เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 9546 มีใครเคยได้ยินเรื่องตำนานเพชรต้องสาปไหมคะ ?
ชาหณวี
อสุรผัด
*
ตอบ: 9


 เมื่อ 22 ม.ค. 05, 21:02

 อยากทราบเกี่ยวกับตำนานของเพชรต้องสาปที่กล่าวกันว่าจะนำพาความหายนะมาสู่ผู้ครอบครองน่ะค่ะ เคยได้ยินว่าเพชรเม็ดนี้ พระนางมารีอังตัวเนตต์ได้มาก่อนที่จะถูกโค่นราชบัลลังก์น่ะค่ะ
บันทึกการเข้า
จำปา
อสุรผัด
*
ตอบ: 6

-


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 22 ม.ค. 05, 21:41

 เพชรโฮปน่ะหรือคะ  เป็นเพชรที่ได้มาจากหน้าผากเทวรูปในอินเดีย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 23 ม.ค. 05, 08:26

 http://history1900s.about.com/library/weekly/aa071300a.htm  
บันทึกการเข้า
Vinicy de Planetia
อสุรผัด
*
ตอบ: 14

99/112 หมู่ 2 ตำบลท่าศาลา อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี 15000


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 23 ม.ค. 05, 21:05

 เพชนตระกูลโฮปเม็ดนี้มีประวัติยาวมากเลยง่ะ เค้าว่ากันว่ามาจากอินเดีย แล้วก็ ทอด ๆๆๆๆๆๆๆๆ มาจนในที่สุด อยู่ในพิพิทธภัณฑ์
บันทึกการเข้า
Vinicy de Planetia
อสุรผัด
*
ตอบ: 14

99/112 หมู่ 2 ตำบลท่าศาลา อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี 15000


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 23 ม.ค. 05, 21:06

 เรื่องมาจากหน้าผากน่ะ เหมือนจะเป็นตำนานนะคับ
บันทึกการเข้า
ชาหณวี
อสุรผัด
*
ตอบ: 9


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 27 ม.ค. 05, 20:20

 ขอบคุณมากค่ะ
บันทึกการเข้า
หญิงมิน
อสุรผัด
*
ตอบ: 15

เรียนอยู่ค่ะ


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 22 ก.พ. 05, 17:01

 เพชรนี้น่ะได้มาจากพระนลาฏ(หน้าผาก)ของพระศิวะ  มีคนยุโรปเดินทางมาจึงขโมยเพชรนี้ไป ลือกันว่าเพชรนี้มีอาถรรพ์ ตามคำสาปแช่งของชาวอินเดีย   ต่อมาก็ตกไปอยู่ในมือพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ของฝรั่งเศษ เพชรนี้ที่จิงใหญ่เหมือนกัน ตามตำนานว่า พระองค์สั่งให้ช่างแบ่งเพชรเป็น 3 ส่วน อีก2ส่วนนั้นหายไปไหนม่ายรุ จากนั้นก็ตกทอดต่อมา มีคนล้มตายเพราะอาถรรพ์ของมันเช่นสามีกับลูกชายเจ้าของเพชรสมัยต่อมา ก็รถคว่ำตายหลังจากที่นางซื้อมาไม่นาน จนสุดท้าย ทายาทของเจ้าของเพชรกลัวอาถรรพ์จึงให้พิพิธภัณฑ์ เก็บไว้ที่ USA  อ็อลืมไปเพชรนี้หนักประมาณ 45 กะรัต ประเมินค่าไม่ได้ เป็น บลูไดมอนที่สวยงามงดงามมาก ลองคิดดูแล้วกัน บลูไดมอนที่ไม่ค่อยสวยเท่าไรแถมยังเม็ดเล็ก ขนาด 15 กะรัต ราคาก็ 1500ล้านบาท แต่นี้ทั้งใหญ่และน้ำสีเข้มงามราคาจะขนาดไหน
บันทึกการเข้า
fon
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 07 มี.ค. 05, 18:45

 เพรชนี้ได้มาจากพระนลาฏของพระศิวะ พระศิวะที่ว่านี่หมายถึงเทวรูปในอินเดียหรือค่ะ
บันทึกการเข้า
Vinicy de Planetia
อสุรผัด
*
ตอบ: 14

