ลุงแก่
บุคคลทั่วไป
|
เรื่องต่อไปนี้ลุงแก่เคยเสนอครั้งหนึ่งแล้วที่ห้องสมุดในพันทิบดอทคอม ก่อนที่วิชาการดอทคอมจะเปิดตัว
ขณะนี้คลังข้อมูลหมดสต็อกของใหม่แล้ว และกำลังจะล้างป่าช้าของเก่าๆด้วย ก็เลยถือโอกาสขุดของเก่า /> ที่คิดว่ายังน่าสนใจมาเสนอ คุณเทาชมพู บก.ใหญ่ คงไม่ตำหนิผมนะครับ />
"ศาลาอันเตปุริกธุริน"
/> 'แรกก็เห็นชอบชื่อนี้พร้อมกัน เพราะเรียกยาก คงไม่มีใครจดจำได้นานแต่หาได้เป็นเช่นนั้นไม่'
/> เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งที่สองนั้นทรงมีพระราช /> ประสงค์ที่จะไม่ให้ราชการแผ่นดินที่เคยทรงเป็นพระราชธุระอยู่เสมอนั้นจะต้องคั่งค้างสำเร็จล่าช้าไป
เพราะเหตุที่ไม่ได้ประทับอยู่ในพระนครนี้ได้เลย ในการนี้ทรงมีพระราชดำริเห็นว่าสมเด็จพระบรมโอรสา /> ธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ มกุฎราชกุมาร ทรงมีพระชนมายุและพระวุฒิพอที่จะรับพระราชภารกิจนี้ได้ /> จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานอำนาจสิทธิ์ขาดในราชกิจที่จะรักษาพระนครนี้ไว้แด่สมเด็จ /> พระบรมโอรสาธิราชโดยให้ทรงเป็นประธานในที่ประชุม ซึ่งแบ่งออกเป็นสอง คือสภารักษาพระนคร ๑
โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่เป็นที่ปรึกษา และอีกสภาหนึ่งก็คือสภาเสนาบดี มีเสนาบดีหรือปลัด /> ทูลฉลองของแต่ละกระทรวงเป็นผู้เข้าร่วมประชุมและการประชุมที่จักต้องดำเนินไปโดยสม่ำเสมอนี้ /> แลเป็นที่มาของหลายเรื่องซึ่งเป็นเบื้องหลังดังจะเล่าให้ฟังเป็นลำดับๆ ไป
/> เนื่องจากเหตุที่ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้เสด็จประทับอยู่ในพระมหานครเช่นนี้ สมเด็จพระบรม
โอรสาธิราชทรงตระหนักดีว่า ข่าวคราวการเสด็จพระราชดำเนินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจักเป็น /> สิ่งที่อยู่ในความคิดความต้องการของพระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนช้าราชการและประชาชนทั่วไป
จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างกระโจมปิดประกาศตั้งไว้ในสนามหญ้าหน้าพระที่นั่งอภิเษกดุสิต และเมื่อใดได้รับ /> พระราชโทรเลขหรือโทรเลขราชฑูตและกงสุลบอกข่าวมาให้ทราบเรื่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ /> ไปถึงที่ใดก็โปรดให้คัดสำเนาไปปิดไว้ที่กระโจมประกาศให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการทราบในวันนั้น /> แล้วให้พิมพ์ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา (แต่โทรเลขที่มีมาใช้ภาษาอังกฤษเพื่อความสะดวกในการส่ง แล้ว /> จึงแปลออกเป็นภาษาไทย) นอกจากข่าวโทรเลขถ้าได้รับพระราชหัตถเลขาทราบรายการเสด็จฯ เมื่อใด /> ก็โปรดให้คัดเรื่องเสด็จประพาสพิมพ์ในหนังสือราชกิจจานุเบกษาให้มหาชนทราบด้วย />
ต่อนั้นนับแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกจากพระนครไป พระบรมวงศานุวงศ์มีพระบรม
โอรสาธิราชเป็นประธาน กับทั้งข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยไปประชุมกันที่หน้าพระที่นั่งอภิเษกดุสิตในเวลา /> บ่ายทุกๆ วัน ครั้นเวลาพลบค่ำผู้ซึ่งไม่มีหน้าที่ต้องอยู่ประจำก็พากันกลับ แต่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช /> เสด็จประทับที่ประชุมสภารักษาพระนครหรือสภาเสนาบดีต่อไปตามวันกำหนดของการประชุมนั้นๆ ไป
