เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 106990 พระบรมวงศานุวงศ์ประทับอยู่ที่พระตำหนักหรือพระราชวังใดบ้าง
ปิ่นมณี
อสุรผัด
*
ตอบ: 6

ทำงาน จ.ชลบุรี


 เมื่อ 03 มี.ค. 05, 02:14

 พระบรมวงศานุวงศ์ประทับอยู่ที่พระตำหนักหรือพระราชวังใดกันบ้างวานคุณเทาชมพูให้ความรู้ด้วยนะคะเท่าที่ทราบสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ทรงประทับอยู่ที่วังสุโขทัย สมเด็จพระเทพประทับอยู่ที่วังสระประทุม(ใช่หรือเปล่าอันนี้ไม่แน่ใจ) แล้วราชสกุลต่าง ๆ มีตำหนักหรือมีวังมั้ย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 04 มี.ค. 05, 10:03

 ตอบได้แต่ตำหนักหรือวังของราชสกุลต่างๆในอดีต  ที่อยู่นอกพระบรมมหาราชวังค่ะ
ถ้าอยากทราบก็บอกด้วย  เพราะคำตอบยาวมาก  พิมพ์ได้วันละเล็กละน้อย
บันทึกการเข้า
หยดน้ำ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 146

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 04 มี.ค. 05, 21:36


ขออนุญาตตอบเท่าที่ทราบนะคับ

วังศุโขทัย  ที่ประทับของสมเด็จพระบรมฯ  ท่านหญิงสิริวัณวรี  และหม่อมศรีรัตน์คับ  ขณะนี้โปรดให้ก่อสร้างวังทวีวัฒนา(ชื่ออย่างไม่เป็นทางการ) ด้วย

วังสระปทุม  ที่ประทับของสมเด็จพระเทพฯ

วังรื่นฤดี  ที่ประทับของสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ

พระตำหนักเลอดิส  และพระตำหนักวิลล่าวัฒนา  ที่ประทับของสมเด็จพระพี่นางฯ

ตำหนักริมผา  พัทยา  ที่ประทับของพระองค์โสม  ปัจจุบันได้จัดพระตำหนักวังสวนกุหลาบเป็นที่ทรงงานด้วย

สำหรับสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์  ผมไม่แน่ใจว่าทรงประทับอยู่  ณ  พระตำหนักจักรีบงกช  ปทุมธานี  หรือ  พระตำหนักจิตรลดารโหฐานคับ

ส่วนวังเก่าที่ยังเป็นของราชสุกลต่างๆ  ก็มี
วังจักรพงษ์  เป็นของราชสกุลจักรพงษ์  ม.ร.ว.หญิงนริศรา  จักรพงษ์  ทายาทเพียงคนเดียวของพระองค์จุลฯ  ทรงเป็นเจ้าของวัง
และใช้เป็นที่พำนักเวลากลับจากประเทศอังกฤษ  ปัจจุบัน  นายจุลจักร  จักรพงษ์  บุตรชายคนโตเป็นผู้ดูแล

วังดิศกุล  เป็นของราชสกุลดิศกุล  แต่ไม่ได้ใช้เป็นที่พำนักของสมาชิกราชสกุลแล้ว  แต่ได้จัดเป้นพิพธภัฑ์และหอสมุดแทน  ผมเข้าใจว่าน่าจะอยู่ในความดูแลของ  ม.ล.  ปนัดดา  ดิศกุล  ทายาท

วังเทเวศน์  เป็นของราชสกุลกิติยากร  แต่ได้แบ่งขายที่ดินบางส่วนให้กับกรมบัญชีสหกรณ์  และพระยาอนิรุธเทวา  เดิมอยู่ในปกครองของหม่อมหลวงบัว  กิติยากร  แต่ปัจจุบันไม่ทราบว่าท่านผู้ใดเป็นทายาทคับ

วังพระวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าคำรบ  ตรงถนนพระอาทิตย์  ตอนนี้ไม่แน่ใจว่ายังเป็นของราชสกุลปราโมช อยุ่หรือเปล่า  แต่เคยทราบมาว่าคุณชายถ้วนเท่านึก  ปราโมช  เคยบูรณะไว้เป้นสมบัติของตระกูล

วังกรมหมื่นทิวากรวง์ประวัติ  เลขที่  3  ถนนขาว  แขวงวชิรา  เขตดุสิต  ทราบแต่ว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของทายาท  

สวนปาริจฉัตก์  เคยทราบว่าตกเป็นกรรมสิทธิ์ของทายาทในพระองค์เจ้าหญิงอรประพันธ์รำไพ  พระองค์เจ้าหญิงอดิสัยสุริยาภา  และเจ้าจอมมารดาอ่อน

