เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 8241 จาก ๑๐ บาทเป็น ๕๐ สตางค์
โก๋แก่
อสุรผัด
*
ตอบ: 44

วิจัย ประดิษฐ คิดค้น ปรับปรุง ประยุกต์ New products in Energy saving, Renewenergy, Electrical, Electronics,ฯลฯ


เว็บไซต์
 เมื่อ 20 ก.พ. 05, 09:14

 เมื่อเดือนที่แล้ว ผมไปเดินแถวสวนจตุจักร์ ไปเห็นธนบัตรสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ พิมพ์มีเจตจำนงค์เป็นใบละ ๑๐ บาท แต่มีหมึกดำพิมพ์ทับแก้เป็น ๕๐ สตางค์ ชวนให้นึกถึงสมัยผมเป็นแพทย์ประจำบ้านที่ศิริราช  ได้มีโอกาสคุ้นเคยกับคุณ ว. ช. เพราะท่านป่วยอยู่นาน ผมไปเยี่ยมทุกวัน ได้ความรู้มามาก เลยอยากเอามาเล่า สู่กันฟังบ้าง ท่านผู้นี้เคยมีตำแหน่งในกระทรวงการคลัง(หรือธนาคารชาติ)ระหว่างสงครามโลกที่ ๒ ท่านเล่าถึงธนบัตร ที่ว่านี้ได้ใจความว่า

ระหว่างสงครามประเทศไทยเริ่มขาดธนบัตรเพราะสมัยนั้นเราไม่ได้พิมพ์เอง ให้บริษัท  Thomas de la Rue แห่งประเทศอังกฤษเป็นผู้พิมพ์  สงครามเรื้อไปได้ ๒ - ๓ ปี ธนบัตรก็เก่าแก่ลงทุกวัน เพราะไทยกับอังกฤษอยู่คนละฝ่าย ในที่สุดเราต้องไปขอให้ญี่ปุ่นช่วยพิมพ์ธนบัตรมาให้ชุดหนึ่ง ส่งมาทางเรือ มาขึ้นที่สิงค์โปร์ แล้วส่งมากรุงเทพฯ โดยทางรถไฟ สมัยนั้นมีคนไทยทีมีความรักชาติอย่างรุนแรงพยายามต่อต้านญี่ปุ่นโดยทุกวิถีทาง รวมทั้งกระโดดขึ้น รถไฟสายใต้กลางทางตอนเวลารถไฟต้องลดความเร็ว แล้วผลักหรือถีบหีบต่างๆบนรถไฟลงในป่ากลางทาง มีคนตั้งชื่อ คณะรักชาตินี้ว่า พวกไทยถีบ

บังเอิญขบวนรถไฟสายใต้ที่ขนธนบัตรรุ่นใหม่ที่ยังไมได้ประกาศออกใช้โดนคณะไทยถีบส่งหีบบรรจุธนบัตร ลงข้างทางหลายหีบ  คุณว.ช.เคยบอกผมว่าเป็นจำนวนกี่ล้านบาท แต่ผมลืมไปแล้ว จำได้แต่ว่าเป็นจำนวนมาก  ทางรัฐบาลได้เปิดการเจรจากับคณะไทยถีบ ขอให้เห็นแก่ความมั่นคงของเศรษฐกิจของชาติ ปรากฎว่าได้ธนบัตรใหม่ ชุดนี้คืนมาเป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังได้คืนมาไม่ครบ เหลือเป็นจำนวนพอที่จะทำความเสียหายได้มากถ้ามีคนเอามาใช้  ทางรัฐบาลมีความเห็นว่าถ้าจะไม่เอารุ่นใหม่นี้ออกใช้เลยก็เสียดาย เพราะธนบัตรที่หมุนเวียนอยู่ชักจะร่อแร่เต็มที แต่ถ้าลดคุณค่าลง ผลเสียทางเศรษฐกิจจะไม่มาก ซ้ำยังช่วยให้มีธนบัตรใหม่มาหมุนเวียน ตกลงให้ลดมูลค่าจาก ๑๐ บาทลงเหลือเป็น ๕๐ สตางค์

