เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 14
  พิมพ์  
อ่าน: 140697 กระทู้ราชสกุล
วันเสาร์
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 11 ส.ค. 05, 18:19

 ความเห็นเพิ่มเติมที่ 73

หม่อมระวี นามสกุลอะไรครับ

วันที่ 29 ก.ค. 2548 - 21:38:58
โดย: หม่อมจุมพฏเพ็ชรกล้า [IP: 203.118.113.17,,]

เท่าที่ค้นเจอ หม่อมระวี นามสกุล ไกยานนท์
ดังที่ปรากฎในบทความย้อนอดีตวังเพ็ชรบูรณ์ สู่เส้นทาง TK Park อุทยานการเรียนรู้ ในหนังสือ คู่มือเติม "ชีวิต" ให้ห้องสมุด น.9
"...ก่อนหน้าที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าจุฑาธุชฯ ทรงอภิเษกกับหม่อมเจ้าหญิงบุญจิราธร ชุมพล พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์  ทรงมีหม่อมแล้ว 2 ท่าคือ หม่อมลออ ศิริสัมพันธ์ มีพระธิดาในหม่อมลออ 1 พระองค์ คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงสุทธสิริโสภา หม่อมระวี ไกยานนท์ มีพระโอรสในหม่อมระวี 1 พระองค์คือ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช
บันทึกการเข้า
หม่อมจุมพฏเพ็ชรกล้า
มัจฉานุ
**
ตอบ: 78


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 18 ส.ค. 05, 18:34

 พระองค์เจ้าทีปังกรฯ ทำไมไม่มีสกุลยศเป็น พระเจ้าหลานยาเธอ พระองค์เจ้าล่ะครับ แล้วมีตำแหน่งนี้มั้ยครับเพราะยังมี ลูกยาเธอ ลูกเธอ เลย
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 18 ส.ค. 05, 21:27

ส่วนคำถามที่ว่า
ความเห็นเพิ่มเติมที่ 51

พระประพันธวงศ์เธอพระสัมพันธวงศ์เธอพระบรมอัยกาเธอพระวงศ์เธอคืออะไร edit

อยากจะถามว่ายศ
๑.พระประพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
๒.พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
๓.พระบรมอัยกาเธอ พระองค์เจ้า
๔.พระวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
คืออะไรครับ
แล้วถ้าหม่อมเจ้าหญิงและพระวรวงศ์เธอสมรสกับเจ้าฟ้าชายลูกจะมียศอะไรครับ
และ พระเจ้าวรวงศ์เธอกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ ลูกจะมียศอะไรครับ
ขอบคุณครับ

