เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 10230 มุกดาหารใช่ไข่มุกหรือเปล่าคะ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 03 พ.ย. 00, 16:50

เรื่อง มหาลดาประสาธน์ของนางวิสาขา เป็นที่มาของโลหะปราสาท
ในตอนแรกว่าจะเขียนบทความเรื่องโลหะปราสาทวัดราชนัดดา  แต่เปิดไปเจอในเว็บก็เลยไม่ได้เขียนค่ะ
พอดีคุณยกเรื่องนี้ขึ้นมาก็เลยได้ทบทวนความจำอีกครั้ง

มหาลดาประสาธน์ ของนางวิสาขา มีรายละเอียด  ดังนี้
ใช้เวลาทำ ๔ เดือน
ใช้ช่างทอง ๕๐๐ คน
ทองคำ ๑๐๐๐ ลิ่ม
แก้วมณี ๓๓ ทะนาน
แก้วมุกดา ๑๑ ทะนาน
แก้วประพาฬ ๒๐ ทะนาน
เพชร ๕ ทะนาน
ลักษณะเครื่องประดับ เป็นเครื่องคลุมตั้งแต่หัวจรดหลังเท้า  
บนศีรษะทำเป็นรูปนกยูงยืนในท่ากระพือปีก   ขนปีกทำด้วยทองคำ  
จงอยปากทำด้วยแก้วประพาฬ  ตา คอ และหางทำด้วยแก้วมณี
ก้านขนและหน้าแข้งทำด้วยเงิน  ลูกดุมทำด้วยทอง  รังดุมทำด้วยเงิน
เป็นราคาทั้งหมด ๙ โกฎิ  ค่ากำเหน็จ ๑ แสน
เครื่องประดับนี้เป็นที่มาของโลหะประสาทหลังแรก ชื่อ มิคารมาตุปราสาท
บันทึกการเข้า
อินทาเนีย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 08 พ.ย. 00, 09:40

รู้สึกว่าปริมาณรัตนะที่ใช้ทำมหาลดาปสาธน์ที่คุณเทาชมพูเขียนไว้ ต่างจากของผมนะครับ ไม่ทราบว่าคุณเทาชมพูไปเอามาจากตำราเล่มไหน ใครเป็นคนเขียนครับ?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 08 พ.ย. 00, 13:42

หนังสือ โลหะปราสาท ของกองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร ค่ะ
คิดว่านำมาจากพระไตรปิฎกอีกทีหนึ่ง
บันทึกการเข้า
อินทาเนีย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 08 พ.ย. 00, 14:32

ขอบคุณครับ...



ที่ผมแปลนั้นมาจากหนังสือ "Dictionary of Pali Proper Names" เขียนโดยท่าน G.P. Malalasekera แห่ง Pali Text Society (สมาคมบาลีปกรณ์) ครับ ทั้งคนเขียนและทั้งสมาคมนั้นมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ หนังสืออ้างอิงของผู้เขียนท่านนี้ก็คือพระไตรปิฎกเหมือนกันครับ แต่ไม่รู้ว่าข้อมูลใครผิด ผมตรวจดูแล้ว ผมแปลไม่ผิดครับ อย่างคำว่า "มุกดา" ที่คุณเทาชมพูลอกมานั้น เขาใช้คำว่า "pearl" คือ ไข่มุก เลยหละครับ ไม่ใช่ 'moonstone' ซึ่งหมายถึงอินทุกานต์หรือจันทรกานต์

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 08 พ.ย. 00, 15:26

ดิฉันคิดว่า คำว่า มุตฺตา ในภาษาบาลี พอมาแปลเป็นไทยแล้ว เปรียญทั้งหลายท่านใช้คำว่า มุกดา   ไม่เคยเห็นใช้คำว่าไข่มุกเลย

คำว่า ไข่มุก จะมาจากหนังสือต้นฉบับภาษาอังกฤษ มากกว่า   เริ่มต้นจากปลายรัชกาลที่ ๕ เมื่อวรรณกรรมจากอังกฤษเข้ามาในไทย
แปลจากคำว่า pearl
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 10 พ.ย. 00, 16:23

