เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 23739 เจ้าจอมห้องเหลือง
กัลยาณี
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


 เมื่อ 11 ม.ค. 05, 21:57

 อยากทราบเรื่องเจ้าจอมห้องเหลืองในสมัยรัชกาลที่ 5 น่ะค่ะ ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 12 ม.ค. 05, 08:12

 หมายถึงเจ้าจอมซึ่งไม่เป็นที่โปรดปรานอีกต่อไป     จะมีโอกาสเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ก็เพียงแต่มาหมอบรับเสด็จใน "ห้องเหลือง" ซึ่งเป็นห้องทางเสด็จพระราชดำเนินผ่าน
คำเรียกว่า "เจ้าจอมห้องเหลือง" เป็นการเรียกแสดงความดูถูกจากข้าราชสำนักฝ่ายใน  อย่างไรก็ตามท่านเหล่านี้ก็ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดเงินปี และมีตำหนักให้อยู่

จากหนังสือ "ราชสำนักสยามในทรรศนะของหมอสมิธ"
บันทึกการเข้า
นายชินจัง
อสุรผัด
*
ตอบ: 31



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 30 ม.ค. 05, 11:30

 อ่านะ
เจ้าจอมห้องเหลือง....
แล้วลูกที่เกิดออกมา ( โทษทีครับใช้คำไม่ถูกจริงๆ )
เป็นพระองค์เจ้าใช่รึเปล่าครับ.......หากโปรดคงจะมีวาสนามาถึงเจ้าจอมมารดาด้วยกระมัง
บันทึกการเข้า
กาลเปลี่ยน
อสุรผัด
*
ตอบ: 1

อาชีพอิสระ


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 18 ก.พ. 05, 11:16

 อยากรู้เกี่ยวกับเรื่องเจ้าจอมและสนมในสมัยพระพุทธเจ้าหลวงมากกว่านี้  จะหาความรู้และข้อมูล ได้จากไหนบ้างคะ

กาลเปลี่ยน
บันทึกการเข้า
fon
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 05 มี.ค. 05, 19:25

เจ้าจอม กับ เจ้าจอมมารดาต่างกันอย่างไรค่ะ,
รู้สึกว่าจะมีห้องเหลืองแล้ว มีห้องเขียวกับน้ำเงินด้วยใช่ไหมคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 06 มี.ค. 05, 09:17

 ใช่ค่ะ  
อยากให้คุณ Fon ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยนะคะว่าห้องเขียวกับห้องน้ำเงิน เป็นยังไง
เจ้าจอม = พระสนมของพระเจ้าแผ่นดิน  ที่ยังไม่มีพระองค์เจ้า
เจ้าจอมมารดา= พระสนมที่มีพระองค์เจ้าแล้ว
บันทึกการเข้า
fon
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 07 มี.ค. 05, 11:56

 ก็ประมาณ ว่าเป็นห้องที่อยู่ติดกับห้องเสวยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ แต่จำไม่ได้ว่าห้องน้าเงินหรือห้องเขียวห้องใดอยู่ก่อนหลังแต่สุดท้ายตามด้วยห้องเหลืองแน่นอน แล้วเจ้าจอมทั้งหลายก็มาเข้าเฝ้าแหนตามห้องต่างๆตามลำดับ หากเจ้าจอมท่านใดจะถวายฎีกาหรือข้าวของอันใดก็จะใช้โอกาสที่ท่านดำเนินผ่านห้องนี้เป็นโอกาส
(หากข้อมูลผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยค่ะ)
บันทึกการเข้า
หยดน้ำ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 146

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 25 เม.ย. 05, 22:06

 ขออนุญาตคุณเทาชมพูคับผม

ในหนังสือสมเด็จพระศรีพัชรินทราฯ  ของอุทุมพร
กล่าวไว้ว่า  ห้องเหลือง  เป็นที่สำหรับพระมเหสีเทวีและเจ้าจอมชั้
นผู้ใหญ่เข้าเฝ้านะคับ

พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร  เป็นตึก  2  ชั้น  ชั้นล่างเป็นที่สำหรับข้าทูลละอองธุลีพระบาท  ชั้นบนใช้เป็นที่ประทับ

ห้องเหลือง  อยู่ตรงกลาง  เป็นห้องใหญ่ที่สุด  เป็นที่รับรองสำหรับแขกเมืองผู้มีเกียรติ  ใช้ประกอบพระราชพิธี  ตลอดจนงานพระราชกุศลภายใน

