เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 7384 อยากทราบประวัติของเมืองและรายชื่อเจ้าเมืองหนองจิกครับ
เหลนนางพญา
อสุรผัด
*
ตอบ: 39

หมื่นลี้ ย่อมมีก้าวแรก


 เมื่อ 03 ม.ค. 05, 10:44

 ความรู้เรื่องหัวเมืองและเจ้าเมืองทางภาคใต้ พวกเราคนไทยรู้กันน้อยจังเลยครับ (ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับเจ้านายทางเหนือซะมากกว่า ) เมืองหนองจิกก็เช่นกันครับ ไม่ค่อยมีประวัติเลย ผมเลยอยากทราบประวัติของเมืองหนองจิกและรายชื่อของเจ้าเมืองตั้งแต่สมัยที่ถูกแยกมาจากเมืองปัตตานีในสมัย ร.1 จนถึงสมัยที่เมืองหนองจิกได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดปัตตานีครับ ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 03 ม.ค. 05, 11:28

 หารายละเอียดขนาดคุณถาม ไม่เจอ
เจอแค่นี้

 http://www.pattani.go.th/general/pattani.htm

จากหลักฐานเอกสารโบราณของจีน อาหรับ ชวา มลายู และจารึกของชาวอินเดีย ที่ปรากฎ นามเมืองของรัฐสำคัญแห่งหนึ่งบนแหลมมลายู ซึ่งออกเสียงตามสำเนียงในแต่ละภาษา เช่น หลังยาซูว หลังยาซีเจีย (ภาษาจีน พุทธศตวรรษที่ 11-12 และ 16-18) ลังคาโศกะ อิลังกาโศกะ (ภาษาสันสกฤต ภาษาทมิฬ พุทธศตวรรษที่ 9 และพุทธศตวรรษที่ 16) เล็งกะสุกะ (ภาษาชวา พุทธศตวรรษที่ 20) ลังคะศุกา (ภาษาอาหรับ พุทธศตวรรษที่ 21) ลังกะสุกะ ลังกาสุกะ (ภาษามลายู พุทธศตวรรษที่ 24) (wheatly 1961 Sklling 1992:131; อมรา ศรีสุชาติ 2540;กรมศิลปากร 2540:10) ชื่อที่ปรากฏนี้ นักวิชาการสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นชื่อเมืองเดียวกัน ที่เคยตั้งอยู่ในรัฐเคดะห์ ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย และจังหวัดปัตตานีในประเทศไทย แต่ในสมัยหลังศูนย์กลางของเมืองแห่งนี้น่าจะอยู่ในจังหวัดปัตตานี เนื่องจากชาวพื้นเมืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 ยังกล่าวว่าเมืองปัตตานี พัฒนาขึ้นมาจากเมืองลังกาสุกะสอดคล้องกับตำนานเมืองไทรบุรีที่กล่าวว่า ราชามะโรงมหาวงค์ทรงสร้างลังกาสุกะบนฝั่งตะวันตกที่เคดะห์และพระราชนัดดาของพระองค์ได้มาสร้างลังกาสุกะที่ปัตตานี ชาวพื้นเมืองปัตตานีเรียกบริเวณแถบนี้ว่าลังกาสุกะมาจนกระทั่งแม่น้ำปัตตานีเปลี่ยนทางเดิน (หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี,2539:107) ราวพุทธศตวรรษที่ 19 ชุมชนลังกาสุกะเริ่มเสื่อมลงไปเนื่องจากข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์และศาสนาวัฒธรรมของชาวเมืองได้เปลี่ยนแปลงไป นักวิชาการทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเชื่อว่า ปัตตานีเป็นที่แวะพักจอดเรือเพื่อแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าระหว่างพ่อค้าชาวอินเดียทางตะวันตกกับพ่อค้าชาวจีนทางตะวันออก และชนพื้นเมืองบนแผ่นดินและตามหมู่เกาะใกล้เคียงต่าง ๆ นอกจากนั้นยังเชื่อมั่นอีกด้วยว่าปัตตานีเดิมเป็นอาณาจักรที่เก่าแก่ตามที่ปรากฎในเอกสารโบราณที่กล่าวมา (ภัคพดี อยู่คงดี,มปป:2) หลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงร่องรอยของความเจริญร่งเรืองในอดีตของปัตตานีที่บริเวณอำเภอยะรังเป็นซากร่องรอยของเมืองโบราณขนาดใหญ่ซ้อนทับกันถึง 3 เมือง มีซากเป็นโบราณสถานปรากฏอยู่ไม่น้อยกว่า 40 แห่ง ซากเนินโบราณสถานบางแห่งได้รับการขุดแต่งและอนุรักษ์ไว้ เช่น โบราณสถานบ้านจาเละ 3 แห่ง ซึ่งเป็นซากอาคารศาสนสถานก่ออิฐที่มีการขัดแต่งประดับฐานชั้นล่าง ๆ และยังค้นพบโบราณวัตถุจำนวนมาก เช่น สถูปจำลองดินเผ่า พระพิมพ์ดินดิบ และดินเผาบางชิ้นมีตัวอักษรซึ่งนักภาษาโบราณอ่านและแปลว่าเป็นอักษรปัลลวะ (อินเดียใต้) ภาษาสันสกฤตเขียนเป็นคาถาเนื่องในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน พระโพธิสัตว์สัมฤทธิ์และเศษภาชนะดินเผาประเภทต่าง ๆ โบราณวัตถุเหล่านี้มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 (กรมศิลปากร, 2535) สอดคล้องกับจดหมายเหตุจีนที่ได้กล่าวถึงไว้ นอกจากนั้นหลักฐานที่ได้ขุดค้นพบยังแสดงให้เห็นด้วยว่าบริเวณที่เป็นที่ตั้งอำเภอยะรังในปัจจุบัน เป็นชุมชนที่มีความเจริญทางวัฒนธรรมสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนาพุทธที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียไว้อย่างเต็มที่ มีความสัมพันธ์กับดินแดนใกล้เคียง เช่น บริเวณดินแดนภาคกลางของประเทศไทย และบริเวณคาบสมุทรอินโดจีนด้วย และคงจะเป็นชุมชนที่มีกิจกรรมสืบต่อเรื่อยมาจนถึงราวพุทธศตวรรษที่ 15 ก่อนที่อาณาจักรศรีวิชัยจะมีอำนาจรุ่งเรืองครอบคลุมคาบสมุทรมลายูในที่สุด (ภัคพดี อยู่คงดี,มปป.:2) นักภูมิศาสตร์เชื่อว่า เมืองโบราณขนาดใหญ่ที่บริเวณอำเภอยะรังนั้นหมดความสำคัญลงน่าจะมีเหตุผลประการหนึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลช่วงระยะเวลา 1,000 ปีที่ผ่านมา โดยลดลงไประดับหนึ่งมีผลทำให้ชายฝั่งทะเลถอยห่างออกไปจากเดิม ดังนั้น ที่ตั้งของชุมชนจึงไม่เหมาะสมที่จะเป็นทำเลของการเป็นเมืองท่าค้าขายอีกต่อไป และนำมาซึ่งการย้ายที่ตั้งของเมืองในระยะเวลาต่อมา ซึ่งสัมพันธ์กับตำนานการสร้างเมืองปัตตานีที่กล่าวไว้ในหนังสือหลายเล่ม เช่น Hikayat Patani:Story of Patani ของ A.Teeuw และ D.K.Wyatt:Sajaraj Kerajaan Melaya Patani หรือตำนานเมืองปัตตานีของ lbrahim Syukri เป็นต้น แม้ว่าจะไม่สามารถระบุระยะเวลากำเนิดของเมืองปัตตานีได้อย่างแน่ชัด แต่เมืองปัตตานีก็ได้ปรากฏชื่อและเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาเป็นลำดับ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 เป็นอย่างน้อย เมืองปัตตานี ได้ชื่อว่าเป็นหัวเมืองฝ่ายใต้ปลายแหลมมาลายู มีฐานะเป็นเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยามาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.1991-2031) และอยู่ภายใต้อำนาจของกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาเรื่อยมา ในปี พ.ศ.2054 โปรตุเกสสามารถยึดครองมะละกาได้สำเร็จ และพยายามขยายอิทธิพลทางการค้าขึ้นมาทางตอนเหนือของคาบสมุทรมาลายู ประกอบกับพระราชาธิบดีที่ 2 (พ.ศ.2034-2072) ทรงยินยอมให้โปรตุเกสเข้ามาตั้งสถานีการค้าในเมืองชายฝั่งทะเล เช่น นครศรีธรรมราช มะริด ตะนาวศรี รวมทั้งปัตตานีด้วย ทำให้ปัตตานีกลายเป็นเมืองท่าหลักเมืองหนึ่ง เป็นที่ตั้งของสถานีการค้าของพ่อค้าทั้งชาวตะวันตกและชาวตะวันออก ทั้งชาวอินเดีย จีน และญี่ปุ่น สินค้าที่สำคัญของเมืองปัตตานียุคนั้น ได้แก่ ไม้กฤษณา ไม้ฝาง เครื่องเทศ ของป่า งาช้าง และนอแรด นอกจากนี้ปัตตานียังเป็นจุดรับส่งสินค้าของนานาชาติ เช่น เครื่องถ้วยชาม อาวุธ ดินปืน ดีบุก และผ้าไหม (สถาบันทักษิณคดีศึกษา: 2529)