หม่อมจุมพฏเพ็ชรกล้า [IP: 203.118.119.109,,] วันที่ 23 มิ.ย. 2548 - 20:28:07
ผมขอตอบว่า
1. พระสัมพันธวงศ์เธอ โดยปกติจะใช้ตามที่ ร .4 ทรงระบุไว้ กล่าวคือ ใช้กับ
1.1พระโอรสธิดาของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข (วังหลัง)ที่ประสูติแต่เจ้าข้างใน(พระชายาทองอยู่) ซึ่งได้แก่
1.1.1 พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปาน กรมหมื่นนราเทเวศร์ (ต้นสกุล ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา) 4 ธ.ค.2313 - 9 ต.ค. 2368
1.1.2 พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงกระจับ
ประสูติในปี 2315 ไม่ทราบปีสิ้นพระชนม์ แต่คาดว่าก่อนปี 2322
1.1.3 พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัว กรมหมื่นนเรศร์โยธี
1 ก.พ. 2318 -1 เม.ย. 2374 (57 ชันษา)
1.1.4 พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแตง กรมหลวงเสนีบริรักษ์ (ต้นสกุล เสนีวงศ์ ณ อยุธยา) 21 ก.ค. 2320- 7 มิ.ย.2377
1.1.5 พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงกระจับ ประสูติราว 2322 -2323 ไม่ทราบปีสิ้นพระชนม์  คนละพระองค์กับ 1.1.2 และไม่มีระบุไว้ในหนังสือราชสกุลวงศ์
1.1.6 พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฐมวงศ์พระองค์เจ้าพระองค์แรกที่ประสูติเมื่อสถาปนาราชวงศ์จักรี ประสูติเมื่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ และสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3 (สุนทรภู่เคยตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์เมื่อครั้งพระองค์เสด็จนมัสการพระพุทธบาท จ. สระบุรีดังที่ระบุไว้ในนิราศพระบาท)
1.1.7 พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงจงกล
ไม่มีข้อมูลว่าประสูติและสิ้นพระชนม์ในปีใด
พระองค์เจ้าในข้อ 1.1.1,1.1.3-4 ทรงอิสริยยศเป็นกรมหมื่นในปี 2350 ส่วน 1.1.4 ทรงอิสริยยศเป็นกรมหลวงในปี 2375
แต่ มีข้อที่น่าสังเกตในกรณีของพระองค์เจ้าพรรณรายซึ่งจะกล่าวต่อไปในเรื่อง พระประพันธวงศ์เธอ
1.2 ใช้กับพระโอรสธิดาในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ พระเจ้าน้องนางเธอในรัชกาลที่ 1
1.3 ใช้กับพระโอรสธิดาของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (ซึ่งต้องศึกษาต่อไป เพราะมีพระองค์หนึ่งมีอิสริยยศเป็นเจ้าฟ้า)
2 .พระบรมอัยกาเธอ  ความจริงไม่มีผลอะไร เพราะเป็นหนึ่งในคำนำหน้าพระนามที่ใช้ในการฉลองพระอัฐิ และมีรายละเอียดพิสดารกว่านี้ ซึ่งน่าจะมีผู้อธิบายได้
3 .พระประพันธวงศ์เธอ เป็นคำนำหน้าพระนามของพระองค์เจ้าที่ประสูติแต่สมเด็จพระไปยกาเธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ ซึ่งใช้ใน ร. 5
เพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น จะแสดงพระนามพระโอรสธิดาในกรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ดังต่อไปนี้
๑. พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้ามงคลเลิศ
๒. พระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ (สมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินีในปัจจุบัน)
๓. พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชมชื่น
๔. พระประพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฟื้นพงศ์ประยูรวงศ์สนิท
๕. หม่อมเจ้าหญิงประสงค์สันต์ ศิริวงศ์
๖.  พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย (พระมารดาของสมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์)
๗. พระประพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฉายเฉิด กรมหมื่นนฤบาลมุขมาตย์
๘. หม่อมเจ้าสารพัดเพชร ศิริวงศ์
๙. หม่อมเจ้าประเสริฐศักดิ์ ศิริวงศ์
ผมไม่แน่ใจว่าจะมีการเปลี่ยนคำนำหน้าพระนามพระประพันธวงศ์เธอหลังวันที่ 9 ต.ค. 2438 (วันที่สถาปนาหม่อมเจ้าชมชื่น ศิริวงศ์เป็นพระองค์เจ้า)หรือไม่ แต่คาดว่าจะไม่เปลี่ยน และถ้ามีข้อมูลมากกว่านี้จะแจ้งให้ทราบภายหลัง
4. ที่คุณหม่อมจุมภฎเพชรกล้าถามว่า ถ้าหม่อมเจ้าหญิงและพระวรวงศ์เธอสมรสกับเจ้าฟ้าชายลูกจะมียศอะไร นั้น โดยปกติย่อมมียศเป็นหม่อมเจ้าอยู่แล้ว แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับพระบรมราชโองการว่าจะเป็นพระองค์เจ้าแต่กำเนิด หรือทรงสถาปนาภายหลังซึ่งมีรายละเอียดมาก คงจะกล่าวในโอกาสต่อไป
5. ที่คุณหม่อมจุมภฎเพชรกล้าถามว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ ลูกจะมียศอะไร ก็เช่นเดียวกับในความคิดเห็นที่  คุณหยดน้ำและคุณ V_Mee ตอบมาแล้ว
6. ขอขอบพระคุณอาจารย์เทาชมพูมากครับที่ถอดความหมายของบทร่ายท้าย พระนามพระโอรสธิดาในรัชกาลที่ ๔ (ความคิดเห็นที่ 84 )มากครับ และขออภัยที่มิได้บอกว่าให้ช่วยถอดบทความบทใดครับ
ผมมีพระบรมฉายาลักษณ์ที่สแกนมาจากหนังสือ ภปร. 5 ธันวาคม พระพุทธศักราช ๒๕๑๑ พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี(ก่อนมีประกาศสำนักพระราชวังเฉลิมพระยศดังกล่าว) ซึ่งเป็นหนังสือรวมพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ,สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ในคราวนี้นำมา 1 รูปครับ
ขอถาม อ.เทาชมพูครับว่า โคลง 2 บทสุดท้ายใน พระนามพระโอรสธิดาในรัชกาลที่ ๔ (ดูความเห็นที่ 81) และบทร่ายท้ายโคลงดังกล่าว เป็นคำประพันธ์ชนิดใด
7. ในความเห็นที่ 91 ที่ว่า
พระองค์เจ้าทีปังกรฯ ทำไมไม่มีสกุลยศเป็น พระเจ้าหลานยาเธอ พระองค์เจ้าล่ะครับ แล้วมีตำแหน่งนี้มั้ยครับเพราะยังมี ลูกยาเธอ ลูกเธอ เลย วันที่ 18 ส.ค. 2548 - 18:34:31
โดย: หม่อมจุมพฏเพ็ชรกล้า  [IP: 203.118.113.16,,]

