เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 7133 สงวนลิขสิทธิ์,เครื่องหมายการค้าจดทะเบียน,เครื่องหมายการค้า ต่างกันอย่างไรครับ
Sir.
อสุรผัด
*
ตอบ: 17


 เมื่อ 31 ม.ค. 05, 01:48

 สงวนลิขสิทธิ์ (Copyright)

เครื่องหมายการค้าจดทะเบียน
(Registered trademark )

เครื่องหมายการค้า (Trademark)
 
 ต่างกันอย่างไรครับ
อธิบายให้หน่อยนะครับ
ขอบคุณท่านมาก
บันทึกการเข้า
ศานติ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 190

อดีตศัลยแพทย์ช่องอกเส้นเลือด (เกษียณ) ปัจจุบันเป็นช่างไม้


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 01 ก.พ. 05, 12:10

 ผมไม่มีความรู้ทางกฎหมาย ไม่รู้ว่ากฎหมายไทยแตกต่างกับสากลแค่ไหน

Copyright = The legal right of creative artists or publishers to control the use and reproduction of their original works.  คำจำกัดความนี้แปลได้ใจความว่า "เป็นสิทธิ์ของศิลปิน ผู้เขียน หรือผู้พิมพ์ ที่จะควบคุมการใช้และการลอกแบบของชิ้นงานตัวต้น"  ถ้าคุณแต่งนวนิยายหรือเขียนบทความเช่นที่คุณเทาชมพูเขียนอยู่เป็นประจำ คุณมีสิทธิ์ที่จะเจาะจงว่าคนอื่นๆจะอ่านได้แต่อย่างเดียว หรือเอาไปทำอย่างอื่น (เช่นถ่ายเอกสาร ไปทำเป็นภาพยนตร์ รวบรวมเป็นเล่มไปพิมพ์ขาย ฯลฯ)ได้หรือไม่ได้ คุณถ่ายรูปแล้วเอาไปลงเวบบอร์ด คนอื่นจะลอกเอาไปทำสคส. ไม่ได้ นอกจากคุณจะอนุญาต คุณเทาชมพูใจดีอนุญาตให้ลอกบทความที่ท่านเขียนไว้ไปเผยแพร่ที่อื่นได้ แต่มีเงื่อนไขบางประการคือต้องอ้างชื่อคนเขียนกับอ้างชื่อวิชาการ.คอม คุณจะลอกไปทั้งดุ้นทำเป็นว่าคุณแต่งเองไม่ได้ ฝรั่งเขาเรียก Intellectual property  ที่เรามี DVD ขายแผ่นละไม่กี่บาทนั่นละเมิดลิขสิทธิ์เขาทั้งนั้น  คำสำคัญอีกคำคือคำว่า original work (งานชิ้นต้นหรือดั้งเดิม) คุณไม่มีทางสงวนลิขสิทธิ์คำโคลงของศรีปราชญ์ได้เพราะไม่ได้แต่งเองเพียงลอกเอามาพิมพ์เป็นเล่ม
พวกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็สงวนลิขสิทธิ์ทั้งนั้น ถ้าอ่านรายละเอียดจะเห็นว่า Microsoft หรือใครก็ตามเขาไม่ได้ขายโปรแกรม เขาเพียงแต่ให้ใช้ บางทีก็จำกัดว่าใช้ได้เพียงเครื่องเดียว หรือเพียงทีละเครื่องถึงแม้เราจะ install ไว้ใน ๓ เครื่อง นี่พูดในแง่กฎหมาย ไม่ใช่แง่ปฏิบัติ

Trademark ดูเหมือนจะมีทั้งที่จดทะเบียนกับไม่จดทะเบียน ถ้าจดทะเบียน (Registered trademark) ก็จะมีกฎหมายคุ้มกันให้สิทธิ์ คนอื่นเอาไปไช้ไม่ได้  ของฝรั่งจะมีตัว R อยู่ในวงกลมหลังชื่อ สมมุติว่าคุณเห็นว่าชื่อ Microsoft  มีคนรู้จักกันทั่วว่าใหญ่ในวงการคอม. จะเปิดอินเตอร์เนทคาเฟ่ต้องการเรียกลูกค้าเลยตั้งชื่อว่า Bangkok Microsoft Cafe ไม่ได้  ถ้าในสรอ.โดนฟ้องแน่ๆ   เมืองไทยไม่รู้   สังเกตุว่าเวลาซื้อโปรแกรมของบริษัทอื่นถ้าเขาอ้างชื่อยี่ห้ออื่น เขาจะมีตัว R ในวงกลมเสมอ แสดงว่าเขายอมรับว่าชื่อที่เขาอ้างถึงนั้นเป็นชื่อที่จดทะเบียนมีเจ้าของแล้ว

อีกคำที่จะเห็นคือ Patented หรือ Patent No. 12345 หรือ  Patent Pending แสดงว่าสิ่งของอันนั้นเขาคิดค้นหรือประดิษฐ์ขึ้นมา ได้จดทะเบียน (นึกคำไทยไม่ออก) แล้ว บางทีบอกเลขทะเบียนด้วย ถ้าใช้คำว่า Pending แสดงว่าขอทะเบียนแล้วแต่ยังไม่ได้ ไม่ต้องดูไกล ฝากระป๋อง เครื่องดื่มทีบิดออกได้ คนประดิษฐ์ก็นอนกิน royalty เป็นมหาเศรษฐีไปนานแล้ว  Patent บางอย่างมีอายุจำกัดไม่ทราบว่าทุกอย่างหรือไม่ พวกยาเป็นต้นจดทะเบียนได้ ๑๐กว่าปี แล้วขอต่อได้ ๑ ครั้งรู้สึกจะ ๗ ปี หลังจากนั้นใครๆก็ลอกไปทำได้
บันทึกการเข้า
caeruleus
ชมพูพาน
***
ตอบ: 155