               แม้ว่าปัตตานีเป็นเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยาก็ตาม แต่ด้วยเหตุเมืองที่ปัตตานีมีความเจริญมั่นคงทางเศรษฐกิจเป็นอย่างดี ทำให้เจ้าเมืองปัตตานีต้องการเป็นอิสละหลายครั้ง ดังเช่น ในปี พ.ศ.2092 ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา พระยาตานีศรีสุลต่านได้นำกองทัพเรือประกอบด้วยเรือหย่าหยับ 200 ลำ ไปช่วยราชการสงคราม แต่เมื่อเห็นว่ากองทัพกรุงศรีอยุธยาเสียทีพม่า จึงถือโอกาสทำการขบถยกกำลังบุกเข้าไปในพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิหนีข้ามฝากไปประทับบนเกาะมหาพราหมณ์ จนเมื่อกองทัพไทยรวบรวมกำลังได้แล้ว จึงยกกองทัพเข้าโอบล้อมตีกองทหารเมืองตานีจนแตกพ่ายไป ต่อมาในปี พ.ศ.2146 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีรับสั่งให้ออกญาเดโชยกทัพไปตีเมืองปัตตานี เพื่อยึดเข้าไว้ในพระราชอำนาจ แต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากปัตตานีได้รับการช่วยเหลือจากพ่อค้าชาวยุโรป ทั้งอาวุธปืนใหญ่และทรัพย์สินเงินทอง ในสมัยพระเพทราชา (พ.ศ.2231-2245) เมืองปัตตานีไม่พอใจในการสถาปนาขึ้นใหม่ของกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ประกาศไม่ยอมขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง ทำให้ปัตตานีเป็นอิสระต่อเนื่องมา จนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าใน พ.ศ.2301 ตลอดมาจนสิ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี เมืองปัตตานีตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามจากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบที่เมืองโบราณยะรังแสดงว่าประชาชนโดยทั่วไปก่อนหน้านั้นนับถือศาสนาพุทธและพราหมณ์ และเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม หลังจากที่อาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมอำนาจลง อิทธิพลของศาสนาอิสลามจากราชวงค์มัชปาหิตในชวาได้แผ่อำนาจเข้ามาสู่แหลมมลายูก่อตัวขึ้นเป็นอาณาจักรมะละกา ในราวพุทธศตวรรษที่ 19 แผ่อิทธิพลไปสู่เมืองต่าง ๆ ทำให้เจ้าเมืองเปลี่ยนการนับถือศาสนาเดิมมาเป็นศาสนาอิสลามทั้งหมด ก่อให้เกิดความร่วมมือด้านการเมือง และการเศรษฐกิจการค้าในภูมิภาคนี้อย่างเข้มแข็ง ศาสนาอิสลามได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นควบคู่ไปกับการค้า มีการก่อสร้างมัสยิดขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ประกอบศาสนกิจ มัสยิดที่สำคัญคือ มัสยิดกรือเซะ ซึ่งเป็นมัสยิดใหญ่ประจำเมือง และมัสยิดบ้านดาโต๊ะ บริเวณที่เป็นท่าเรือทางตอนเหนือของอ่าวปัตตานี นอกจากนั้นยังมีมัสยิดและสุเหร่าในเขตชุมชนอิสลามถูกสร้างขึ้นอีกหลายแห่ง
               ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2325-2352) ทรงโปรดฯ ให้สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ยกทัพหลวงลงมาปราบปรามพม่าที่มาตีหัวเมืองทางแหลมมลายูจนเรียบร้อย และในปี พ.ศ.2328 กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จลงไปประทับที่เมืองสงขลาให้ข้าหลวงเชิญกระแสรับสั่งออกไปยังหัวเมืองที่เหลือ คือ เมืองปัตตานี เมืองไทรบุรี และเมืองตรังกานู ให้มายอมเป็นเมืองขึ้นเช่นเดิม แต่สุลต่านมูฮัมหมัดพระยาปัตตานีในขณะนั้นขัดขืน กรมพระราชวังบวรฯ จึงมีรับสั่งให้พระยากลาโหมยกกองทัพไทยลงไปตีเมืองปัตตานีได้ในปี พ.ศ.2329 กวาดต้อนครอบครัวและศาสตราวุธมาเป็นอันมาก รวมทั้งปืนใหญ่ 2 กระบอก แต่สามารถนำไปได้เพียงกระบอกเดียว แล้วจึงนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงโปรดฯ ให้จารึกชื่อเป็น ”พญาตานี” ซึ่งนับว่าเป็นปืนใหญ่กระบอกใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ปัจจุบันตั้งอยู่บริเวณหน้ากระทรวงกลาโหม กรุงเทพมหานคร                 ในปี พ.ศ.2332 ตนกูลามิดดินเจ้าเมืองปัตตานีมีหนังสือไปชวนองค์เชียงสือเจ้าอนัมก๊ก ให้ร่วมกันตีหัวเมืองในพระราชอาณาจักร เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงทราบ จึงโปรดฯ ให้ยกทัพไปตีเมืองปัตตานีอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2351 ดาตะปังกาลันได้ก่อความไม่สงบขึ้น รัชกาลที่ 1 โปรดให้เจ้าพระยาพลเทพ (บุนนาค) ยกทัพหลวงออกไปสมทบกับเมืองสงขลา พัทลุง จะนะ ตีเมืองปัตตานีได้สำเร็จ
               ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พ.ศ.2352-2367) เกิดความไม่สงบบ่อยครั้ง ดังนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาอภัยสงครามและพระยาสงขลา (เถี่ยนจ๋อง) ผู้กำกับดูแลหัวเมืองมลายูแบ่งเมืองตานีออกเป็น 7 หัวเมือง และแต่งตั้งให้พระยาเมืองเป็นผู้ปกครอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2359 เป็นต้นมา ได้แก่
               1. เมืองปัตตานี ต่วนสุหลง เป็นเจ้าเมือง
               2. เมืองยะหริ่ง นายพ่าย เป็นเจ้าเมือง
               3. เมืองสาย นิเดะห์ เป็นเจ้าเมือง
               4. เมืองหนองจิก ต่วนนิ เป็นเจ้าเมือง
               5. เมืองระแงะ นิดะห์ เป็นเจ้าเมือง
               6. เมืองรามันห์ ต่วนมันโซร์ เป็นเจ้าเมือง
               7. เมืองยะลา ต่วนยาลอร์ เป็นเจ้าเมือง
(Ibrahim Syukri, 1985 : 61-62 ; ครองชัย หัตถา, 2451 : 140-142)
               ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกวิธีการปกครองบ้านเมืองแบบจตุสดมภ์ (เวียง วัง คลัง นา) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2435 เป็นต้นมา จัดการปกครองเป็นแบบ 12 กระทรวง มีกระทรวงมหาดไทยเป็นกระทรวงการแผ่นดิน โดยให้จัดการปกครองเป็นระบบเทศาภิบาล ทรงใช้นโยบายประนีประนอมและทรงดำเนินการทีละขั้นตอนโดยไม่ก่อ่ให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อการปกครองของเจ้าเมือง ทั้ง 7 หัวเมือง ในภาคใต้ทรงโปรดฯ ให้จัดแบ่งเป็น 4 มณฑล ได้แก่
               ๑. มณฑลภูเก็ต จัดตั้งในปี พ.ศ. 2437
               ๒. มณฑลชุมพร จัดตั้งในปี พ.ศ. 2439
               ๓. มณฑลนครศรีธรรมราช จัดตั้งในปี พ.ศ. 2439
               ๔. มณฑลไทรบุรี จัดตั้งในปี พ.ศ. 2440
มณฑลนครศรีธรรมราช ประกอบด้วยเมือง 10 เมือง โดยรวมเอาบริเวณ 7 หัวเมืองเข้าไว้ด้วยคือ เมืองนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ตานี ยะหริ่ง สายบุรี หนองจิก ยะลา ระแงะ และรามันห์ มีผู้ว่าราชการเมืองดูแล อยู่ในการปกครองของข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑล ปี พ.ศ. 2447 ทรงพระกรุณาโปรดให้แยกหัวเมืองทั้ง 7 ออกจากมณฑลนครศรีธรรมราช มาตั้งเป็นมณฑลปัตตานี พร้อมทั้งเปลี่ยนฐานะเมืองเป็นอำเภอ และจังหวัด ได้แก่
               จังหวัดปัตตานี รวมเมืองหนองจิกและเมืองยะหริ่ง
               จังหวัดสายบุรี รวมเมืองระแงะ
               จังหวัดยะลา รวมเมืองรามันห์
นอกจากนี้ยังแยกท้องที่อำเภอหนองจิกยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเมืองเก่า ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอมะกรูดและอำเภอโคกโพธิ์ตามลำดับ เมืองปัตตานีเดิมเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอปะกาฮะรัง และจัดตั้งอำเภอขึ้นใหม่อีก 2 อำเภอ คือ อำเภอยะรัง และอำเภอปะนาเระขึ้นกับจังหวัดปัตตานี
               ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดภาวะเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำภายหลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 รัฐบาลจึงต้องตัดทอนรายจ่ายให้น้อยลงเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการคลังของประเทศ จึงยุบเลิกมณฑลปัตตานี คงสภาพเป็นจังหวัด ยุบจังหวัดสายบุรีเป็นอำเภอตะลุบัน และแบ่งพื้นที่บางส่วนของสายบุรี คือระแงะ และบาเจาะ ไปขึ้นกับจังหวัดนราธิวาส ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 เป็นต้นมา จังหวัดปัตตานีมีการปกครองโดยผู้ว่าราชการจังหวัด พระยารัตนภัคดี (แจ้ง สุวรรณจินดา) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีคนแรก ภายใต้การปกครองตามระบอบประชาธิปไตย โดยกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ หลังจากนั้นได้มีการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติดังกล่าวในปี พ.ศ. 2499 และ พ.ศ. 2505 และใช้บริหารราชการแผ่นดินมาจนทุกวันนี้
               เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดปัตตานีในอดีต ได้แก่ เหตุการณ์ความไม่สงบอันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในแต่ละยุคแต่ละสมัย จนนำไปสู่การต่อต้านรัฐซึ่งมีมาเป็นลำดับ ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 การต่อต้านรัฐทำให้เกิดขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองและการการก่อการร้ายในเวลาต่อมา ตัวอย่างเช่น ระหว่างปี พ.ศ. 2453 – 2465 มีการต่อต้านรัฐบาลอย่างรุนแรงจากมุสลิมปัตตานี เกิดการจลาจลหลายครั้งโดยนำประเด็นทางศาสนาที่แตกต่างไปจากรัฐผู้ปกครอง รวมถึงการที่รัฐบาลไทยเริมใช้กฎหมายและระเบียบที่ขัดกับหลักการของศาสนา หรือขัดต่อประเพณีปฏิบัติของชาวมุสลิม ในปี พ.ศ. 2466 สมัยรัชกาลที่ 6รัฐบาลจึงทบทวนผ่อนปรนระเบียบปฏิบัติที่ขัดต่อศาสนาอิสลาม และให้ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามมีบทบาทในการปกครองดูแลตนเองได้มากขั้น จนกระทั้งปี พ.ศ. 2475 เมื่อประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรขึ้นเป็นครั้งแรก นับเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าได้มีบทบาทและมีส่วนร่วมในการบริหารประเทศ แม้ว่าการเลือกตั้งครั้งแรก พ.ศ. 2476 ที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จะไม่มีผู้ที่เป็นมุสลิมได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มมากขึ้น และได้ทำหน้าที่ทางนิติบัญญัติและทางการบริหารอย่างต่อเนื่อง ในบางยุคบางสมัย(เช่น ในปี พ.ศ. 2539) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นมุสลิมจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับการเสนอชื่อ และได้รับพระบรมโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งถือว่าเป็นผู้นำสูงสุดฝ่ายนิติบัญญัติของประเทศ
               หากพิจารณาถึงผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2480 และ พ.ศ. 2481 ที่ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นมุสลิมได้รับการเลือกตั้งทั้งหมด อย่างไรก็ตามความขัดแย้งต่างๆ ในบางประเด็นยังคงมีอยู่ เช่น การจัดการศึกษาภาคบังคับการใช้ภาษาและระเบียบปฏิบัติต่างๆ ระหว่างปี พ.ศ. 2482 – 2485 ความไม่เข้าใจของชาวมลายูมุสลิมขยายตัวออกไปมากขึ้น เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีของไทยในขณะนั้นประกาศใช้นโยบาย “รัฐนิยม” รวม 12 ฉบับ ปรากฏว่า นโยบายหลายข้อขัดต่อประเพณีปฏิบัติของชาวมลายูมุสลิม ในปี พ.ศ. 2491 หะยีสุหลงถูกรัฐบาลไทยจับกุม ความตึงเครียดระหว่างชาวมลายูมุสลิมกับรัฐบาลไทยจึงปะทุขึ้น มีการปราบปรามและปะทะกันด้วยอาวุธ มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายคน รัฐบาลไทยเรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า “กบฏดุซงยอ” ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้ชาวมลายูมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้นับพันคนอพยพลี้ภัย บางส่วนไปอาศัยอยู่อย่างถาวรในรัฐต่างๆ ตอนบนของสหพันธรัฐมาเลเซีย นอกจากนั้นผลกระทบที่สืบเนื่องต่อมา คือความรู้สึกต่อต้านและความหวาดระแวงต่อกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับผู้นำชาวมุสลิม บางครั้งก็มีการปฏิบัติการที่รุนแรงจากทั้งสองฝ่าย การต่อต้านรัฐได้ปรากฏเป็นขบวนการเคลื่อนไหวชัดเจนขึ้นทันที เมื่อผู้อพยพจากเกตุการณ์ที่ปัตตานี ระหว่าง พ.ศ. 2490 – 2491 ได้รวบรวมสมาชิกจำนวนหนึ่งจัดตั้ง “ขบวนการประชาชาติมลายูปัตตานี” หรือ GAMPAR (Gabogan Melayu Pattani Raya) มีศูนย์กลางอยู่ที่โกตาบารู และมีเครือข่ายในกลันตัน เคดะห์ สิงคโปร์ และปีนัง ส่วนที่ปัตตานีมีการเคลื่อนไหวของประชาชนชาวปัตตานี หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2502 ได้มีการรวบรวมผู้นำและสมาชิกจากปัตตานีและ GAMPAR จัดตั้งเป็นขบวนการใหม่ คือ “ขบวนการแนวหน้าแห่งชาติเพื่อปลดปล่อยปัตตานี” หรือ BNPP (Barisan National Pembebasan Pattani) ปี พ.ศ. 2503 มีการจัดตั้งขบวนการปฏิบัติแห่งชาติหรือ BRN (Barisan Revolusion Nasional) มีการเคลื่อนไหวมาอย่างต่อเนื่องบริเวณเขตรอยต่อชายแดนไทย – มาเลเซียแถบจังหวัดยะลา และสงขลา ในปี 2511 มีขบวนการปลดแอกสาธารณรัฐปัตตานี หรือ PULO (Pattani United Liberation Organization) เกิดขึ้น องค์กรนี้มีบทบาทสูงและมีการใช้ความรุนแรงในการเคลื่อนไหว มีการโฆษณาผลงานปฏิบัติการอย่างสม่ำเสมอ จนได้รับความเชื่อถือจากองค์กรในต่างประเทศที่สนับสนุนการเคลื่อนไหวดังกล่าว (Mohd. Zamberi A.Malak, 1993 : 318 – 330 ; Ahmad Fathy al – Fatani, 1994 : 127 – 131 ; Pitsuwan, 1989 : 175 - 187) ในระยะที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (PKT : Parti Komunis Thailand) และพรรคคอมมิวนิสต์แห่งมลายา (PKM : Parti Komunis Malaya) เคยมีบทบาทเคลื่อนไหวอยู่ตามแนวชายแดนไทย - มาเลเซีย มีหลักฐานชัดเจนว่าพรรคคอมมิวนิสต์ทั้งสองให้การสนับสนุนขบวนการแบ่งแยกดินแดน และยุยงให้ประชาชนต่อต้านรัฐบาล (Thomas, 1975 : 205) ในช่วงปี พ.ศ. 2516 ขบวน
                การนักศึกษามีบทบาทโดยตรงต่อกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางการเมืองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีแนวร่วมสหพันธ์นักศึกษามุสลิมเป็นแกนนำสำคัญ หนังสือพิมพ์เสียงนิสิต (SUARA SISWA) เป็นแหล่งข่าวสารเพื่อการเผยแพร่อุดมการณ์ของแนวร่วมนักศึกษามุลิมในยุคนั้น โดยมีหัวหน้ากองบรรณาธิการในขณะนั้นดำเนินการอยู่ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ส่วนที่โกตาบารู รัฐกลันตันได้มีการร่วมตัวกันจัดตั้งขบวนการ GIP (Garakan Islam Pattani) (Ahmad Fathy al Fatani, 1994 : 131) หรือพรรคอิสลามก้าวหน้าแห่งปัตตานี ขบวนการเคลื่อนไหวมาเลเซียดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองบางพรรคในมาเลเซีย การเคลื่อนไหวก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีมาอย่างต่อเนื่อง มีการผลัดเปลี่ยนผู้นำเป็นระยะๆ ตามสถานการณ์ภายในและภายนอกประเทศ รวมทั้งสถานการณ์ที่มีอยู่ในมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ตลอดจนบทบาทของอุดมการณ์ที่มาจากประเทศในตะวันออกกลางและการฟื้นฟูความสำนึกในอิสลาม (อิมรอน มะลูลีม, 2534 : 164 - 178)
รัฐบาลไทยเคยใช้นโยบายปฏิบัติการทางทหารเข้าไปปราบปรามอย่างรุนแรง ต่อมาได้ใช้นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ควบคู่กันไปกับการอุปถัมภ์ศาสนาอิสลาม รวมทั้งการปรับปรุงความสัมพันธ์และทัศนคติระหว่างข้าราชการกับชาวมุสลิมให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น โดยมีศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นศูนย์ประสานงาน และด้ำเนินการตามนโยบายดังกล่าว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 03 ม.ค. 05, 11:30

