เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 4358 อยากทราบเรื่องหลวงประดิษฐ์ไพเราะค่ะ
ชาหณวี
อสุรผัด
*
ตอบ: 9


 เมื่อ 04 ก.พ. 05, 20:00

 คืออยากทราบเกี่ยวกับประวัติท่านแล้วก็ผลงานน่ะค่ะ
วีพยายามหาแล้วแต่ก็ไม่ค่อยเจอมากนัก
กรุณาด้วยนะคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 04 ก.พ. 05, 22:54

 http://www.matichonbook.com/index.php?mnuid=5&selmnu=470426103312  
บันทึกการเข้า
ลำดวนเอ๋ยพี่จะด่วนไปก่อนแล้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 175

ความสุขที่แท้อยู่ที่ใจ


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 04 มิ.ย. 05, 09:16

 ครูหลวงพระดิษฐไพเราะ(ศร) เป็นบุตรของครูสิน กันนางแย้ม เกิดเมื่อวันที่ 6 ส.ค. 2424 ที่จังหวัดสมุทรสงคราม ครูหลวงประดิษฐฯ เริ่มเรียนดนตรีกับครูสินผู้เป็นบิดาตั้งแต่เล็ก ซึ่งครูสินเองก็เป็นศิษย์ของ พระประดิษฐ์ไพเราะ(มี) ครูดนตรีไทยคนสำคัญในกรุงรัตนโกสินทร์ที่จะหาใครเสมอมิได้ ต่อมาครูหลวงประดิษฐฯก็ได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมฯ ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภานุพันธุวงศ์วรเดช แล้วก็ย้านเข้ามาอยู่วังบูรพาภิรมย์ ได้ต่อเพลงจาก พระยาประสานดุริยศัพท์(แปลก) เพิ่มเติ่ม ต่อมาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ครูหลวงประดิษฐฯ ก็ได้รับพระราชทานยศเป็นหุ้มแพร ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น หลวงประดิษฐไพเราะ  จนมาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ครูหลงประดิษฐฯก็ได้เป็นปลัดกรมปี่พาทย์และโขนหลวง สังกัดสำนักพระราชวัง ครูหลวงประดิษฐฯ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2597  
ครูหลวงประดิษฐฯ เป็นครูดนตรีคนสำคัญของวงการดนตรีไทย ท่านมีความคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่ เป็นผู้คิดเพลงทางกรอขึ้นมาบรรเลงเป็นครั้งแรก(แต่เดิมดนตรีไทยมีแต่เพลงที่บรรเลงเป็นทางเก็บเป็นส่วนใหญ่) คือ เพลงเขมรเลียบพระนคร ขึ้นถวาย พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว บทเพลงที่ครูหลวงประดิษฐฯแต่งนั้น ส่วนมากจะมีทำนองอ่อนหวานเรียบร้อย เป็นที่นิยมบรรเลง ทางเพลงของครูหลวงประดิษฐฯ จะเรียกกันในหมู่นักดนตรีไทยว่า ทางฝั่งขะนี้(ไม่รู้สะกดถูกรึเปล่า) หรือทางฝั่งพระนคร คือวังบูรพาภิรมย์ อีกทางหนึ่งเรียกว่าทางฝั่งขะโน้น หรือทางฝั่งธน คือวังบางขุนพรหม มีครูจางวาวทั่ว เป็นครูคนสำคัญ  ทางเพลงของทั้งสองฝั่งนี้ ค่อนข้างต่างกันพอสมควร แม้จะเป็นเพลงเดียวกัน ก็จะมีท่วงทำนอง ลีลา ต่างไป ครูดนตรีไทยของผม เคยเป็นศิษย์ทั้งครูจางวางทั่ว และ ครูหลวงประดิษฐฯ ท่านพูดสรุป ว่า ทรงฝั่งขะนี้ เพลงจะช้ำหู ไม่เหมือนทางฝั่งขะโน้น ซึ่งผมคิดเอาเองนะว่า เพลงทางฝั่งขะนี้คงจะมีลักษณะเรียบร้อย หวานๆ มีระเบียบแบบแผนในกรอบ ต่างจากทางฝั่งขะโน้นที่ดุเด็ดเผ็ดมัน สนุกสนาน ฉะฉานกว่า แต่อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน ทางพลงที่บรรเลงส่วนใหญ่ก็เป็นทางฝั่งขะนี้เสียมาก ต่างจากทางฝั่งขะโน้นที่ไม่ค่อยแพร่หลาย แต่จะไปว่าทางฝั่งขะโน้นก็ไพเราะมีดีอยู่เหมือนกัน เพียงแต่ว่า อาจจะมีผู้สืบทอดรุ่นหลังๆน้อยกว่าทางฝั่งขะนี้เสียมาก เลยไม่แพร่หลาย
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 11 มิ.ย. 05, 23:59

 เนื่องจากคุณครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะนี้ท่านเป็นมหาดเล็กสังกัดวังบูรพาภิรมย์  เมื่อรัชกาลที่ ๖ จะเสด็จฯ เลียบมณฑลปักษ์ฬต้ ใน พ.ศ. ๒๔๕๘  สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ซึ่งเวลานั้นเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช และทรงเป็นพระชามาดา (ลูกเขย) ในสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันูวงศ์วงศ์วรเดช หรือ "สมเด็จวังบูรพา" จึงได้ทรงยืมนายศร ไปเป็นครูครอบให้นักดนตรีซึ่งเป็นข้าในกรมที่ตำหนักเขาน้อย ในการรับเสด็จครั้งนั้นนายศรได้บรรเลงเพลงถวายเป็นที่พอะระราชหฤทัยมาก  ดังมีรายละเอียดบันทึกไว้ในจดหายเหตุเสด็จฯ เลียบมณฑลปักษ์ใต้ พ.ศ. ๒๔๕๘ ของสักขี (พระยาศรีวรวงศ์ ม.ร.ว.จิตร  สุทัศน์)  ต่อมาราว พ.ศ. ๒๔๖๓ ทรงพระอนุสรณ์คำนึงถึงนายศรที่ได้เคยบรรเลงเพลงถวายในครั้งนั้น  จึงได้โปรดพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ให้เป็น หลวงประดิษฐ์ไพเราะ  พร้อมกับหลวงประดิษฐ์บาทุกา เจ้าของร้านรองเท้าเซ่งชง  ริมถนนเจริญกรุงเยื้องกับศาลาเฉลิมกรุง
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.055 วินาที กับ 19 คำสั่ง