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 01 ก.พ. 05, 19:24

 ขอโทษนะคะ อาจจะ ignorance ไปหน่อย สรอ. ย่อมาจากอะไรคะ
บันทึกการเข้า
ศานติ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 190

อดีตศัลยแพทย์ช่องอกเส้นเลือด (เกษียณ) ปัจจุบันเป็นช่างไม้


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 01 ก.พ. 05, 20:04

 สรอ. คงจะเป็นคำเก่าใช้ในหมู่คนสูงอายุ (lol) เพราะคุณเป็นคนที่สองที่ถามมา ย่อมาจากสหรํฐอเมริกาครับ ผมใช้เพราะผมพิมพ์ไทยทีละตัว (Hunt and peck system) ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ ใข้คำว่า สหปาลีรัฐอเมริกาด้วยซ้ำ ยิ่งพิมพ์ยากใหญ่ (ปาลี = ผู้เลี้ยง ผู้ปกครอง ผู้รักษา) ไม่ทราบว่าทำไมมีคำว่าปาลีเข้าไปปนด้วย

เมื่อ ๒-๓ าทิตย์ก่อนไปขึ้นรถไฟฟ้าที่สยามสแกวร์ มองดูรอบตัวตอนก้าวขึ้นบันไดเลื่อน ได้ความรู้สึกว่าพลเมืองไทยที่อายุต่ำกว่า ๓๐ คงจะมากกว่าที่เกิน ๓๐ หลายเปอร์เซ็น รู้สึกแก่ลงไปทันที

ความจริงคนอเมริกันก็ใช้สั้นลง เมื่อก่อนถ้าถามว่ามาจากไหน เขาจะบอกว่า USA หรือเขียน U.S.A.  สมัยนี้เขามักจะใช้ US หรือเขียน  U.S.
บันทึกการเข้า
caeruleus
ชมพูพาน
***
ตอบ: 155


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 01 ก.พ. 05, 20:14

 อ๋อ เข้าใจแล้ว ตอนแรกเห็นนึกว่าเป็นสำนักงานอะไรซักอย่างน่ะค่ะ
บันทึกการเข้า
caeruleus
ชมพูพาน
***
ตอบ: 155


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 01 ก.พ. 05, 20:22

 คำว่า สหปาลีรัฐอเมริกา คงจะให้หมายความว่า ปกครองหลายๆรัฐ มั้งคะ
บันทึกการเข้า
ศานติ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 190

อดีตศัลยแพทย์ช่องอกเส้นเลือด (เกษียณ) ปัจจุบันเป็นช่างไม้


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 03 ก.พ. 05, 05:51

 ผมก็คิดอย่างนั้นเมื่อไปเปิดพจนานุกรมดูความหมายฃองคำว่าปาลี แต่ดูคำอังกฤษไม่เห็นว่ามีคำไหนในชื่อที่ตรงกับคำว่าปาลี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 03 ก.พ. 05, 14:04

 ปาลีรัฐ= states  หมายถึงรัฐปกครอง
ส่วนสห คือ united  
ต่อมาเราตัดคำว่า ปาลี ออกไป เหลือแต่รัฐ   เพราะคงเห็นว่าคำเดียวก็ได้ความหมายแล้ว  แต่ยังคง สห เอาไว้
บันทึกการเข้า
ศานติ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 190

อดีตศัลยแพทย์ช่องอกเส้นเลือด (เกษียณ) ปัจจุบันเป็นช่างไม้


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 03 ก.พ. 05, 20:30

 ขอบคุณครับ หายสงสัยไปอีกอย่างหนึ่ง
บันทึกการเข้า
caeruleus
ชมพูพาน
***
ตอบ: 155


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 03 ก.พ. 05, 23:50

 เข้าใจแล้วค่ะ ขอบคุณคุณเทาชมพูมากๆ ที่ช่วยตอบให้นะคะ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 04 ก.พ. 05, 16:22

 Patent ภาษาไทยใช้ว่า สิทธิบัตร ครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
Sir.
อสุรผัด
*
ตอบ: 17


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 06 ก.พ. 05, 02:37

 แล้ว
เครื่องหมายการค้า
ที่ไม่จดทะเบียน มีคุณสมบัติแตกต่างกันกับแบบจดทะเบียนแล้วยังไงครับ

เครื่องหมายการค้า เฉยๆที่ยังไม่จดทะเบียนจะไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหทายหรือครับ
บันทึกการเข้า
ศานติ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 190

อดีตศัลยแพทย์ช่องอกเส้นเลือด (เกษียณ) ปัจจุบันเป็นช่างไม้


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 06 ก.พ. 05, 11:46

 คิดว่าอย่างนั้น แต่ผมไม่มีความรู้ทางกฎหมาย ต้องให้ผู้รู้ตอบ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 06 ก.พ. 05, 12:08

เข้าไปอ่านที่นี่นะคะ
http://www.ipthailand.org/Thai/Default.aspx
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 19 คำสั่ง