http://www.cgd.go.th/ptn/tracing_the_past.html#link2

ปัตตานีอยู่ห่างจากกรงเทพมหานครประมาณ 1,055 กิโลเมตร ตั้งอยู่ติดกับอ่าวไทยมีเนื้อที่ 2,109 ตารางกิโลเมตร

เป็นจังหวัดอันดับที่ 13 ของภาคใต้ แบ่งการปกครองออกเป็น 12 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอโคกโพธิ์ อำเภอมายอ อำเภอยะรัง

อำเภอหนองจิก อำเภอปะนาเระ อำเภอสายบุรี อำเภอยะหริ่ง อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอไม้แก่น อำเภอกะพ้อ และอำเภอแม่ลาน



อาณาเขตติดต่อ

ทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดสงขลา

ทิศใต้ติดต่อกับจังหวัดนราธิวาส

ทิศตะวันออกติดต่อกับอ่าวไทย

ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดยะลา และประเทศมาเลเซีย





--------------------------------------------------------------------------------

          ย้อนรอยอดีตเมืองปัตตานี

          จากหลักฐานเอกสารโบราณของจีน อาหรับ ชวา มลายู และจารึกของชาวอินเดียที่ปรากฏนามรัฐสำคัญแห่งหนึ่งบนแหลมมลายู

ซึ่งออกเสียงในแต่ละภาษา เช่น หลังยาซูว หลังยาซีเจีย (ภาษาจีน พุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๒ และ ๑๖ - ๑๘) ลังคาโศกะ อิลังคาโศกะ (ภาษา

สันสกฤต ภาษาทมิฬ พุทธศตวรรษที่ ๙ และ ๑๖) เล็งกะสุกะ(ภาษาชวา พุทธศตวรรษที่ ๒๐) ลังคะศุกา (ภาษาอาหรับพุทธศตวรรษที่ ๒๑)

ลังกาสุกะ (ภาษามลายู พุทธศตวรรษที่ ๒๔) ชื่อที่ปรากฏนี้ นักวิชาการสันนิษฐานว่า จะเป็นชื่อเมืองเดียวกันที่น่าจะเป็นชื่อเมืองเดียวกัน

ที่น่าจะเคยตั้งอยู่ในรัฐเคดะห์ ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย และจังหวัดปัตตานีในประเทศไทย แต่ในสมัยหลังศูนย์กลางของเมืองแห่งนี้

น่าจะอยู่ที่จังหวัดปัตตานี เนื่องจากชาวพื้นเมืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ยังกล่าวว่าเมืองปัตตานีพัฒนาขึ้นมา

จากเมืองลังกาสุกะสอดคล้องกับตำนานเมืองไทรบุรีที่กล่าวว่าราชามะโรงมหาวงศ์ทรงสร้างลังกาสุกะบนฝั่งตะวันตกที่เคดะห์ และ

พระราชนัดดาของพระองค์ได้มาสร้างลังกาสุกะที่ปัตตานี ชาวพื้นเมืองเรียกแถบนี้ว่าลังกาสุกะ จนกระทั่งแม่น้ำปัตตานีเปลี่ยนทิศทางเดิน

(หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี ,2539:107) ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ชุมชนลังกาสุกะเสื่อมลงไป เนื่องจากข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์และศาสนา

วัฒนธรรมของชาวเมืองเปลี่ยนไป

          จากหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงร่องรอยของความเจริญรุ่งเรืองในอดีตของปัตตานีที่บริเวณอำเภอยะรังเป็น ซากร่องรอยของ

เมืองโบราณขนาดใหญ่ซ้อนทับกันถึง ๓ เมือง นักภูมิศาสตร์เชื่อว่า เมืองโบราณขนาดใหญ่ที่บริเวณอำเภอยะรังนั้นหมดความสำคัญลง

น่าจะมีเหตุผลประการหนึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลช่วงระยะเวลา ๑,๐๐๐ ปี ที่ผ่านมาโดยลดลงระดับหนึ่งมีผลทำให้

ชายฝั่งทะเลถอยห่างออกไปจากเดิม ดังนั้น ที่ตั้งของชุมชนจึงไม่เหมาะที่จะเป็นทำเลของการเป็นเมืองท่าค้าขายอีกต่อไป จึงต้องย้ายที่ตั้ง

ศูนย์กลางการปกครองจากเมืองประแวในเขตเมืองโบราณยะรังมาที่เมืองปาตานีบริเวณที่ตั้งมัสยิดกรือแซะ ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอ

เมืองปัตตานี และนำมาซึ่งการย้ายที่ตั้งของเมืองในระยะเวลาต่อมา แม้ว่าจะไม่สามารถระบุระยะเวลากำเนิดของเมืองปัตตานีได้อย่าง

ชัดเจน แต่เมืองปัตตานีก็ได้ปรากฏชื่อ และเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาเป็นลำดับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่๑๙เป็นอย่างน้อย ในพุทธศตวรรษที่ ๒๔

ศูนย์กลางการปกครองของเมืองปาตานีได้ย้ายมายังจะบังติกอติดกับแม่น้ำปัตตานี และสร้างวังจะบังติกอขึ้นใหม่ มีตลาดการค้าแห่ง