งั้นพอจะย่ออย่างนี้ได้ไหมคะ
มุตฺตา,มุก.ดา  (จากบาลี สันสกฤต) --->  อังกฤษ + pearl
มุตตา  มุกฺดา (บาลีสันสกฤต) --> ไทย + มุกดา  ไข่มุก

ในแหวนนพเก้า  แปล มุกดาหาร ว่า moonstone ไม่ใช่ pearl
ส่วนใครเป็นคนริเริ่มใช้ moonstone แทน pearl  เป็นคนแรก
ทั้งคุณและดิฉันยังหาคำตอบไม่ได้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 11 พ.ย. 00, 00:16

"...ท่านใช้คำว่า มุกดา ไม่เคยเห็นใช้คำว่าไข่มุกเลย" ก็หมายความตรงตัวละค่ะ  ว่าดิฉันไม่เคยเห็น
ในวรรณคดีที่ย้อนหลังตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ ถอยขึ้นไปจนอยุธยา

แต่การใช้คำว่า ไข่มุก เห็นบ่อยในวรรณกรรมตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมา  ในหนังสือแปลจากตะวันตก

ถ้าคุณเคยเห็นก็ช่วยเอามาเล่าให้ฟังด้วยค่ะ   ถ้ายกตัวอย่างด้วยจากหนังสือได้ก็เป็นประโยชน์แก่คนอ่านที่ไม่มีหนังสือด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
ป้านิล
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 13 พ.ย. 00, 09:49

เคยไปนั่งคุยกับเจ้าของร้านจิวเวลลี่  ถามเขาเรื่องนี้เหมือนกันว่าไข่มุก กับ มุกดานี่เหมือนกันไหม เขาหยิบมุกดามาให้ดู  ไม่เหมือนมุกเลยค่ะ เป็นสีขาวขุ่นๆ  แต่มีความแวววาว ใศแบบทับทิมที่ยังไม่ได้เจียระนัย  ดูแล้วสวยสู้ไข่มุกไม่ได้  ไข่มุกดูหรูกว่า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 13 พ.ย. 00, 13:04

moonstone หรือมุกดาหาร  จัดอยู่ในกลุ่ม semi-precious stones เป็นอัญมณีประจำราศีเมถุน  มีหลายสีค่ะ เช่น สีฟ้า ชมพู ส้ม แต่ในเมืองไทยเรามักจะเห็นสีขาวมากกว่าสีอื่น

อย่างภาพที่เอามาลง เป็นเข็มกลัดมุกดาหารสีขาว  หัวเป็นไข่มุกสีดำ
http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/reurnthai133x23.jpg'>
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 13 พ.ย. 00, 13:06

ส่วนนี่คือ  moonstone สีฟ้าค่ะ
http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/reurnthai133x24.jpg'>
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 13 พ.ย. 00, 13:11

ส่วนนี่คือไข่มุกที่คุณป้านิลชอบ
http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/reurnthai133x25.jpg'>
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 13 พ.ย. 00, 13:14

แถมให้ดูอีกชิ้นค่ะ  ใกล้คริสต์มาสแล้ว  ต้นคริสต์มาสจิ๋วประดับด้วยอัญมณีหลายชนิดและไข่มุก
http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/reurnthai133x26.jpg'>
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 13 พ.ย. 00, 14:27

มุกดาหาร หาอ่านได้ที่นี่ค่ะ

http://thai.to/gemstones/gemsInfo/gindex.html' target='_blank'>http://thai.to/gemstones/gemsInfo/gindex.html



~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

มุกดาหาร-บาลีว่ามุตฺตา มุตฺตาหาร บางแห่งก็ใช้ศัพท์ว่า สิปฺปิ-หอยมุก หรือศัพท์ว่า สุตฺต-หอยโข่ง ล้วนแต่หมายถึงมุก ทั้งนั้น)

อันว่ามุก มีที่กำเนิด ๑๒ แห่ง (คือ)



-เกิดในศีร์ษะปลาทั้งปวง ผลเท่าเปล็ดมะกล่ำไฟ สีขาวแกมดังดอกแคฝอย ผู้ใดถือเบาตัว ดำมิจมน้ำเลย



