เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 7862 ศาลายา ศาลายา
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
 เมื่อ 04 มี.ค. 05, 10:17

 วันก่อนฟังรายการวิทยุ จัดโดยคุณหมอซึ่งเคยเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล ตอนนี้เกษียรอายุไปหลายปีแล้ว คุณหมอท่านเล่าเรื่องโบราณ สมัยที่มหาวิทยาลัยมหิดลเริ่มจะตั้งวิทยาเขตที่ศาลายาใหม่ๆ ซึ่งในฐานะอาจารย์บางครั้งต้องไปค้างคืนที่วิทยาเขตเปิดใหม่ซึ่งในตอนนั้นเปลี่ยวมากๆ

คุณหมอเลยเล่าเรื่องความ "เฮี้ยน" ของศาลายา ว่าสมัยนั้น "ผีดุเหลือหลาย" แกเล่าหลายเรื่องครับ แต่เรื่องหนึ่งแกบอกว่าแถวนั้นผีดุเพราะเคยเป็นสนามรบตั้งแต่สมัย "ทวาราวดี"

ผมก็พอจะทราบมาบ้างว่าบางชุมชนของทวาราวดีอยู่แถวๆนครปฐม แต่ก็ยังสงสัยอยู่ว่าศาลายาเป็นสนามรบจริงๆนะหรือ วานผู้รู้ช่วยชี้แจงด้วยครับ

เคยทราบจากอาจารย์ท่านหนึ่งว่าชื่อ ศาลายา มาจากว่าเมื่อก่อน คาดว่าสมัยต้นรัตนโกสิน เคยมีการอพยบผู้ป่วยโรคระบาด ไม่ทราบเหมือนกันว่าจะเป็นอหิวา หรือไข้ทรพิษ มาไว้บริเวณนี้ เนื่องจากเป็นสถานที่รักษาคนไข้ เลยได้ชื่อว่าเป็นศาลายา ไม่ทราบถูกต้องหรือเปล่าครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 05 มี.ค. 05, 08:13

 เคยได้ยินมาอย่างเดียวกับคุณจ้อค่ะ
บันทึกการเข้า
งอไห่ไทกอกหยั่น
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 23 พ.ย. 06, 22:57

 ผมเป็นเด็กมหิดล ศาลายา  รุ่นพี่เล่ามาอย่างนี้เหมือนกันครับ
บันทึกการเข้า
Vinicy de Planetia
อสุรผัด
*
ตอบ: 14

99/112 หมู่ 2 ตำบลท่าศาลา อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี 15000


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 25 พ.ย. 06, 17:21

 หมอไม่เข้ามารักษา

คนใจบุญ ก็เอายามาโยน ๆ ไว้ในศาลาให้ชาวบ้านเอาไปรักษากันเอง
บันทึกการเข้า
samson
อสุรผัด
*
ตอบ: 18



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 30 มิ.ย. 11, 16:53

ผ่านมาเจอพอดี เลยแวะมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมครับ ถึงโพสนี้จะนานไปแล้ว แต่ก้อเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์ครับ ..... ในสมัย ร.5 ได้มีการขุดคลอง ชื่อว่า 'คลองขุด' ผ่านมาบริเวณนี้ เป็นระยะทางยาวมาก มีการตั้งศาลาเป็นจุดๆในแถบชุมชนที่ผ่าน ในเรื่องการขุดคลองนี้ แทบจะเรียกได้ว่า เป็นต้นกำเนิดของเรื่องผีสางที่เล่าขานกันมา แม้แต่ในเรื่องอยู่กับก๋ง ยังเคยมีปรากฏไว้ อันเนื่องจากว่า การขุดคลองในสมัยนั้น ลำบากมาก ทั้งทุรกันดาน และโรคภัยไข้เจ็บ ในลำคลองสายเดียวกันนี้ ต้นๆสายจะมีศาลาอีกศาลาหนึ่ง ชื่อว่า ศาลาธรรมสพ (ไม่แน่ใจเรื่องการสะกด) ซึ่งแท้จริงแล้ว เปลี่ยนมาจากชื่อ ศาลาทำศพ เนื่องด้วยสมัยแรกขุดคลองนั้น มีคนงานขุดคลองตายเยอะมากจริงๆ ถึงตั้งศาลาเอาไว้ทำศพ ส่วนศาลายานั้น ในครั้งนั้น มีการติดตำรายาไว้ที่ศาลา เพื่อเผยแพร่สำหรับคนในชุมชน จึงเป็นที่มาสำหรับชื่อศาลายา  ยิ้มเท่ห์

บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 01 ก.ค. 11, 11:28

มาขอแจมด้วยคนค่ะ เพราะเคยได้ยินแตกต่างไปมาก ว่า

ศาลาทำศพ และ ศาลายา เกิดจากการที่มีอุบัติเหตุรถไฟชนกัน หรือตกรางในบริเวณนั้นค่ะ

จำไม่ได้แม่นนะคะว่าเกิดเมื่อไร นานมากแล้ว และได้ยินเรืองนี้จากสารคดีทางวิทยุค่ะ
มีคนตายมากมายจากเหตุการณ์นั้น และในสมัยนั้น การคมนาคมยังไม่ดี
ศพคนตายมากมายจึงได้รับการทำพิธีกันที่ตรงนั้น จึงได้ชื่อว่า ศาลาทำศพ
ต่อมาเปลี่ยนให้เป็น ศาลาธรรมสพน์(แปลว่า เสียงพระธรรม)
ศาลายา ก็เป็นที่พยาบาลคนบาดเจ็บจำนวนมากค่ะ

อันไหนคือเรื่องที่ถูกต้อง ช่วยกันหาข้อมูลนะคะ 
บันทึกการเข้า
samson
อสุรผัด
*
ตอบ: 18



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 01 ก.ค. 11, 12:12

รู้สึกว่า ที่ได้ยินกันมา จะมาจากรายการวิทยุ เสียส่วนมาก... พอดี ผมเป็นคนพื้นที่น่ะครับ อยู่กันตรงนี้มา 5 รุ่นแล้ว คนไม่รู้ข้อมูลจริงก็ไปเล่ากันผิดๆนะครับ ยิ่งไปเล่ากันออกวิทยุเลยทำให้คนเข้าใจผิดกันไปใหญ่เลย... ความจริง นอกจาก 2 ศาลานี้ (ศาลาธรรมสพน์ และ ศาลายา) ยังมีอีก 5 ศาลาครับ ทั้ง 7 ศาลานี้ สร้างขึ้นไล่ๆกันตามคลองที่ขุดมาถึง ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ มหาโกษาธิบดี (ขำ บุญนาค) ขุดคลองขึ้นในปี 2398 แล้วเสร็จในปี 2403 เป็นคลองที่เชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งชื่อใหม่ให้ว่า คลองมหาสวัสดิ์ โดยเริ่มต้นที่คลองบางกอกน้อย ตรงวัดชัยพฤกษ์มาลา เขตตลิ่งชัน กทม. ไปออกที่แม่น้ำท่าจีน ตรงบริเวณศาลเจาสุบิน ต.งิ้วราย อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม เพื่อใช้เป็นเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์

ทุกระยะ 4 กิโลเมตร โปรดเกล้าให้สร้างศาลาไว้ริมคลอง จำนวน 7 ศาลา สมัยนั้นเรียกว่า ศาลา 1, ศาลา2, ศาลา 3, ศาลา 4 (ศาลากลาง), ศาลา 5 (ศาลาทำศพ), ศาลา 6 (ศาลายา), ศาลา 7 (ศาลาดิน)

ปัจจุบันทั้ง 7 ศาลา ไม่เหลือร่องรอยให้เห็นแล้ว เหลือไว้แต่ตำนานที่เล่าขานกันว่า ศาลาที่ 4 อยู่ที่ตำบลศาลากลาง อ.บางกรวย จังหวัดนนทบุรี

ศาลาที่ 5 เป็นศาลาคู่สำหรับตั้งทำศพ เพื่อพิธีฌาปนกิจ เนื่องด้วยมีคนงานเสียชีวิตจำนวนมากในการขุดคลอง ตั้งอยู่ตรงหลักกิโลเมตรที่ 15 ริมทางรถไฟสายใต้ เรียกศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯมหานคร
   
ศาลาที่ 6 คือ ศาลายา อยู่บริเวณหมู่ที่ 3 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล เป็นศาลาที่จารึกตำรายาเอาไว้ สำหรับผู้สัญจรผ่าน และคนในชุมชน
ศาลาสุดท้ายคือ ศาลาดิน อยู่บริเวณหมู่ที่ 3 ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล เล่ากันว่าเป็นสถานที่ฝั่งศพในสมัยนั้น