จนราวเวลา ๒ ทุ่มจึงเลิก ต่อเวลานั้นไปข้าราชการในพระราชสำนัก คือในกรมวังตำรวจ มหาดเล็กแล /> ชาวพระคลังข้างที่เป็นต้นที่มีหน้าที่อยู่ประจำเวรบ้าง มีสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงนริศรานุวัดติวงศ์เสนาบดี /> กระทรวงวังเป็นประธานยังอยู่ต่อไปจนสี่ทุ่มห้าทุ่มจึงได้เลิกเป็นนิจ />
อยู่มาวันหนึ่งข้าราชการในพระราชสำนักซึ่งอยู่ในสโมสรนั้นคนหนึ่ง มีแก่ใจหาอาหารไปเลี้ยงเพื่อน
ข้าราชการในพระราชสำนักด้วยกัน ผู้ซึ่งได้กินเลี้ยงพากันเห็นชอบด้วย ต่างคนต่างจึงรับจะหาอาหาร /> ไปเลี้ยงในวันอื่นบ้างก็เกิดปันเป็นเวรให้หาไปเลี้ยงในวันพุธกับวันเสาร์ แต่เดิมก็เลี้ยงกันเฉพาะข้าราชการ /> ในพระราชสำนักที่อยู่จนเวลาเลิกประชุมแล้วราวเจ็ดแปดคนต่อมาผู้ที่รับเวรเลี้ยงชวนพวกพ้องที่ไป /> ตอนบ่ายบางคนให้รออยู่กินอาหารเย็นในวันที่ตนเลี้ยง ใครได้ไปกินก็รู้สึกว่าตนควรจะต้องรับเวรเลี้ยง
ตอบแทนบ้าง จึงเกิดมีผู้รับเวรเลี้ยงมากขึ้นทุกที การที่เชิญก็เชิญขยายกว้างออกไปทุกที จนถึงเชิญ
เสด็จสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชด้วยเป็นที่สุด การที่เลี้ยงกันวันพุธแลวันสาร์นั้นจึงกลายเป็นการสโมสร /> เกิดขึ้นอย่างหนึ่งในเวลาเมื่อเสด็จไม่อยู่ครั้งนั้นเดิมเมื่อสมาชิกยังน้อย ประชุมแลเลี้ยงกันที่ชานพักข้าง
พระที่นั่งอภิเษกดุสิตบ้าง ในสนามหญ้าบ้าง ครั้นเข้าฤดูฝนแลมีจำนวนสมาชิกมากขึ้น สมเด็จเจ้าฟ้า /> กรมหลวงนริศรานุวัดติวงศ์ เสนาบดีกระทรวงวัง ซึ่งอยู่ในตำแหน่งผู้บำรุงสโมสรนั้น จึงทรงพระดำริ /> ให้สร้างศาลาโถงทำด้วยเครื่องไม้มุงจากหลังหนึ่งที่ริมสนามหญ้า ทางฟากตรงข้ามพระที่นั่งอภิเษกดุสิต /> สำหรับเป็นที่เลี้ยงเมื่อสร้างศาลาขึ้นแล้วเกิดมีปัญหาว่าจะเรียกชื่อศาลานั้นว่ากระไร สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวง /> นริศรานุวัดติวงศ์ทรงวานเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ซึ่งถนัดคิดชื่อแปลกๆให้ขนานนามศาลานั้น /> เจ้าพระยาภาสกรวงศ์คิดขนานนามว่า "ศาลาอันเตปุริกธุริน" ก็เห็นชอบพร้อมกัน เพราะเข้าใจว่าเรียกยาก /> คงจะไม่มีใครสามรถจำชื่อนั้นไว้ได้เป็นชื่ออันสมควรแก่ศาลาซึ่งสร้างใช้แต่ชั่วคราวเดียว เมื่อรื้อศาลา
ชื่อจะได้สูญไปตามกัน แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่ ความเห็นขบขันในชื่อของศาลากลับพาให้จำได้โดยแม่นยำ /> แต่มักเรียกกันโดยย่อว่า "ศาลาอันเต" คำว่า "อันเต" ก็เลยเรียกเป็นนามของสโมสรว่า "สโมสรอันเต" /> แลเรียกประเพณีที่ผลัดเวรกันเลี้ยงว่า"เลี้ยงอันเต" สืบมา
/> การเลี้ยงอันเตตอนเมื่อสร้างศาลาเสร็จแล้วมีสมาชิกประมาณราว ๕๐ เศษก็การเลี้ยงนั้นผู้ที่รับเวรเลี้ยง /> รับด้วยความยินดีเต็มใจมาด้วยกันทุกคน จึงเกิดคิดเพิ่มเติมด้วยประการต่างๆนอกจากการเลี้ยงมีขึ้น /> เป็นลำดับมาเป็นต้นว่าในการเลี้ยงให้มีแตรวงหรือปี่พาทย์มโหรีบ้าง แล้วมีพวงดอกไม้หรือสิ่งของแจก /> กันเป้นที่ระลึกเมื่อเวลาเลี้ยงแล้วบ้าง ทีหลังถึงพาหนังฉายซึ่งในสมัยนั้นเพิ่งมีพวกญี่ปุ่นเอาเข้ามาตั้ง /> โรงเล่นในกรุงเทพฯ (ตรงที่สร้างโรงหนังนาครเกษมบัดนี้ จึงเรียกกันว่า "หนังญี่ปุ่น" มาเล่นบ้างหา /> ละคอนพูดละคอนรำแลการเล่นอย่างอื่นๆมาเล่นบ้าง แต่จะมีใครบังคับให้จำเป็นอย่างใดนั้นก็หาไม่