-เกิดในหอยโข่งใหญ่ มีผลกลมดังไข่จิ้งจก สีพรรณขาวดังสังข์ ผู้ใดถือจะจำเริญสุข จะมีสมบัติ



-เกิดในศีร์ษะสมัน มีรัศมีกล้าดังพระอาทิตย์ และสีดังตานกเค้า



-เกิดในงาช้าง หารัศมีมิได้มีพรรณแดงรูปใหญ่เท่าไข่ไก่ถือ รบศึกชนะ ช้างไล่มิได้เลย ช้างกลัวนัก



-เกิดในคอผู้หญิง เกิดในคอผู้ชาย เกิดในคอนกกระทุง สามจำพวกนี้เกิดแต่ในกฤดายุค และทวาปรยุค จะได้เกิดในกลียุคทุกวันนี้หามิได้จึงมิได้กล่าวไว้ในตำรา



-เกิดในต้นอ้อ ต้นขาวและต้นไม้ไผ่ ผู้ใดถือเป็นเสน่ห์



-เกิดในหัวงู มีอานุภาพมาก ผู้ใดถือรบศึก ข้าศึกเห็นดังงูจะขบกลัวหนีไปเอง



-เกิดในเขี้ยวหมู ผลเท่าเล็บเหยี่ยวลายน้อยหนึ่ง สีเหลืองดังสีเล็บเหยี่ยว ผู้ใดถือจะประสิทธิ์ (สำเร็จสมประสงค์) ทุกประการ



-เกิดในหอยชะเล (หอยทะเล) ๔ แห่ง คือ แห่งหนึ่งเกิดในชะเลปาละฤาษีเทศ แห่งหนึ่งเกิดในหอยชะเลปาลิไลยะเทศ แห่งหนึ่งเกิดในหอยชะเลตะนาวศรี แห่งหนึ่งเกิดในชะเลสิงหล รัศมีงาม สีหม่นดั่งเมล็ดพรรณผักกาด อนึ่งมุกอันเกิดในหอยชะเลตะนาวศรี น้ำแดงผลใหญ่



-เกิดในเมฆ มีรัศมีดังพระอาทิตย์ ถ้าจะแลดูแสงทอตานัก มุกจำพวกนี้พิทยาธรและฤาษีทั้งหลายจึงจะถือได้ มนุษย์บ่ห่อนจะถือได้เลย



มุกให้คุณและโทษ

อันว่ามุก จะให้จำเริญคุณแก่ผู้ถือมี ๖ จำพวก คือ

จำพวกหนึ่งเหลืองอ่อนดังรัศมีพระจันทร์

จำพวกหนึ่งถือเย็นแก่มือ(น่าจะเป็น แก้วจันทรกานต์-เทาชมพู)

จำพวกหนึ่งเบาแก่มือ

จำพวกหนึ่งถือเย็นแก่ตา

จำพวกหนึ่งมีรูปดังดีนก

จำพวกหนึ่งกลมขาวบริสุทธิ์ (น่าจะเป็นไข่มุก-เทาชมพู)



อันว่ามุก มีโทษ ๑๐ ประการคือ ประการหนึ่งดังหนามติดอยู่ในผล ๑ เมล็ดทรายติดอยู่ในผล ๑ สองประการนี้ผู้ใดถือจะป่วยไข้ จะเป็นผี

ผู้ใดถือมุกอันดินดำเข้าติดอยู่ในผลก็ดี ดินแดงเข้าอยู่ในผลก็ดี ผู้ถือนั้นสมบัติจะฉิบหาย

ผู้ใดถือมุกโทษอันมีผลเบี้ยวก็ดี เป็นฝาแฝดก็ดี ผู้ใดถือจะเข็ญใจยากไร้

ผู้ใดถือมุกโทษอันเป็นลายกลีบ ผู้ถือจะเป็นผู้หูหนวก ผู้ใดถือมุกโทษอันคร่ำมีสีดังน้ำไหลไปมา ผู้ถือจะต้องเครื่องศาสตราวุธ