ทราบเพียงเท่านี้ขอรับ  
บันทึกการเข้า
ปิ่นมณี
อสุรผัด
*
ตอบ: 6

ทำงาน จ.ชลบุรี


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 05 มี.ค. 05, 22:21

 เรียนคุณเทาชมพู ขอบคุณคะที่กรุณาภ้าเป็นไปได้ก็อยากทราบตำหนักหรือวังทั้ง 127 ราชสกุลเลยยิ่งดีคะจะเป็นพระคุณอย่างสูง( ราชสกุลมีทั้งหมด 127 ราชสกุลใช่หรือเปล่าคะ)            
บันทึกการเข้า
caeruleus
ชมพูพาน
***
ตอบ: 155


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 06 มี.ค. 05, 03:18

 วังปลายเนิน เป็นของราชตระกูลจิตรพงศ์ (หรือจิตรพงษ์ ไม่แน่ใจ) ซึ่งเป็นทายาทของ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ถ้าจำไม่ผิด มรว.จักรรถ เป็นเจ้าของค่ะ
บันทึกการเข้า
แพร
อสุรผัด
*
ตอบ: 33

doing MSc @ LSE, London


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 06 มี.ค. 05, 10:43

 คุณปิ่นมณี เป็นคนที่ค่อนข้างจะมีอารมณ์ขันนะคะ
บันทึกการเข้า
ปิ่นมณี
อสุรผัด
*
ตอบ: 6

ทำงาน จ.ชลบุรี


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 06 มี.ค. 05, 16:41

 ขอบคุณคะ คุณแพร การมีอารมณ์ขันทำให้เราไม่เครียดคะและทำให้เรามองโลกในแง่ดีด้วยนะคะ
บันทึกการเข้า
หยดน้ำ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 146

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 10 มี.ค. 05, 15:09


วันนี้ขอนุญาตบอกชื่อวังที่ยังพอเหลืออยู่ถึงแม้จะไม่ได้เป็นวังที่ประทับแล้วก็ตามนะคับ

วังพระวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าคำรบ/บ้านเจ้าพระยา ที่เคยบอกไว้  ตอนนี้ก็ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของทายาทราชสกุลปราโมช
แต่ได้ให้เช่าเป็นที่ทำการศาลรัฐธรรมนูญ  แต่เดิมเคยเป็นวังของกรมหมื่นสถิตธำรงสวัสดิ์มาก่อน

วังพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนเรศวรฤทธิ์  บ้านมลิวัลย์  ปัจจุบันเป็นสำนักงานองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (เอฟเอโอ)

ตำหนักพระองค์เจ้าหญิงมนัสสวาท  สุขสวัสดิ์  พระพี่เลี้ยงในรัชกาลที่  7  ปัจจุบันเป็นที่ทำการ  พุทธสมาคม

วังพระอาทิตย์/บ้านพระอาทิตย์  เดิมเป็นของเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์  (ม.ร.ว. เย็น  อิสรเสนา)  เสนาบดีกระทรวงวังในสมัยรัชกาลที่  7  และได้ตกทอดเป็นของทายาท  ในราชสกุลอิสรเสนา  ต่อมาจึงได้ขายให้กับเอกชน

วังลดาวัลย์  หรือวังแดง  เดิมเคยเป็นวังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ  เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ต้นราชสกุลยุคล  เมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว  ก็ตกอยู่ในความปกครองของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล  ต่อมาเมื่อเสด็จย้ายไปประทับที่สงขลา  วังนี้จึงถูกทิ้งร้าง  ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จึงได้ซื้อจากพระทายาทซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก  เพื่อใช้เป็นที่ทำการ
บันทึกการเข้า
ชาหณวี
อสุรผัด
*
ตอบ: 9


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 11 มี.ค. 05, 16:10

คือ...วีจำได้ว่าเคยไปที่เรือนไทยที่หนึ่ง จำไม่ได้ว่าอยู่แถวถนนพระอาทิตย์หรือเปล่า แต่เขาเรียกกันว่าบ้านคึกฤทธิ์น่ะค่ะ เพราะเคยเป็นที่พำนักของ ม.ร.ว คึกฤทธิ์มาก่อน ปัจจุบันรู้สึกจะเปิดให้เป็นคล้าย ๆ พิพิธภัณฑ์นะคะ ไม่รู้ว่าเป็นที่เดียวกับที่คุณหยดน้ำกล่าวถึงหรือเปล่า
บันทึกการเข้า
หยดน้ำ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 146

