เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 106989 พระบรมวงศานุวงศ์ประทับอยู่ที่พระตำหนักหรือพระราชวังใดบ้าง
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 08 เม.ย. 05, 12:48

 วังวรดิศเมื่อบำรุงแล้ว  
บันทึกการเข้า
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 08 เม.ย. 05, 12:50

 ด้านหลังของตำหนักใหญ่ทางปีกซ้าย  
บันทึกการเข้า
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 08 เม.ย. 05, 12:51

 หน้าต่างที่กว้างกว่าปกติ ประดับด้วยช่องเปิดรูปโค้งวงไข่ เป็นจุดเด่นของเดอห์ริง ที่มักใช้กับอาคารที่เขาเป็นผู้ออกแบบ  
บันทึกการเข้า
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 08 เม.ย. 05, 12:52


ลวดลายปูนปั้นอันสวยงามและประณีตบริเวณรอบๆ ตำหนัก
บันทึกการเข้า
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 08 เม.ย. 05, 12:59

 อีกวังหนึ่ง
วังที่แลดูทรุดโทรมอยู่ริมคลองมหานาคนั้น เมื่อราวร้อยปีก่อน เคยเป็นวังที่ประทับของสมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช (ต้นตระกูล จิรประวัติ) พระโอรสองค์ที่ 17 ในเจ้าจอมมารดาทับทิม วังนี้ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดฯ ให้สร้างพระราชทานแก่สมเด็จฯ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช เพื่อใช้เป็นที่ประทับ หลังจากที่ทรงเสด็จกลับจากการศึกษาวิชาการทหารที่ประเทศ เดนมาร์ก ในปี พ.ศ.2440 ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับที่รัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งแรก โดยทรงเรียกวังที่ประทับนี้อย่างง่ายๆ ว่า วัง มหานาค ตามชื่อคลองที่ไหลผ่านหน้าวังหลวงแห่งนี้
วังมหานาค ใช้เป็นที่ประทับได้เพียงเพลาสั้นๆ ทั้งนี้เป็นเพราะสมเด็จฯ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช นั้นทรงมีพระชนมายุเพียง 38 พรรษาก็ทรงสิ้นพระชนม์ วังมหานาคนี้จึงตกแก่ทายาท และเมื่อถึงช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา วังนี้ก็ถูกตัดแบ่งขายจนเหลือเพียงตำหนักของ พระธิดาทางปีกซ้ายเท่านั้น

ปัจจุบัน วังที่ยังเหลือเค้าโครงวังเดิมซึ่งเป็นพระตำหนักพระธิดานั้น ยังคงตั้งแทรกตัวอยู่ภายในกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน และรอวันบูรณะซ่อมแซม  
บันทึกการเข้า
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 08 เม.ย. 05, 13:04

 อีกวังหนึ่ง
วังสวนผักกาด อยู่ถนนศรีอยุธยาเป็นบ้านเรือนไทยแบบเก่า ภายในจัดตั้งเครื่องใช้และเครื่องเรือนแบบไทย มีเรือนกลาง น้ำที่มีภาพเขียนลายรดน้ำและ ศิลปะแบบไทยในบริเวณบ้านปลูกไม้ดอกไม้ประดับแบบไทยด้วย เปิดให้ ผู้สนใจเข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. เว้นวันอาทิตย์ เสียค่า เข้าชมคนละ ๕๐ บาท ชาวต่าง ประเทศ ๘๐ บาท สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. ๒๔๕๔๙๓๔  
บันทึกการเข้า
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 08 เม.ย. 05, 13:09

 วัง สวนสุนันทา
เขตพระราชฐานต่างๆ ที่อยู่ในเขตดุสิตนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มักจะทรงโปรดเกล้าให้สร้างขึ้น เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ ซึ่งก็มีอยู่หลายแห่ง อาทิ พระที่นั่งวิมานเมฆ และพระราชอุทยานสวนสุนันทา เป็นต้น และนอกจากนั้นแล้ว พระองค์ยังทรงมีพระราชดำริให้สร้างขึ้น เพื่อใช้เป็นที่ประทับของพระราชบุตร พระราชธิดา รวมทั้งเจ้านายฝ่ายในอีกด้วย