ผมขอตอบว่าผมไม่เคยได้ยินว่ามีคำว่า พระเจ้าหลานยาเธอ เห็นมีแต่พระเจ้าหลานเธอ เฉย ๆ เช่น พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี (ร. 3 ทรงสถาปนาเพราะพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ พระบิดาของพระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดีสิ้นพระชนม์ก่อนวัยอันควร),พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา(ร. 5 ทรงสถาปนาเพราะหม่อมเจ้าทิพย์สัมพันธ์ ก่ออัตวินิบาตกรรม),พระองค์เจ้ามงคลเลิศ , พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เป็นต้น(ความจริงมีมากกว่านี้ แต่จะนำมาลงในโอกาสต่อไป
8. คำถามสุดท้ายค่อนข้างจะละลาบละล้วงครับ
กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี มีหม่อมหรือไม่ครับ
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 19 ส.ค. 05, 18:41

 กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี ทรงมีหม่อมหลายองค์  ที่ได้รับการบันทึกไว้เป็นหลักฐานคือ เจ้าหญิงสิริมา ธิดาของเจ้าน้อยธรรมวงษาซึ่งเป็นบุตรของเจ้าหญิงอุบลวรรณา  น้องสาวของแม่เจ้าทิพเกสรพระมารดาของ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี   นอกจากนั้นในจดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในรัชกสลที่ ๖ ประจำวันที่  ๑๒  มกราคม  ๒๔๕๕ ก็ได้มีการกล่าวถึงหม่อมในเสด็จในกรมฯ ว่า ก่แนหน้านั้น ๒ - ๓ วันได้ประทานลายพระหัตถ์เปนการเสี่ยงทายให้หม่อมของพระองค์ท่านคิดเป็นปริศนา ๒ ข้อ  แต่หม่อมไม่ทราบความตีปัญหาไม่แตก  จึงทรงทำลายลายพระหัตถ์นั้นสิ้น  แล้วต่อมาก็ทรงกระทำอัตวินิบาตกรรม  
รายละเอียดพระประวัติพระเจ้าบรมววศ์เธอ กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี ซึ่งยังไม่เคยมีผู้ใดค้นคว้ามาได้ละเอียดลึกซึ้งถึงขนาดนี้  โปรดติดตามอ่านในหนังสือ "พระบารมีปกเกล้าฯ ยุพราชวิทยาลัย ๑๐๐ ปี นามพระราชทาน"  ซึ่งกำหนดจะออกในราวเดือนธันวาคมนี้  (ขออนุญาตโฆษณาเลยนะครับ)  
ไม่ทราบว่า คุณศรีปิงเวียงเป็นชาวเชียงใหม่หรืออย่างไรครับ ถึงสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับเจ้านายพระองค์นี้ซึ่งแทบจะไม่เป็นที่รู้จักเลยในประวัติศาสตร์ไทย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 19 ส.ค. 05, 19:08

 ตอบคุณศรีปิงเวียง
ถาม -โคลง 2 บทสุดท้ายใน พระนามพระโอรสธิดาในรัชกาลที่ ๔ (ดูความเห็นที่ 81) และบทร่ายท้ายโคลงดังกล่าว เป็นคำประพันธ์ชนิดใด
ตอบ - เป็นโคลงสอง ค่ะ