ห้องน้ำเงิน  เป็นห้องด้านตะวันออก  เป็นห้องทรงพระสำราญของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  กับพระอัครมเหสี  และพระบรมวงศ์ที่ใกล้ชิด  ในบางโอกาสก็โปรดให้พระอัครมเหสีใช้รับแขกเมือง  ทั้งยังเคยเป็นที่ประดิษฐานเครื่องราชกกุธภัณฑ์  เครื่องราชศิราภรณ์  พระมาลา  เครื่องราชุปโภค  พระแสงและสิ่งของมีค่าอื่นๆ

ห้องเขียว  เป็นห้องด้านตะวันตก  เป็นที่สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัวทรงพระสำราญเป็นการส่วนพระองค์ตามพระราชอัธยาศัย   เป็นห้องเสวยพระกระยาหารฝ่ายใน  

ปกติในเวลาค่ำหลังจากเสร็จสิ้นพระราชราชภารกิจประจำวันแล้ว  และไม่ทรงมีพระราชกิจอื่นใดอีก  พระเจ้าอยู่หัวก้จะเสด็จออกให้ฝ่ายในเฝ้าใน  3  ห้องนี้  ตั้งแต่เวลาเสวยพระกระยาหารจนถึงเวลาที่ทรงพักผ่อนสำราญพระราชอิริยาบถ  โดยการเฝ้านั้นก็สุดแต่จะโปรดเกล้าฯ  ให้ผู้ใดมีตำแหน่งขึ้นเฝ้าที่ใด  ซึ่งทรงกำหนดไว้เป็นสัดส่วนตามลำดับเกียรติยศและอาวุโส  ดังนี้

พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน   รอเฝ้าที่ห้องน้ำเงิน
พระมเหสีเทวี  และเจ้าจอมชั้นผู้ใหญ่  รอเฝ้าที่ห้องเหลือง
เจ้าจอมชั้นเล็ก  และคุณพนักงาน  รอเฝ้าที่ห้องเขียว

อย่างไรก็ตามก็มิได้เป็นการกำหนดตายตัว  สุดแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้ท่านผู้ใดขึ้นเฝ้าที่ห้องไหน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 26 เม.ย. 05, 08:51

 คุณหยดน้ำลอกข้อความจากในหนังสือ "สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชินี พันปีหลวง" โดยคุณ" อุทุมพร" หรือนางอมร ดรุณารักษ์ (อุทุมพร วีระไวทยะ)มาไม่หมดนี่คะ
จึงทำให้เข้าใจผิดเรื่อง "ห้องเหลือง"
ในหนังสือบอกว่าอย่างนี้ค่ะ

" ห้องกลาง เป็นห้องใหญ่ เรียกกันว่าห้องเหลือง "เคย" ใช้เป็นที่รับรองแขกเมืองผู้มีเกียรติ"มาก่อน" นอกจากรับแขกเมืองแล้ว ยังได้ทรงใช้เป็นที่ประกอบพระราชพิธี หรืองานพระราชกุศลภายในอีกด้วย"

ล่วงมาถึงปลายรัชกาล ห้องเหลืองเป็นยังไง อ่านได้จาก "สี่แผ่นดิน" บทที่ 6

" ความจริงห้องเหลืองเป็นทางเสด็จพระราชดำเนินผ่านทุกวัน เพราะพระทวารห้องนั้นเปิดออกไปยังอัฒจันทร์เสด็จออกข้างหน้า ฉะนั้นเวลาจะเสด็จออกข้างหน้าก็จำต้องเสด็จพระราชดำเนินผ่าน และเวลาเสด็จขึ้นข้างในก็จำต้องผ่านอีกครั้งหนึ่ง
ฉะนั้น ห้องเหลืองนี้ จึงเป็นที่ชุมนุมของข้าในทั้งปวง "ที่ไม่มีตำแหน่งเฝ้าฯโดยใกล้ชิดในที่อื่น" มาคอยหมอบเฝ้าฯในเวลาเสด็จพระราชดำเนินขึ้นหรือลงดั่งกล่าวแล้ว
ห้องเหลือง ก่อนหรือหลังเวลาเสด็จพระราชดำเนินจึงเป็นที่ชุมนุมของคนจำนวนมาก ที่เป็นเจ้าจอมก็มี หรือแม้แต่เจ้านายบางพระองค์ก็เสด็จขึ้นเฝ้า ฯ ณ ที่นั้นตามแต่พระอัธยาศัย