ผู้ใดถือมุกอันประกอบด้วยคุณ ๖ จำพวก และเว้นจากโทษ ๑๐ ประการผู้ถือจะมไพร่ฟ้าข้าไทช้างม้าศฤงคารบริวารเป็นอันมาก จะสุขสำราญด้วยอานุภาพมุกอันมีคุณพิเศษดังกล่าวมานี้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 13 พ.ย. 00, 14:31

คำอธิบายเรื่องมุกดาหารข้างบนนี้ มาจาก "ตำรานพรัตน์)

เข้าใจว่าตำรานี้เป็นสำเนาหนังสือที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิส บุนนาค) เมื่อยังเป็นพระยาสุรวงศ์มนตรีได้สอบสวน พร้อมด้วยผู้มีนามในหนังสือนั้น แล้วนำขึ้นทูลเกล้าทูนกระหม่อมถวาย พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย

มีความว่า

"ข้าพระพุทธเจ้า พระยาสุริยวงศ์มนตรี, พระมหาวชิรธรรรม, หลวงลิขิตปรีชา, หลวงภักดีจินดา, นายชม ปรึกษาพร้อมกับสอบตำราเพชรรัตน์ตำหรับพราหมณ์ ซึ่งหลวงภักดีจินดาได้เรียนไว้มาชำระเทียบต้องกันสามฉบับ พระมหาวิชาธรรนค้นพระบาลีพุทธศาสตร์ ประกอบกับตำราไสยศาสตร์ หลวงลิขิตปรีชาอาลักษณ์แต่งตำหรับพุทธศาสตร์ ประกอบกับตำราไสยศาสตร์ทูนเกล้าถวาย ในพระบาลีคัมภีร์พุทธศาสตร์นั้นว่า



วชิรํ รัตตํ อินฺทนีลํ เวฬุริยํ รัตฺตกาฬมิสิสกํ โอทาตปีตมิสสฺกํ นีลํ ปุสฺสราคํ มุตตาหารญจาติ อิมานิ นวากาทีนิ รตนานิ ตฺสมา รตนชาติ โย อเนกวิธา นานาปเทเสสุ อุปปชฺชนตีติ เวทิตฺพพา



อธิบายตามพระบาลีว่า รตนานิ อันว่ารัตนชาติทั้งหลาย เอนกวิธา มีประการเป็นอันมากจะประมาณมิได้ นวกาทีนิ มีแก้วเก้าประการเป็นอาทิ คือ แก้ววิเชียร ๑ แก้วแดง ๑ แก้วอินทนิล ๑ แก้วไพทูรย์ ๑ แก้วรัตกาลมิสก ๑ แก้วโอทาตปปิตมิสก ๑ นิลรัตน์ ๑ แก้วบุษราคัม ๑ แก้วมุกดาหาร ๑ แก้วทั้งเก้าประการมีพรรณต่างกัน แต่แก้ววิเชียรนั้นมีสีงามบริสุทธิ์ดังน้ำอันใส ตำราไสยศาสตร์ชื่อว่า "เพชร" นับถือว่าเป็นมงคล อันพราหมณ์ทั้งหลายนำมาใช้ให้ช่างเจียรนัยผูกเรือนธำมรงค์ประดับด้วย เนาวรัตน์จัดเอาเพชรตั้งเป็นปฐม รัตตํ อันว่าแก้วมีพรรณแดงงามสดใสยิ่งนัก ในตำราไสยศาสตร์สมมุติชื่อว่าปัทมราช ถ้ามีสีแดงอ่อนดังผลเมล็ดทับทิมสุกนั้นชื่อว่า ทับทิม ประดับเรือนธำมรงค์เนาวรัตน์เป็นที่สอง อินทนีลํ อันว่าแก้วอินทนิล มีพรรณผลนั้นเขียวเลื่อมประภัสสร (สีพรายแสงพราวดังพระอาทิตย์แรกขึ้น) ดังแสงแห่งปีกแมลงทับ ในตำหรับไสยศาสตร์ชื่อว่า แก้วมรกต ประดับเรือนนพรัตน์เป็นที่สาม เวฬุริยํ อันว่าแก้วไพทูรย์ มีสีเหลืองเลื่อมพรายดังสีสรรพ์พรรณบุปผชาติทั้งหลายมีสีดอกทรึก (ซึก เป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง) เป็นอาทิ ตำราไสยศาสตร์ว่าแก้วไพทูรย์ ประดับนับเข้าในเรือนนพรัตน์เป็นที่สี่ รตฺตกาฬมิสฺสกํ อันว่าแก้วอันมีสีดำและสีแดงเจือแกมกัน (แดงก่ำ) ดูงามสดใส ในตำราไสยศาสตร์ชื่อว่า แก้วโกเมน สมมติว่ามีคุณอันพิเศษนำมาผูกเรือนธำมรงค์เนาวรัตน์จัดเป็นที่ห้า โอทาตปิตมิสฺสกํ อันว่าแก้ว อันมีสีขาวกับสีเหลืองเจือกันนั้น ตำราไสยศาสตร์ว่า แก้วเพทาย ประดับเนาวรัตน์เป็นที่หก นีลํ อันว่านิล มีสีดอกอัญชันและดอกสามหาว ประดับเรือนเนาวรัตน์เป็นที่เจ็ด ปุสฺสราคํ อันว่าบุษราคัม มีสีเหลืองเลื่อมประภัสสรดังสีวงแววหางปลาสลาด นัยหนึ่งมีสีดังหลังปู ประดับเรือนนพรัตน์เป็นที่แปด มุตฺตาหาร อันว่ามุกดาหาร มีสีดังมุกอันเลื่อมพราย ดูงามเป็นที่จำเริญจักขุบุคคลอันเล็งแลดู ประดับเรือนพระธำมรงค์นพรัตน์เป็นที่เก้า