คุ้นๆเหมือนคุณศรีปิงเวียง เป็นชาวเรือนไทยหน้าเก่า

ดิฉันสนใจพระประวัติพระเจ้าบรมววศ์เธอ กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี ค่ะ คุณ V_Mee
เคยเล่าเอาไว้นิดหน่อยในกระทู้ ก๊อสสิปนอกกำแพงวัง
เห็นว่าท่านเป็นเจ้านายที่อาภัพพระองค์หนึ่ง น่าเสียดายความรู้ที่ทรงเรียนจบถึงปริญญาเอกจากทูบิงเง่น
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 20 ส.ค. 05, 18:25

 ใช่แล้วครับคุณ V_Mee และก็อยู่ในโรงเรียนนี้ด้วยครับ ผมสนใจประวัติกรมหมื่นสรรควิสัยนรบดีเพราะเคยเห็นในพิพิฒภัณฑ์ศาลากลางเก่า (หออะไรจำไม่ได้)ที่อยู่หลังอนุสาวรีย์ 3 กษัตริย์นี้เองครับ
ขอลงความเห็นก่อนครับ
1. เจ้านายที่ก่อพระอัตนิวิบาตกรรม(ในราชวงศ์จักรี)ที่ทราบมา นอกจากหม่อมเจ้าทิพย์สัมพันธ์ (พระมารดาของพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพย์อาภา) และกรมหมื่นสรรควิสัยนรบดีแล้ว ก็น่าจะมีพระองค์อื่นอีก คือ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา,และกรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ ความจริงมีมากกว่านี้แต่ไม่ทราบรายละเอียด
2. ท่านหญิง ที่ใช้นำหน้าพระนามแทนหม่อมเจ้าหญิงที่สมรสกับสามัญชนนั้น จำเป็นต้องใช้หรือไม่ มีไว้ทำไม
3. พระบรมฉายาลักษณ์ในความเห็นที่ 92 นี้ ทำให้ผมสนใจว่า เจ้านายที่ประทับในวังหลวง(หลังจาก ร. 5 เสด็จสวรรคตแล้ว) มีใครบ้าง นอกจากพระองค์เจ้าผ่องและพระองค์เจ้าประดิษฐาสารี
4. ในเชียงใหม่มิได้มีแหล่งข้อมูลเท่าที่กรุงเทพ ฯ ข้อมูลที่นำมาลงนี้จึงค่อนข้างจำกัด ต้องขออภัยล่วงหน้ามา ณ ที่นี้
5. ขอถาม อ. เทาชมพูว่า ร่ายมีกี่แบบครับ และขอบพระคุณในคำตอบที่เสียสละเวลาตอบมาให้ครับ
6. กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร สิ้นพระชนม์ในปีใดครับ
7.ขอถามย้อนคุณV_Mee ว่าเป็นคนเชียงใหม่หรือเปล่าครับ
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
หม่อมจุมพฏเพ็ชรกล้า
มัจฉานุ
**
ตอบ: 78


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 21 ส.ค. 05, 15:14

 พระองค์เจ้าอ๊อสคาร์นุทิศ ทรงกระทำอัตวินิบาตกรรม จริงหรอครับ แล้วเคยเป็นคณะสำเร็จราชการจริงรึเป่ลาครับ
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 21 ส.ค. 05, 16:17

 เคยได้ยินเรื่องราวนี้จากในหนังสือเจ้าชีวิตครับ ในหน้าที่เท่าใดจำไม่ได้
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 8 ประกอบด้วย
1. พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์
2. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพย์อาภา (ต่อมามีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ เฉลิมพระยศเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ)
3. เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)
4. เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (ชอุ่ม อินทรโยธิน)
5. นายปรีดี พนมยงค์
หมายเหตุ หมายเลข 1 ทรงดำรงตำแหน่งประธานจนถึงวันสิ้นพระชนม์(12 ส.ค. 2478) หมายเลข 2 ทรงดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการและทรงดำรงตำแหน่งประธานจนกระทั่งลาออก หมายเลข 4 ดำรงตำแหน่งต่อจากหมายเลข 3 จนถึงแก่อสัญกรรม และหมายเลข 5 ดำรงตำแหน่งตามความเห็นของจอมพล ป. พิบูลสงคราม
หลังจากนั้นก็ไม่ทราบว่ามีการแต่งตั้งใครเป็นผู้สำเร็จราชการต่อจากนายปรีดี พนมยงค์ จนกระทั่งร. 8 สวรรคต
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 11 ก.ย. 05, 10:08