ใหม่เกิดขึ้น คือ ตลาดจีนซึ่งได้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อมาเป็นเมืองปัตตานีในปัจจุบัน [รวมระยะเวลาทั้งสิ้นรวม ๔๐๐ ปี ที่เมืองปัตตานีที่

กรือเซะและบานาเจริญรุ่งเรืองสูงสุด จนได้ชื่อว่าเป็น "มหานคร" ภูมิภาคนี้ ] top

          อาณาจักรลังกาสุกะ อาณาจักรฟูนัน และอาณาจักรจัมปา ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากอารยธรรมอินเดีย และถือว่าเป็นอาณาจักร

แรกสุดบนแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นรัฐแห่งอารยธรรมอินเดียมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๖ - ๗ รัฐทั้งสามตั้งอยู่บนคาบสมุทรซึ่ง

เป็นเส้นทางติดต่อกันระหว่างอินเดียกับจีน อาณาจักรฟูนันเจริญสูงสุดในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๐ ในพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ลังกาสุกะได้ส่งทูต

และผู้แทนการค้าไปติดต่อสัมพันธ์กับจีน ในช่วงต่อจากนั้นมาชื่อลังกาสุกะ (จีนเรียก ลัง-ยา-ซู) ก็เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง เรือสินค้าของ

พ่อค้าชาติต่างๆ นิยมแวะพักจอดเรือและค้าขายที่นี่กันมาก เมื่อถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ อาณาจักรฟูนันก็เสื่อมลง อาณาจักรเจนละของเขมร

เจริญขึ้นมาแทน และสืบทอดแบบแผนของศาสนาฮินดูและพุทธ ในพุทธศตวรรษที่ ๑๔ ดินแดนของอาณาจักรเจนละก็กลายเป็นอาณาจักร

เขมรโดยสมบูรณ์ ขณะที่อาณาจักรจัมปายังคงครอบครองดินแดนแถบเวียดนามและอาณาจักรลังกาสุกะปกครองดินแดนคาบสมุทรมลายู

          พุทธศตวรรษที่ ๑๔ - ๑๕ รัฐลังกาสุกะเริ่มเสื่อมอำนาจลงกระทั่งตกเป็นเมืองขึ้นของกษัตริย์กรุงศรีวิชัยและกษัตริย์โจฬะแห่ง

อินเดียใต้ ต่อมาในราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ชาวจีนชื่อ เจาจูกัว ได้เขียนเล่าไว้ในหนังสือชื่อ ชูฝันจิ ว่า เมืองลังกาสุกะเป็นเมืองหนึ่ง

ใน ๑๕ เมืองที่เป็นเมืองขึ้นของสันโฟชิหรือศรีวิชัย หนังสือเนเกอราเกอรตาคามาของพระปัญจะก็ว่ากองทัพเรือของอาณาจักรมัชฌปหิต

ได้เข้ายึดครองรัฐต่างๆ บนแหลมมลายู มีปะหัง ตรังกานู กลันตัน และลังกาสุกะ ในปี พ.ศ.๑๘๓๕ ในระยะเดียวกันนี้อาณาจักรสุโขทัย

ได้แผ่อำนาจเข้ามาครอบครองรัฐอโยธยา-สุพรรณภูมิและนครศรีธรรมราชทำให้เกิดพลังสามารถขับไล่อิทธิพลของกษัตริย์มัชฌปหิต

ออกไปจากแหลมมลายูสำเร็จ รัฐลังกาสุกะจึงเข้ามารวมอยู่ในพระราชอาณาจักรของไทยเป็นครั้งแรกภายใต้การควบคุมของเจ้าเมือง

นครศรีธรรมราชตั้งแต่นั้นมา ในปี พ.ศ.๑๘๖๖ อาณาจักรสุโขทัยหลังจากพ่อขุนรามคำแหงสิ้นพระชนม์(พ.ศ.๑๘๔๓) แล้ว กษัตริย์องค์

ต่อๆ มาไม่สามารถดำรงความเป็นผู้นำได้ พระบรมราชากษัตริย์แห่งรัฐอโยธยา(สมเด็จพระบรมชนกของพระเจ้าอู่ทอง) ทรงปฏิเสธ

อำนาจของอาณาจักรสุโขทัย ได้เข้ายึดครองเมืองนครศรีธรรมราชตลอดไปจนถึงหัวเมืองต่างๆบนแหลมมลายู จนกระทั่งถึงเกาะสิงคโปร์

ครั้นถึงพ.ศ.๑๘๘๕ กษัตริย์อโยธยาก็ส่งพระพนมวังนางสะเดียงทอง ออกมาปกครองเมืองนครศรีธรรมราช พระพนมวังได้สร้างเมือง

นครดอนพระ(อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี) ขึ้นเป็นศูนย์กลางการปกครองอยู่ชั่วคราว ต่อมาในปีพุทธศักราช ๑๘๘๗ พระพนมวัง

แต่งตั้งให้พระฤทธิเทวา (เจสุตตรา) ออกไปครองเมืองตานี หนังสือสยาเราะฮ์เมืองตานีเรียกชื่อเมืองตานีสมัยนั้นว่า "โกตามหาลิฆัย"

ส่วนหนังสือเนเกอราเกอตาคามา เรียกว่า "ลังกาสุกะ" และว่าพระฤทธิเทวาได้นำชาวเมืองโกตามหาลิฆัยไปช่วยพระเจ้าอู่ทองสร้าง

กรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.๑๘๙๐ - ๑๘๙๓) ครั้นล่วงมาถึงรัชสมัยของพญาอินทิราผู้เป็นเหลนปู่ของพระฤทธิเทวา จึงได้ย้ายเมืองโกตามหาลิฆัย

(หรือเมืองลังกาสุกะ) คือ เมืองโบราณที่ตั้งอยู่บ้านปราวันหรือปราแว อำเภอยะรัง มาสร้างเมืองปัตตานีขึ้นใหม่ ในปีพุทธศักราช ๒๐๑๒

ถึงปี ๒๐๕๗ ณ บริเวณสันทรายใกล้ปากน้ำปัตตานี ได้แก่ ตำบลบานา อำเภอเมืองปัตตานีในปัจจุบัน ขณะเดียวกันอาณาจักรอยุธยาเกิด

ทำสงครามกับอาณาจักรลานนาไทย เป็นเหตุให้เสียรี้พล และยุทโธปกรณ์ไปเป็นอันมาก มะละกาซึ่งเคยเป็นประเทศราชของไทยมาก่อน

กลับเจริญรุ่งเรืองขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านกำลังทหาร เศรษฐกิจ และการเมือง จึงทำการแข็งเมืองไม่ยอมส่งเครื่องราชบรรณาการแก่ไทย

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ส่งกองทัพไป ตีมะละกาถึงสองครั้งแต่ไม่สำเร็จ ฝ่ายมะละกากลับส่งกองทัพเข้ายึดครองเมืองขึ้นของไทย

จนหมด ได้แก่ ปาหัง ตรังกานู กลันตัน ไทรบุรี ฯลฯ ในขณะเดียวกัน มะละกาก็ทำหน้าที่เผยแพร่ศาสนาอิสลามไปด้วย ปัตตานีซึ่งเคย

นับถือศาสนาพุทธมาก่อนก็ยอมโอนอ่อนผ่อนตามสุลต่านมันสุร์ชาฮ์กษัตริย์มะละกา หันมารับศาสนาอิสลามในรัชสมัยพญาอินทิรา

ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนพระนามเป็นสุรต่านอิสมาเอลชาฮ์ กล่าวกันว่าในสมัยนี้ปัตตานีได้มีการทำลาย พระพุทธรูป เทวรูป โบราณสถานใน

เมืองโกตามหาลิฆัย (หรือลังกาสุกะ)จนหมดสิ้น หลังจากนั้นเรื่องราวของเมืองลังกาสุกะก็หายไปจากหน้าประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก

เฉียงใต้ ปรากฎชื่อเมืองปัตตานีโดดเด่นขึ้นมาแทนที่ เมื่อโปรตุเกสเข้ามายึดครองเมืองมะละกาได้จากสุลต่านมะหะหมุด ในปี พ.ศ.๒๐๕๔