99/112 หมู่ 2 ตำบลท่าศาลา อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี 15000


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 14 มี.ค. 05, 22:02

 How much of this is true? In 1642 a man by the name of Jean Baptiste Tavernier, a French jeweler who traveled extensively, visited India and bought a 112 3/16 carat blue diamond. (This diamond was much larger than the present weight of the Hope diamond because the Hope has been cut down at least twice in the past three centuries.) The diamond is believed to have come from the Kollur mine in Golconda, India.
บันทึกการเข้า
Vinicy de Planetia
อสุรผัด
*
ตอบ: 14

99/112 หมู่ 2 ตำบลท่าศาลา อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี 15000


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 14 มี.ค. 05, 22:05

 ไม่ใช่ศิวะ (Shiva) แต่เป็นเทพี Sita ครับ
บันทึกการเข้า
Malagao
มัจฉานุ
**
ตอบ: 85


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 30 ก.ย. 06, 18:51

 เพชรสีน้ำเงิน..ฤาจะคืนสู่เจ้าของเดิม

โดย ผู้จัดการออนไลน์
4 มิถุนายน 2548 10:51 น.


เพชรสีน้ำเงิน HOPE ในรูปลักษณ์ปัจจุบันซึ่งน้ำหนักน้อยกว่าเดิมซึ่งหนัก 67.25 กะรัต


      เพชรสีน้ำเงินชื่อดังก้องโลกในนามของเพชร HOPE ที่มีน้ำหนักถึง 45.5 กะรัต ซึ่งปัจจุบันอวดความงามอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ สมิทโซเนียน วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา กำลังถูกทาบทามขอซื้อคืนจากพิพิธภัณฑ์ ลูฟวร์แห่งกรุงปารีส ในราคาที่ถูกประเมินไว้สูงถึง 45 ล้านเหรียญอเมริกันหรือประมาณ 34 ล้านยูโร มูลค่าเป็นเงินบาทคือ 1,700 ล้านบาท
Evalean Walsh McLean กับสร้อยคอประดับเพชรสีน้ำเงิน


      ทั้งนี้เพราะที่มาที่ไปของเพชรเม็ดนี้แต่เดิมคือสมบัติของราชวงศ์บูร์บงแห่งฝรั่งเศสซึ่งถูกขโมยไปภายหลังการปฏิวัติฝรั่งเศสในปีค.ศ.1789นั้นเอง เพชรเม็ดนี้อวดโฉมเป็นครั้งแรกในปีค.ศ.1668.โดยพ่อค้าเพชรชื่อ ฌ็อง แบบติสต์ ตาแวร์นิเยร์ ซื้อมาจากเหมืองเพชร Kollur ซึ่งอยู่ในเมือง Golconda แห่งอินเดีย โดยเป็นเพชรที่มีรูปทรงสามเหลี่ยม เจียระไนไว้ยังไม่ดีนักมีน้ำหนักถึง 112.3 กะรัต หากแต่เป็นเพชรที่มีสีน้ำเงินคราม และเพชรเม็ดนี้ได้ถูกนำไปถวายต่อพระเจ้าหลุยส์ที่14 สุริยกษัตริย์แห่งฝรั่งเศส ซึ่งในครั้งนั้นทรงซื้อเพชรขนาดต่างๆไว้ทั้งหมด 14 เม็ด และทรงมอบเพชรทั้งหมดให้แก่ ซิเยอร์ ปิโต ช่างเจียระไนแห่งราชสำนักเป็นผู้ทำการเจียระไนใหม่ทั้งหมด เพชรสีน้ำเงินเม็ดนี้จึงถูกเจียรนัยใหม่เป็นเพชรรูปทรงหัวใจและมีน้ำหนักใหม่ที่ 67.25 กะรัต
      ความงามของเพชรเม็ดนี้ในรูปโฉมใหม่ได้รับการยกย่องให้เป็น”เพชรสีน้ำเงินแห่งมหามงกุฎ”หรืออีกชื่อหนึ่งว่า”The French Blue” โดยขึ้นเรือนครั้งแรกบนเรือนทองคำใช้ผูกด้วยแถบไหมสำหรับห้อยหว่างพระอุระขององค์กษัตริย์ในงานพระราชพิธี
      ถัดมาในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่15 ในปีค.ศ.1749 ได้มีการนำมาเป็นหนึ่งในชุดเครื่องเพชรสำหรับพระราชพิธี โดยเป็นจี้ที่ใช้ห้อยอยู่บนชุด”Toison D’Or” ซึ่งเป็นขนแกะทองคำที่ใช้คลุมพระอังสะ และในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ก็ทรงเพียงครั้งเดียวเท่านั้นในครั้งพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตอนขึ้นครองราชย์ และถูกเก็บรักษาอยู่ในท้องพระคลังจนถึงการปฏิวัติฝรั่งเศสที่ทำให้ระบอบกษัตริย์ของฝรั่งเศสสิ้นสุดลงในปีค.ศ. 1789

