โคลเซ่
อสุรผัด

ตอบ: 5
|
-ขอความรู้ในกระทู้ใหม่ครับ สงสัยครับว่าตำแหน่งหม่อมเจ้านั้นส่วนใหญ่จะเป็นชั้นพระนัดดา(หลาน)พระมหากษัตริย์ แต่เท่าที่ทราบมายกตัวอย่างครับ เช่นท่านมุ้ย มจ.ชาตรีเฉลิม ท่านอยู่ในชั้นเหลนของรัชกาลที่ 5 ถ้าตามที่เข้าใจเข้าใจว่าสมเด็จย่าของท่านเป็นเจ้าด้วยทำให้เสด็จพ่อของท่านเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอไม่ได้เป็นพระวรวงศ์เธอหรือหม่อมเจ้า ทำให้ท่านได้เป็นหม่อมเจ้าผมเข้าใจถูกไหมครับ -สงสัยอีกอย่างครับ อย่างเช่นมจ.วรรณไวทยากร ภายหลังท่านได้รับอิสริยยศเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า โอรสหรือธิดาท่านจะเลื่อนเป็นหม่อมเจ้าไหมครับ -และสงสัยว่าท่านลุงของ มรว.สุขุมพันธ์ คือเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ แต่ธิดาท่านเป็นหม่อมราชวงศ์ทำไมไม่เป็นหม่อมเจ้า แต่มรว.สุขุมพันธ์ไม่สงสัยครับเพราะว่าท่านย่าของท่านเป็นสามัญชนแล้วท่านพ่อท่านก็เป็นพระวรวงศ์เธอ - เคยได้ยินมาว่า มรว.จัตุมงคลและมรว.ปรีดิยาธร เชื้อพระมหากษัตริย์เข้มกว่า แต่ผมว่าน่าจะเท่ากันเพราะคุณชายทั้ง 2 ท่านน่าจะเป็นชั้นเหลน ร.4 ทั้ง2ท่าน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
โคลเซ่
อสุรผัด

ตอบ: 5
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 21 ม.ค. 05, 12:48
|
|
ตกหล่นข้อความด้านบนครับว่าท่านมรว.จัตุมงคลเชื้อพระมหากษัตริย์เข้มกว่าครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33423
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 21 ม.ค. 05, 17:34
|
|
คำถามของคุณแสดงว่าคุณก็รู้รายละเอียดอะไรต่อมิอะไรเยอะเหมือนกัน คำถามที่ถามมา น่าจะเคยเห็นคำตอบผ่านสายตามาแล้ว ฐานันดรศักดิ์ชั้นหม่อมเจ้า เป็นพระนัดดา(หลาน) หรือปนัดดา(เหลน) ในพระมหากษัตริย์ก็ได้ทั้งสองอย่าง ท่านมุ้ย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล เป็นโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ซึ่งเป็นพระโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์และพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า(หญิง) เฉลิมเขตรมงคล พระองค์เจ้าอนุสร ฯ หรือพระองค์ชายกลาง มีพระชนกเป็นเจ้าฟ้า พระชนนีเป็นพระองค์เจ้า เรียกได้ว่าเป็นเจ้าทั้งฝ่ายพ่อและแม่ ท่านก็เป็นพระองค์เจ้าตั้งแต่ประสูติ ไม่ได้เลื่อนขึ้นมาในภายหลัง เมื่อมีโอรสธิดา ท่านเหล่านั้นก็เป็นหม่อมเจ้าตั้งแต่แรก เหมือนกันหมด
ขอเพิ่มเติมว่า ม.ร.ว.เองยังเป็นเหลนในพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลใดรัชกาลหนึ่งก็ได้ อย่าง ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นเหลนในรัชกาลที่ 2 เพราะท่านพ่อของท่าน พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าคำรพ เดิมคือหม่อมเจ้าคำรพ เป็นโอรสในพระบรมวงศ์เธอชั้น 4 กรมขุนวรจักรธรานุภาพ ซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ในกรณีที่สอง หม่อมเจ้าบางองค์ ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯเลื่อนขึ้นเป็นพระองค์เจ้า แต่เป็นการเลื่อนเฉพาะบุคคล บุตรธิดาของท่านไม่ได้รับการเลื่อนด้วย บุตรธิดาก็ยังคงมีศักดิ์อย่างเดิมเหมือนเมื่อถือกำเนิดมา เจ้านายที่ได้รับการเลื่อนจากหม่อมเจ้าเป็นพระองค์เจ้าในกรณีนี้ ชาวบ้านสมัยคุณทวดเรียกกันสั้นๆเพื่อเข้าใจง่ายๆว่า "พระองค์เจ้าตั้ง" คือเป็นพระองค์เจ้าด้วยการที่ทรงพระกรุณาแต่งตั้ง คนละแบบกับพระองค์เจ้าโดยกำเนิด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33423
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 21 ม.ค. 05, 17:42
|
|
ส่วนเรื่องเจ้านายสายราชสกุล บริพัตร ที่คุณพูดถึง คุณก็ไม่ได้ระบุพระนามว่าพระองค์ไหน ขอตอบคลุมๆไปก่อนนะคะ พระโอรสธิดาในสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เมื่อแรกประสูติดำรงพระยศหม่อมเจ้า ในรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระโอรสองค์ใหญ่ที่ประสูติแต่หม่อมเจ้าหญิงประสงค์สม พระชายาเอก ดำรงพระยศพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า ครั้นถึงรัชกาลที่ 6 พ.ศ. 2453 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯประกาศให้เลื่อนขึ้นจากพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า เป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า ส่วนพระโอรสธิดาอีก 3 พระองค์ที่ประสูติภายหลังจากนั้น จึงทรงเป็นพระองค์เจ้าโดยกำเนิด เมื่อมีพระโอรสให้ดำรงพระยศเป็น "หม่อมเจ้า" ถึงรัชกาลที่ 7 พ.ศ. 2470 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาพระโอรสธิดาทุกพระองค์ที่ประสูติแต่หม่อมมารดาที่มิได้เป็นเจ้า ขึ้นดำรงพระยศเป็นพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าด้วย
ถ้าหากว่างง กรุณากลับไปอ่านความเห็นที่ 2 อีกครั้ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|