เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14
  พิมพ์  
อ่าน: 140681 กระทู้ราชสกุล
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 180  เมื่อ 09 เม.ย. 13, 18:55


พระตำหนักอัมพวาที่ว่านี้ ได้รื้อไปปลูกไว้ ณ วังสวนผักกาด ในกรุงเทพมหานคร ส่วนที่ดิน กรมพระนครสวรรค์วรพินิตประทานแก่หมื่นนครสวรรค์ศักดิ์พินิต (ปราชญ์ เปล่งรัตน์) ซึ่งเป็นพระโอรส..

ประโยคต่อไปคืออะไรคะ    หมื่นนครสวรรค์ฯ เป็นพระโอรสของเจ้านายองค์ใด
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 181  เมื่อ 09 เม.ย. 13, 19:35

ข้อคามที่ว่า "ส่วนที่ดิน กรมพระนครสวรรค์วรพินิตประทานแก่หมื่นนครสวรรค์ศักดิ์พินิต (ปราชญ์ เปล่งรัตน์) ซึ่งเป็นพระโอรส..แล้ว หมื่นนครสวรรค์ศักดิ์พินิต (ปราชญ์ เปล่งรัตน์)" อาจจะมีการคัดลอกมาผิดกระมังครับ

ข้อความที่ถูกน่าจะเป็น "ส่วนที่ดิน กรมพระนครสวรรค์วรพินิตประทานแก่กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต ซึ่งเป็นพระโอรส"  ผู้คัดลอกอาจจะเห็นนามเจ้ากรมเหมือนพระนามกรมพระองค์จุมภฎซึ่งเป็นพระโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต  เลยตีความผิดไปเข้าใจเป็น หมื่นนครสวรรค์ศักดินิตที่เป็นเจ้ากรมของเฝ้าหรือไม่?
บันทึกการเข้า
สยามนาวี
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 182  เมื่อ 10 เม.ย. 13, 12:11

 ขอความกรุณาท่าน V_MEE และคุณเทาชมพู ช่วยวิเคราะห์ บทความในเว็บนี้ ว่าน่าจะถูกผิดประการใด (ช่วงท้ายบทความครับ) http://www.thairath.co.th/column/pol/kumpee/291241
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 183  เมื่อ 10 เม.ย. 13, 16:10

เข้าที่นี่น่าจะสะดวกกว่า

http://www.thairath.co.th/column/pol/kumpee/291241



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 184  เมื่อ 10 เม.ย. 13, 16:27

ผิดแน่นอน  
ประโยคที่ถูก น่าจะเป็นอย่างที่คุณ V_Mee ออกความเห็นไว้  คือ
" ส่วนที่ดิน กรมพระนครสวรรค์วรพินิตประทานแก่กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต ซึ่งเป็นพระโอรส"

มีความเป็นไปได้อีกอย่างเป็นอันดับสองก็คือ

"ส่วนที่ดิน กรมพระนครสวรรค์วรพินิตประทานแก่หมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต (ปราชญ์ เปล่งรัตน์)  ซึ่งเป็นเจ้ากรมของพระโอรส - กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิ์พินิต"

ถ้าเป็นอย่างที่สอง ก็สันนิษฐานว่า ตำหนักของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ฯ ที่เคยปลูกอยู่ที่อัมพวา ถูกรื้อถอนไปปลูกอยู่ที่วังสวนผักกาด   เหลือแต่ผืนที่ดินเปล่าๆ     พระองค์ท่านก็เลยประทานที่ดินตรงนั้นให้เจ้ากรมของพระโอรส ซึ่งเจ้ากรมผู้นี้อาจจะเป็นชาวอัมพวามาแต่เดิม หรือว่าได้ปลูกบ้านอยู่เฝ้าตำหนักนี้มาแต่เดิม   ให้ได้อยู่อาศัยอย่างถาวร
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 185  เมื่อ 10 เม.ย. 13, 16:30

คุณสยามนาวีอาจลองค้นหาในเว็บราชกิจจาฯ (หรือถ้าหาไม่เจอ ก็อาจขอร้องให้คุณเพ็ญชมพูค้นให้   เพราะท่านเก่งเรื่องค้นเนื้อหาเว็บนี้)  ว่าหมื่นนครสวรรค์วรพินิตนี้มีตัวจริง หน้าที่การงานถูกต้องตามที่คุณเทพ สุนทรศารทูลค้นคว้ามาไว้หรือไม่  อาจจะเข้าใจได้กระจ่างขึ้นอีกค่ะ
บันทึกการเข้า
สยามนาวี
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 186  เมื่อ 10 เม.ย. 13, 18:18

