สมติว่าห้องเรียนคุณมี 50 คน คุณก็นัดเพื่อนสัก 10 นาที แบ่งกันไปทำมาคนละ 2 ข้อ รวมกันได้ 100 ข้อพอดี รุ่งขึ้นอีกวันก็เอามาแชร์กัน คืนเดียวก็เสร็จ ร้อยข้อ วิธีนี้ 500 ข้อ ก็น่าจะทำได้ในคืนเดียว ก็เหนื่อยหน่อยตอนที่กว่าจะลอกครบทุกข้อ

ผมเป็นครูมานาน ลูกศิษย์ไม่ทำงานตามที่สั่ง ผมก็ให้ตกเหมือนกัน
การจดจำคำในภาษาบาลี-สันสกฤต เป็นการเตือนเราให้รู้ว่า รากฐานทางวัฒนธรรมของเรามาจากอินเดีย ในชีวิตประจำวันของเราก็ใช้ภาษาของเขาอยู่ทุกวี่วัน เพียงแต่คุณอาจรู้สึกว่านั่นเป็นภาษาไทยไปแล้ว แต่บางคำที่ยังไม่ค่อยคุ้นเคยก็เลยคิดว่านี่เป็นภาษาต่างชาติที่ตายไปแล้ว
ผมดูจากกระทู้ที่คุณตั้งไว้ ก็เห็นมีคำจากภาษาต่างชาติไม่เว้นสักบรรทัดเดียว บางบรรทัดก็มีหลายหนหลายครั้ง
อาจารย์ของคุณต้องการให้คุณรู้เพิ่มขึ้นมาอีก 8 บรรทัด ผมก็ว่าไม่น่าจะหนักหนาอะไรนะครับ แต่มันอาจจะมีปัญหากับบางคนได้ อย่างเช่นพวกที่แม่แต่คำง่าย ๆ ก็ยังใช้ไม่ได้ถูกต้องเช่น
จริง-จิง
อย่างนี้ครับ-ยังงี้อะ
ครับ - อะคับ
แล้วกัน - ละกาน
ภาษา เป็นวัฒนธรรมเพียงอันเดียวที่จะเหลือติดตัวคนไปในโลกปัจจุบัน
การแต่งตัว การดำเนินชีวิต อาหารการกิน ฯลฯ ก็เปลี่ยนไปหมด
แต่ภาษายังคงอยู่
หากละเลยภาษาของตนเอง ละเลยรากเหง้าหรือเนรคุณต่อความเป็นคนในชาตินั้น
ไม่มีชาติใดในโลกนี้ ที่จะมีวัฒนธรรมการแต่งฉันทลักษณ์ได้งดงามไพเราะเหมือนประเทศไทย
ในความเห็นของผม คนไทยทุกคน ต้องอ่านฉันทลักษณ์ให้เข้าใจให้ได้
แต่บทกวีได้บ้างเล็กน้อย ดูอย่างตัวอักษรที่ห้อยอยู่ที่บังโคลนท้ายรถบรรทุก หลายอันที่แสดงถึงความเป็นคนที่รักษาวัฒนธรรมไทยได้ดีกว่าบางคนที่อ้างตัวเป็นนักการศึกษา
สมติว่าคุณโชคดีได้ไปเรียนต่างประเทศ คุณจะรู้ว่า คุณจะเรียนสาขาไหนก็ตาม คุณต้องเรียนภาษาประจำชาติเขาให้รู้เรื่อง อ่านออกเขียนได้ และต้องรู้จักประวัติศาสตร์ชาติเขาดีพอสมควร ไม่เช่นนั้น เขาก็ไม่ให้คุณเรียนวิชาอื่นหรอกครับ