หากเต็มใจทำเอง เพราะสมาชิกคนหนึ่งก็ได้มีเวรเลี้ยงเพียงครั้งหนึ่งหรือสองครั้งเป็นอย่างมาก /> การเลี้ยงอันเตจึงเป็นการครึกครื้นรื่นเริงทุกคราว พอแก้เงียบเหงาในเวลาเสด็จไม่อยู่ ครั้นพระบาท /> สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับถึงพระนคร ได้ทรงทราบเรื่องก็ทรงยินดีจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ /> ให้มีการเลี้ยงพระราชทานสโมสร "อันเต" เป็นการตอบแทนเข้าไปรับพระราชทานอาหารเย็น ณ พระที่นั่ง /> อัมพรสถานและเสด็จประทับเสวยด้วยอย่างเป็นสมาชิกเพื่อจะทรงตอบแทนความชอบ ครั้นเสร็จการเลี้ยง
แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานของแจกชำร่วย อย่างเช่นเคยแจกกันในสโมสร"อันเต" /> สมาชิกคนหนึ่งได้รับพระราชทานพระบรมรูปถ่ายในเวลาเสด็จไปยุโรปคราวนี้องค์หนึ่ง กับเสมาทองขาว /> ลายพระบรมรูปอย่างเช่นแจกเด็กชาวพระนครอันหนึ่งทั่วกัน.
/> (บรรจบพันธุ์ นวรัตน์ ณ อยุธยา, ศาลาอันเตกับพระพุทธเจ้าหลวง, /> ชาวกรุง, ๒๕๐๘)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นกข.
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 26 ต.ค. 00, 00:00
|
|
แล้ว อันเตปุริกธุริน แปลว่าอะไรล่ะครับ ผมเคยมั่วแปลไว่ว่า อันเต - ระหว่าง ปุริก - อันเนื่องด้วยบุรี คือเมือง ธุริน - ธุระ รวมความว่า ศาลาเอาไว้จัดงานเลี้ยง ที่เป็น break ระหว่างช่วงที่ว่างจากการบริหารราชการแผ่นดิน มั่วนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 27 ต.ค. 00, 17:33
|
|
ขอบคุณคุณลุงแก่ค่ะ ชอบค่ะ ถ้ามีเรื่องเล่าแบบนี้อีก ขออีกนะคะ คุณนิลกังขา ลองแปลคำนี้เป็นภาษาอังกฤษดูหน่อยซิคะ จะเป็น inter- อะไรสักอย่าง- pavillion ได้ไหม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นกข.
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 27 ต.ค. 00, 17:44
|
|
แฮ่ะๆ ก่อนจะแปลเป็นอังกฤษได้ต้องรู้ก่อนครับ ว่าความหมายจริงๆ เขาว่าไง ที่ผมแปลเอาไว้นั่น เดาส่งเดช ไม่นับเป็นหลักฐานที่อ้างอิงได้ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
อินทาเนีย
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 29 ต.ค. 00, 15:11
|
|
ผมว่า "ศาลาอันเตปุริกธุริน" น่าจะแปลตามรูปศัพท์ว่า "ศาลาที่ตั้งอยู่ในพระราชวังและใช้สำหรับปฏิบัติกิจธุระ(พระราชกิจ)" เป็นศาลาที่พระสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ ทรงเสด็จมาปฏิบัติพระราชกิจเกี่ยวกับการรักษาพระนคร อย่างที่บทความกล่าวไว้ข้างต้นนั่นแหละครับ
(อันเตปุริก = อยู่ในพระราชวัง)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
อินทาเนีย
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 29 ต.ค. 00, 16:57
|
|
"ศาลาที่ใช้สำหรับปฏิบัติกิจธุระที่ตั้งอยู่ในพระราชวัง" (ความคิดเห็นของผมครับ)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นกข.