 ผมสงสัยอีกแล้วครับ ไม่ทราบว่าพระองค์เจ้าวังหลังเป็นพระองค์เจ้าโดยกำเนิดหรือหลังสถาปนาสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์เทเวศร์เป็นกรมพระราชวังบวรสถานพิมุขแล้วครับ
ป.ล.ตำแหน่งกรมพระราชวังหลังมีการสถาปนาอีกหรือไม่ครับ
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 11 ก.ย. 05, 13:26

 ตอบความเห็นที่ ๙๕

6. กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร สิ้นพระชนม์ในปีใดครับ
   สิ้นพระชนม์เมื่อ ๑๘  ตุลาคม  ๒๔๙๐

7.ขอถามย้อนคุณV_Mee ว่าเป็นคนเชียงใหม่หรือเปล่าครับ
  ผมเกิดที่ อ.ตะพานหิน  จังหวัดพิจิตร  เรียนจบประ ๑ แล้วก็ถูกส่งตัวมาเรียนต่อที่กรุงเทพฯ  ใช้ชีวิตเป็นนักเรียนประจำในโรงเรียนประจำแห่งหนึ่งเป็นเวลา ๒ ปี ก่อนที่จะเข้าเรียนชั้นประถม ๓ จนจบชั้น มัธยมในโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย  ซึ่งจะว่าไปก็นับเป็นญาติกับยุพราชวิทยาลัยได้เหมือนกัน  เพราะเป็นโรงเรียนที่เนื่องในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วยกัน

สำหรับคำถามในความเห็นที่ ๙๖ นั้นขอยืนยันว่า จริงครับ  เพราะไม่สามารถจะทรงยอมตามความต้องการของคณะรัฐบาลในขณะนั้นได้

ส่วนความเห็นที่ ๙๗ นั้น  ขอเรียนเพิ่มเติมว่า ตามกฎมณเฑียร
บาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. ๒๔๙๗  หใวดที่ ๖  ว่าด้วยเวลาที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงพระเยาว์  ได้กำหนดไว้ในมาตรา ๑๔ ว่า ในกรณีที่พระมหากษัตริย์ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ  จะต้องมีผู้ราชการแผ่นดินปฏิบัติงานปทนพระองค์  และมาตรา ๑๕ กำหนดให้พระราชวงศ์ซึงมีพระชนมายุเกิน ๒๐ ปี พระองค์หนึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน  มาตรา ๑๖ กำหนดให้เสนาบดีผู้ใหญ่สองท่านทำหน้าที่สมุหมนตรีเป็นที่ปรึกษาผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน  มาตรา ๑๘ กำหนดให้ออกนามคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินและสมุหมนตรีที่ปรึกษารวมสามคนนี้ว่า "สภาผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน"  และในการประกาศใช้กฎหมายต่างๆ ต้องห้ทั้งสามท่านนี้ลงนามร่วมกันจึงจะมีผลบังคับมช้โดยสมบูรณ์
ดมื่อรัชกาลที่ ๗ สละราชสมบัติ  และสภาได้กราบบังคมทูลเชิญพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติเฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลแล้ว  ก็ได้แต่ตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน  ประกอบด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์  มหาอำมาตย์นายก เจ้าพระยายมราช (ปั้น  สุขุม) อดีตเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และนายพลเอก เจ้าพระยาพชเยนทรโยธิน (อุ่ม  แอนทรโยธิน) อดีตสมุหราชองครักษ์ในรัชกาลที่ ๖ - ๗ ครั้นเมื่อกรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์สิ้นพระชนม์แล้ว  สภาได้มีมติเลือก พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา เป็นผู้สำเร็จราชการฯ แทน  
ต่อมาคณะผู้สำเร็จราชการชุดดังกล่าวได้สิ้นพระชนม์และถึงแก่อสัญกรรมตามลำดับแล้ว  สภาจึงได้แต่งตั้งนายปรีดี  พนมยงค์ (หลวงประดิษฐมนูธรรม) เป็นสมุหมนตรี  และท้ายที่สุดได้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเพียงคนเดียว  ไม่มีมีการแต่งตั้งสมุหมนตรีขึ้นทดแทนอีกเลย  ถึงรัชกาลปัจจุบันได้ทรงตั้งให้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร (ต่อมาทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร) เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินจนเสด็จกลับจากทรงศึกษาต่อที่ต่างประเทศ
บันทึกการเข้า
อานุภาพ
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 15 ก.ย. 05, 15:25