คุณสยามนาวีอาจลองค้นหาในเว็บราชกิจจาฯ (หรือถ้าหาไม่เจอ ก็อาจขอร้องให้คุณเพ็ญชมพูค้นให้   เพราะท่านเก่งเรื่องค้นเนื้อหาเว็บนี้)  ว่าหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิตนี้มีตัวจริง หน้าที่การงานถูกต้องตามที่คุณเทพ สุนทรศารทูลค้นคว้ามาไว้หรือไม่  อาจจะเข้าใจได้กระจ่างขึ้นอีกค่ะ
    ตามคำแนะนำของคุณเทาชมพู ผมคงต้องขอความกรุณาคุณเพ็ญชมพูช่วยค้นประวัติของหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต(ปราชญ์ เปล่งรัตน์)ให้ด้วยครับ เพราะผมค้นมานานแต่ไม่ถูกทาง จึงขอความกรุณาและขอขอบคุณ ทั้งคุณ V_Mee คุณเทาชมพู และคุณเพ็ญชมพู มา ณ ที่นี้ด้วยครับ ที่ทำให้ผมเกิดความกระจ่างและเข้าใจได้ถูกต้อง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 187  เมื่อ 10 เม.ย. 13, 21:05

เท่าที่ได้ข้อมูลจากอินทรเนตร คุณปราชญ์ เปล่งรัตน์ เข้าศึกษา โรงเรียนพยาบาลทหารเรือ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕ และคงได้รับการแต่งตั้งเป็นหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต เมื่อ พ.ศ ๒๔๙๕

จาก ประกาศสถาปนาพระราชวงศ์ ประกาศ ณ วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 188  เมื่อ 10 เม.ย. 13, 21:20

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2487 ที่ตำหนักประเสบัน เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย ในขณะที่ทรงพระชนพรรษา 63 พรรษา
ไม่มีโอกาสจะทรงทราบว่า พระโอรสทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต ในอีก 8 ปีต่อมา  ก็หมายความว่า ไม่ทรงทราบว่าใครจะได้เป็นเจ้ากรมของพระโอรส     
ดังนั้นก็ไม่น่าจะมีโอกาสประทานที่ดินที่อัมพวาให้หมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต   

ก็เหลือความเป็นไปได้ข้อที่ 1  คือที่ดินแปลงนี้ ประทานแก่พระโอรส มาตั้งแต่ยังประทับอยู่ในประเทศไทย  ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง   แต่บทความนี้ พิมพ์ผิด

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 189  เมื่อ 10 เม.ย. 13, 21:38

ดังนั้นก็ไม่น่าจะมีโอกาสประทานที่ดินที่อัมพวาให้หมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต   

อาจจะประทานที่ดินที่อัมพวาให้คุณปราชญ์ เปล่งรัตน์ ก่อนได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิตก็เป็นได้

สอดส่องอินทรเนตรอยู่สักพัก พบนามสกุล เปล่งรัตน์ อยู่ที่อัมพวาด้วย   ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 190  เมื่อ 10 เม.ย. 13, 21:44

แกะรอยหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต(ปราชญ์ เปล่งรัตน์)

เท่าที่ได้ข้อมูลจากอินทรเนตร คุณปราชญ์ เปล่งรัตน์ เข้าศึกษา โรงเรียนพยาบาลทหารเรือ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕ และคงได้รับการแต่งตั้งเป็นหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต เมื่อ พ.ศ ๒๔๙๕

มารู้จักพวกที่เรียนในโรงเรียนพยาบาลทหารเรือในรัชกาลที่ 6  กันหน่อยนะคะ
โรงเรียนพยาบาล กองการศึกษา กรมแพทย์ทหารเรือ (Naval Nurse Corps School) เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๙ เป็นหน่วยขึ้นตรงกับกองการศึกษา กรมแพทย์ทหารเรือ โดยมีกรมยุทธศึกษาทหารเรือควบคุมอีกทีหนึ่ง  จัดตั้งขึ้นเพื่ออำนวยการฝึกหัดศึกษาวิชาชีพการพยาบาล

ผู้เข้าศึกษา คัดเลือกจากพลทหารเรือ   มีฐานะเป็นนักเรียนจ่า พรรคพิเศษ เหล่าทหารแพทย์    ใช้เวลาอบรม 3 เดือน  ในสมัยนั้นยังไม่มีหลักสูตร

รายชื่อเพื่อนร่วมรุ่นของท่านปราชญ์ เปล่งรัตน์

ชั้น ใช้เจริญ
เอื้อม เสนีวงษ์ ณ อยุธยา
ประยูร แย้มลำยอง
ซ้อน เนียมรักษา
ล้วน สุทธิ์รัตน์
ย้อย แหยมวิเชียร
เจือ สระสมบูรณ์
บุญชู จินตะนานุช

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 191  เมื่อ 10 เม.ย. 13, 21:48