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 30 ต.ค. 00, 17:52
|
|
นั่นแสดงว่า บุระ บุรี ที่เราเอามาใช้แปลว่าเมือง กันนั้น เดิมแปลว่า วัง ใช่ไหม ? น่าสนใจครับ ผมจำหนังสือเรื่องแดรคูล่าฉบับแปลเป็นภาษาไทยครั้งแรกได้ ในนั้น (คนแปลใช่ อ.สายสุวรรณ หรือเปล่าก็ไม่แน่ใจ) แปล castle คือที่เรามาแปลชั้นหลังว่า ปราสาท เป็น บุระ ทุกคำ เช่น พอพระเอกไปถึงปราสาทผีดูดเลือดของอีตาเคานท์ ก็จะเรีรยกว่า "บุระแดรคูล่า" ทุกที่ จนจบเรื่อง เหอะๆๆๆๆๆ สุขสันต์วันฮาโลวีนครับ เหอๆๆๆ คุณเทาชมพู ตัวอะไรยืนอยู่ข้างหลังแน่ะ ?!
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
อินทาเนีย
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 31 ต.ค. 00, 13:35
|
|
"ปุระ" แปลว่า ปราสาท ก็ได้ครับ ... เพื่อให้เห็นนัยความหมายของคำต่าง ๆ อย่างชัดเจน ผมขอยกคำแปลของคำว่า "ปุระ" ที่เป็นภาษาอังกฤษจากพจนานุกรมศัพท์สันสกฤต-อังกฤษของ Sir Monier Monier-Williams มาทั้งหมดเลยแล้วกันนะครับ...
"ปุระ" (เป็นนปุงสกลิงค์) = (1) a fortress, castle, city, town (a place containing large buildings surrounded by a ditch and extending not less than one Kos (โกศ) in length; if it extends for half that distance it is called a "Khetฺa" (เขฏ), if less than that, a "Karvatฺa" (กรฺวฏ) or small market town; any smaller cluster of houses is called a "Graฺma" (คฺราม = คาม ในภาษาบาลี) or village)
(2) the female apartments, gynaeceum
หมายเหตุ : "โกศ" ในที่นี้เป็นมาตราวัดความยาว ยาวเท่ากับ ๕๐๐ ชั่วคันธนู ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
อินทาเนีย
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 31 ต.ค. 00, 13:41
|
|
"อันเต" = ภายใน "อันเตปุระ" = เมืองภายใน, พระราชวัง "อันเตปุริก" = ซึ่งอยู่ในพระราชวัง, ข้าราชสำนัก
"โคปุระ" ที่แปลว่า ประตูเมือง ก็มาจากคำว่า "ปุระ" นี่แหละครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
อินทาเนีย
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 31 ต.ค. 00, 13:58
|
|
จะเห็นว่า "ปุระ" ที่หมายถึงเมืองนั้น จะต้องมีคูเมืองล้อมรอบ และพื้นที่ต้องมีความยาวไม่น้อยกว่า ๑ โกศ (เท่ากับ ๕๐๐ ชั่วคันธนู หรือประมาณ ๖๐๐-๗๐๐ หลา) เมืองลักษณะนี้เห็นได้ที่เมืองปราสาทหินพิมาย เมืองปราสทาหินพนมรุ้ง เมืองนครวัด เมืองนครธม นั่นเอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นกข.
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 31 ต.ค. 00, 23:09
|
|
ยังงั้นผมขอเสนอคำแปลว่า Little House in the Prairies เอ๊ย Little Pavilion in the Palace ครับ คุณอินทาเนีย เชิญที่กระทู้ 137 หน่อยครับ มีเรื่องลึงค์ๆ จะให้คลึง เอ๊ย ให้วิจารณ์ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 01 พ.ย. 00, 13:14
|
|
พ้นวันฮัลโลวีนมาแล้ว คุณนกข.ไป trick or treat มาหรือเปล่าคะ? ใครรู้ประวัติของฮัลโลวัน ช่วยเล่าหน่อยได้ไหม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|