ส่วนสำนวน "เจ้าจอมห้องเหลือง " ก็อ้างจากที่หมอสมิธเล่าไว้ค่ะ คงจะเป็นสำนวนที่รู้กันเป็นการภายใน ในตอนปลายรัชกาล
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 27 เม.ย. 05, 12:10

ขอยกข้อความจากหนังสือของหมอสมิธ เรื่อง เจ้าจอมห้องเหลือง ดังนี้ค่ะ

" ห้องเหลืองเป็นห้องโถงเล็กๆ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของห้องน้ำเงิน   ห้องเหลืองแห่งนี้จะเป็นที่ชุมนุมของเจ้าจอมซึ่งเมื่อพิจารณาจากอายุตลอดจนรูปร่างลักษณะแล้วก็น่าจะไม่เป็นที่โปรดปรานอีกต่อไป
แต่ถึงอย่างไร แม้ว่าพระเจ้าอยู่หัวจะไม่ทรงเรียกหาเจ้าจอมเหล่านี้แล้ว   พวกเธอก็ยังจะได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดเงินปี
และมีตำหนักให้พักอาศัยอยู่ต่อไป
การได้รับสมญานามว่า "เจ้าจอมห้องเหลือง" ถือเป็นการเรียกที่แสดงความดูถูกจากบรรดาข้าราชสำนักฝ่ายใน  
ทุกๆวันเจ้าจอมเหล่านี้จะมานั่งเรียงแถวกันเฝ้ารอรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัว และเจ้านายของตน( เข้าใจว่าหมายถึงพระมเหสีซึ่งทรงอุปการะเลี้ยงดูเจ้าจอมทั้งหลายไว้ในพระตำหนัก) แต่ละคนจะมีเชี่ยนหมากและกระโถนเล็กๆวางไว้ใกล้ๆตัว
เมื่อได้เวลาที่พระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินผ่าน   ทุกคนก็จะนั่งหมอบลงกับพื้นโดยที่พระเจ้าอยู่หัวไม่เคยแม้แต่จะตรัสหรือทอดพระเนตรผ่านมาเลย
อย่างไรก็ตามเจ้าจอมเหล่านี้ก็จะยังประพฤติตนเช่นนี้อย่างสม่ำเสมอตราบเท่าที่สุขภาพยังอำนวย
จากนั้นก็จะเดินทางกลับที่พักเพื่อปฏิบัติหน้าที่ของตนต่อไป   ส่วนใหญ่เจ้าจอมเหล่านี้มักจะเก็บตนอยู่แต่ภายในตำหนัก ไม่ใคร่จะคบหาผู้ใด จึงยากที่จะมีใครพบเห็นตามท้องถนน
บันทึกการเข้า
kwang satanart
อสุรผัด
*
ตอบ: 48


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 17 ก.ค. 11, 16:16

น่าสงสารท่านเหล่านี้  ถูกนำมาถวาย แล้วก็ไม่โปรด ถ้าไม่ แม้แต่จะมีพระปฏิสันถารด้วยยิ่งแล้วใหญ่  โดยตำแหน่งของท่าน ท่านน่าจะมีการทักทายบ้าง อย่างน้อย ถ้าพูดภาษาบ้านๆแบบเราก็ต้องบอกว่า  อย่างไรก็เป็นคนในบ้าน  โดยตำแหน่งของท่าน  ท่านน่าจะมีพระกรุณา ทรงมีพระปฏิสันถารด้วยบ้างนะคะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 17 ก.ค. 11, 17:04



       เจ้าจอมทั้งหลาย  เข้ามาโดยการถวายตัวจาก บิดามารดาญาติผู้ใหญ่   ย่อมมีญาติหรือพี่น้องรับราชการอยู่บ้าง

เมื่อแรกเข้ามาอยู่ในพระบรมมหาราชวัง  ก็ถวายตัวอยู่ตามตำหนักพระมเหสีต่าง ๆ   รับราชการใกล้ชิด

หรือช่วยดูแลกิจการในตำหนัก   รับราชการเป็นคุณท้าวต่อไปก็มี

ถ้ามิได้มีพระองค์เจ้า    ย่อมขอลาออกจากวังไปแต่งงาน  หรือไปอยู่กับญาติได้



พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงออกประกาศถึงสองครั้งว่า   "มิได้ทรงหวงแหนไว้ในราชการด้วยการข่มเหงกักขัง