และพยายามขยายอิทธิพลทางการค้ามาทางตอนเหนือของคาบสมุทรมลายู และเข้ามาตั้งสถานี การค้าในเมืองชายฝั่งทะเลทำให้เมืองปัตตานี

เป็นเมืองท่าหลักเมืองหนึ่ง แม้ว่าปัตตานีเป็นเมืองประเทศราช แต่เนื่องจากปัตตานีมีความเจริญมั่นคงทางเศรษฐกิจ ทำให้เจ้าเมืองปัตตานี

ต้องการเป็นอิสระหลายครั้ง ในปี พ.ศ.๒๐๙๒ ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิพม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา พระยาตานีศรีสุลต่านได้

นำกองทัพเรือไปช่วยราชการสงคราม แต่เมื่อเห็นว่ากองทัพกรุงศรีอยุธยาเสียทีแก่พม่า จึงถือโอกาสทำการขบถยกกำลังบุกเข้าไปใน

พระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิหนีข้ามฟากไปประทับบนเกาะมหาพราหมณ์ จนเมื่อกองทัพไทยรวบรวมกำลังได้แล้ว

จึงยกกองทัพโอบล้อมตีกองทหารเมืองตานีแตกพ่ายไป top

          ในปี พ.ศ.๒๑๔๖ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชมีรับสั่งให้ออกญาเดโช ยกกองทัพไปตีเมืองปัตตานีเพื่อยึดเข้าไว้ในพระราชอำนาจ

แต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากปัตตานีได้รับการช่วยเหลือจากพ่อค้าชาวยุโรปทั้งอาวุธใหญ่และทรัพย์สินเงินทอง

          ในสมัยพระเพทราชา (พ.ศ.๒๒๓๑ - ๒๒๔๕) เมืองปัตตานีไม่พอใจการสถาปนาขึ้นใหม่ของกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ประกาศ

ไม่ยอมขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง ทำให้ปัตตานีเป็นอิสระต่อเนื่องมาจนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าใน พ.ศ.๒๓๑๐ ตลอดมาจนสิ้น

สมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี

          ในรัชสมัยพระบาลสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.๒๓๒๕ - ๒๓๕๒) ทรงโปรดฯ ให้

สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ยกทัพหลวงลงมาปราบปรามพม่าที่มาตีหัวเมืองทางแหมมลายูจนเรียบร้อย และในปี

พ.ศ.๒๓๒๘ กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จลงไปประทับที่เมืองสงขลา ให้ข้าหลวงเชิญกระแสรับสั่งออกไปยังหัวเมืองที่เหลือ คือ เมือง

ปัตตานี ไทรบุรี และเมืองตรังกานู ให้มายอมเป็นเมืองขึ้นเช่นเดิม แต่สุลต่านมูฮัมหมัดพระยาปัตตานีในขณะนั้นขัดขืน จึงมีรับสั่งให้

พระยากลาโหมยกกองทัพไทยไปตีเมืองปัตตานีได้ในปี พ.ศ.๒๓๒๙ กวาดต้อนครอบครัวและศาสตราวุธมาเป็นอันมาก รวมทั้งปืนใหญ่

กลับไปกรุงเทพมหานคร ๒ กระบอก ส่วนอีก ๑ กระบอกได้ตกหายลงในทะเลระหว่างการเคลื่อนย้ายลงสู่เรือรบ เนื่งจากทะเลมีลมและ

คลื่นจัด แล้วจึงนำทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ ๑ ทรงโปรดเกล้าให้จารึกชื่อเป็น "พญาตานี" ซึ่งนับว่าเป็นปืนใหญ่กระบอกใหญ่ที่สุดของ

ประเทศไทย ปัจจุบันตั้งอยู่หน้ากระทรวงกลาโหม กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ.๒๓๓๒ ตนกูลามิดดินเจ้าเมืองปัตตานีมีหนังสือไปชวน

องค์เชียงสือเจ้าอนัมก๊กให้ร่วมกันตีหัวเมืองในพระราชอาณาจักร เมื่อรัชกาลที่ ๑ ทรงทราบ จึงโปรดฯ ให้ยกทัพไปตีเมืองปัตตานีอีกครั้ง

ต่อมาปี พ.ศ.๒๓๕๑ ดาโต๊ะปังกาลันได้ก่อความไม่สงบขึ้น จึงทรงโปรดให้เจ้าพระยาพลเทพ (บุนนาค) ยกทัพหลวงออกไปสมทบกับ

เมืองสงขลา พัทลุง จะนะ ตีเมืองปัตตานีสำเร็จ

          ในสมัยพระบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พ.ศ.๒๓๕๒ - ๒๓๖๗) เกิดความไม่สงบบ่อยครั้ง ทรงโปรดฯ ให้พระยา

อภัยสงคราม และพระยาสงขลา(เถี๋ยนจ๋อง) ผู้กำกับดูแลหัวเมืองมลายู แบ่งเมืองปัตตานีออกเป็น ๗ หัวเมืองได้แก่ เมืองปัตตานี เมือง

ยะหริ่งเมืองสายบุรี เมืองหนองจิก เมืองระแงะ เมืองรามันห์ และเมืองยะลา โดยแต่งตั้งให้พระยาเมืองเป็นผู้ปกครอง ตั้งแต่ พ.ศ.๒๓๕๙

เป็นต้นมา (Ibrahim Syukri,1985 : 61-62 ; ครองชัย หัตถา ,๒๕๔๑ : ๑๔๐ - ๑๔๒)

          ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกวิธีการปกครองบ้านเมืองแบบจตุสมภ์

(เวียง วัง คลัง นา) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๓๕ เป็นต้นมา จัดการปกครองเป็นแบบ ๑๒ กระทรวง มีกระทรวงมหาดไทยเป็นกระทรวงการ

แผ่นดิน โดยให้จัดการปกครองเป็นระบบเทศาภิบาล ทรงใช้นโยบายประนีประนอม และทรง ดำเนินการโดยไม่ก่อให้เกิดการกระทบ

กระเทือนต่อการปกครองของเจ้าเมืองทั้ง ๗ หัวเมือง โดยจัดให้ทั้ง ๗ หัวเมือง รวมเข้าอยู่ในมณฑลนครศรีธรรมราช ซึ่งประกอบด้วย

เมือง ๑๐ เมือง (เพิ่มเมืองนครศรีธรรมราช เมืองพัทลุง และเมืองสงขลา) มีผู้ว่าราชการจังหวัดดูแล อยู่ในการปกครองของข้าหลวง

เทศาภิบาลมณฑล ปี พ.ศ.๒๔๔๙ได้แยกให้หัวเมืองทั้ง ๗ ออกจากมณฑลนครศรีธรรมราช มาตั้งเป็นมณฑลปัตตานี พร้อมทั้งเปลี่ยน

ฐานะเมืองเป็นอำเภอ และจังหวัด ได้แก่ top

          จังหวัดปัตตานี รวมเมืองหนองจิกและเมืองยะหริ่ง

          จังหวัดสายบุรี รวมเมืองระแงะ

          จังหวัดยะลา รวมเมืองรามันห์

          นอกจากนี้ยังแยกอำเภอหนองจิกยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเมืองเก่า ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอมะกรูดและอำเภอโคกโพธิ์ตาม

ลำดับ เมืองปัตตานีเดิมเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอปะกาฮารัง และจัดตั้งอำเภอขึ้นใหม่อีก ๒ อำเภอ คือ อำเภอยะรัง และอำเภอปะนาเระ ขึ้นกับ

จังหวัดปัตตานี

          ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดภาวะเศรษฐกิจของประเทสตกต่ำภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ในปี พ.ศ.๒๔๗๕ รัฐบาลจึงต้องตัดทอนรายจ่ายให้น้อยลงเพื่อรักษาเสถียรภาพการคลังของประเทศ จึงยุบเลิกมณฑลปัตตานีคงสภาพเป็น

จังหวัด ยุบจังหวัดสายบุรีเป็นอำเภอตะลุบัน และแบ่งพื้นที่บางส่วนของสายบุรี คือ ระแงะ และบาเจาะ ไปขึ้นกับจังหวัดนราธิวาส

[(กระทรวงมหาดไทย, ๒๕๒๘ : ๒๗) พ.ศ.๒๔๔๙ - ๒๔๗๕ ปัตตานีมีการปกครองแบบมณฑล คือ " มณฑลปัตตานี " ]

          ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๗๖ เป็นต้นมา จังหวัดปัตตานีมีการปกครองโดยผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีคนแรก คือ

พระยารัตนภัคดี (แจ้ง สุวรรณจินดา) ภายใต้การปกครองตามระบอบประชาธิปไตย กระทรวงมหาดไทยได้ ประกาศพระราชบัญญัติระเบียบ

บริหารราชการแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.๒๔๗๖ จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัด และอำเภอ หลังจากนั้นได้มีการ

ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติดังกล่าว ในปี พ.ศ.๒๔๙๙ และ พ.ศ.๒๕๐๕ และใช้บริหารราชการแผ่นดินมาจนทุกวันนี้

          ปัตตานีเป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่จัดตั้งขึ้นในภาคใต้ ตั้งอยู่ที่

ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมืองปัตตานี





--------------------------------------------------------------------------------



          สรุปลังกาสุกะและปัตตานีในอดีต top

          [พรทิพย์ พันธุโกวิท (๒๕๓๖); ครองชัย หัตถา (๒๕๔๑) Michel Jacq-Hergoualc'h (๑๙๙๘)]

          ลังกาสุกะ (Langkasuka) อาณาจักรเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของเอเซียอาคเนย์ มีอาณาเขตปกครองกว้างขวางครอบคลุมคาบสมุทร

มลายูตอนล่างทั้งหมดโดยพัฒนามาจากเมืองท่าเล็กๆ ของชาวพื้นเมืองจนเติบโตเป็นรัฐและมีฐานะเป็นอาณาจักรมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๗

เนื่องจากมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมเป็นจุดกึ่งกลางระหว่างโลกตะวันออกและตะวันตก (East-West Center) เป็นศูนย์กลางการค้า

ระหว่างจีนกับอินเดีย และเป็นศูนย์กลางการเผยแพร่ศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนาฝ่ายมหายานระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๙

ศูนย์กลางของลังกาสุกะอยู่บริเวณเมืองโบราณยะรัง ปัจจุบันปรากฎร่องรอยศาสนสถานประเภทสถูปเจดีย์ขนาดใหญ่ จำนวน ๓๓ แห่ง

ในพื้นที่ประมาณ ๙ ตารางกิโลเมตร นอกจากนั้นยังพบร่องรอยกำแพงเก่าอีกหลายแห่งในบริเวณใกล้เคียงกัน พุทธศตวรรษที่ ๑๙ อาณาจักร

ลังกาสุกะเริ่มเสื่อมลง เนื่องจากชายฝั่งทะเลตื้นเขิน แม่น้ำเปลี่ยนทางเดิน ศาสนาและวัฒนธรรมของชาวเมืองใต้เปลี่ยนแปลงไปรวมทั้ง

อาณาจักรมะละกาซึ่งเจริญขึ้นมาทางตอนใต้ยกกำลังมาโจมตีหลายครั้ง ในที่สุดอาณาจักรลังกาสุกะได้ล่มสลายไปในต้นพุทธศตวรรษ

ที่ ๒๑ โดยมีปะตานี (Patani) เมืองท่าแห่งใหม่เจริญขึ้นมาแทนที่ ปะตานีมีการปกครองที่เข้มแข็ง มีสุลต่านหรือรายาเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด

พ่อค้าชาวยุโรป เช่น โปรตุเกส ฮอลันดา อังกฤษ สเปน ฯลฯ มาค้าขายเป็นจำนวนมาก ร่องรอยความเจริญรุ่งเรืองดังกล่าวปรากฎอยู่ใน

พื้นที่กว่า ๔ ตารางกิโลเมตร ในเขตตำบลบานา บาราโหม และตันหยงลุโละ ได้แก่ มัสยิดกรือเซะ สุสานหลวงหรือกูโบร์มัรโฮม สุสาน

เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ที่หล่อปืนใหญ่พญาตานี บ่อฮังตูวะฮ์ บ่อชัยคดาโอะ บริเวณที่เคยเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้า ฯลฯ ในเวลานั้นปะตานี

เป็นศูนย์กลางของการศึกษา และเผยแพร่ศาสนาอิสลามที่สำคัญของภูมิภาคนี้ และเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ปะตานี ดารุสสลาม คนไทยทั่วไป

เรียกกว่า เมืองตานีหรือปัตตานี

          ในปี พ.ศ.๒๓๕๑ ปัตตานีแบ่งการปกครองออกเป็น ๗ หัวเมือง ได้แก่ เมืองตานี ยะหริ่ง หนองจิก สายบุรี ระแงะ รามันห์ และ

ยะลา ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๘๘ ศูนย์กลางการปกครองของเมืองปัตตานีย้ายมาอยู่ที่จะบังติกอสถานที่สำคัญสมยนั้นได้แก่ วังจะบังติกอ

มัสยิดรายา สุสานโต๊ะอาเยาะ ยายถนนหนาวัง แหล่งผลิตเครื่องทองเหลือง ฯลฯ ส่วนตลาดการค้าอยู่ที่หัวตลาดบริเวณ ถนนอาเนาะรูและ

ถนนปัตตานีภิรมย์ เป็นย่านชาวจีนหรือไชน่าทาวน์ในสมัยนั้น สถานที่สำคัญได้แก่ ศาลเจ้าเล่งจูเกียง บ้านพระจีนคณานุรักษ์ บ้านทรงจีน

ของหลวงสำเร็จกิจกรจางวาง และบ้านหลวงสุนทรสิทธิโลหะ ฯลฯ ปี พ.ศ.๒๔๔๙ ปัตตานีมีการปกครองแบบมณฑล และปี พ.ศ.๒๔๗๖

เปลี่ยนมาเป็นจังหวัดปัตตานี สืบต่อมาถึงปัตตานี

          ราชทูตลังกาสุกะ top

           ภาพราชทูตลังกาสุกะจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์จีนที่จตุรัสเทียนอันเหมิน กรุงปักกิ่ง ที่มาของภาพปรากฎอยู่ใน

จดหมายเหตุราชวงศ์เหลียง หรือเหลียงชู ของจีน (พ.ศ.๑๐๔๕-๑๑๐๖) บุคคลในภาพนี้ชื่อ อชิตะ (จีนออกเสียงเป็น อาเซ่อตัว) เป็นราชทูต

จากประเทศลังกาสุกะ (จีนออกเสียงเป็น หลังหยาสิ้ว) ซึ่งคุณสังข์ พัธโนทัยได้ให้คำบรรยายภาพว่า "เป็นคนหัวหยิกหยอง น่ากลัว นุ่งผ้า

โจงกระเบน ห่มสไบเฉียง สวมกำไลที่ข้อเท้าทั้งสอง ผิวค่อนข้างดำ" รูปลักษณะของทุตลังกาสุกะ บ่งบอกว่าเป็นคนทางภาคพื้นเอเชีย

ตะวันออกเฉียงใต้ โดยเดินทางไปเยือนราชสำนักจีนในปีศักราชเถียนเจียน (ตรงกับ พ.ศ.๑๐๕๘) สมัยพระเจ้าอู่ตี้ฮ่องเต้แห่งราชวงศ์เหลียง

ทางการจีนได้เขียนภาพ อาเซ่อตัว ไว้เป็นที่ระลึกพระเจ้าแผ่นดินแห่งลังกาสุกะในเวลานั้น ทรงพระนามว่า ผอเจี่ยต้าตัว หรือ ภัคทัตตเหลียงชู

บันทึกไว้ว่า หลังหยาสิ้วตั้งอยู่แถบทะเลใต้ห่างจากเมืองกวางโจว(ในกวางตุ้ง) ของจีน ๒๔,๐๐๐ ลี้ ตัวเมืองล้อมรอบด้วยกำแพงมีประตูเมือง

คู่ มีหอคอยและระเบียงบน เมื่อพระเจ้าแผ่นดินเสด็จไปที่ใดจะประทับบนหลังช้าง มีกลดสีขาวกางอยู่ พร้อมด้วยฉัตร แส้ ธง และกลอง

ทหารรักษาพระองค์ได้รับการเลือกเฟ้นอย่างดี กษัตริย์และขุนนางผู้ใหญ่แต่งกายคลุมไหล่ด้วยผ้าหยัน-เซีย คาดเข็มขัดทองคำที่เอว ห้อย