...........  ยิ้มกว้างๆ
อย่างที่ไปเล่ากันว่ารถไฟชนกันหรือตกราง อันนี้คนละยุคกันเลยครับ สมัย ร.4 สร้างศาลาทำศพแล้ว แต่ประเทศไทยยังไม่มีรถไฟนะครับตอนนั้น
  
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 01 ก.ค. 11, 17:58

ลองหาอ่านจาก "นิราศพระปฐม" ของหลวงจักรปาณี (ฤกษ์) ท่านประพันธ์ไว้ก็ได้ครับ ท่านพรรณาถึงศาลาเหล่านี้ไว้

ค้นจากตู้หนังสือเรือนไทยนี่แหละ มีอยู่

บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 02 ก.ค. 11, 05:59

Server Error ต่อเนื่องจนเกือบจะถอดใจ

ศาลายา เดิมเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่ครั้งหนึ่งดินแดนแห่งนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลนครไชยศรีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

เป็นราชธานี ... ส่วนชื่อ "ศาลายา" เป็นชื่อที่เพิ่งจะใช้เรียกกันในสมัยรัชกาลที่ ๔ ถายหลังจากมีการขุดคลองมหาสววัสดิ์ และ

เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) สร้างศาลาที่บันทึกตำรายาไว้ จึงพากันเรียกว่า "บ้านศาลายา" มานับแต่นั้น
...
คลองมหาสวัสดิ์เป็นคลองขุดขนาดกว้างเจ็ดวา ลึกหกศอก ยาว ๒๗ กิโลเมตรเศษ เริ่มต้นจากคลองบางกอกน้อยริมวัด

ชัยพฤกษ์มาลา ไปออกแม่น้ำท่าจีนตรงบริเวณเหนือศาลเจ้าสุบิน ตำบลงิ้วราย อำเภอนครชัยศรี ชาวบ้านเรียก "คลองขุด" บ้า

งกฌรียก "คลองขุดชัยพฤกษ์" เริ่มขุดเมื่อเดือนกันยายน ๒๔๐๐ ขุดเสร็จในปี ๒๔๐๓ ... ทุกระยะ ๔ กิโลเมตรมีการสร้าง

ศาลาไว้ริมคลอง ซึ่งต่อมาเรียกชื่อกันต่างๆ กันออกไป เช่น ศาลาธรรมสพน์ (เดิมเขียนว่าศาลาทำศพ  เพราะเป็นศาลาที่ตั้งศพ

เพื่อทำพิธีฌาปนกิจ ต่อมาหลังสงครามโลกครังที่ ๒ เห็นว่าไม่เป็นมงคล จึงเปลี่ยนเป็น ธรรมสพน์ มาจากคำ ธรรมสรพณ์ +

สฺรวณ แปลว่าการฟัง) ศาลายา (อยู่บริเวณหมู่ที่ ๓ ตำบลศาลายาปัจจุบัน) ศาลากลาง ศาลาดิน เป็นต้น
คนที่มาขุดส่วนใหญ่เป็นคนจีนปกครองโดยราชวงศ์แมนจู ...

คลองโยง เป็นคลองดั้งเดิมที่มีมาก่อนการขุดคลองมหาสวัสดิ์ เป็นคลองดั้งเดิมที่มีมาก่อนการขุดคลองมหาสวัสดิ์ เป็นคลอง
ที่เชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำท่าจีน และเป็นเส้นทางสัญจรสำคัญที่ใช้กันมาก่อน
ในโคลงนิราศพระประถม พระนิพนธ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท กล่าวถึงคลองโยงว่า
ทางโยงโยงเชือกรั้ง   เรือจร
เรือก็ล่วงลุขอน   นับร้อย
รักเรียมที่ติดดอน   ดาลสวาดิ์  อยู่แม่
ไฉนจักฉุดโยงคล้อย   เคลื่อนเข้าคลองทรวงฯ


ที่มา - อภิลักษณ์ เกษมผลกูล, เล่าขานตำนานศาลายา (พิมพ์ครั้งที่ ๒), ๒๕๕๒



บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 19 คำสั่ง