โบราณาจารย์พฤฒาพราหมณ์ทั้งหลายผู้ฉลาดชำนาญในไตรเพท เหตุรู้จักคุณวิเศษแห่งรัตนะทั้งปวงจึงเลือกคัดจัดรัตนชาติเก้าประการ มีผลอันบริสุทธิ์สิ้นโทษทั้งนี้มาเจียรนัย ได้ศุภฤกษ์ดีจึงประดับเรือนเนาวรัตน์เป็นพระธำมรงค์ ประกอบแก้วทั้งเก้าประการ ต้องตามตำหรับไสยศาสตร์นับถือว่าเป็นมงคลอันวิเศษ เหตุดังนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงมีคำอธิบายเป็นพระบาลีว่า "ตถา รตฺตนีลาทิ เภทา อเนกวิธา มณโย นานาฐาเนสุปากฎา" แปลว่า อันรัตนชาติทั้งหลายมีสีดำและสีแดงและมีสีต่าง ๆ ซึ่งวิเศษมากกว่าแก้วเก้าประการนี้ มีเป็นอันมาก ย่อมบังเกิดในที่แทบเชิงพระเมรุบรรพต และเกิดในท้องที่พระมหาสมุท และเกิดในเขาวิบูลบรรพต และเกิดในป่าพระหิมพานต์ และบังเกิดด้วยอำนาจเทวฤทธิ์ และบังเกิดในบ่อแก้วทั้งหลายในแดนมนุษย์ ด้วยอานุภาพบุญฤทธิ์แห่งกษัตริย์ทั้งหลาย มีสมเด็จพระบรมจักรพรรตราธิราช เป็นอาทิ รัตนชาติทั้งหลายก็ปรากฎมีมาคุ้มเท่าทุกวันนี้



สนใจหาอ่านได้เพิ่มเติมที่นี่ค่ะ

http://thai.to/gemstones/gemsInfo/gindex.html' target='_blank'>http://thai.to/gemstones/gemsInfo/gindex.html
บันทึกการเข้า
ป้านิล
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 14 พ.ย. 00, 17:40

คนราศีเมถุนบางตำราก็บอกว่าไข่มุกเป็นอัญญมณีประจำตัว  บ้างก็ว่า moonstone ถ้า 2 อย่างนี้ไม่เหมือนกัน  จะใช้อย่างไหนดีเล่าคะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 19 คำสั่ง