ที่พระราชอุทยานสวนสุนันทา ซึ่งเป็นพระราชอุทยานที่รัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จมาประทับ ณ ที่นี่ เพื่อทรงพักผ่อนพระอิริยาบทอยู่บ่อยครั้งนั้น พระองค์โปรดฯ ให้สร้างขึ้นด้านหลังพระที่นั่งอัมพรสถาน ในปี พ.ศ.2451 โดยมีพระราชประสงค์จะให้เป็นที่ประทับของเจ้านายฝ่ายใน ภายหลังจากที่พระองค์เสด็จสวรรคตแล้ว อีกทั้งยังทรงโปรดฯ ให้เจ้าจอมที่มีพระราชธิดา รวมทั้งเจ้าจอมที่ไม่มีทายาทเข้ามาประทับอยู่ ณ ตำหนักต่างๆ ที่ทรงโปรดฯ ให้จัดสร้างขึ้นใกล้ๆ กันทั่วพระราชอุทยาน จากนั้นจึงทรงพระราชทานนามว่า สวนสุนันทา ตามพระนามของ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทา กุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ขึ้นเป็นที่ระลึกภายหลังจากที่พระบรมราชเทวีพระองค์นี้เสด็จสวรรคต เนื่องจากเรือล่มในระหว่างทางเสด็จแปรพระราชฐานไปยังพระราชวังบางปะอิน ซึ่งและการสร้างพระราชอุทยานนี้ก็สร้างไม่เสร็จในแผ่นดินของพระองค์จริงๆ เพราะหลังจากนั้น 2 ปี พระองค์ก็เสด็จสู่สวรรคาลัย ราชอุทยานแห่งนี้ จึงมีแต่เพียงประตู ที่สร้างจากถนน บ๋วยในพระราชวังดุสิต ตัดเชื่อมมายังสวนสุนันทานี้เท่านั้น

ครั้นเข้าสู่รัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้ายู่หัว พระองค์ทรงพระราชทานนามประตูนี้ว่า ประตูสุนันทาทวาร จากนั้นจึงทรงสืบพระราชดำริต่อจากรัชกาลที่ 5 ด้วยการสร้างพระราชอุทยานนี้จนแล้วเสร็จ นอกจากนั้นแล้ว รัชกาลที่ 6 ยังโปรดฯ ให้สร้างพระที่นั่งนงคราญสโมสร ขึ้นเป็นท้องพระโรงเพื่อใช้ในการบำเพ็ญกุศลขึ้นด้วย

กาลล่วงเข้าสู่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นช่วงที่มีความผันผวนทางการเมืองสูง สวนสุนันทา นี้ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เพราะหลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.2475 พระบรมวงศานุวงศ์รวมทั้งข้าราชสำนักทั้งหลาย ก็เสด็จแยกย้ายออกมาประทับอยู่นอกสวนสุนันทา บ้างก็เสด็จออกนอกประเทศ ทำให้ราชอุทยานแห่งนี้ถูกทิ้งโทรมอยู่นานหลายปี มาจนกระทั่งรัชกาลปัจจุบันที่ประเทศเริ่มเข้าที่มากขึ้น พระราชอุทยาน สวนสุนันทาจึงได้ถูกปรับให้เป็นสถานที่ราชการ และสถาบันการศึกษา โดยสมบัติทุกอย่างยังคงเป็นของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์อยู่  
บันทึกการเข้า
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 08 เม.ย. 05, 13:12


วัง นางเลิ้ง
วังเจ้านายในยุค รัตนโกสินทร์นั้น แม้ว่าจะมีวังหลายหลังที่ตกเป็นของ สำนักงานส่วนราชการอยู่หลายแห่ง กระนั้นก็ยังมีวังหลายแห่ง ที่ตกเป็นสมบัติของสถานศึกษาด้วย อาทิ พระราชวังสนามจันทร์ เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย ศิลปากร ,วังของพระองค์เจ้า สายสนิทวงศ์กลายเป็นโรงเรียนสายปัญญา และ วังของกรมหลวงชุมพรฯ ตกเป็นของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพณิชยการพระนคร

อดีตวังของกรมหลวงชุมพรฯ ที่ปัจจุบันกลายเป็นที่ตั้งของ พณิชยการพระนครนั้น แต่เดิมวังนี้เป็นวังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างพระราชทานแก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ต้นตระกูล อาภากร ซึ่งเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 28 ในเจ้าจอมมารดาโหมด วังนี้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ประทับของ กรมหลวงชุมพรฯ ภายหลังจากเสด็จกลับจากการศึกษาวิชาทหารเรือจาก สหราชอาณาจักรนาน 7 ปี และหลังจากเสด็จกลับสู่สยามประเทศแล้ว พระองค์ก็ทรงเข้ารับราชการที่กระทรวงทหารเรือ

วังที่ประทับของกรมหลวงชุมพรนั้น รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้สร้างในที่ดินที่แต่เดิมเป็นพื้นที่ของชาวมอญ ซึ่งตั้งเป็นชุมชนใหญ่อยู่ริมคลองผดุงกรุงเกษมฝั่งทิศใต้ ชาวมอญหรือชาวรามัญกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ มีอาชีพขายตุ่ม ที่เรียกกันตามศัพท์พื้นเมืองว่า ตุ่มอีเลิ้ง ต่อมามีการเรียกตุ่มนี้ให้ฟังไพเราะขึ้นว่าตุ่มนางเลิ้ง และด้วยเหตุที่วังนี้ตั้งอยู่ในหมู่บ้านค้าตุ่มนางเลิ้ง วังสำหรับเจ้าฟ้านาบทหารเรือพระองค์นี้ จึงได้ชื่อว่า วัง นางเลิ้ง ไปโดยปริยาย