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 12 มี.ค. 05, 23:00

 บ้านของ  ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ อยู่ที่ซอยสวนพลูคับผม  เป็นบ้านเรือนไทย  ซึ่งเปิดให้เข้าชม
บันทึกการเข้า
หม่อมจุมพฏเพ็ชรกล้า
มัจฉานุ
**
ตอบ: 78


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 21 มี.ค. 05, 12:54

 แล้วมีพระองค์ใดประดับอยู่ที่พระบรมมหาราชวังรึเปล่าครับ
บันทึกการเข้า
หยดน้ำ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 146

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 21 มี.ค. 05, 23:07

 ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ฯ  ทรงประทับอยู่ที่อาคารรับรองผู้ติดตามระดับสูงของพระราชอาคันตุกะ  ด้านหลังพระที่นั่งบรมพิมาน  ครับ
บันทึกการเข้า
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 08 เม.ย. 05, 12:35


ขอแทรกนิดนึงเกี่วกับวังครับ ผมจะพูดถึงวังบางขุนพรหม
วังบางขุนพรหม มีประวัติยาวนานเกือบร้อยปี ตำหนักวังบางขุนพรหม แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ตำหนักใหญ่และตำหนักสมเด็จ สำหรับตำหนัก ใหญ่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อปี 2449 โดยมี สถาปนิกชาวอิตาเลียนคือนายมาริโอ ตามาญโญ เป็นผู้ออกแบบตามศิลปะสถาปัตยกรรมแบบ บาโรก และโรโกโก
ส่วนตำหนักสมเด็จ สร้างขึ้นภายหลังประมาณ ปี 2456 เพื่อเป็นที่ ประทับของสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี โดยมี นายคาร์ล เดอริง สถาปนิกชาวเยอรมัน เป็นผู้ออกแบบ มีลักษณะ ศิลปะสถาปัตยกรรม แบบอาร์ตนูโว และอาร์ตเดโค นอกจากนี้ยังมี ภาพวาดปูนเปียก ภาพนักบวชหญิงในสวน ดอกไม้ อยู่บนผนังภายในตำหนักสมเด็จ ซึ่งเป็นฝีมือของนายริโกลี จิตรกรชาวอิตาเลียน ด้วยนอกจากนี้ ตลอดระยะเวลา 30 ปี ที่วังบางขุนพรหมเป็นที่ประทับ ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าบริพัตร สุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต วังบางขุนพรหม ยังเป็น สถานที่ประชุมสโมสรสันนิบาต ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองมาหลายสมัย ทั้งยังเป็น แหล่งรวมศิลปวิทยาการแขนงต่าง ๆ เช่น เป็นที่ สอนวิชาการต่าง ๆ โดย ครูชาวต่างประเทศ ให้กับ บรรดาพระธิดาและเจ้านายฝ่ายในของวังอื่น ๆ เรียกกันว่า "บางขุนพรหมยูนิเวอร์ซิตี้" เป็นต้น อีกทั้ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตร สุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต โปรดการดนตรีทั้งไทยและสากล ได้ทรงนิพนธ์เพลงไว้ถึง 39 เพลง ที่รู้จัก กันดีถึงปัจจุบัน นอกจาก การดนตรีทรงสนพระทัย ค้นคว้าและเลี้ยงกล้วยไม้ด้วย วังบางขุนพรหมจึงเป็นที่สังสรรค์ของพระบรม วงศานุวงศ์ ทูตานุทูต ศิลปิน ตลอดจนนักเล่น กล้วยไม้ ไม้ดัด เครื่องลายคราม และเครื่องมุก ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยังสืบทอดมาเป็นมรดกทางวัฒนธรรมจวบจนปัจจุบัน
แบ่งเป็นห้องจัดแสดงต่างๆดังนี้
ห้องเงินตราโบราณ
ห้อง 60 ปี ธนาคารแห่งประเทศไทย

ห้องพดด้วง
ห้องงานพิมพ์ธนบัตร

ห้องกษาปณ์ไทย
ห้องวังบางขุนพรหม

ห้องธนบัตรไทย
ห้องสีชมพูและห้องสีน้ำเงิน

ห้องทองตรา
ห้องม้าสน

ห้องแนะนำวิธีดูธนบัตร
ห้องวิวัฒนไชยานุสรณ์

ห้องประชุมเล็ก
บันทึกการเข้า
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 08 เม.ย. 05, 12:42

