปมารวมกันไม่ได้หมายความว่าคำๆนั้นจะเป็นคำสมาสเสมอไป คำๆนั้นอาจเป็นคำประสมก็ได้ค่ะ ดิฉันเคยอ่านเจอในหนังสือหลักภาษาไทยบอกไว้ว่า คำสมาสต้องแปลจากคำหลังมาคำหน้า ยกตัวอย่างเช่น
     ดรุณ + วัย  =  ดรุณวัย  =  วัยเด็ก  เป็นคำสมาส
แต่  วัย+ดรุณ  =   วัยดรุณ = วัยเด็ก  เป็นคำประสมค่ะ เพราะแปลจากคำหน้ามาคำหลัง  ทั้งๆที่คำว่า ดรุณ และ วัย มาจากภาษาบาลีสันสกฤตเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
ดารากร
อสุรผัด
*
ตอบ: 47

นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 25 มี.ค. 05, 21:43

 อ้อ ลืมสรุปค่ะ ธรณีพิบัติภัย คำมูลที่นำมารวมกัน 3 คำ มาจากภาษาบาลีสันกฤต และแปลจากคำหลังมาคำหน้า จึงเป็นคำสมาสค่ะ ไม่ใช่คำประสม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.044 วินาที กับ 19 คำสั่ง