พลทหารเรือหนุ่มๆเหล่านี้ ทางโรงเรียนไม่ได้กำหนดวุฒิการศึกษา  ต่อมาเมื่อพ.ศ.๒๔๗๙ นายแพทย์เล็ก สุมิตร ได้พัฒนาหลักสูตรนักเรียนพยาบาลทหารเรือ เป็นหลักสูตร ๒ ปี เพื่อให้ทัดเทียมกับโรงเรียนแห่งอื่น รับผู้จบการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ ๖ สายสามัญ คือมัธยมต้น  ไม่ใช่มัธยมปลายอย่างม. ๖ สมัยนี้
ก็พอคาดคะเนได้ว่า  ท่านปราชญ์น่าจะเป็นเด็กหนุ่มอายุไม่เกิน ๑๘ ปีเมื่อเข้าเรียนที่โรงเรียน  อบรม ๓ เดือนก็ถือว่าเรียนจบในพ.ศ. ๒๔๖๕  
เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ฯต้องเสด็จลี้ภัยการเมืองออกไปนอกประเทศ ในพ.ศ. ๒๔๗๕  คืออีก ๑๐ ปีต่อมา  ท่านปราชญ์น่าจะอายุประมาณ ๒๘ ปี    ยังหาหลักฐานไม่พบว่าท่านได้ตามเสด็จไปเมืองบันดุงหรือเปล่า  แต่ว่าเจ้านายของท่านคือ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต ทรงพาครอบครัว ตามเสด็จพระบิดาไปประทับยังเมืองบันดุงด้วย   กลับมาประเทศไทยอีกครั้งก็หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ จบไปแล้ว
มีความเป็นไปได้ว่าท่านปราชญ์อาจตามเสด็จไปบันดุง ในฐานะมหาดเล็กหรือข้าราชบริพาร  เคยรับใช้ใกล้ชิด    เมื่อเจ้านายเสด็จกลับมา จึงได้เป็นเจ้ากรม  เพราะตำแหน่งนี้ไม่น่าจะเลือกจากคนภายนอกที่ไม่รู้จักมักคุ้นกับเจ้านายมาก่อน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 192  เมื่อ 10 เม.ย. 13, 21:57

ดังนั้นก็ไม่น่าจะมีโอกาสประทานที่ดินที่อัมพวาให้หมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต    

อาจจะประทานที่ดินที่อัมพวาให้คุณปราชญ์ เปล่งรัตน์ ก่อนได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิตก็เป็นได้

สอดส่องอินทรเนตรอยู่สักพักพบนามสกุล เปล่งรัตน์ อยู่ที่อัมพวาด้ว

นึกอยู่แล้วว่าคุณเพ็ญชมพูจะต้องขัดคอเรื่องนี้      
ที่ดิฉันเขียนข้างบนนี้หมายความว่า  ที่ดินซึ่งเป็นที่ปลูกตำหนัก ต้องเป็นที่ดินในทำเลที่ดี คัดเลือกแล้วว่าเหมาะสมกับเป็นที่อยู่ของเจ้านายชั้นเจ้าฟ้า   ไม่ใช่ที่ดินอะไรก็ได้   ถ้าจะประทานให้ข้าราชบริพาร ก็น่าจะเป็นข้าราชบริพารสำคัญ    
ในตอนนั้นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ฯ ไม่มีโอกาสทราบว่าใครจะมาเป็นเจ้ากรมของพระโอรส   ท่านจะประทานให้คุณปราชญ์ผู้มีวัยหนุ่ม อายุไม่เกิน ๒๘ ปี ให้ครอบครองที่ดินที่เคยเป็นที่ปลูกตำหนักของท่านทีเดียวหรือ
และกรุณาอย่าขัดคออีกว่า อาจจะแบ่งส่วนหนึ่งให้ก็ได้นี่นา     ที่ดินสมัยโน้นไม่ใช่ที่ดินจัดสรรสมัยนี้ที่จะเฉือนแบ่งกันไปทีละ ๕๐-๑๐๐ ตารางวา   สมัยโน้นที่สวนอย่างในอัมพวาเขานับกันเป็นขนัด   ขายกันหรือยกกันให้ก็ทีละสิบๆไร่     เพราะเจ้าของที่ดินในละแวกสวนอย่างอัมพวาต้องใช้ที่ดินในการทำสวนด้วย   ยกให้ ๑๐๐ ตารางวา  ไม่รู้จะเอาไปปลูกอะไรเลี้ยงชีพ  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 193  เมื่อ 10 เม.ย. 13, 22:04

ทีนี้  ถ้าหากว่าหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต (ปราชญ์ เปล่งรัตน์) ได้เป็นเจ้าของที่ดินที่อัมพวาจริง  จนมีลูกหลานตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นั่น   ก็เป็นไปได้ว่า เจ้านายคือกรมหมื่นนครสวรรค์ฯ เจ้าของที่ดิน  ท่านประทานให้ในภายหลัง อาจเป็นบำเหน็จรางวัลในฐานะเจ้ากรม  เมื่อท่านปราชญ์รับราชการมาจนชราแล้ว     
แต่ไม่ใช่ประทานโดยสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ฯตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ ๗ 
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 194  เมื่อ 11 เม.ย. 13, 01:27

ฮิฮิ เวลาเห็นท่านอาจารย์ขัดคอกันแล้วทำให้กระทู้ยิ่งสนุกครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.045 วินาที กับ 20 คำสั่ง