ต่างหูทำด้วยทองคำ หญิงหลังหยาสิ้วแต่งกายด้วยผ้าฝ้ายกันมัน คนทั่วไปในเมืองไม่นิยมสวมเสื้อ ปล่อยผมเป็นกระเซิงมาด้านหลัง

อาณาจักรนี้หากจะเดินจากตะวันออกไปตะวันตกต้องใช้เวลาราว ๓๐ วัน จากเหนือถึงใต้ใช้เวลาราว ๒๐ วัน ลังกาสุกะมีความสัมพันธ์ที่ดี

กับประเทศจีน ในปี พ.ศ.๑๐๖๖ และ ๑๑๑๑ ลังกาสุกะก็ได้ส่งทูตไปจีนอีก ชื่อของลังกาสุกะปรากฎในจดหมายเหตุของจีนและชาติต่างๆ

มาอย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ชื่อลังกาสุกะก็หายไปจากบันทึกทางประวัติศาสตร์ เรื่องราวการทูตของกษัตริย์

ลังกาสุกะต่อจากสมัยพระเจ้าภัคทัตต จดหมายเหตุจีนกล่าวว่า ในปี พ.ศ.๑๐๖๖ ๑๐๗๔ และ พ.ศ.๑๑๑๑ ได้มีการส่งทูตไปสู่ราชสำนักจีนอีก

แต่จีนมิได้ให้รายละเอียดอย่างเช่นคราวราชทูตอชิตะ

 

จัดทำโดย...สำนักงานคลังจังหวัดปัตตานี
บันทึกการเข้า
เหลนนางพญา
อสุรผัด
*
ตอบ: 39

หมื่นลี้ ย่อมมีก้าวแรก


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 04 ม.ค. 05, 18:34

 ขอบพระคุณอาจารย์เทาชมพูมากครับที่ทำให้ข้อมูลทำให้ผมได้รู้จักกับเรื่องราวของหัวเมืองทางภาคใต้มากขึ้น  และไม่ทราบว่าถ้าผมต้องการจะทราบรายละเอียดลึกขนาดที่ผมเรียนถามไป ผมจะเริ่มต้นค้นคว้าได้อย่างไร และที่ไหนหรือครับ จากหอจดหมายเหตุหรือเปล่าครับ ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 05 ม.ค. 05, 06:55

 สำหรับเรื่อง การรบในสมัยรัชกาลที่ ๑ กับหัวเมืองภาคใต้ ลองไปค้นจาก หนังสือชุดประชุมพงศาวดารดูนะครับ

 http://www.sac.or.th/hot-issue/2001%2011-Nov/05.htm

ลองเลือกดูว่าสนใจเรื่องไหน จากนั้นก็ไปหาข้อมูลที่ห้องสมุดดู

หนังสืออีก ชุด ที่อยากให้ลองไปดูคือ
สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ พ.ศ.2529

หวังว่าคงจะใช้ได้นะครับ
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 02 ก.ย. 06, 20:20

 เมืองหนองจิกเดิม อยู่ที่ตำบลดาโต๊ะ
1. ต่วนสนิ
2. ต่วนกะจิ
3. นายบุญเม่น
เมืองหนองจิกใหม่ อยู่ที่ตำบลตุยง
1. พระยาวิเชียรภักดีศรีสงคราม (เกลี้ยง ณ สงขลา) พ.ศ.2388-2409
2. หลวงพิทักษ์เขตต์ขัณฑ์ (กิ่ง) พ.ศ.2409-2411
3. พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยณรงค์ (เวียง ณ สงขลา) พ.ศ.2411-2420
4. พระยาเพ็ชราภิบาลนฤเบศร์ (มิ่ง โรจนหัสดิน) พ.ศ.2420-2431
5. พระยาเพ็ชราภิบาลนฤเบศร์ ภายหลังเป็นพระยามุจลินทร์สราภิธานนคโรปการสุนทรกิจมหิศรราชภักดิ์จางวาง (ทัด ณ สงขลา) พ.ศ.2431-2437
6. พระยาเพ็ชราภิบาลนฤเบศรวาปีเขตต์มุจลินท์นฤบดินทร์สวามิภักดิ์ (พ่วง ณ สงขลา) พ.ศ.2437-2444

หากคุณเหลนนางพญาอยากทราบอะไรเกี่ยวกับเมืองปัตตานี เมืองหนองจิก ด้านไหนก็ลองถามมาครับผมจะค้นเอกสารที่มีอยู่ให้ครับ
ดูจากชื่อเหลนนางพญา น่าจะเป็นคนปัตตานีนะครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 02 ก.ย. 06, 23:56

 แนะนำให้หาหนังสือของคุณอนันต์ วัฒนานิกรมาอ่านครับ
ท่านเป็นสารานุกรมมีชีวิตของปัตตานี

ผมไม่พบท่านมาเกือบยี่สิบปีแล้ว ภาวนาให้ท่านสุขภาพแข็งแรงอายุยืนถึง 120 ปีครับ
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 04 ก.ย. 06, 15:23

 คุณตาอนันต์ ถึงแก่กรรมหลายปีแล้วครับคุณพิพัฒน์ ในอดีตผมไปนั่งคุยกับท่านเป็นประจำครับ
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 04 ก.ย. 06, 18:23

อ.พิพัฒน์ พูดถึงคุณตาอนันต์ วัฒนานิกร ก็เลยถือโอกาสเล่าเรื่องของท่าน สำหรับท่านที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน
คุณตาอนันต์ วัฒนานิกรเป็นปราชญ์ไร้ปริญญาท่านหนึ่ง มีพื้นฐานจากการเป็นครูบ้านนอกรุ่นโบราณ เป็นศึกษาธิการอำเภอที่อำเภอยะรัง ปัตตานี ท่านสนใจในประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นคนที่ไปเดินค้นหาร่องรอยของเมืองลังกาสุกะตามคำบอกเล่าของชาวบ้าน จนภายหลังกรมศิลปากรไปขุดเจอซากเมืองโบราณที่ ต.ประแว อ.ยะรัง จ.ปัตตานี
ท่านเขียนบทความไว้มากมาย ส่วนใหญ่จะลงตีพิมพ์ในวารสารรูสะมิแล ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มีที่ตีพิมพ์รวมเล่มก็เช่นประวัติเมืองลังกาสุกะ เมืองปัตตานี, แลหลังเมืองตานี
ท่านได้เก็บเศษโบราณวัตถุที่เจอในช่วงที่ไปเดินป่าค้นหาซากเมืองลังกาสุกะไว้พอสมควร มีทั้งเป็นสถูปดินเผา, พระพิมพ์ดินเผา ภายหลังท่านได้มอบให้กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เพื่อแสดงในพิพิธภัณฑ์พระเทพญาณโมลี แต่ท่านเคยแอบบ่นให้ผมฟังว่าสิ่งที่ท่านมอบให้หายไปหลายชิ้น โดยเฉพาะพวกพระดินเผา
ไม่ว่าใครก็ตามที่สนใจเรื่องราวของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของปัตตานี มักจะไปพูดคุยขอความรู้จากท่าน ซึ่งท่านจะเล่าให้ฟังอย่างสนุกสนาน บางครั้งจำไม่ได้ก็ขอติดไว้ แล้วไปค้นข้อมูลมาเล่าต่อ ไม่เคยหวงความรู้
ผมมีโอกาสได้รับถ่ายทอดความรู้ และได้รับเอกสารที่ท่านเก็บเป็นความลับไว้นานมากหลายเรื่องอยู่เหมือนกัน ก่อนที่ผมจะอพยพครอบครัวได้ไปร่ำลาท่าน ท่านยังได้กรุณาผูกดวงชะตาให้ผมและครอบครัว น่าเสียดายที่ตอนท่านถึงแก่กรรมผมไม่ได้อยู่ที่ปัตตานี เลยไม่ได้ไปคารวะท่านเป็นครั้งสุดท้าย เข้าใจว่าเอกสารและหนังสือที่ท่านเก็บสะสมไว้ยังคงอยู่ในความครอบครองของน้าสุดาบุตรสาวคนโตของท่านที่ปัตตานีครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.077 วินาที กับ 19 คำสั่ง