Jeffrey Post ผู้เชื่อมั่นว่าเพชร HOPE และ The French Blue คือเพชรเม็ดเดียวกันตามหลักฐานที่เขามีอยู่
      ในวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1792 ไม่ถึงสามปีหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ห้องเก็บเครื่องเพชรของอดีตกษัตริย์ก็ถูกโจรมือดีกวาดเครื่องเพชรชิ้นเยี่ยมไปจนหมดสิ้น ตั้งแต่เพชรสีน้ำเงินเม็ดที่ใหญ่ที่สุดในโลกเม็ดนี้ รวมไปถึงสมบัติทั้งหมดที่ถูกสะสมมากว่าศตวรรษ ยังมีสร้อยพระศอมุกของพระนางแอนน์แห่งออสเตรีย พระราชมารดาของพระเจ้าหลุยส์ที่14 เพชรลูกชื่อ Le Regent น้ำหนัก 140 กะรัต Le Sancy น้ำหนัก 53 กะรัต Le Miroir du Portugal 25 กะรัต Le Grand Mazarin 21 กะรัต ทั้งนี้ยังรวมไปถึงเครื่องเพชรล้ำค่าทั้งหมดมากมายหลายร้อยรายการ มูลค่าในขณะนั้นถูกประเมินไว้ถึง 20ล้านปอนด์
      ยี่สิบปีหลังจากนั้นเพชรสีน้ำเงินเม็ดนี้ถูกนำออกขายที่ตลาดค้าเพชรพลอยในลอนดอน พ่อค้าเพชรชื่อ แดเนียล เอเลียซัน เป็นผู้เชื่อว่าเพชรเม็ดนี้คือ”The French Blue”ที่หายไปเมื่อยี่สิบปีก่อนนี้จากหลักฐานที่เขามีอยู่เป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือที่สุด ด้วยเพชรเม็ดนี้กลายเป็นเพชรรูปไข่ แต่ทว่ามีน้ำหนักน้อยกว่าเดิม และถูกครอบครองโดยพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งอังกฤษเป็นระยะเวลาหนึ่ง จนเมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตในปีค.ศ.1830 เพชรเม็ดนี้ก็ถูกขายเพื่อนำมาใช้ล้างหนี้สินของพระองค์ที่มีจำนวนมหาศาลอย่างเงียบๆ
      ในปีค.ศ.1839 เพชรเม็ดนี้ถูกถ่ายมือสู่ Henry Philip Hope ซึ่งเป็นชื่อใหม่ของเพชรเม็ดนี้ตามเจ้าของคนใหม่ การครอบครองเพชรเม็ดนี้ก่อให้เกิดการฟ้องร้องและปัญหาทางกฎหมายอย่างมากมาย จากการปรากฏตัวที่คลุมเครือไม่อาจหาที่มาที่ไปที่แท้จริงได้ อย่างไรก็ดีเพชรเม็ดนี้ยังคงตกอยู่ในความครอบครองของตระกูล HOPE จนถึงปีค.ศ.1901 เพชรเม็ดนี้ตกอยู่ในกรรมสิทธิของทายาทในขณะนั้นคือ Lord Francis Hope ซึ่งเป็นผู้ได้รับการแต่งตั้งจากศาลให้เป็นผู้มีสิทธิื์โดยชอบธรรมพร้อมกับพี่สาว ซึ่งทั้งคู่ได้ขายผ่านพ่อค้าในลอนดอนให้แก่ Joseph Frankels และบุตรชายซึ่งพักอาศัยอยู่ในนิวยอร์ก แต่แล้วเขากลับมีปัญหาทางการเงินจนต้องนำเพชรเม็ดนี้ออกประมูลขายในปีค.ศ.1909 ที่กรุงปารีสและถูกขายต่อจนถึงมือของ Pierre Cartier ในปีเดียวกัน