วังนางเลิ้งได้ใช้เป็นวังที่ประทับของกรมหลวงชุมพรฯ ถึงปี พ.ศ.2466 ก็ทรงสิ้นพระชนม์ลงด้วยพระชนมายุเพียง 43 ชันษา และหลังจากที่พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์ลง ทายาทจึงขายวังนางเลิ้งให้กับ กรมยุวชนทหารบก และท้ายที่สุดวังนี้ก็ตกแก่สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพณิชยการพระนคร โดยที่พระตำหนักใหญ่ที่รัชกาลที่ 5 ทรงพระราชทานให้นั้น ถูกรื้อมาทำเป็นอาคารไปแล้ว คงเหลือแต่เพียงประตูวังที่อยู่ด้านหลังศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ที่สร้างไว้เป็นที่ระลึกทางด้านหลังโรงเรียน เพื่อให้ผู้มีจิตศรัทธาได้มากราบไหว้แทน
บันทึกการเข้า
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 08 เม.ย. 05, 13:16

 ณ บริเวณ สวนอัมพร ลานพระบรมรูปทรงม้านั้น มีวังของเจ้านายที่สร้างขึ้น ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงโปรดฯ ให้สร้างขึ้น เพื่อพระราชทานแก่ราชบุตรที่กลับมาจากการศึกษาจากต่างประเทศ และพื้นที่ตรงบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า นี่เองที่ รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้สร้างวังสำหรับพระราชโอรสขึ้นแห่งหนึ่ง โดยให้วังนี้ตั้งหันหน้าเข้าส่วนหน้าของ พระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งเป็นวังที่ทรงโปรดฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อใช้ว่าราชการโดยเฉพาะ

วังเจ้า ที่รัชกาลที่ 5 โปรดฯ ให้สร้างขึ้นนั้น เป็นวังเจ้านายที่จะพระราชทานแก่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ พระราชโอรสองค์ที่ 40 ในมีพระประสูติในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ สาเหตุหนึ่งที่ รัชกาลที่ 5 โปรดฯ ให้สร้างวังนี้ขึ้นใน อาณาบริเวณนี้ก็เนื่องด้วยสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ทรงพระเกษมสำราญที่พระราชวังดุสิตเป็นอันมาก ดังนั้นพระสวามีจึงได้โปรดฯ ให้สร้างวังขึ้นใกล้ๆ เพื่อที่จะให้ทั้งพระมารดา และพระราชโอรสได้ทรงเสด็จเยี่ยมเยือนกันได้โดยสะดวก
ครั้นสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนาถ ทรงสำเร็จวิชาการทหารทั้งจาก สหราชอาณาจักร และจากโรงเรียน มหาดเล็กหลวงในราชสำนักพระเจ้า ซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย แล้ว ก็เสด็จนิวัติกลับสยาม และเข้ารับราชการเป็นเสนาธิการทหารบก พระองค์ และหม่อมคัธริน พระชายาในพระองค์ก็ทรงเสด็จประทับวังนี้ จวบจนสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนาถเสด็จทิวงคตที่สิงคโปร์ เมื่อ พ.ศ.2463 วังปารุสกวันนี้จึง ตกเป็นของหลวง ส่วนทายาทก็ทรงย้ายไปประทับที่วังส่วนพระองค์ ตรงท่าเตียน หรือที่เราเรียกกันว่า บ้านจักรพงษ์

ปัจจุบันวังปารุสกวัน นี้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนหนึ่งตกเป็นของกองบัญชาการตำรวจแห่งชาติ อีกส่วนที่เหลือ กลายเป็นที่ทำการของ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ

หากคุณผู้อ่านอยากทราบประวัติความเป็นมาเพิ่มเติม ต้องลองไปหาหนังสือ เกิดวังปารุสก์ พระนิพนธ์ของ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนาถ จำให้เพิ่มพูนความรู้ และความเพลิดเพลินได้ในเวลาเดียวกัน  
บันทึกการเข้า
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 08 เม.ย. 05, 13:19