ทรงพระกรุณาชุบเลี้ยงตามสมัคร  แลเห็นแก่ตระกูลแลความชอบของท่านทั้งหลาย

ใคร ๆ ไม่สบายใคร่จะกราบถวายบังคมลาออกจากราชการ  ไปอยู่วังเจ้า  บ้านขุนนาง บ้านบิดามารดา   จะมีลูกมีผัวให้สบายประการใด

ก็ขออย่าให้กลัวความผิดเลย

ห้ามแต่อย่าให้สนสื่อหาชู้หาผัวแต่ตัวยังอยู่ในราชการ  ด้วยอุบายทางใดทางหนึ่ง  จะเสียพระราชกำหนดสำหรับแผ่นดินไป


     เจ้าจอมมารดาในแผ่นดินที่แล้ว   ถ้ายังมีพระองค์เจ้าอยู่ก็อย่าให้มีผัว        ถ้าอยากมีผัวให้ได้   ก็ให้มากราบทูลพระกรุณาว่าตัดรอนพระองค์เจ้าให้ขาดเสียก่อน"



เจ้าจอมที่มาจากตระกูลขุนนาง  แม้นจะไม่ใช่เจ้าจอมมารดา  ย่อมกราบบังคมทูลลาไปเยี่ยมบิดามารดาหรือญาติผู้ใหญ่ได้

เวลาถ่ายรูปก็นั่งเก้าอี้สูงกว่าบิดามารดาพี่ชายพี่สาวนิดหนึ่ง  พอสังเกตได้     ถ้าสนทนากับบิดา  บิดาจะค้อมหลังลงหน่อยหนึ่งเป็นการแสดงความเคารพในตำแหน่ง

สังคมไทยเราละเอียดละออกับเรื่องสูงตำ่นี้มาก  ด้วยพระมหากษัตริย์เป็นประธานของประเทศ  เป็นเจ้าชีวิต   ไม่มีใครจะบังอาจไปนับญาติกับพระเจ้าแผ่นดินได้

       รายละเอียดน่าอ่านอีกมากค่ะ

       เรื่องราวของเจ้าจอมในรัชกาลก่อนที่มีพระองค์เจ้า  แล้วออกมาผจญภัยมีสามีหลายองค์  ก็มีอยู่ไม่มีที่ปิดบัง

เรื่องราวในวังหลวงนั้นก็สนุกสนานมากมาย  เด็กๆต้องเรียนหนังสือ  ทำงาน    ในเรือนไทยก็เล่าไว้หลายเรื่องน่าอ่านออก

เป็นเรื่องที่เลือกแล้ว  สนุก และเป็นความรู้ทั้งสิ้น


       
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 18 ก.ค. 11, 09:14

น่าสงสารท่านเหล่านี้  ถูกนำมาถวาย แล้วก็ไม่โปรด ถ้าไม่ แม้แต่จะมีพระปฏิสันถารด้วยยิ่งแล้วใหญ่  โดยตำแหน่งของท่าน ท่านน่าจะมีการทักทายบ้าง อย่างน้อย ถ้าพูดภาษาบ้านๆแบบเราก็ต้องบอกว่า  อย่างไรก็เป็นคนในบ้าน  โดยตำแหน่งของท่าน  ท่านน่าจะมีพระกรุณา ทรงมีพระปฏิสันถารด้วยบ้างนะคะ

อดีตเป็นเรื่องของวัฒนธรรม ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างจากปัจจุบัน     ถ้ายังไม่เข้าใจถ่องแท้  อย่าเพิ่งเอาความรู้สึกนึกคิดปัจจุบัน และสถานภาพของสังคมปัจจุบันไปตัดสิน คุณอาจให้คำตอบที่ผิดพลาดกับตัวเองและผู้อื่นได้
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 18 ก.ค. 11, 10:09

ตำแหน่งห้องเหลือง อยู่ทางหลังท้องพระโรงด้านหลังพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในภาพหลังจากขึ้นบันไดแล้ว มุ่งตรงไปยังห้องเหลือง (ในอดีต) ซึ่งปัจจุบันนี้บรรดาห้องทั้งหลายล้วนพังและยากแก่การบูรณะ จนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ หมู่พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร (อันประกอบด้วยห้องเหลือง ห้องเขียว ห้องน้ำเงิน) ได้รับการก่อสร้างใหม่เป็นพระที่นั่งสำหรับจัดเลี้ยงแขกในวโรกาสสำคัญ ๆ และโปรดเกล้าให้ใช้ชื่อตามเดิมคือ "พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร"


บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.052 วินาที กับ 20 คำสั่ง