ที่ก่อความยุ่งยากก็คือ เวลาพิมพ์เขาพิมพ์เป็นแผ่นใหญ่แล้วมาตัดเป็นใบๆ ชุดนี้ตัดเป็นใบๆมาจากญี่ปุ่นแล้ว เลยต้องเอามาติดแป้งเปียกปะบนกระดาษแผ่นใหญ่ๆ เพื่อสดวกแก่การพิมพ์หมึกดำคำว่า ๕๐ สต.ทับคำว่า ๑๐ บาท แล้วต้องแช่น้ำลอกธนบัตรออก ตากให้แห้ง แล้วพลิกหน้าเป็นหลังทาแป้งเปียกปะลงกระดาษแผ่นใหญ่ พิมพ์คร่อมอีกที แล้วลอกออกมาล้างน้ำ ตากให้แห้งอีก คุณ ว.ช. บอกว่าสนามหน้าวังเทเวศร์เต็มไปด้วยหม้อน้ำ ถังแป้งเปียก กับแผง ตากธนบัตรอยู่หลายสัปดาห์  มาลองคิดดูก็รู้สึกว่าเจ้าพนักงานกระทรวงการคลัง ฝ่ายการออกบัตร คงจะต้องเสียสละ กันอย่างมาก เพราะทำกันทั้งกลางวันกลางคืน

   ศานติ

ด้วย อนุเคราะห์จากคุณหมอศานติ USA
มีรูปมาด้วยยังเอาขึ้นไม่ได้ แล้วจะลองอีกที



     
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 11 ก.ค. 11, 07:14

ปลุกกระทู้เก่า หาเรื่องใหม่ มาเล่ากันต่อไป ...








บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 11 ก.ค. 11, 08:47

ธนบัตรรุ่นนี้มีลายเซ็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (พ.ศ. ๒๔๘๙) คือ พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล)

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 11 ก.ค. 11, 09:07

มีอีกรุ่นหนึ่งซึ่งถูกคณะไทยถีบ ถีบลงมาแล้วปลอมลายเซ็น นายเล้ง ศรีสมวงศ์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (พ.ศ. ๒๔๘๘)



บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 11 ก.ค. 11, 09:19

ได้มาภาพหนึ่งครับ ต้องขยายภาพ เลยทำให้ไม่ชัด

กับธนบัตร ราคา ๑๐๐ บาท ลายเซ็นนายเล้ง ศรีสมวงศ์






บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 11 ก.ค. 11, 09:37

เช่านี้เล่นเงิน ๆ ทอง ๆแต่เช้าเลยนะครับ ลุงไก่

เมื่อรัฐบาลได้ลดค่าธนบัตรลงเพื่อดัดหลังขบวนการไทยถีบแล้ว ยังปรากฎว่ามีธนบัตร ๑ บาทได้กลับเพิ่มมูลค่าเช่นเดียวกัน จาก ๑ บาท เป็น ๕๐ บาท เชียวนะครับ

ลุงไก่พอจะทราบประวัติไหมครับผม


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 11 ก.ค. 11, 09:54

^ ^

หนังสือเก็บไว้ในลังไบไหนก็จำไม่ได้ ขอไปขุดคุ้ยก่อนครับ

 ลังเล      ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 11 ก.ค. 11, 09:55

คุณวิกกี้ ตอบได้

ราคา ๕๐ บาท ขนาด ๖.๕ x ๑๒.๕ ซม. กรมแผนที่ทหารพิมพ์เพื่อจะนำไปใช้ที่มณฑลมลายูตอนเหนือ สี่รัฐ โดยพิมพ์ราคาเป็น ๑ ดอลล่า แต่ไม่ได้นำออกใช้ เมื่อเกิดขาดแคลนธนบัตรจึงนำออกมาแก้เป็นราคา ๕๐ บาท ด้านหน้า กรอบสีม่วง พื้นเหลือง ด้านหลัง ลายสีม่วง พื้นเหลือง

รุ่นที่ ๑ ประกาศใช้ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๘ การพิมพ์แก้ : (๑) พิมพ์ด้วยหมึกดำทับ - เลข ๑ อาหรับ -คำ หนึ่งดอลล่า -อักษรมลายูกับจีนทั้งหมด (๒) ด้านหน้า พิมพ์เลข ๕๐ ด้วยหมึกแดงบนลายน้ำ (๓) ด้านหน้า พิมพ์ "ห้าสิบบาท" ด้วยหมึกแดง ใต้คำ รัถบาลไทย

รุ่นที่ ๒ ประกาศใช้ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๘ การพิมพ์แก้ : ด้านหน้า (๑) แก้เฉพาะการพิมพ์ " ห้าสิบบาท" ด้วยหมึกดำทับ "หนึ่งดอลล่า" (๒) พิมพ์ลายมือชื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังบนลายน้ำ (๓) ลายมือชื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มี นายควง อภัยวงศ์ เพิ่มอีกหนึ่งท่าน