 วังเทวะเวสม์วังเทวะเวสน์ พระพุทธเจ้าหลวง โปรดเกล้าฯพะราชทานกับ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ หลวงวังเทวะเวสม์ ที่จั่วหัวไว้นี้ หลาย คนคงจะทักท้วงว่า เขียนผิด ควรจะเขียนว่า วังเทเวศร์มากกว่า
ขอเรียนว่า ชื่อวังนี้มีคนเข้าใจผิดกัน มานานแล้ว เพราะคนที่ผ่านไปมา แถวนี้ จะเห็นชื่อ สะพานเทเวศร รังสรรค์ ติดอยู่ที่ราวสะพาน จะเป็นเทวะเวสม์ได้ อย่างไร
เรื่องนี้เกิดจากการสับสนของชื่อ ทั้งสองที่คล้ายกัน คนส่วนใหญ่รู้จักว่า ย่านนี้คือ เทเวศร์ สะพานข้ามคลอง ผดุงกรุงเกษม ชื่อสะพานเทเวศร์ โดยสะพานนี้ เจ้าพระยาเทเวศร์วงวิวัฒน์ สร้างถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
ส่วน “เทวะเวสม์” นั้น คือ วังของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ต้นราชสกุล “เทวกุล” และองค์บิดาของการต่างประเทศ ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงการต่างประเทศ ตั้งแต่ต้นรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 6 ยาวนานถึง 38 ปี
พระประวัติของพระองค์ท่านนั้น มีหนังสือชุดหนึ่ง 2 เล่ม เรียบเรียงพระประวัติตั้งแต่ ทรงมีพระประสูติกาล หรือตั้งแต่เกิดจนถึงสิ้นพระชนม์อย่างละเอียด ทรงรับราชการตั้งแต่พระชนมายุได้ 17 ปี  
บันทึกการเข้า
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 08 เม.ย. 05, 12:47

 วังวรดิศ
วังพระราชทานสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ตำหนักใหญ่สถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ๓ ชั้น หลังคาทรงสูงมุงกระเบื้อง มุมอาคารมีการตกแต่งตัวเสาปูนปั้นลักษณะคล้ายกลีบบัว ประตูและหน้าต่างเป็นรูปโค้ง ตัวบานเป็นกระจก ออกแบบโดย CARL DORHRING สถาปนิกชาวเยอรมัน สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓
         วังวรดิศ ตั้งอยู่เลขที่ ๒๐๔ ถนนหลานหลวง ตำบลนางเลิ้ง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร บนพื้นที่ ๑๐ ไร่

         วังวรดิศ ได้เคยเป็นที่ประทับของบุคคลสำคัญของชาติและของโลก ซึ่งพระองค์ท่านได้รับสมัญญานามว่า “พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์และโบราณคดี” ด้วยพระปรีชาสามารถ และผลงานที่ทรงไว้บังเกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติในหลากหลายด้านเป็นอเนกอนันต์ ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา การทหาร การปกครอง จนกระทั่งได้รับขนานพระนามว่าทรงเป็น “เพ็ชร์ประดับพระมหามงกุฎ” ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเป็นที่ประจักษ์แก่ชาวต่างประเทศ โดยองค์การศึกษาและวัฒนธรรมแห่ง สหประชาชาติ ได้ถวายสดุดีให้ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเป็นคนไทยคนแรกที่เป็นบุคคลสำคัญของโลก
ที่ดินของตำหนักใหญ่วังวรดิศเดิมเป็นของเจ้าจอมมารดาชุ่ม เจ้าจอมมารดาของพระองค์ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้พระราชทานที่รอบๆ วังเพิ่มขึ้นอีกเป็นรางวัลในการที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล และกระทรวงมหาดไทยสยามใหม่ได้เป็นผลสำเร็จ เป็นที่พอพระราชหฤทัยยิ่ง สำหรับค่าก่อสร้างตัวตำหนักนั้น สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ องค์ละครึ่งสร้างพระราชทาน สถาปนิกผู้ออกแบบเป็นคนเดียวกับที่ออกแบบพระราชวังบ้านปืน และวังบางขุนพรหม คือ KARL DOHRING ชาวเยอรมันได้สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๔ นับเป็นวังเจ้านายไทยพระองค์สำคัญ ที่ทรงดำรงสถิตสถาพรอยู่คู่ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ถึงห้าแผ่นดินแล้ว ความภาคภูมิใจของประชาชนผู้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมวังวรดิศ ซึ่งปัจจุบันเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ส่วนบุคคลโดยทายาทผู้สืบตระกูล คือความรู้สึกหวงแหนในมรดกของชาติยิ่งขึ้นอีก และความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบรมราชจักรีวงศ์ ที่ทรงมีต่อประเทศชาติ และประชาชนชาวไทยตราบจนทุกวันนี้หน้าต่างที่กว้างกว่าปรกติ ประดับด้วยช่องเปิดรูปโค้งวงไข่ เป็นจุดเด่นของเดอห์ริง ที่มักใช้กับอาคารที่เขาเป็นผู้ออกแบบ  
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 19 คำสั่ง