 ขอเรียนถามผู้รู้ทุกท่านครับ
อยากทราบการใช้ ณ อยุธยา ครับ
ปัจจุบันเห็นแวดวงบันเทิงมีคน นามสกุล ณ อยุธยา มาก บางคนก็มีสิทธิใช้ บางคนก็ยังน่าคลุมเครือ  เช่น อานันท์ทวีป ชยางกูร  สังเกตว่าจะใช้ ณ อยุธยาตลอด  อยากทราบว่า จริงๆแล้ว เขามีสิทธิใช้ ณ อยุธยาหรือไม่  เพราะทราบว่าถ้าจะใช้ได้จะต้องมาจากเชื้อสายทางพ่อเท่านั้น  ดังนั้นจึงอยากทราบจริงๆว่าเขาใช้ได้หรือไม่ครับ (พ่อของเขาคือใคร)  และช่วยบอกได้ไหมครับว่า ทำไมเราจะต้องใส่ใจกับระเบียบการนับราชสกุลครับ เผื่อผมจะได้ไปตอบให้คนไม่รู้ได้ฟังกัน  
ด้วยความเคารพ
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 15 ก.ย. 05, 17:38

 ขอแย้งความเห็นที่ ๙๙ ครับ
ก่อนที่กรมขุนชัยนามนเรนทรจะทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แต่เพียงผู้เดียวนั้น ได้มีการสถาปนาคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยมีพระยามานวราชเสวีดำรงตำแหน่งนี้รวมถึงพระองค์ด้วยครับ (ราว ๆ พ.ศ. 2490 ดังจะเห็นได้จากพระราชบัญญัติประมง พุทธศักราช ๒๔๙๐) แต่ต่อมาถูกยกเลิกหลังรัฐประหาร 2490 ซึ่งเกร็ดมีเยอะมาก จะนำมาเล่าให้ทราบภายหลังครับ
และขอบพระคุณคุณ V_Meeเป็นอย่างสูงครับ
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 15 ก.ย. 05, 18:36

 ตอบค.ห. 98

พระองค์เจ้าวังหลัง  มี 4 องค์แรกที่เป็นสามัญชนเมื่อประสูติ  เพราะพระบิดายังเป็นขุนนางสามัญชน  บรรดาศักดิ์ล่าสุดคือพระยาสุริยอภัย
ต่อมา เมื่อพระยาสุริยอภัยได้รับโปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข     พระโอรสธิดาทั้ง 4 ก็ได้เป็นพระองค์เจ้า

พระโอรสลำดับ 5 และ 6   เป็นพระองค์เจ้าแต่ประสูติ   คือพระองค์เจ้าปฐมวงศ์  (เป็นพระองค์เจ้าองค์แรกที่ประสูติในพระราชวงศ์จักรี) และพระองค์เจ้าจงกล
พระองค์เจ้าทั้ง 6 พระองค์ ประสูติแต่เจ้าครอกทองอยู่ พระชายาเอก
ส่วนโอรสธิดาอื่นๆที่ประสูติจากหม่อมห้าม  ดำรงพระยศหม่อมเจ้า

กรมพระราชวังหลัง มีเพียงรัชกาลเดียว
อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับกรมพระราชวังหลังและสายราชสกุล ได้ที่บทความนี้http://www.vcharkarn.com/include/article/showarticle.php?Aid=245
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 17 ก.ย. 05, 01:48

 เรื่องการใช้เครื่องหมายแห่งราชสกุล "ณ อยุธยา" ต่อท้านนามสกุลนั้น  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกำหนดให้ใช้เฉพาะผู้ที่สืบสายสกุลโดยตรงลงมาจากพระบรมราชวงศ์  คือต้องสืบสายทางพ่อโดยตรงเท่านั้น  ในกรณีที่ใช้ราชสกุลเป็นนามสกุลตามมารดาหรือใช้ราชสกุลในฐานะเป็นบุตรบุญธรรมต้องห้ามมิให้ใช้ ณ อยุธยา ตามประกาศเพิ่มเครื่องหมายนามสกุลสำหรับราชตระกูล ลงวันที่  ๑  มกราคม  ๒๔๕๘  และประกาศแก้เครื่องหมายนามสกุลสำหรับราชสกุล  ลงวันที่  ๒๔  มีนาคม  ๒๔๖๗  แต่มาเมื่อประมาณยี่สิบกว่าปีมานี้  คณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีการตีความให้หญิงซึ่งใช้ราชสกุลตามสามีให้ใช้ ณ อยุธยา ต่อท้ายนามสกุลได้  ก็เลยเป็นความนิยมกันว่า  ถ้ามิได้เป็นหม่อมราชวงศ์หรือหม่อมหลวงแล้วให้เติม ณ อยุธยา กันโดยอัตโนมัติไปหมด
บันทึกการเข้า
นายนิติราม
อสุรผัด
*
ตอบ: 23