รุ่นที่ ๓ ประกาศใช้ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๘ การพิมพ์แก้ : ด้านหน้าแก้ไขเหมือนรุ่นที่ ๑ แต่จะมีเฉพาะลายมือชื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายเล้ง ศรีสมวงศ์ เพียงท่านเดียว ด้านหลังไม่มีการแก้ไข

ธนบัตรของคุณหนุ่มเป็นรุ่นที่ ๓

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 11 ก.ค. 11, 10:17

ธนบัตรรุ่นที่ ๒ หน้าตาเป็นแบบนี้


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 11 ก.ค. 11, 10:24

รู้สึกว่าข้อมูลเกี่ยวกับ "การยึดครองสี่รัฐ" สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ในเรือนไทยแห่งนี้ยังไม่มีผู้ใดนำเสนอและวิเคราะห์เลยนะครับ เป็นช่วงประวัติศาสตร์ที่น่าเรียนรู้ได้เยอะเลยนะครับ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 11 ก.ค. 11, 10:38

^
^
“อากรแสตมป์ - กลันตัน”  พ.ศ. ๒๔๘๖ ราคา  ๘ เซ็นต์ (ตราอาร์มสีแดง) แสตมป์ดวงซ้ายยังไม่ใช้ ไม่ติดฮินท์ ไม่มีกาวมาตั้งแต่ออกจำหน่าย แสตมป์ดวงขวาใช้แล้ว ติดฮินท์

http://phila09-08.eurseree.com/cgi-bin/info/agora.cgi?cart_id=9009364.15178*1s8Kn0&keywords=,&next=50

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 11 ก.ค. 11, 10:56

รู้สึกว่าข้อมูลเกี่ยวกับ "การยึดครองสี่รัฐ" สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ในเรือนไทยแห่งนี้ยังไม่มีผู้ใดนำเสนอและวิเคราะห์เลยนะครับ เป็นช่วงประวัติศาสตร์ที่น่าเรียนรู้ได้เยอะเลยนะครับ

มีชื่อเรียกสี่รัฐนี้ว่า "สหรัฐมาลัย" (ไทรบุรี ปลิส กลันตัน และตรังกานู) คู่กับ "สหรัฐไทยเดิม" (เชียงตุงและเมืองพาน) ที่ได้มาคราวเดียวกัน

อ่านรายละเอียดได้ในบทความ

การผนวกสี่รัฐมลายูและสหรัฐมาลัย

ชื่อ "สหรัฐมาลัย" น่ารักดี น่าจะจัดเข้าไปอยู่ในกระทู้ "คำไทยที่หายไป"

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 11 ก.ค. 11, 11:10

ไปพบเรื่องในกระทู้เก่า (ประวัติศาสตร์ - ธนบัตรปลอม) ที่คุณโก๋แก่ เจ้าของกระทู้นี้ กล่าวถึงเรื่องธนบัตรปลอม ไม่ให้เสียเวลา ขอคัดลอกข้อคามมาลงไว้ ณ ที่นี้

...

บทความที่แล้วเล่าถึงธนบัตร ๑๐ บาทลดมูลค่าเป็น ๕๐ สตางค์  คราวนี้ขอเล่าถึงธนบัตรปลอม  คิดว่ารุ่นหลานๆคง ไม่เคยได้ยิน เรื่องนี้ผมก็ได้จากคุณ ว.ช. อีกเช่นกัน ท่านเป็นผู้มีตำแหน่งในกระทรวงการคลังระหว่างสงครามโลกครั้ง ที่ ๒

ปลายสงครามโลกที่ ๒ มีพนักงานกระทรวงการคลังตาดีสังเกตุว่าธนบัตร ๒๐ บาท (ถ้าจำไม่ผิด) บางใบมีข้อชวนสงสัย  เพราะลายเซ็นของรัฐมนตรีกระทรวงการคลังนั้นชัดเจนกว่าปกติ สมัยนั้นตัวธนบัตรพิมพ์โดยบริษัท Thomas de la Rue ในอังกฤษ  เรามาพิมพ์ลายเซ็นรัฐมนตรีเพิ่มที่เมืองไทย เครื่องพิมพ์ที่ใช้พิมพ์ลายเซ็นของ รมต.คลัง นั้นเป็นเครื่องพิมพ์เก่าแก่ ลายเซ็นออกมาไม่ชัดเจน แต่ธนบัตรบางใบที่พนักงานไปพบ กลับมีลายเซ็นที่ชัดเจน ดูเป็นว่าไม่ได้พิมพ์จากเครื่องพิมพ์โบราณที่เราใช้อยู่ ตัวเลขอันดับที่พิมพ์ไว้ก็ไม่มีอะไรผิดปรกติ ไม่ได้นอกเหนือไป จากชุดที่สั่่งพิมพ์มาแต่ก่อนสงคราม