 ณ บริเวณถนน อัษฎางค์ ริมคลองคูเมืองเดิม ฝั่งตรงข้ามกับ ศาลเจ้าพ่อหอกลอง นั้นมี วังเจ้านายตั้งอยู่ วังนี้หากเราไม่สังเกตกันให้ดี ก็จะไม่ทราบเลยว่าเป็นวังเจ้านาย เพราะปัจจุบันนี้ วังเจ้าแห่งนี้ถูกบรรดาแผงลอย ตั้งของวางขายเรียงรายอยู่เต็มจนแทบจะไม่เห็นชื่อป้าย ทั้งๆ ที่วังนี้สร้างมากว่า 1 ศตวรรษแล้ว

วังเจ้าริมคลองคูเมืองเดิมนี้ เราเรียกกันว่า วัง บ้านหม้อ ชื่อของวัง อาจจะไม่ได้เป็นที่รู้จักกันมากนัก หากมิใช่มีงานประพันธ์ชิ้นหนึ่งที่ อุษณา เพลิงธรรม เคยให้สัมภาษณ์ว่า ได้รับอิทธิพลบางอย่างจากวังบ้านหม้อ อันเป็นวังข้างบ้านที่ท่านเคยอาศัยเมื่อครั้งยังเยาว์วัย บทประพันธ์ที่ว่านี้ เรารู้จักกันดีในชื่อ จัน ดารา ซึ่งเรื่องราวของ จัน ดารา นั้นท่านมิได้ให้สัมภาษณ์โดยละเอียด ถึงเรื่องบันดาลใจที่ได้รับจากวังบ้านหม้อในแง่ใด ก็ยากที่จะเดา แต่หากส่วนหนึ่งของวัง ที่อ้างถึงงานสถาปัตยกรรมของตัวอาคาร ภายในวังดังที่เราได้อ่านหรือได้ชมจากหนังสือหรือภาพยนตร์นั้น นับว่าวังนี้ ต้องเป็นวังที่งดงามเป็นอย่างมาก

วังบ้านหม้อนี้ เดิมเป็นวังประทับของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิทักษเทเวศร์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเจ้าจอมมารดาศิลา ซึ่งเป็นต้นราชสกุล กุญชร นับตั้งแต่ได้เข้ารับราชการที่กรมม้า และกรมคชบาล สมเด็จฯ กรมพระพิทักษเทเวศร์ ได้ทรงพำนักอยู่ที่ วังบ้านหม้อมาจวนจนกระทั่งสิ้นพระชนม์

แม้ว่าวังบ้านนี้ จะไม่ได้เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกได้เข้าชม หากแต่ก็ได้มีการบันทึก ไว้ว่าท้องพระโรงที่ วังบ้านหม้อนี้เป็นท้องพระโรงที่มีความงดงาม และเก่าแก่มากที่สุดหลังหนึ่งเลยทีเดียว  
บันทึกการเข้า
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 08 เม.ย. 05, 13:21

 มาพูดถึงพระตำหนักในพระบมมหาราชวังดีกว่า
บันทึกการเข้า
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 08 เม.ย. 05, 13:23

 พระตำหนักหมายเลข11ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น ๓ พระองค์เจ้าละม่อม กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร พระพี่เลี้ยงของพระเจ้าอยู่หัวร.5(ทรงเป็นพระราชวงศานุวงศ์ พระราชธิดาร.3)เป็นพระตำหนักที่แข็งแรงด้วย ก่ออิฐถือปูน3-4ชั้น มีลวดลายปูนปั้นงดงาม ทาสีไข่ไก่  
บันทึกการเข้า
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 08 เม.ย. 05, 13:27

 ขอโทษภาพผิด ภาพนี้เป็นภาพเรือนก๊กออ
บันทึกการเข้า
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 08 เม.ย. 05, 13:32

  พระตำหนักประธาน ของสมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวีพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เป็นพระตำหนักที่ใหญ่ที่สุดในฝ่ายใน และมีความแข็งและทนทาน และเรียบ แต่สวยงาม พระพุทธเจ้าหลวง โปรดเกล้าฯพระราชทานให้กับ พระบรมโอรสาธิราช และสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระตำหนักทาด้วยสีขาว หน้าต่างสีแดง ก่ออิฐถือปูน 4ชั้น เป็นพระตำหนักที่คล้ายปราสาทในตะวันตก  
บันทึกการเข้า
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 08 เม.ย. 05, 13:34

 พระตำหนัก สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัคราชเทวี พระเจ้าอยูหัว รัชกาลที่5 ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างเป็นที่ประทับของ สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัคราชเทวี และพระราชธิดา และพระเชษฐาภคินี เป็นพระตำหนัก2ชั้น เดิมเป็นพระตำหนัก3ชั้น แต่ได้ทรุดโทรมลง :ซึ้งอยู่คู่กับตำหนักเจ้าจอมมารดาแส ลักษณะไกล้คียงกัน แต่พระตำหนักของพระราชเทวีจะงดงามกว่า
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 19 คำสั่ง