รามคำแหง


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 19 ก.ย. 05, 20:25

 พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า/หม่อมเจ้า ที่มีพระชนมายุเกิน 90 ปีขึ้นไปก่อนสิ้นชีพิตักษัย ตั้งเเต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เท่าที่ผมรวบรวมไว้ได้ มีดังนี้
1.พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธวงษ์วิจิตร(2449-2546=96 ปี)
2.พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตน์สิริมาน(2452-2543=91 ปี)
3.มจ.หญิง หญิง  อิศรางกูร(2370-2461=91 ปี)
4.มจ.สนิท  อิศรางกูร(2371-2462=91 ปี)
5.มจ.หญิงสามจันทน์(แสงจันทน์)บรรยงกะเสนา(2374-2465=91 ปี)
6.มจ.อุทัย  ยุคันธร(2376-2467=91 ปี)
7.มจ.หญิงนวลจันทน์  สีสังข์(2371-2467=96 ปี)
8.มจ.หญิงเบญจางค์  สีสังข์(2377-2467=90 ปี)
9.มจ.ชิดชนก  กฤดากร(2447-2541=94 ปี)
10.มจ.หญิงข่ายทองถัก  ทองใหญ่(2441-2531=90 ปี)
11.มจ.ลายฉลุทอง  ทองใหญ่(2444-2534=90 ปี)
12.มจ.หญิงจรัสโฉม  เกษมสันต์(2419-2516=97 ปี)
13.มจ.หญิงพโยมมาล  เกษมสันต์(2422-2514=92 ปี)
14.มจ.หญิงสลักษณา  เกษมสันต์(2430-2525=95 ปี)
15.มจ.หญิงวรรณวิจิตร  เกษมสันต์(2441-2535=94 ปี)
16.มจ.หญิงนภมณี  กมลาสน์(2433-2528 = 95 ปี)
17.มจ.หญิงบุญราษี  กมลาสน์(2444-2534=90 ปี)
18.มจ.หญิงวงศ์แข  เกษมศรี(2445-2539=94 ปี)
19.มจ.หญิงสมรศรีโสภา  เทวกุล(2444-2539=95 ปี)
20.มจ.หญิงพวงรัตนประไพ  เทวกุล(2447-2542=95 ปี)
21.มจ.หญิงพรพิมลพรรณ  วรวรรณ(2433-2524=91 ปี)
22.มจ.ดุลภากร  วรวรรณ(2443-2544=101 ปี)
23.มจ.หญิงจงจิตรถนอม  ดิศกุล(2429-2521=92 ปี)
24.มจ.หญิงพูนพิศมัย  ดิศกุล(2438-2533=95 ปี)
25.มจ.หญิงสิวลีวิลาศ  ดิศกุล(244-2535=92 ปี)
26.มจ.หญิงสิบพันพารเสนอ  โสณกุล(2437-2528=91 ปี)
27.มจ.หญิงภิรมย์สงวน  ไชยันต์(2430-2520=90 ปี)
28.มจ.หญิงประดับศักดิ์  ไชยันต์(2435-2526=91 ปี)
29.มจ.หญิงสวาสดิ์วัฒโนดม  ประวิตร(2454-2544=90 ปี)
30.มจ.ชมิยบุตร  ชุมพล(2452-2548=96 ปี)
31.มจ.หญิงดวงจิตร  จิตรพงศ์(2451-6 ก.ย. 2548 = 97 ปี)
**ข้อมูลบางส่วนอ้างอิงจากหนังสือพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าโดยพล.ต.มรว.ศุภวัฒน์  เกษมศรี**
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.042 วินาที กับ 20 คำสั่ง