เมื่อเกิดข้อสงสัยขึ้นทางการก็เพิ่มความสนใจในธนบัตรชุดนี้มากขึ้น ไปพบว่าธนบัตรที่ค่อนข้างจะใหม่ บางใบมีเลขหมายซ้ำกับใบที่หมุนเวียนอยู่นานจนเก่า สันนิฐานว่าบริษัทพิมพ์เกินนอกเหนือไปจากที่รัฐบาล สั่งพิมพ์มาแต่ก่อนสงครามแต่ใช้เลขหมายชุดเดิม เข้าใจว่ารัฐบาลอังกฤษสั่งให้บริษัทพิมพ์เพื่อให้แก่พวกเสรีไทย ที่กระโดดร่มมาลงในเมืองไทยไว้ใช้สอย

ตอนนั้นรัฐบาลไทยเข้าข้างกับญี่ปุ่นประกาศสงครามกับสรอ.และ อังกฤษ  เคยอ่านพบว่าการประชุม คณะรัฐมนตรีที่มีมติให้ประกาศสงครามนั้นไม่ครบองค์ประชุม ไม่ทราบว่าจริงหรือไม่ เอกอัคราชทูตไทยประจำสรอ. ไปพบรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสรอ. (Secretary of State) แล้วบอกว่าในกระเป๋ามีเอกสาร จากรัฐบาลไทยให้ประกาศสงครามต่อสรอ. แต่ท่านเห็นว่าเอกสารนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ไม่ครบองค์ประชุมครม.?) จึงจะไม่ยื่นเอกสารนั้นให้ หลังจากนั้นคนไทยในเมืองนอกก็ตั้งคณะรัฐบาลนอกประเทศขึ้น (Thai Government in Exile) เหมือนที่ฝรั่งเศสทำตอนเยอรมันรุกเข้าครอบครองฝรั่งเศสตอนต้นสงคราม

นักเรียนไทยที่เรียนอยู่ในสรอ.กับในอังกฤษต่างก็อาสาสมัครเป็นเสรีไทย กระโดดร่มลงเมืองไทยเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น หลายท่าน เสียชีวิตไปก็มีหลายคน  แรกๆดูเหมือนทางอังกฤษให้ทองคำก้อนเล็กๆมาด้วยเพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่าย ตอนหลังเป็นที่รู้กันว่าเสรีไทยที่กระโดดร่มลงมานั้นจะมีก้อนทองคำมาด้วย เลยโดนฆ่าเอาทองไปบางราย อาจารย์ผมเคยเล่าว่าท่านก็กระโดดร่มลงมาเหมือนกัน  โชคไม่ดีเพราะนักบินหลงทาง เอาไปปล่อยผิดที่ ร่มสัมภาระไปตกในหมู่บ้าน ชาวบ้านออกหา หนีไม่พ้น บังเอิญแถวนั้นมีมะขามหวานมาก (หล่มสัก? จำไม่ได้) อาจารย์ผมเอาก้อนทองคำใส่ฝักมะขามไว้ เวลาโดนค้นก็ถือฝักมะขามไว้ในมือสลับไปสลับมา พร้อมกับกินมะขามไปด้วย ทำเป็นทองไม่รู้ร้อน เขาไม่ได้ค้นฝักมะขาม เลยรอดตัวมาเป็นอาจารย์ได้

ส่วนเรื่องธนบัตรที่พิมพ์โดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น จำได้ว่ารัฐบาลไทยฟ้องเรียกค่าเสียหาย แล้วชนะความด้วย

ศานติ
ข้อความจากคุณหมอ ศานติ เพื่อรุ่นใหม่ในไทย 
 
....

จำได้ว่ามีอยู่กระทู้หนึ่งในเรือนไทยนี้  กล่าวถึงเรื่องที่รัฐบาลญี่ปุ่นจะส่งมอบทองคำให้กับไทยชดใช้เรื่องการพิมพ์ธนบัตรที่ญี่ปุ่นพิมพ์ขี้นใช้ แต่รัฐบาลไทยไม่เชื่อว่าญี่ปุ่นจะมีทองคำจริง เลยปฏิเสธไป ภายหลังจึงทราบว่าญี่ปุ่นเตรียมทองคำไว้ให้ไทยจริง ... แล้วเรื่องก็เงียบหายไป

จะเป็นเรื่องเดียวกับขุมทองโกโบริที่ถ้าลิเจียหรือเปล่าหนอ?





บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 11 ก.ค. 11, 13:09

รู้สึกว่าข้อมูลเกี่ยวกับ "การยึดครองสี่รัฐ" สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ในเรือนไทยแห่งนี้ยังไม่มีผู้ใดนำเสนอและวิเคราะห์เลยนะครับ เป็นช่วงประวัติศาสตร์ที่น่าเรียนรู้ได้เยอะเลยนะครับ

ธนบัตรราคาหนึ่งดอลลาที่พิมพ์ไว้เตรียมใช้ในสี่รัฐมลายู และเหรียญดีบุกราคาต่างๆ กัน


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 11 ก.ค. 11, 13:16

เช่านี้เล่นเงิน ๆ ทอง ๆแต่เช้าเลยนะครับ ลุงไก่

เมื่อรัฐบาลได้ลดค่าธนบัตรลงเพื่อดัดหลังขบวนการไทยถีบแล้ว ยังปรากฎว่ามีธนบัตร ๑ บาทได้กลับเพิ่มมูลค่าเช่นเดียวกัน จาก ๑ บาท เป็น ๕๐ บาท เชียวนะครับ

ลุงไก่พอจะทราบประวัติไหมครับผม

ขอคัดลอกมาทั้งหมดครับ


เมื่อญี่ปุ่นเข้ายึดครองชวา ปรากฏว่ามีโรงพิมพ์ธนบัตรที่ชาวฮอลันดาได้สร้างไว้ เนื่องจากการขนส่งธนบัตรจากญี่ปุ่นมาไทยโดยทางเรือไม่สะดวกเพราะเสี่ยงต่อการถูกทำลายโดยทางเครื่องบินและจากเรือดำน้ำของฝ่ายสัมพันธมิตร ทางการทหารญี่ปุ่นจึงได้ตกลงใจพิมพ์ธนบัตรของไทยที่ชวา โดยพิมพ์ชนิดราคา 10 บาทก่อน โดยเหตุที่เทคนิคในการพิมพ์ต่ำ ลวดลายและสีของธนบัตรจึงเลวกว่าธนบัตรที่พิมพ์จากประเทศญีปุ่น นอกจากนั้นกระดาษธนบัตรก็ใช้กระดาษธรรมดา มิใช่กระดาษที่ทำจากเยื่อต้นมิตซูมาตาตามที่สัญญากันไว้ประกอบกับเมื่อขนส่งจากสิงค์โปร์(โชนัน) มายังกรุงเทพ ฯโดยทางรถไฟ ก็ถูกลักขโมยโดยการถีบหีบธนบัตรลงจากรถไฟคล้ายกับการขโมยธนบัตรแบบ 5 แล้วนำมาปลอมลายเซ็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังนำออกใช้หลอกลวงประชาชนเป็นธนบัตรชนิดราคา 10 บาท จนกระทรวงการคลังต้องออกประกาศลงวันที่ 24 สิงหาคม 2488 แจ้งว่าธนบัตรชนิดรคา 10 บาท แบบใหม่ด้านหน้าสีม่วงลายเฟื่องและลายพื้นสีฟ้า และด้านหลังสีม่วงนั้นกระทรวงการคลังยังไม่ได้ประกาศและยังมิได้นำออกใช้เลย จึงไม่เป็นธนบัตรที่ถูกต้องตามกฎหมาย อย่างไรก็ดีธนบัตรดังกล่าวเมื่อได้รับจากทางการญี่ปุ่นแล้วจะทำลายก็รู้สึกเสียดาย และเพื่อแก้ไขปัญหาธนบัตรขาดแคลนในขณะนั้น จึงได้แก้ไขออกใช้เป็นธนบัตรชนิดราคาต่ำสุดคือ 50 สตางค์
ธนบัตรแบบพิเศษชนิดราคา 50 สตางค์ มีข้อสังเกตคือข้อความ “ธนบัตรเป็นเงินชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย” ตามแจ้งความกระทรวงการคลังนั้นไม่ตรงกับข้อความที่พิมพ์ลงบนธนบัตรของจริงว่า “ธนบัตรเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย” แต่ไม่ปรากฏว่ามีแจ้งความเพิ่มเติมแก้ไขให้ถูกต้อง


credit เรื่องและภาพ - บ้านร่องขุ่น.คอม, ธนบัตรแบบพิเศษ




บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.118 วินาที กับ 19 คำสั่ง