เพชรเม็ดนี้ในพิพิธภัณฑ์สมิทโซเนียน



      ในปีค.ศ.1910 เพชรเม็ดนี้ถูกนำไปขึ้นเรือนและเสนอขายให้แก่ Evalyn Walsh McLean สตรีชาวอเมริกันที่ร้าน Cartier ในปารีสแต่เธอไม่ชอบเรือนจน Cartier ต้องตามใจเธอโดยทำการดัดแปลงตัวเรือนเสียใหม่ และขายได้ในปีถัดมา โดยล้อมเพชรสีขาวขนาดใหญ่รอบเม็ด และสามารถใส่เป็นทั้งจี้และเข็มกลัดได้ ซึ่งกลายเป็นเครื่องเพชรชิ้นที่เธอสวมใส่บ่อยที่สุดจนเธอถึงแก่กรรมในปีค.ศ.1947
      บริษัท Harry Winston แห่งนิวยอร์กเป็นผู้ซื้อเครื่องเพชรทุกชิ้นของเธอต่อจากทายาทรวมถึงเพชรสีน้ำเงิน HOPE ด้วย ซึ่งเพชรเม็ดนี้ได้ถูกส่งไปแสดงยังพิพิธภัณฑ์ต่างๆตลอดมา และในปีค.ศ.1958 เพชรเม็ดนี้ได้ถูกบริจาคให้แก่พิพิธภัณฑ์สมิทโซเนียน และนับแต่นั้น เพชร HOPE เม็ดนี้ก็กลายเป็นแม่เหล็กสำคัญที่ดึงดูดผู้คนจากทั่วโลกให้เดินทางไปชมความงามของเพชรเม็ดนี้ได้มากที่สุด
      นับตั้งแต่ที่เข้ามาอยู่ในความครอบครองของที่นี่เพชร HOPE ถูกยืมไปแสดงนอกสถานที่เพียงสี่ครั้งเท่านั้น
      จากวิทยาการสมัยใหม่ที่มีการนำมาใช้ในการพิสูจน์ถึงคุณลักษณะของอัญมณี รวมจนถึงการศึกษาจากเอกสารที่มาต่างๆทำให้เพชรเม็ดนี้ได้รับการยืนยันจาก Jeffrey Post ผู้อำนวยการด้านอัญมณีจากพิพิธภัณฑ์แห่งวอชิงตัน ว่าเพชร HOPE เม็ดนี้คือเพชรเม็ดเดียวกันกับ “The French Blue” ที่หายสาบสูญไปนั่นเอง
             จากการติดตามเป็นเวลานานของกรรมการแห่งพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ ซึ่งกำลังทำการติดต่อเพื่อขอซื้อเพชรเม็ดนี้คืนจากพิพิธภัณฑ์สมิทโซเนียน เชื่อกันว่าหากหลักฐานที่มีอยู่ยืนยันแน่ชัด เพชรเม์ดนี้อาจได้กลับคืนสู่ฝรั่งเศสและอวดโฉมในพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ก็เป็นได้ในอนาคตอันใกล้นี้ เพราะคณะกรรมการชุดนี้ประสบความสำเร็จในการซื้อคืนเพชรเม็ดสำคัญ Le Regent มาเป็นผลสำเร็จ จนอวดโฉมอยู่ในขณะนี้แล้วที่ Apollo Gallery พิพิธภัณฑ์ลูฟว์ร์ แล้วใยจะต้องปล่อยให้เพชร HOPE ไปอวดความงามอยู่ ณ ดินแดนอื่น
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 19 คำสั่ง